ภูมิบุตรแห่งมาเลเซีย
วันนี้ขอเล่าเรื่องการให้สิทธิพิเศษกับผู้ตั้งถิ่นฐานเดิมในมาเลเซียนะครับ ซึ่งเป็นการรักษาสิทธิเพื่อความเท่าเทียมโดยให้สิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มบางกลุ่มเหนือกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ฟังแล้วคงงงๆกันนะครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง
เมื่อเราเข้าไปมาเลเซีย หากได้เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของมาเลเซีย เราจะต้องได้ยินคำว่าบูมีปูตรา Bumiputra (ผู้ตั้งถิ่นฐานเดิม) เพราะมันมีส่วนในการกำหนดวิถีแห่งการดำเนินชีวิตในมาเลเซียเลยทีเดียว คำว่าบูมีปูตราเป็นภาษามาเลย์แปลว่าคนถิ่น หรือจะให้สวยหน่อยก็คือภูมิบุตร หมายถึงผู้ที่มีถิ่นกำเนิดรวมถึงชาติพันธุ์ดั้งเดิม ณที่ตรงนั้นในที่นี้หมายถึงมาเลเซีย บูมีปูตราเป็นทางการหมายถึงชาวมาเลย์ และชนพื้นเมืองเดิมอื่นๆ เช่น Orang Asli ที่อยู่ในคาบสมุทรมาเลเซีย และชาวเฝ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ในรัฐซาบ์และซาราวัค
ทำไม่ต้องเป็นเช่นนั้น เรื่องนี้จะต้องมองในเรื่องของประวัติศาสตร์ของประเทศก่อนที่จะมีประเทศมาเลเดซียบนแผนที่โลก ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศเกิดใหม่ โดยก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษโดยมีชื่อว่าบริติสมาลายา หรืออาจจะเรียกว่ามาลายาเฉยๆก็ได้ มาเลเซียแต่ก่อนนั้นมีการปกครองเป็นอิสระโดยเมืองต่างๆจะมีเจ้าผู้ปกครองเดิม เมื่ออังกฤษเข้ามาในแหลมมาลายูก็ได้รับสิทธิดังกล่าวโดยที่ราชาทั้งหลายลงนามมอบสิทธิปกครองให้กับอังกฤษ ในมาเลเซียเรียกสนธิสัญญาปลายปืน(ไม่เต็มใจให้)
ในช่วงที่อังกฤษปกครองอยู่นั้นเพื่อไม่ให้มีการลุกฮือหรือต่อต้านมากนัก อังกฤษก็ได้จ้างกรรมกรจากอาณานิคมอื่นๆเข้ามาทำงานในมาเลเซีย โดยแรงงานอันดับหนึ่งที่นำมานั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าคือชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ โดยจะเข้ามาทำเหมืองให้กับประเทศอังกฤษ อีกพวกหนึ่งที่อังกฤษนำเข้ามาเป็นจำนวนมากคือชาวอินเดีย โดยชาวอินเดียจะเข้ามาทำอาชีพด้านเกษตรกรรมให้กับอังกฤษ ซึ่งแรงงานดังกล่าวจะเป็นแรงงานที่มีฝีมือมากเมื่อเทียบกับชาวมาเลญ์ซึ่งเป็นคนท้องถิ่น
เมื่ออังกฤษได้ดูดเอาทรัพยากรจากที่แห่งนี้จนใกล้จะหมดแล้ตามธรรมเนียมปฎิบัติคือการให้เอกราช จะเป็นด้วยการต่อสู้เรียกร้องหรือการได้มาโดยสันติวิธีก็ตามเมื่อถึงเวลามันก็จะเป็นไปตามวัฐจักรของมัน ประเทศมาเลเซียได้มาโดยอย่างหลัง(ได้มาเมื่อถึงเวลา) ได้มีการประชุมในหมู่ผู้นำชาวมาเลย์ว่าจะจัดการกันอย่างไร โดยการได้รับเอกราชในครั้งนี้ต้องรับเอาคนที่อังกฤษนำเข้ามาเป็นคนมาเลเซียด้วย มาเลเซียจึงประกอบไปด้วยชาติพันธุ์ที่หลากหายด้วยวิศวกรชาวอังกฤษนั้นเอง
การให้สิทธิพิเศษแก่บูมีปูตราเริ่มขึ้นเมื่อชาวมาเลย์ตกลงที่จะใช้อำนาจทางการเมืองร่วมกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เช่นชาวจีน ที่เรียกว่าสัญญาประชาคม และที่เป็นกฎข้อหนึ่งในการเป็นอิสระจากอังกฤษ ในตอนนั้นผู้ที่ไม่ใช้ชาวมาเลจะเป็นชนรุ่นที่หนึ่งหรือสองที่ถูกนำเข้ามาในแผ่นดินมาเลเซียโดยอังกฤษเพื่อใช้เป็นแรงงาน และผู้นำชาวมาเลย์เริ่มตระหนักเห็นถึงความสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์เมื่อคนเหล่านั้นมีปริมาณมากจนจะเป็นชนกลุ่มหลักแล้ว จึงได้มีการสงวนสิทธิให้กับคนที่พวกเขาถือว่าเป็นเจ้าของประเทศเดิม ดังในในมาตรา 153 ของรัฐธรรมนูญได้กล่าวว่า
นับเป็นความรับผิดชอบของสมเด็จพระราชาธิปดีที่จะต้องช่วยปกป้องตำแน่งพิเศษของชาวมาเลย์และชนพื้นเมืองของรัฐซาบะห์และซาราวัค และรวมถึงผลประโยชน์ทางด้านกฎหมายของชุมชนอื่นๆภายใต้อำนาจของมาตรานี้ และในมาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ชาวมาเลย์คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษามลายู ประพฤปฎิบัติตามประเพนีมาเลย์ และเป็นลูกของบิดาหรือมารดาที่กำเหนิดภายใต้สหพันธ์รัฐมาเลเซียก่อนวมาลายาได้รับเอกราชในวันที่ 31 สิงหาคม 1957
คำว่าบูมีปูตราเริ่มใช้ครั้งแรกในรัฐสภาในปี 1965 ในช่วงการประชุมเรื่องกฎหมายในการก่อตั้งองค์กรมารา(MARA: Masjis Amanah Rakyat) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาสิทธิของชาวบูมีปูตรา และทำให้นายลี กวนยู สมาชิกรัฐสภามาเลเซียในตอนนั้นไม่พอใจอย่างมาก จนทำให้ต้องแยกตัวไปในที่สุด (ทางมาเลเซียประกาศให้สิงค์โปรออกไปก่อน หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงนายลีประกาศแยกตัว เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1965)
ในช่วงแรกคาดว่าจะให้สิทธินี้ไม่นาน แต่เมื่อมีเหตุการณ์จราจลในปี 1969(โดยชาวจีน)ก็ได้มีการเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวต่อมาในปี 1970 เพื่อที่จะระงับชวนเหตุตรึงเครียดระหว่างชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ปี 1969แต่มันไม่ได้ประสปความสำเร็จในการลดความยากจนในหมู่ชนพื้นเมืองที่อยู่ชานเมือง แต่มันยังเป็นตัวสร้างความไม่พอใจให้กับชาวมาเลย์ที่ไม่ใช่บูมีปูตรา
แนวความคิดเรื่องบูมีปูตรามีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 153 ถึงแม้มันจะไม่ได้ระบอธิบายความหมายของคำดังกล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมา มันได้ระบุความหมายของชาวมาเลย์ ชนพื้นเมือง(ในมาตรา160(2)) ชนพื้นเมืองแห่งซาราวัค(ในมาตรา161A(6)(a)) และชนพื้นเมืองแห่งซาบาห์(ในมาตรา161A(6)(b)) ความหมายหรือนิยามของบูมีปูตราอาจมีความหมายหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่หน่วยงานต่างๆของรัฐจะตีความเอาเอง
จากหนังสือชื่อGuidebook for entry into public higher learning institutions for SPM/equivalent graduates for academic year 2007/2008 ได้ให้คำนิยามของคำว่าบูมิปูตราไว้อย่างชัดเจนคือ
หากบิดาหรือมารดาเป็นมุสลิมมาเลย์ หรือ ชาวพื้นเมืองดังปรากฎอยู่ในมาตรา 160(2) ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์มาเลเซีย ดังนั้นลูกก็จะได้รับการพิจารณาเป็นบูมีปุตรา
หากบิดาหรือมารดาเป็นมุสลิมมาเลย์ หรือ ชาวพื้นเมืองดังปรากฎอยู่ในมาตรา 160A (6)(a)ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์มาเลเซีย ดังนั้นบุตรก็จะได้รับการพิจารณาเป็นบูมีปุตรา
หากบิดาหรือมารดาเป็นมุสลิมมาเลย์ หรือ ชาวพื้นเมืองดังปรากฎอยู่ในมาตรา 160A (6)(b) ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์มาเลเซีย ดังนั้นบุตรก็จะได้รับการพิจารณาเป็นบูมีปุตรา
กฎหมายนี้เป็นการที่รัฐมองว่าจะปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชนเดิมโดยที่มองว่าผู้เข้ามาอยู่ที่หลังเปแ็นผู้อื่นที่ได้ประโยชน์จากทรัพยากรของะวกเขา และหารเปิดเสรีผู้คนโดยเฉพาะส่วนที่ยังไม่มีความเจริญจะเสียเปรียบทันที เช่นเมื่อก่อนเขาจะกันไม่ให้เข้าคนจากแหลมมาลายูเข้าไปทำธุรกิจในแถบรัฐซาบาห์และซาราวัคได้ง่าย เพราะความเจริญทางฝั่งตะวันตกและตะวันออกต่างกันลิบลับ หากเปิดเสรีคนท้องถิ่นก็จะตกที่นั่ลำบาก
ปัจจุบันแม้ชาวบูมีปูตราจะได้รับอภิสิทธิต่างๆมากมาย ความเป็นผู้นำในด้านเศรษกิจก็ตกอยู่ในมือของชาวจีน และอาชีพสำคัญๆเช่นหมอ ผู้พิพากษา วิศวกรเป็นชาวอินเดีย ส่วนชาวมาเลย์ส่วนใหญ่ชอบงานสบายๆเช่นข้าราชการ จนบางครั้งผู้นำยังต้องออกมาติงผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษว่าได้สิทธิมากจนไม่พัฒนาตนเองเพื่อให้แข็งขันกับเชื้อชาติอื่นได้
เพราะฉะนั้นการให้สิทธิดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้การแข่งขันอย่างสมบูรณ์หากผู้ที่ได้รับสิทืธิเข้่าใจในเรื่อง handicap แล้วเขาพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้มีศักรยภาพเท่ากับผู้อื่น แต่ในทางตรงกันข้ามหากมัวหลงสบายใจกับสิทธิที่ได้มากกว่าคนอื่นโดยไม่พัฒนาตนเองผลเสียก็ต้องตกอยู่กับตนไม่ใช่ผู้อื่น
ในแง่ของการสร้างชาติให้เข็มแข็งเรื่องดังกล่าวก็ยังคงเป็นปัญหาของมาเลเซียต่อไป หากพวกหนึ่งยังคิดว่าเป็นเจ้าของประเทศ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้เข้ามาอยู่ทีหลังความเป็นชาติย่อมเกิดขึ้นได้ยาก
สนต้นที่เก้า |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |