หนังสือ:The Cost of Capitalism ISBN: 978-0-07-162844-0 ผู้แต่ง: Robert Barbera สำนักพิมพ์: McGrawHill "สัปดาห์นี้ผมกลับมาสู่หนังสือหนักๆเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจอีกครั้ง หนังสือที่ผมอ่านและแนะนำนี้ทำให้ผมรู้จักแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อ Hyman Minsky แต่ผู้แต่งหนังสือคือ Robert Barbera หนังสือของเขาชื่อ The Cost of Capitalism-Understanding Market Mayhem and Stabilizing our Economic Future Barbera เป็นนักเศรษศาสตร์ที่ทำงานใน Wall street อยู่หลายปี เขากล่าวว่ารู้จัก Hyman Minsky เป็นการส่วนตัวมานานและมั่นใจว่าแนวคิดของ Minsky ผู้ล่วงลับนั้นอธิบายวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วง 15-20 ปีหลังได้อย่างดีมาก Barbera บอกว่าแนวคิดของ Minsky นั้นอยู่นอกกระแสและไม่เป็นที่ยอมรับนักในช่วงที่ผ่านมา ในพื้นที่ 200 กว่าหน้าของหนังสือเล่มนี้ Barbera จะพูดถึงหลักคิดของ Minsky ที่อธิบายเศรษฐกิจฟองสบู่ว่าเป็นอย่างไรมีปัจจัยอะไรบ้าง แล้วแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเป็นอย่างไร และมักจัดการกับปัญหาอย่างไร และรวมไปถึงการอธิบายวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายๆครั้งที่ผ่านมาเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความคล้าย/ต่างกันอย่างไร สุดท้าย Barbera จะสรุปว่าถ้าประยุกต์หลักคิดของ Minsky แล้วธนาคารกลางหรือผู้ดูแลเศรษฐกิจมหภาคควรพิจารณาปัจจัยอะไรเพิ่มในแง่ของสัญญาณเตือนทางเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ Barbera แบ่งออกเป็นสี่ภาคและสิบหกบทครับ ก่อนอื่นเลยผมสงสัยว่าชื่อหนังสือ The Cost of Capitalism เป็นมาอย่างไร จากการอ่านจึงเข้าใจไปว่าสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อก็คือการแย้งกับความคิดที่ว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นล้วนเกิดจากปัจจัยภายนอกระบบทุนนิยมและแต่ละครั้งที่เกิดก็จะมีความเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน Barbera บอกว่าตามหลักของ Minskyแล้วในระบบทุนนิยมนั้นการเกิดวิกฤตการณ์อันมีจุดเริ่มมาจากการเก็งกำไรที่ร้อนแรงนั้นถือเป็นต้นทุนของระบบเลยทีเดียวที่สำคัญคือไม่มีปัจจัยภายนอกมาทำให้เป็นแต่เป็นธรรมชาติของระบบเอง คำถามต่อมาของผมคือแล้วหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็น Cost of Capitalism ได้หรือไม่ ข้อนี้คำตอบไม่ได้ฟันธงว่าได้หรือไม่ได้ Barbera บางครั้งก็จะใช้คำว่าหลีกเลี่ยงบางครั้งก็ใช้คำว่าชะลอหรือลดความรุนแรงตลอดในหนังสือของเขา เอาเป็นว่าผมขอเล่าให้ฟังว่า Barberaอธิบายสิ่งที่ Minsky คิดไว้อย่างไรก็แล้วกัน หลักเบื้องต้นที่อธิบายธรรมชาติวิกฤตการณ์ในระบบทุนนิยมสองอย่างของ Minsky คือ ข้อแรกบอกว่า การที่เศรษฐกิจโตอย่างต่อเนื่องนานๆทำให้คนกล้าเสี่ยงมากขึ้น ข้อสองบอกว่า เมื่อคนจำนวนมากได้ลงทุนแบบเสี่ยงแล้ว ความผิดพลาดในการเก็งกำไรเล็กๆน้อยๆของบุคคลหลายๆคนจะสร้างผลกระทบใหญ่แกระบบ Barbera ใช้ตัวอย่างง่ายๆมาอธิบายอย่างชัดเจน เขาเปรียบเทียบพี่น้องที่เพิ่งเรียนจบสองคนและกำลังจะทำงานดดยแม่มีเงินก้นถุงเพื่อให้ลงทุน คนหนึ่งเอาไปวางเงินดาวน์และผ่อนบ้านระยะยาวจุดประสงค์คือเพื่อมีบ้านของตนเองและประเมินรายได้กับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแบบเอาชัวร์ คนน้องหัวแหลมเห็นช่องว่าราคาบ้านและที่ดินเพิ่มทุกปีมานานแล้วจึงไม่คิดแค่ผ่อนบ้านแต่ต้องการเก็งกำไรหาเงินก้อนไว้ใช้แต่พอราคาบ้านไม่ขึ้นผิดคาดคนน้องจึงผ่อนต่อไม่ได้ต้องให้ธนาคารยึดบ้านไป Barbera บอกว่าความผิดพลาดในการเก็งของคนน้องนั้นไม่มากมายก็แค่ให้ยึดบ้านส่วนตัวเองก็ทำงานต่อไป แต่ในแง่ธนาคารแล้วมูลค่ารายได้ที่ควรได้รับจากลูกหนี้นั้นถูกแทนด้วยสินทรัพย์คือบ้านที่ราคาลดลงและแน่นอนว่าต่ำกว่ามูลค่าหนี้แถมยังขายต่อไม่ได้ราคาสิ่งเหล่านี้เกิดกับธนาคารมากเข้าก็เป็นปัญหาต่อธนาคารและระบบการเงิน Barbera ตำหนิธนาคารกลางและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักว่าเอะอะอะไรก็จะแค่คุม Inflation ให้ต่ำๆอย่างเดียวคิดว่าทุกอย่างจะดีเอง เขาขุดให้ฟังว่าวิธีการคุม Inflation อย่างเดียวนั้นใช้ได้ผลในสมัย 1970 ที่ปัญหาเศรษฐกิจมาจากเรื่องค่าแรงและราคาสินค้าแต่ยี่สิบปีที่ผ่านมาปัญหาได้เลยเรื่องค่าแรงและราคาไปแล้วและมีบางสิ่งที่ธนาคารกลางหรือรัฐไม่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งบอกเหตุเลยคืออัตราตอบแทนระยะยาวของสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับอัตราตอบแทนระยะยาวจากพันธบัตรรัฐบาล เขาบอกว่าธนาคารกลางมัวแต่ดูว่า Fed fund rate เทียบกับ Inflation rate ถ้ามากกว่าก็จะเริ่มขยับปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเท่านั้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนค่า Inflation และ Unemployment rate เขากล่าวต่อไปอีกว่า Fed ชินกับการจัดการกับอะไรที่มีค่าต่ำลงเช่น stock หรือ bond แต่กับสิ่งที่สูงขึ้นเช่นสินทรัพย์นั้นจะมองเป็นสัญณาณดีและไม่ทำอะไร Barbera เทียบเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ร้อนแรงว่าเหมือนวิ่งมาราธอนที่ความเร็วมากเกินไปและนานเกินไปผลคือจะช็อตในช่วงกลางหรือท้ายและกลายเป็นว่าเวลาที่ทำได้จะสู้การวิ่งแบบผ่อนสั้นผ่อนยาวไม่ได้ โดยสรุปก็คือธนาคารกลางต้องหันมามองเรื่องการเก็งกำไรโดยจับตาดู asset ที่มักมีการเก็งกำไรให้ดีเพื่อแตะเบรกลดความร้อนแรงลง ซึ่งกลับไปสู่หลักคิดของ Minsky ที่มองผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมจากผลของการลงทุนเสี่ยงๆหรือการเก็งกำไรนั่นเอง ส่วนการกู้ภัยทางเศรษฐกิจนั้น Barbera บอกว่าเห็นด้วยกับการเข้าช่วยเหลือของรัฐ เขาตั้งคำถามกับหลายคนบอกว่าควรให้กิจการที่ล้มตายไปตามกลไกที่เรียกว่า Creative Destruction ของระบบตลาดเสรีที่มองว่าผู้ที่ล้มหายตายจากถูกแทนที่ด้วยผู้มาใหม่ที่ประสิทธิภาพดีกว่าและเป็น Price of Progress ของระบบ เขามองว่าวิกฤติที่ผ่านมาไม่ได้มาจากการแข่งขันแล้วเกิดการชนะหรือพ่ายแพ้ของกิจการเท่านั้น แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดจากความเป็นไปของการเก็งกำไรเกินควรที่เรียกว่า Deflationary Destruction ซึ่งเป็น Cost of Capitalism และกล่าวว่าวิกฤติการในญี่ปุ่นเมื่อ 1990 เป็นแค่ความฝืดของระบบแต่ไม่พังแบบในสหรัฐฯเมื่อ 1930 เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าพยุงธนาคารไว้แตสหรัฐฯไม่ได้ทำในช่วง 1930 สุดท้าย Barbera ยังบอกอีกว่ายังเชื่อในระบบทุนนิยมเสรีและเตือนว่าการสวิงไปสู่ทุนนิยมแบบรัฐเป็นตัวนำนั้นจะนำไปสู่ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของกลไกตลาด สุดท้ายผมออกตัวว่าไม่มีความรู้พอที่จะขจัดข้อสงสัยว่าสิ่งที่ Barbera พูดเกี่ยวกับความผิดพลาด Fed และเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเป็นจริงหรือ เป็นไปได้หรือว่า Fed มองไม่เห็นสัญญาณอันตรายหรือถ้าเห็นแล้วทำอะไรได้แค่ไหนกัน แต่ที่แน่ๆผมขอแนะนำหนังสือนี้และ Stabilizing an Unstable Economy ของ Minsky เองที่ทำให้ผมได้เข้าใจอะไรมากขึ้นครับ" ขอบคุณ Asiabook สำหรับหนังสือ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ฟัง Stiglitz พูดถึง Making Globalization Work | ||
![]() |
||
เมื่อ 2006 |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |