แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ จังหวัดอุดรธานี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำขวัญ น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ข้อมูลทั่วไป ชื่ออักษรไทย อุดรธานี ชื่ออักษรโรมัน Udon Thani ชื่อไทยอื่นๆ อุดร สีประจำกลุ่มจังหวัด สีส้ม (สีแสด) ต้นไม้ประจำจังหวัด เต็ง ดอกไม้ประจำจังหวัด ข้อมูลสถิติ 11,730.302 ตร.กม. 1,535,629 คน[1] (พ.ศ. 2551) 130.91 คน/ตร.กม. ศูนย์ราชการ ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์ (+66) 0 4224 3368 โทรสาร (+66) 0 4224 8777 จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภูมิภาค มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายอีกด้วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียงอำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800 และสมัยสุโขทัย(พ.ศ. 1800 - 2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่อ จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามกล่าวคือในระหว่าง พ.ศ. 2369 - 2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อเพียงแต่ปรากฏชื่อบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร ญวน เป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏชื่อเมือง พ.ศ 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร โพธิ์ เนติโพธิ์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้งอยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้น มณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี"เท่านั้น อุดรธานีมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่นๆ ดังนี้ · ทิศเหนือ จรดจังหวัดหนองคาย · ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ทิศใต้ จรดจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ทิศตะวันตก จรดจังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็ก ๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็นแนวยาว มีทิวเขาสำคัญคือ ทิวเขาภูพาน ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจนจรดทางใต้สุดเหมือนกับแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็นสองส่วน ภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิวเขาล้อมรอบทางด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตะวันตก ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชันที่เคลื่อนผ่านเข้ามาระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝนจังหวัดอุดรธานี ประมาณปีละ 1,400- สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภูมิสูงสุดถึง ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ · ทางรถยนต์ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และทางหลวงหมายเลข 22 จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ · ทางรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ บริการรถโดยสารทั้งธรรมดาและรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (จตุจักร) ถนนกำแพงเพชร 2 · ทางรถไฟ ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย · ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการเครื่องบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีและอุดรธานี-สุวรรณภูมิ ทุกวัน นอกจากนี้ยังมีให้บริการสายการบินต่างประเทศระหว่างอุดรธานี-หลวงพระบาง และอุดรธานี-ฮานอย · นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดต่าง ๆ คือ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร พิษณุโลก นครพนม เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,682 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน 2. อำเภอกุดจับ 6. อำเภอหนองหาน 7. อำเภอทุ่งฝน 8. อำเภอไชยวาน 9. อำเภอศรีธาตุ 10. อำเภอวังสามหมอ 11. อำเภอบ้านดุง 12. อำเภอบ้านผือ 13. อำเภอน้ำโสม 14. อำเภอเพ็ญ 15. อำเภอสร้างคอม 16. อำเภอหนองแสง 17. อำเภอนายูง 19. อำเภอกู่แก้ว สัญลักษณ์ประจำจังหวัด · ธงประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง · ความหมายของตราประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483 สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ · อำเภอเมืองอุดรธานี · อนุสาวรีย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี ถนนทหาร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านมีความสำคัญต่อชาวอุดรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานีขึ้น นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวอุดรธานี · สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า"หนองนาเกลือ" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "หนองประจักษ์" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อนและออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก · ศาลเจ้าปู่-ย่า ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว ถนนนิตโย เป็นศาลเจ้าของชาวอุดรธานีเชื้อสายจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหน่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง · วัดป่าบ้านตาด ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพอุดร-ขอนแก่น) ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ · วัดโพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า "วัดโพธิสมภรณ์" ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้ · วัดมัชฌิมาวาส ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อนาค" เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า "วัดมัชฌิมาวาส" · สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้าและผสมพันธุ์ระหว่างแวนดา (Vanda) กับโจเซฟิน แวน เบอร์โรว์ (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก สหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกันติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 0 4224 2475 · หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น อยู่ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา การเดินทางมีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานีและตลาดรังษิณา · อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปอีก พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา และนั่งเรือชมทิวทัศน์ ปัจจุบันทางราชการได้สร้างพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับเกือบทุกปี · อำเภอหนองหาน · พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ · ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ · ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง · งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จัดในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ พื้นเมือง ประชาชนจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงต่างมาร่วมงานอย่างหนาแน่น · งานทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ประมาณวันที่1-15ของเดือนธันวาคมของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์พื้นเมืองเช่น ผ้าไหม ผ้าทอลายขิด ผ้าทอมือ ผ้าหมี่ขิด และยังมีการแสดงโชว์มังกรทองจากศาลาเจ้าปู่-ย่าด้วย ศูนย์การค้าและแหล่งธุรกิจที่สำคัญ · เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี Robinson & Tops Super & Major Cineplex · เทสโก้ โลตัส สาขา 1 Hypermarket ถนนรอบเมืองอุดร-หนองคาย · เทสโก้ โลตัส บ้านดุง (กำลังขออนุญาต) · เทสโก้ โลตัส กุมภวาปี (กำลังขออนุญาต) · เทสโก้ โลตัส สาขา 2 ถนนรอบเมืองอุดร-หนองบัวลำภู(กำลังก่อสร้าง)เปิดบริการ พฤศจิกายน 2552 · ตลาด โลตัส หนองหาน · ตลาด โลตัส บ้านผือ · บิ๊ก ซี บริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด สาขาอุดรธานี · แม็คโคร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด สาขาอุดรธานี · Home Pro · ตั้งงี่สุน บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ สาขา 1 · ตั้งงี่สุน บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ สาขา 2 บ้านนาดี · เซฟ มาร์ทห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งเซงเฮง (เซฟมาร์ท) ถ.โพธิ์ศรี · เซพ มาร์ทห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งเซงเฮง (เซฟมาร์ท) ถ.วงแหวนรอบใน (ถ.มิตรภาพ) · Top World บริษัท อุดรท๊อปเวิลด์ จำกัด · UD Town & คาร์ฟูร์ อุดรธานี 2(กำลังก่อสร้าง) เปิดบริการ 21 พฤศจิกายน 2552 · คาร์ฟูร์ สาขาอุดรธานี · ท็อปส์ ซูปเปอร์ · ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตั้งจิ้นเซง ซุปเปอร์มาร์เก็ต · St.Mall Ceramic Kitchen Bathroom · โบ๊เบ๊อุดร · โลตัสเอ็กซ์เพลส ตลาดบ้านห้วย(กำลังก่อสร้าง) · 1. โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี · 2. โรงพยาบาลวัฒนา อุดร · 3. โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล · 4. โรงพยาบาลเอกอุดร · 5. โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม · 6. โรงพยาบาลชัยเกษมการแพทย์ · 7. โรงพยาบาลรัตนแพทย์ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8-15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม · ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma) · ต้นไม้ประจำจังหวัด: เต็ง (Shorea obtusa) พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15- · คำขวัญประจำจังหวัด: น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไชฌ์ · อักษรย่อ: อด. ระดับอุดมศึกษา · มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อุดรธานี · มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดอุดรธานี · มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุดรธานี · สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี · วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี · สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ศูนย์อุดรธานี · มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์อุดรธานี · มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี อาชีวศึกษา · โรงเรียนเทคนิพาณิชยการสันตพล · โรงเรียนพาณิชยการบ้านจั่น · โรงเรียนช่างกลอุดรธานี · วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี · วิทยาลัยเกษตรอุดรธานี · โรงเรียนโปลีเทคนิคอุดรธานี · วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ · วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวอุดรธานี · โรงเรียนเทคโนโลยีอีสานเหนือ · วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน · วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี · วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเกษ อุดรธานี · พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี และทรงพัฒนาจังหวัดอุดรธานี · ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง · สัญญา คุณากร นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง · สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการด้านสื่อโทรคมนาคม · ฝน ธนสุนทร นักร้อง · อาณัตพล ศิริชุมแสง เดอะสตาร์ 3 · โกสินทร์ ราชกรม นักแสดง · จามจุรี เฉิดโฉม นักแสดง · อนุสรา วันทองทักษ์ ผู้เข้าแข่งขันในปฏิบัติการคนล่าฝัน (Academy Fantasia)ปีที่ 2 · กิตติ เชี่ยววงศ์กุล หรือ เกลือ ผู้กำกับละคร บ้านนี้มีรัก นักแสดงเรื่อง เป็นต่อ · รุจินันท์ พันธ์ศรีทุม รอง มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส อันดับ 1 ประจำปี 2552 · สุดารัตน์ บุตรพรหม ""หรือ ตุ๊กกี้ สามช่า"" ชิงร้อยชิงล้าน 1. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552. · รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี · เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดอุดรธานี · udclick.com ชุมชนออนไลน์ของชาวอุดรธานี · udonechamber.com หอการค้าจังหวัดอุดรธานี · Community Web Site สำหรับชาวอุดรธานี พิกัดภูมิศาสตร์: · แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดอุดรธานี o แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์ o ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์ o ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กันยายน 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |