แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ จังหวัดอุตรดิตถ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำขวัญ เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก ข้อมูลทั่วไป ชื่ออักษรไทย อุตรดิตถ์ ชื่ออักษรโรมัน Uttaradit ชื่อไทยอื่นๆ บางโพ-ท่าอิฐ,ศรีนพวงศ์,สวางคบุรี สีประจำกลุ่มจังหวัด สีม่วง ต้นไม้ประจำจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัด ข้อมูลสถิติ 7,838.6 ตร.กม. 464,205 คน[2] (พ.ศ. 2551) 59.22 คน/ตร.กม. ศูนย์ราชการ ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์ (+66) 055-411977 ต่อ 21957 โทรสาร (+66) 055-411537,055-411977 จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์[3] ในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรีนั้น อุตรดิตถ์มีเมืองสำคัญคือเมืองพิชัยและเมืองสวางคบุรีซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ (ซึ่งทั้งสองเมืองนั้นเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย) เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าเรือด้านทิศเหนือของสยามประเทศ[4] แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้นมากกว่าเมืองพิชัย เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้[5] จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือและทางเหนือสุดของภาคกลาง ดังคำเรียกขานว่า จังหวัดเหนือล่างกลางบน จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกาย เถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีสนามบิน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากไม่คุ้มทุน สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติคลองตรอน อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน วนอุทยานแห่งชาติสักใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น ประวัติความเป็นมาต้นกำเนิดของจังหวัดอุตรดิตถ์มีแหล่งกำเนิดมาจากท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยขอมปกครองท่าอิด ตั้งแต่ พ.ศ. 1400 คำว่า อุตรดิตถ์ เดิมเขียน เป็น อุตรดิษฐ์ (อุตร-ทิศเหนือ, ดิตถ์-ท่าน้ำ) เป็นคำที่ตั้งขึ้นในภายหลัง โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงศ์จักรีพระราชทานนามไว้เมื่อ พ.ศ. 2395 แปลว่า "ท่าเรือด้านทิศเหนือของสยามประเทศ" ในอดีตนั้นอุตรดิตถ์เป็นชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในภาคเหนือในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช อุตรดิตถ์เป็นเมืองชั้นโทเทียบเท่ากับเมืองชั้นเอกพิษณุโลกในสมัยพระปิยมหาราช และ ในอดีตอุตรดิตถ์เคยเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่าง แต่ด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยจึงทำให้พิษณุโลกได้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทน ที่ตั้งของตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันมีที่มาจาก 3 ท่าน้ำสำคัญที่มีความสำคัญเป็นชุมทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอม คือ · ท่าอิด คือ บริเวณท่าอิฐบนและท่าอิฐล่างปัจจุบัน · ท่าโพธิ์ คือ บริเวณวัดท่าถนน ตลาดบางโพ เนื่องจากมีต้นโพธิ์มาก มีคลองไหลผ่าน เรียกว่า คลองบางโพธิ์ (เพี้ยนมาเป็นบางโพ) · ท่าเซา คือ บริเวณตลาดท่าเสา (เซา เป็นภาษาเหนือ แปลว่า "พักนอน") ท่าอิด (อิด แปลว่า "เหนื่อย") เนื่องจากการเดินทางมาค้าขายที่ท่าอิดทางเรือ และทางบกของจังหวัดภาคเหนือและภาคกลางสมัยโบราณ กว่าจะถึงก็เหนื่อย ท่าอิดเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าในภาคเหนือ เป็นท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงเชียงตุง เชียงแสน หัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนา สิบสองจุไทย เดิมท่าอิดอยู่ในความปกครองของขอมตั้งแต่ พ.ศ. 1400 มาโดยตลอด จนถึงสมัยสุโขทัย ขอมได้หมดอำนาจลง ท่าอิดจึงเป็นเมืองท่าขึ้นอยู่กับเมืองทุ่งยั้ง อันเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย สมัยต่อมาแควน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้ามาตลอดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่าอิดมีความเกี่ยวพันกับเมืองพิชัยอย่างแน่นแฟ้น โดยใช้เป็นที่พักทุกครั้งที่กรีธาทัพผ่านมาและใช้เป็นที่รวบรวมทัพก่อนขึ้นตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและล้านนา สมัยก่อนนั้น การเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อนำมาขายทางตอนเหนือมีสะดวกอยู่ทางเดียวคือ ทางน้ำ แม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้ารวมทั้งเรือสำเภาขึ้นลงได้สะดวกถึงภาคเหนือตอนล่างก็มีแม่น้ำน่านเท่านั้น เรือสินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ หรือกรุงศรีอยุธยาก็จะขึ้นมาได้ถึงบางโพท่าอิฐเท่านั้น เพราะเหนือขึ้นไปแม่น้ำจะตื้นเขินและมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้นตำบลบางโพท่าอิฐจึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่าอิดยังคงมีฐานะย่านการค้าขึ้นต่อเมืองพิชัย สถานที่ราชการต่าง ๆ ตั้งอยู่ที่เมืองพิชัย แต่ย่านการค้าอยู่ที่ท่าอิด ดังนั้น คดีต่าง ๆ ที่เกิดขั้นรวมทั้งการเก็บภาษีอากรส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ท่าอิด ราษฎรต้องลงไปเมืองพิชัยติดต่อกับส่วนราชการเป็นการไม่สะดวก ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิชัย ท่าอิด เมืองทุ่งยั้ง และเมืองลับแล ทรงเห็นว่าท่าอิดมีความเจริญ เป็นศูนย์ทางการค้า ประกอบกับมีเมืองลับแลอยู่ใกล้ ๆ เป็นเมืองรองลงไป การชำระคดีและการเรียกเก็บภาษีอากรสะดวกกว่าที่เมืองพิชัย จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองพิชัยมาตั้งที่บริเวณท่าอิด ส่วนเมืองพิชัยเดิมว่าเรียกว่าเมืองพิชัยเก่า พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ โดยมีประกาหม่องหัวหน้าเงี้ยวตั้งตนเป็นใหญ่ คบคิดกับเจ้าเทพวงศ์เจ้าผู้ครองนครแพร่ จับพระยาสุรราชฤทธานนท์ข้าหลวงประจำมณฑลกับข้าราชการไทย 38 คนฆ่าแล้วยกทัพลงมาจะยึดท่าอิด กองทัพเมืองอุตรดิตถ์โดยการนำของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ เป็นผู้บัญชาทัพ พระยาพิศาลคีรี (ทัพ) ข้าราชการเกษียณอายุแล้วเป็นผู้คุมกองเสบียงส่ง โดยยกทัพไปตั้งรับพวกเงี้ยวที่ปางอ้อ ปางต้นผึ้ง พระยาศรีสุริยราชฯ จึงมอบหมายพระยาพิศาลคีรี เป็นผู้บัญชาการทัพแทน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีอาวุโสและกรำศึกปราบฮ่อที่หลวงพระบางมามาก พระยาพิศาลคีรีได้สร้างเกียรติคุณให้กองทัพไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการปราบทัพพวกเงี้ยวราบคาบ ฝ่ายไทยเสียชาวบ้านที่อาสารบเพียงคนเดียว กอปรกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นแม่ทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาช่วยเหลือ พ.ศ. 2448-2451 ทางรถไฟได้เริ่มสร้างทางผ่านท่าโพธิ์และท่าเซา ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าไผ่อยู่ ไม่เจริญเหมือนท่าอิด กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟแยกไปที่หาดท่าอิดล่าง ในปี พ.ศ. 2450 สมัยพระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) เป็นเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟที่บางโพธิ์และท่าเซา ทำให้ท่าโพธิ์และท่าเซาเจริญทางการค้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่ท่าอิดน้ำท่วมบ่อย การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดความสำคัญลง การค้าที่ท่าอิดเริ่มซบเซา พ่อค้าเริ่มอพยพมาตั่งที่ท่าโพธิ์และท่าเซาเพิ่มมากขึ้น ท่าอิดเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1400 ก็มีอันดับสูญไปพร้อมทั้งความทรงจำ ความเจริญของท่าโพธิ์ (บางโพ) ท่าเซา ( ท่าเสา) ค่อยๆ ทอรัศมีสีทองประดุจอาทิตย์ยามรุ่งอรุณตราบเท่าทุกวันนี้ พ.ศ. 2458 สมัยรัชกาลที่ 6 จึงประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองพิชัยมาเป็น เมืองอุตรดิตถ์ และ ในปีพ.ศ. 2495 จึงยกฐานะจากเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบจนปัจจุบัน[6] -คำขวัญประจำจังหวัด: เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก -ดอกประดู่ (Pterocarpus indicus) ดอกไม้ประจำจังหวัด -สัก (Tectona grandis) ต้นไม้ประจำจังหวัด -วิสัยทัศน์จังหวัดอุตรดิตถ์: o เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย บ้านเมืองน่าอยู่อาศัย ท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ใต้สุดของภาคเหนือ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดแพร่ ทิศตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเขตแนวพรมแดน การปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 562 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 613 หมู่บ้านโดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก อำเภอพิชัย อำเภอฟากท่า และอำเภอลับแล และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ประเภท ประกอบด้วย · องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง · เทศบาลเมือง 1 แห่ง · เทศบาลตำบล 15 แห่ง · องค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง · พระนิมมานโกวิท (หลวงปู่ทองดำ) · พระยาพิศาลคีรี(ทัพ) · พระศรีพนมมาศ (ทองอิน แซ่ตัน) · เกรียง กีรติกร เสาเอกแห่งประถมศึกษาไทย · ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม · นฤมล ศิริวัฒน์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักแห่งประเทศไทย และ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน · ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์ · พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโบราณคดี กรมศิลปากร · ยิ่งใหญ่ อารยนันท์ นักแสดงอาวุโส · สุนทร คมขำ หรือ (กล้วย เชิญยิ้ม) ดาราตลก · อาณัติ สายทวี (อาหรั่ง) นักร้อง นักแสดง · ชูศักดิ์ ราศรีจันทร์ (ต๊ะ ท่าอิฐ) นักเขียน · ชมพู่ กลิ่นจำปา หรือ (ชมพู่ ก่อนบ่าย) นักร้อง และดาราตลก · นที ทองสุขแก้ว นักฟุตบอลทีมชาติไทย ตำแหน่งกองหลัง · วัลลภา ตั้งจิตนุสรณ์ นักกรีฑาหญิงทีมชาติไทย · จิรพงษ์ เลียงกลกิจ นักยิมนาสติกทีมชาติไทย · สุรพล สีแดงน้อย แชมป์นักมวยโลก รุ่นแบนตั้มเวท · เรวัติ กิจประเสริฐกุล นักเทนนิสทีมชาติไทย · พีระ กุนชวน นักกีฬาทีมชาติบาสเกตบอล · มรกต เนียมพุ่มพวง นักกีฬาบาสเกตบอลทีมชาติไทย · พ.ต.บัญญัติ อารีพงษ์ นักกีฬาบาสเกตบอลทีมชาติไทย จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลผลิตสาขาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดคือ สาขาการเกษตร รองลงไปคือการอุตสาหกรรม การประมง และการพาณิชย์ · พืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่สำคัญคือ ลางสาดมีการปลูกมากที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ก็มี ทุเรียน เงาะมังคุด สับปะรด ลำไย ส่วนพืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจคือ ข้าว อ้อย ข้าวโพด กระเทียม ถั่วต่างๆ และยาสูบ เป็นต้น · มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเพราะมีโรงงานน้ำตาลถึง 2 แห่ง มีโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตไวน์ลางสาด โรงงานผลิตเส้นหมี่ เป็นต้น · มีการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายอย่างเช่น การทำไม้กวาดตองกง การทอผ้า การจักสานเครื่องใช้ไม้ไผ่ การทำเครื่องปั้นดินเผา การตีเหล็กทำเครื่องใช้เกษตรกรรมและทำมีด เป็นต้น · สภาพความคล่องตัวของเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อำเภอพิชัย มีธนาคารพาณิชย์คอยให้บริการอยู่หลายแห่ง จากสภาพทั่วไปแล้วจังหวัดอุตรดิตถ์มีค่าครองชีพของประชากรอยู่ในระดับปานกลาง จังหวัดอุตรดิตถ์มีทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์ มี ทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แร่พลวง เหล็ก ทองแดง ยิปซั่ม ใยหิน ดินขาว ทัลค์ แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ในทางเศรษฐกิจ และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน ไหลผ่านเขตจังหวัดเป็นระยะความยาวถึง · ปี 2551 จังหวัดอุตรดิตถ์มีประชากรมีประชากรทั้งสิ้น 464,205 คน ประชากรชาย 229,207 คน ประชากรหญิง 234,998 คน อาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา · ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี) · วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงพยาบาลอุตรดิตถ์) · ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร) · หน่วยวิทยบริการจังหวัดอุตรดิตถ์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดหมอนไม้ · ศูนย์บริการการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์) · โรงพยาบาลอุตรดิตถ์สาขา 1 (เปิด 21 กันยายน 2552 นี้ ที่ตึกแถวรถไฟศิลาอาสน์) · โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ สาขาย่อยท่าเสา · โรงพยาบาลสมิติเวช สาขาอุตรดิตถ์ · โรงพยาบาลพิษณุเวช สาขาอุตรดิตถ์ · โรงพยาบาลค่ายพระยาพิชัยดาบหัก สภาพพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตรอยต่อแห่งวัฒนธรรมล้านนา ล้านช้าง และภาคกลาง เป็นผลให้ลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาถิ่นและงานประเพณีพื้นบ้านต่างๆ มีลักษณะผสมผสาน ประชากรบางส่วนพูดภาษาไทยภาคกลาง บางส่วนพูดภาษาไทยภาคเหนือ (คำเมือง) บางส่วนพูดภาษาลาว และบางส่วนพูดภาษาท้องถิ่นของตน เช่น บ้านทุ่งยั้ง เป็นต้น งานเทศกาล และงานประจำปีจังหวัดอุตรดิตถ์ · งานเทศกาลพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาดประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ (7-16 มกราคม ของทุกปี) · งานเทศกาลลางสาดหวาน และสินค้าOTOPเมืองอุตรดิตถ์ (ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี) · งานเทศกาลทุเรียน และผลไม้เมืองลับแล ณ เทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล ในระหว่างวันที่ 19-22 พฤษาคม พ.ศ. 2552 (กำหนดการจะอยู่ในช่วงเดือนพฤกษาคม มิถุนายน กรกฎาคม) · งานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันอัฐมีบูชา (จัดในระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน หก ถึง วันแรม 8 ค่ำ เดือน หก และเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังมีประเพณีนี้อยู่) · ประเพณีแข่งขันพายเรือยาวประจำปี (22-24 สิงหาคม ของทุกปี จัดโดย เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ บริเวณลานเอกประสงค์ริมน้ำน่าน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ) · งานเฉลิมฉลองฉลองไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติ พิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำ (วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี บริเวณลานอเนกประสงค์ริมน้ำน่าน อำเภอตรอน) ทางรถไฟ จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ และเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟของภาคเหนือ จากสถานีรถไฟกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) มีขบวนรถไฟมายังจังหวัดอุตรดิตถ์ทุกวัน วันละหลายขบวน จากสถานีรถไฟกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษนครพิงค์ที่ 1-2 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 2. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษสปินเตอร์ที่ 9-10 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่- กรุงเทพ 3. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษสปินเตอร์ที่ 11-12 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 4. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษสปรินเตอร์ที่ 9003-9004 ปลายทางจาก กรุงเทพ-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ 5. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษที่ 991-992 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 6. ขบวนรถไฟด่วนพิเศษที่ 13-14 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 7. ขบวนรถไฟด่วนที่ 51-52 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 8. ขบวนรถไฟรถเร็วที่ 101-102 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 9. ขบวนรถไฟรถเร็วที่ 105-106 ปลายทางจาก กรุงเทพ-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ 10. ขบวนรถไฟรถเร็วที่ 107-108 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เด่นชัย-กรุงเทพ 11. ขบวนรถไฟรถเร็วที่ 109-110 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ 12. ขบวนรถไฟรถเร็วที่ 111-112 ปลายทางจาก กรุงเทพ-เด่นชัย-กรุงเทพ 13. ขบวนรถไฟรถท้องถิ่นขบวนที่ 403และ410 ปลายทางจาก พิษณุโลก-ศิลาอาสน์-พิษณุโลก 14. ขบวนรถไฟรถท้องถิ่นขบวนที่ 407-408 ปลายทางจาก นครสวรรค์-เชียงใหม่-นครสวรรค์ ทางรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ มีรถยนต์โดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ จากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวันวันละหลายเที่ยว มีทั้งหมด 3 บริษัทที่ให้บริการเดินทางรถประจำทางดังนี้ · บริษัท ขนส่ง · บริษัท วินทัวร์ · บริษัท เชิดชัยทัวร์ นอกจากนี้จากสถานีขนส่งอุตรดิตถ์ สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย ดังนี้ ภาคเหนือตอนบน · ปลายทางเชียงใหม่ ผ่าน เด่นชัย ลำปาง ลำพูน · ปลายทางแม่สาย-เชียงราย ผ่าน เด่นชัย แพร่ พะเยา · ปลายทางเชียงของ ผ่าน แพร่ เชียงคำ เทิง · ปลายทางน่าน ผ่าน แพร่ ภาคเหนือตอนล่าง · ปลายทางตาก ผ่าน ศรีสัชนาลัย สุโขทัย · ปลายทาง นครสวรรค์ ผ่าน พิษณุโลก พิจิตร บางเส้นทางผ่านกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ · ปลายทางอุดรธานี-นครพนม ผ่าน พิษณุโลก นครไทย ด่านซ้าย เลย ภูกระดึง หนองบัวลำภู สกลนคร · ปลายทางขอนแก่น ผ่าน พิษณุโลก หล่มสัก ชุมแพ · ปลายทางนครราชสีมา ผ่าน พิษณุโลก สากเหล็ก เขาทราย สระบุรี · ปลายทางอุบลราชธานี ผ่านพิษณุโลก ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ภาคตะวันออก · ปลายทาง พัทยา-ระยอง ผ่าน พิษณุโลก สระบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี อุตรดิตถ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ · กรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาใช้เส้นทาง 117 เข้าพิษณุโลก แล้วเดินทางตามเส้นทางหมายเลข 11 ถึงอุตรดิตถ์ · กรุงเทพฯ ไปสิงห์บุรี แล้วใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) เลี้ยวซ้ายไปอีก จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพรมแดนติดกับ เมืองปากลาย แขวงไชยบุรี ประเทศ สปป.ลาว ทางอำเภอบ้านโคกและน้ำปาด เมื่อ พ.ศ. 2552 ทางคณะรัฐมนตรี มีมติให้ยกระดับ ด่านภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นด่านชายแดนสากล ดังนั้นการเดินทางผ่านแดนเข้าออกสู่ประเทศลาว สามารถทำได้อย่างสะดวก ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ สปป. ลาว การเดินทางสู่ประเทศลาวเริ่มจากด่านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงหลวงพระบาง เป็นระยะทางประมาณ · ด่านภูดู่ -ปากลาย · ปากลาย-ไชยะบุรี · ไชยะบุรี-ท่าเรือเฟอรี่ · ท่าเรือเฟอรี่-เชียงเงิน · เชียงเงิน-หลวงพระบาง 27 กม ในปัจจุบันทางส่วนใหญ่เป็นทางลูกรังที่สามารถเดินทางได้ทุกฤดกาลจนถึงเชียงเงิน จากนั้นเป็นทางราดยางจนถึงหลวงพระบาง อย่างไรก็ตามในอนาคตเส้นทางดังกล่าวจะถูกพัฒนาเป็นถนนระหว่างประเทศระดับมาตรฐาน ( เดิมทีจังหวัดอุตรดิตถ์มีสนามบินพาณิชย์ 1แห่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง แต่เนื่องจากไม่คุ้มทุนในการลงทุนจึงยกเลิกสนามบินอุตรดิตถ์ โดยการเดินทางจากอากาศยานจำเป็นจะต้องลงที่ท่าอากาศยานพิษณุโลกแทน และ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินจากสุวรรณภูมิมายังพิษณุโลกหลายเที่ยวบิน สามารถเดินทางได้โดยขึ้นเครื่องที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปลงที่ท่าอากาศยานพิษณุโลกแล้วใช้รถโดยสารประจำทางสายพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ หรือจะใช้รถแท็กซี่ต่อเดินทางไปถึงอุตรดิตถ์ โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานการบินไทย แผนกขายบัตรโดยสาร (ท่าอากาศยานพิษณุโลก) จังหวัดอุตรดิตถ์ สถานที่สำคัญ · วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (วัดโบราณสมัยสุโขทัย) · วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (วัดโบราณสมัยสุโขทัย) · วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ (วัดโบราณสมัยสุโขทัย) · วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง (วัดโบราณสมัยสุโขทัย) · บ่อเหล็กน้ำพี้ (แหล่งเหมืองเหล็กกล้าแร่น้ำพี้โบราณสมัยสุโขทัย) · วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (ธรรมยุติ) · วัดคลองโพธิ์ (มหานิกาย) ๙ พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ · หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ · พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ) พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิราชสมัยอยุธยาที่สวยที่สุดในประเทศไทย · หลวงพ่อพุทธรังสี (วัดพระยืนพุทธบาทยุคล) · หลวงพ่อธรรมจักร (วัดพระแท่นศิลาอาสน์) · หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ (วัดคุ้งตะเภา) · หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) · หลวงพ่อสุวรรณเภตรา (วัดคุ้งตะเภา) · หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้) · หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) (วัดดงสระแก้ว) · เขื่อนทดน้ำผาจุก (โครงการของกรมชลประทานปี 2553) · บึงทุ่งกะโล่ (สถานที่บริเวณที่จะเป็นตัวเมืองแห่งใหม่ของอุตรดิตถ์ในอนาคต) ซึ่งมีหลายหน่วยงานได้จัดสรรพื้นที่และทำการก่อตั้งสิ่งก่อสร้างไว้บ้างแล้ว ดังนี้ - อาคารจัดแสดงสินค้า otop หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ - สถานที่ก่อสร้างของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์แห่งใหม่ ได้รับพื้นที่ประมาณเกือบ - วิทยาเขตของ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จังหวัดอุตรดิตถ์ (และอนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) - พุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ · บึงมาย แก้มลิงที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ 1. ^ ประวัติผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายธวัชชัย ฟักอังกูร. จากเว็บไซต์จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552. 3. ^ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์. เว็บไซด์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอุตรดิตถ์ 4. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ, เล่ม 32, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2458, หน้า 178 5. ^ ประวัติและสภาพทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์. กระทรวงวัฒนธรรม 6. ^ ประวัติจังหวัดอุตรดิตถ์จากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย · ประวัติจังหวัดอุตรดิตถ์ความเป็นมาตั้งแต่อดีตทุกตอนสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ · The Historical Background of The Uttaradit · รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์ · รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ · สนามบินอุตรดิตถ์ (ปลดประจำการ) · กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 27 จังหวัดอุตรดิตถ์ · เหตุการณ์น้ำท่วมดินถล่มในจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2549 คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: · เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด · รวมข้อมูลในจังหวัดอุตรดิตถ์-ประวัติจังหวัดอุตรดิตถ์. · สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์. ข้อมูลจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน พิกัดภูมิศาสตร์: · แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดอุตรดิตถ์ o แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์ o ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์ o ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |