*/
<< | กุมภาพันธ์ 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
ตามดูนก 2 อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก 7 กุมภาพันธ์ 2556 ครึ่งวันแรก เราก็ยังอยู่บนดอยสันจุ๊ หรือดอยลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติฟ้าห่มปก หลังจากดูนกชมไม้กันไปตามเขาตามดอย กันไปช่วงหนึ่งแล้ว เราก็เดินทางลงจากเขา เพื่อมาหาที่พัก โดยคืนนี้เราจะเดินทางไปพักที่ อุทยานแห่งชาติฟ้าห่มปก ซึ่งอยู่ห่างจากดอยสันจุ๊ราว 30 กม. อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก เดิมนั้นเป็นบ่อน้ำพุร้อน ซึ่งอยู่ที่ ม.6 ต.โป่งน้ำร้อน อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2511 โดยสำนักานป่าไม้เขตเชียงใหม่ และตั้งเป็น “วนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง” เมื่อปี 2524 โดยกรมป่าไม้ ตามลักษณะของภูมิประเทศที่เป็นน้ำพุร้อนผุดขึ้นหลายตาน้ำ เป็นลานกว้าง ต่อมา ปี 2543 ก็ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 97 ของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง” มีพื้นที่ทั้งหมด 524 ตารางกิโลเมตร หรือราว 327,500 ไร่ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ตามชื่อสถานที่ที่เป็นจุดสนใจคือดอยผ้าห่มปก มีความสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย คือ 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี 2551 เป็นอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ตามโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ที่ตั้งอุทยานนั้นอยู่ไม่ไกลจากอำเภอฝาง น่าจะราว 10 ม. ซึ่งจะมีป้ายบอกทางชัดเจน ในนั้นก็จะมีห้องพักตั้งแต่ราคา 600 – 2000 บาท ถ้ากางเต้นท์ก็คืนละ 30 บาทต่อคน หรือเช่าเต้นท์อุทยานก็ราว 300 บาท ครับ ที่นี่มีน้ำพุร้อน จึงได้อาบน้ำพุร้อนกันสบาย ๆ โดยมีทั้งห้องรวมและห้องเดี่ยว ห้องรวมนั้นเสียค่าบริการ 20 บาท ห้องเดียว คนละ 50 บาท เปิดบริการตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง ทุ่ม นอกจากนี้ยังมีนวด และ สปาด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายครับว่า จากที่เคยมีประสบการณ์ด้านการอาบน้ำร้อนและไปเที่ยวเมืองน้ำร้อนที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นต้นตำหรับของเรื่องน้ำพุร้อนนั้น ผมมีแนวคิดว่า การอาบน้ำร้อนธรรมชาติ ควรจะเปิดให้บริการตลอด เพราะถ้าอากาสหนาวก็จะแช่น้ำอุ่นได้สบาย ๆ ที่ญี่ปุ่นในโรงแรมเปิดตี 5 ถึง 5 – 6 ทุ่ม ให้ลูกค้าได้ใช้บริการอย่างเต็มที่ และการแช่น้ำร้อนธรรมชาตินั้น บางแห่งเขาทำสถานที่ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ โรงแรมในเมืองเปปปุของญี่ปุ่น อันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องน้ำพุร้อนนั้น ได้สร้างบ่อแช่น้ำร้อนไว้บนเนินเขา ลูกค้าก็จะมาแช่น้ำร้อนและชมภาพทิวทัศน์ของเมือง และตะวันขึ้น ผมว่าที่เมืองไทยก็ควรไปศึกษาดูนะครับว่าควรจะสร้างให้ได้ประโยชน์อย่างไร และควรจะแนะนำเรื่องของการแช่น้ำร้อนอย่างถูกวิธี ผมมีเวลาไปแช่น้ำร้อนและนวดตัวในช่วงบ่าย ๆ แต่พี่ชาลีไปดูนกแถวนั้นต่อ วันนี้เป็นวันพฤหัสบดี แต่ก็มีแขกพักในห้องพักเต็มหมด ผมจึงกางเต้นท์อีกฝั่งหนึ่งของอุทยาน ด้วยเหตุผลที่ว่าใกล้ห้องน้ำดี จะได้สะดวก แต่มันไกลจากสำนักงานราว 200 เมตร ซึ่งต้องเดินลัดลานน้ำพุร้อนไป อันนี้ลึมคิด กลางคืนก็เลยเดินแบบสุ่ม ๆ ไป มีไฟฉายที่พี่มะอึกให้ยืมตั้งแต่ทริปที่แล้วยังไม่ได้คืน ที่ต้องเดินไปสำนักงานตอนกลางคืน เพราะต้องไปชาร์ทแบตมือถือครับ โดยสำนักงานเปิดตลอดทั้งคืน แสงสว่างในฝั่งของเราที่กางเตนท์อยู่นั้น มีเพียงไฟในห้องน้ำและด้านนอก แต่ไฟส่วนอื่น ๆ ไม่ได้เปิด มันก็เลยมืดพอสมควร เขาคงประหยัดไฟ แต่เราก็ไม่ได้ใช้แสงอะไรมากมาย กลางคืนหลังจากทำอาหารกินกันก็นอน ตั้งแต่ 2 ทุ่ม เตนท์ของเราตั้งไม่ห่างจากปล่องน้ำพุร้อนใหญ่ ก็เลยได้ยินเสียงซู่ ๆ ตลอดทั้งคืน และมันจะพุ่งแรงทุก ๆ 30 นาที สูงราว 30 เมตรเลยทีเดียว ด้วยเสียงของน้ำพุดังก็เลยกลบเสียงกรนของพี่ชาลีไปโดยปริยาย วันรุ่งขึ้น 8 กุมภาพันธ์ 2556 อาหารเช้าที่เรียบง่าย ก็ได้มาจากเสบียงที่เราซื้อมาในวันแรก ข้าวเหนียวที่เหลือเราก็เอามาอุ่นกินกัน ไข่เราก็เอาไปต้มในบ่อน้ำร้อน ไข่ต้มบ่อน้ำร้อนนี่มันนิ่มอร่อยดีนะครับ อร่อยเพราะมันต้องรอ 30 นาทีเลยหิวมั้งครับ วันนี้ตามกำหนดแล้ว พี่ชาลีจะลอยแพพวกเราสองคนผัวเมียไว้ที่บ่อน้ำร้อนฝางแห่งนี้ ส่วนพี่ชาลีจะกลับไปดูนกที่ดอยลางอีกครั้ง รถของพี่ชาลีก็มีอายุแล้วเหมือนเจ้าของรถนั่นแหละครับ เมื่อวานนอกจากจะต้องเอา “หินหนุน” ไปแล้ว นอกจากนี้ น้ำยาแอร์ก็รั่วอีกครับ ขาลงจากเขา ก็รู้ได้ว่า แอร์ไม่เย็นเสียแล้ว วันนี้พี่ชาลีจะต้องเอารถไปซ่อมแอร์อีก กิจกรรมยามว่างที่ถูกปล่อยไว้ที่นี่ของผมจะทำอะไรกันดี ช่วงเช้า ก็เข้าบ่อน้ำแร่อีกรอบ เมื่อวานก็อาบ เช้านี้ก็อาบ เอาแบบเต็มที่ไปเลยครับ สบาย ๆ จนเกือบจะเที่ยง เราก็เลยต้องหาทางออกจากบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ ไปเที่ยวที่อื่นบ้าง โดยตัดสินใจที่จะไปยัง สวนส้มธนาธร ติดตามตอต่อไปครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม จากสำนักอุทยานแห่งชาติ http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1097 สภาพป่าและพืชพรรณ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 400 – 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประกอบกับมีอาณาเขตด้านทิศตะวันตกติดกับประเทศเมียนม่าร์ จึงเป็นผลให้มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติสูง โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ที่มีความหลากหลายของประเภทป่า ซึ่งสามารถจำแนกประเภทป่า โดยอาศัยปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ลักษณะดิน และพืชพรรณเด่น ได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) สามารถพบป่าประเภทนี้ได้ตั้งแต่ระดับความสูง 400–600 เมตร พรรณไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ติ้ว ส่วนพืชชั้นล่างที่พบ ได้แก่ ปรงป่า และเป้ง 2. ป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) เป็นประเภทป่าที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่อุทยานฯ ตั้งแต่ระดับความสูง 400 – 800 เมตร พรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ชิงชัน ประดู่ มะค่าโมง แดง ตะแบก เป็นต้น ในบางพื้นที่จะพบไผ่ขึ้นปะปนอยู่เป็นบริเวณกว้าง พืชชั้นล่างที่พบ ได้แก่ พืชวงศ์ขิงข่า คล้า และเฟินชนิดต่างๆ 3. ป่าดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าประเภทนี้พบกระจายเพียงเล็กน้อยในพื้นที่อุทยานฯ มักพบขึ้นปะปนกับป่าเต็งรัง พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ยาง และปอชนิดต่างๆ 4. ป่าสนเขา (Pine Forest) เป็นสภาพป่าที่สามารถพบได้ตั้งแต่ระดับความสูง 800–1,700 เมตร บริเวณแนวเขตชายแดนไทย – เมียนม่าร์ ตามแนวสันเขาถนนเส้นทางความมั่นคง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ค่อนข้างเปิดโล่ง พรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่ คือ สนสามใบ สนสองใบ และมักพบไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ขึ้นปะปน อยู่ด้วย 5. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) สภาพป่าส่วนใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกตลอดทั้งปี จัดเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดลำห้วยหลายสาย ป่าประเภทนี้พบในระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 เมตร จนถึงบริเวณยอดดอยผ้าห่มปก พรรณไม้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่ง อบเชย ทะโล้ เป็นต้น ตามผิวลำต้นของไม้จะถูกปกคลุมไปด้วย มอส เฟิน ไลเคน กล้วยไม้ และพืชเกาะอาศัยชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบพืชชั้นล่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ดอกสีสันสวยงามตามฤดูกาล ได้แก่ บัวทอง หนาดขาว หนาดคำ ผักไผ่ดอย เทียนคำ เทียนดอย และผักเบี้ยดิน เป็นต้น หน่วยงานในพื้นที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.1(ดอยลาง) หน่วยพิทักษ์นที่ดป.2(หนองเต่า) หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.3(น้ำตกโป่งน้ำดัง) หน่วยพิทักษ์ฯที่ดป.4(โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |