*/
<< | กันยายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
การปฏิวัติฝรั่งเศสถูกนำมาอ้างอิงอยู่เสมอมา ทั้งเพียงบางส่วน ชูบางประเด็น และนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทยเพื่อสร้างกระแสในบางกลุ่มชน เป็นเหตุให้คนที่เข้าใจครึ่งเดียวหลงประเด็นได้ การบอกเพียงว่า French Revolution เป็นการปฏิวัติที่ส่งผลให้เกิดการล้มเจ้า ล้าง Absolute Monarchy แล้วเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐ ที่ลงตัวและแก้ปัญหาให้ฝรั่งเศสตอนนั้น โดยไม่ลงรายละเอียดของสาเหตุและปัจจัยซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างความคลุมเครือและชี้นำไปสู่การตีความที่ผิดในคนไทยบางกลุ่ม French Revolution ในที่นี้จะลำดับที่มา อธิบายมูลเหตุ ให้ไม่สับสนไขว้เขว ภาคแรก ประเทศฝรั่งเศส บันทึกตามข้อเท็จจริงที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยึดถือ ระบุว่าการปฏิวัติครั้งนี้ เกิดจากสาเหตุที่ถูกสะสมมาหลายปี หลายประการ แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มคน ส่งผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง เช่น สงคราม ภาวะเศรษฐกิจ ประชาชน และ Monarchy พอสาเหตุเกี่ยวร้อยรวมกันจนครบองค์ประกอบ จึงผลักดันให้ประทุขึ้นเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ French Revolution เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 ปีที่ 16 แห่งการครองราชย์ของ Louis XVI (16) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ของไทย และ George III ของอังกฤษ ชนวนของการปฏิวัติเริ่มมาราว 26 ปีก่อนหน้าแล้ว ตอนนั้นฝรั่งเศสเพิ่งแพ้ Seven Years War สงครามความขัดแย้งระหว่างคู่ปรปักษ์หลัก คือ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่ดึงให้อีกหลายชาติยุโรปต้องเลือกข้างสนับสนุนและประกาศสงครามกัน ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสมีผลทั้งก่อนหน้า คือ ทุนที่ใช้ในการรบ และหลังสงบศึก ที่กองทัพเรือกลายเป็นง่อย อาณานิคมที่ไปยึดครองไว้ก็ถูกยึดหรือเปลี่ยนมือ ในขบวนการแลกเปลี่ยนอาณานิคม ฝรั่งเศสถูกตัดอำนาจจากอินเดีย ขณะที่ฐานของเกรทบริเทนยังคงอยู่แถมได้ผลิตผลน้ำตาลจากหมู่เกาะคาริบเบียนอีก ขณะที่คนอื่นไม่แย่ ฝรั่งเศสกลับหนี้ท่วม ฐานะการเงินง่อนแง่น แต่เมื่อตัดใจจากการทิ่มแทงเกรทบริเทนไม่ได้ ก็ไปสนับสนุน War of Independence ของอเมริกัน สร้างทัพเรือขึ้นใหม่เพื่อเตรียมการรบเอาคืน หนี้ที่มีก็ยิ่งทบทวีคูณ เมื่อรวมกับงบที่ Louis XIV (14) และ Louis XV (15) ทุ่มเทสร้าง Versailles ฝรั่งเศสจึงถังแตกไปเรียบร้อยแล้ว แม้การสร้าง Versailles จะมีเหตุผลและที่มา แต่เมื่อใช้งบประมาณเกินกำลัง เหตุแห่งความจำเป็นจึงถูกภาพของความฟุ้งเฟ้อกลบสิ้น Versailles ในฉากหน้าของ Louis XIV คือเครื่องสะท้อนหน้าตาและความเจริญมั่งคั่งของชาติให้สมฐานะเมืองหลวง แต่ในทางปฏิบัติ คือ การคานอำนาจกับรัฐบาลที่ปารีส เพราะ Versailles ไม่อยู่ภายใต้เขตการปกครองฝรั่งเศส ปาห์เลมองท์ Parlements (คล้ายเทศบาลท้องถิ่นแต่มีอำนาจทางการเมืองด้วย)และเป็นที่ตั้งของ Ministry of War (คล้ายกลาโหม), Ministry of Foreign Affairs (ต่างประเทศ), Ministry of Navy (ทัพเรือ) ที่สำคัญ เป็นที่ชุมนุมพวก Nobilities อำมาตย์ ขุนนางทั้งหลาย เพราะอำมาตย์นี้ คือ ศักดินา ผู้มีที่ดินให้คนจน (Peasants) เช่าทำกิน และเก็บภาษีส่งพระคลัง การจูงให้อำมาตย์เหล่านี้มารวมกันที่ Versailles เป็นทั้งการให้สีสันบรรยากาศกับพระราชวัง และสะดวกแก่การกำกับดูแล สิ่งแลกเปลี่ยนที่จำต้องเสีย คือ การให้อภิสิทธิ์และยกเว้นภาษีแก่อำมาตย์เหล่านี้ ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบหาเงินเข้าคลังในระยะยาว Louis XV เห็นปัญหา แม้จะพยายามปรับปรุงการจัดเก็บภาษีระดมเงินช่วยชาติก็ไม่สำเร็จ ความขัดแย้งใน Court ราชสำนัก มีมากขึ้น กระแสต่อต้านระบบกษัตริย์จากคนจำนวนน้อยก็เริ่มปรากฏให้เห็น คนที่ต่อต้านนี้ ไม่ใช่ขุนนางที่มีเงิน หน้าตา ที่ได้ละเว้นภาษีอยู่แล้ว ไม่ใช่คนจน ที่ยังอยากให้มีกษัตริย์มาทุบชนชั้นที่ชอบมาขูดรีด ที่ยังเกรงกลัวต่อราชสำนัก แต่เป็นชนชั้นใหม่ ที่เพิ่งเกิดจากตลาดแรงงานในกรุง (The 3rd Estate) ชนชั้นใหม่ที่เกิดจาก Urbanization เป็นพ่อค้าที่เกิดขึ้นตามสังคมเมือง ที่ไต่เต้าขึ้นมาเมื่อเริ่มมีเงินและการศึกษา แต่ยังไร้อำนาจอยู่ คนกลุ่มนี้ คือ Bourgeoisie ชนชั้นกลาง (Professional class) ในเวลาต่อมา ฝรั่งเศสเก็บภาษีสอดคล้องกับการแบ่งประเทศเป็นเขตแคว้น ขุนนางปกครองแคว้นแยกกันเก็บภาษีตามอัตราที่ต่างกันไป เสียทั้งโอกาสสร้างความได้เปรียบให้ชาติหากรวมกัน และสร้างปัญหาตามมาเรื่องขุนนางละเว้นภาษีตัวเอง แต่เลือกเก็บจากประชาชนและบริวาร เก็บเท่าไหร่ ส่งคลังแค่ไหนเป็นอีกเรื่อง ที่สำคัญ ขุนนางเก็บค่าเช่าที่เป็น เงิน ขณะที่การจ่ายภาษีทำได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นแรงงานและผลผลิต (kind) ภาษีที่เป็น เงินจึงเข้าขุนนางมากกว่าเข้าคลัง ในช่วงที่ยังมีการศึกสงคราม ภาวะหนี้สินเป็นปัญหาของทุกชาติรวมทั้งเกรทบริเทน เวลานั้นฝรั่งเศสเป็นชาติที่มั่นคงมาก พื้นที่เกษตรกรรมและผลผลิตอยู่ในอันดับต้นของยุโรป มีประชากรเป็นรองแค่ Imperial Russia มีแรงงานเพศชายถึงเกือบ 18% ของยุโรป แต่ความฟุ้งเฟ้อของ Versailles และความจดจ่อในการจ้องจะรบกับเกรทบริเทนทำให้ฝรั่งเศสต้องไปกู้เงินมหาศาล ดอกเบี้ยสูง เพราะสมัยนั้นการรบคือการค้า หากชนะก็บังคับเอาค่าชดใช้ (Reparation) และเก็บภาษีผู้แพ้ในฐานะเมืองขึ้น การไปช่วยอเมริกันรบ อเมริกันได้ประโยชน์ แต่ฝรั่งเศสได้มาแค่ความสะใจ...แพ้ทัพเรืออังกฤษ และทุกการรบกับเกรทบริเทน การปกครองภายในประเทศ เต็มไปด้วยการฉ้อฉล คดีความที่ถึงศาลจะถูกบังคับเก็บ Epices ค่าธรรมเนียมนอกกฎหมาย แปลว่า spices ที่ใช้แต่งเติมรสชาติอาหาร เพื่อให้ดำเนินการต่อไป หากไม่จ่าย เรื่องอาจสูญหาย หรือไม่มีความคืบหน้า ความยุติธรรมจึงเกิดขึ้นกับผู้มีเงินเท่านั้น เงินทองที่ควรระดมได้จากการเก็บภาษี ต้องสูญไปกับการยกเว้นภาษีของ Nobles & Clergy คือ ขุนนางและวัด วัดมีบทบาทอย่างยิ่งจากที่ดินมากมาย การยกเว้นภาษีวัด คือการเสียโอกาสจากรายได้ค่าเช่าของวัดอีกมาก ในสมัย Louis XV และ Louis XVI มีข้อเสนอให้เปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโดยรวมชนชั้นศักดินา แต่ถูกต่อต้านจาก Parlements ก็ปาห์เลมองท์ นั้นหากินกับเศรษฐีใหม่ ที่เริ่มมีเงินแต่ยังขาดหน้าตา ก็เอาเงินมาแลกกับยศถาบรรดาศักดิ์ ถูกเก็บค่าป่วยการเป็นเงินรายปี ปาห์เลมองท์จึงหมดทางขูดรีดเงิน เกิดการต่อต้านไต่ขึ้นมาเป็นลำดับจากชนชั้นกลาง ฝรั่งเศสเรียกขุนนางตัวจริงว่า Nobles of the Sword ที่เกียรติยศเกิดจากการสร้างคุณงามความดีเพื่อชาติ ต่างจากเศรษฐีใหม่ Nobles of the Robe ที่เริ่มมีเงิน และดูเก๋ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่อง ที่คงไม่ต่างจากการตะกายขึ้นสู่บันไดแห่งการยอมรับในโลกทุกวันนี้ ในยามดี คนชั้นล่างก็ลำบากแล้ว ในยามยากก็ถึงขั้นอดตาย ช่วงภาวะอดอยาก (Famine 1780s) จึงเหมือนฟางเส้นสุดท้าย เมื่อพืชผลไม่เป็นไปตามธรรมชาติ คนฝรั่งเศสซึ่งบริโภคขนมปังเป็นหลักแต่ไม่ยอมกินมันฝรั่งอย่างพวกไอริช ก็ลำบากสาหัส เพราะขาดแป้งทำขนมปัง เมื่อทำงานหนัก เสียค่าเช่าที่ทำกิน เสียภาษีเข้าคลัง แล้วยังมาอดอยาก ไม่มีกิน จึงเป็นภาวะเกินทนของคนจนรากหญ้า ที่ต้องการเพียงความอยู่ดีกินดี เทียบเท่าคนชั้นกลาง โดยไม่เข้าใจหรือสนใจเรื่องการปกครองประเทศ ในอีกมุม ชนชั้นกลางหน้าใหม่ Bourgeoisie สงสัยว่า เมื่อมีเงิน มีฐานะ มีปัญญาซื้อหน้าตายศถาบรรดาศักดิ์ ทำไมจึงยังไม่มีสกุลพอที่จะถีบตัวขึ้นสู่อีกชนชั้น ที่สามารถเข้าไปบริหาร มีอำนาจปกครองประเทศได้อย่างอำมาตย์ขนานแท้บ้าง คำตอบของการขึ้นเป็นใหญ่จึงพุ่งสู่หนทางเดียว คือ ต้องกำจัดระบบศักดินา กษัตริย์ และนำประเทศเข้าสู่สาธารณรัฐ เมื่อเหตุการณ์ประจวบเหมาะครบองค์ ที่ชนชั้นกลางเป็นแกนนำ เอาแรงสนับสนุนจากคนระดับรากหญ้าที่หวังผลคนละเรื่อง ก็ประทุสู่ French Revolution อีกประเด็นที่โต้แย้งกันว่าส่งผลให้มีการปฏิวัติครั้งนี้ คือ Enlightenment Ideas แนวคิดของนักปรัชญา แม้นักประวัติศาสตร์จะเคารพความคิดเห็นของนักปรัชญาอย่าง Voltaire (16941778) หรือ Rousseau (17121778) แต่ก็ไม่อาจสรุปว่าแนวคิดมีอิทธิพลต่อคนหมู่มากในฝรั่งเศส* เพราะความสามารถอ่านเขียนของคนจนที่เป็น Masses รากหญ้า ยังต่ำ จึงได้ข้อมูลเรื่องปฏิวัติจากการบอกเล่าของคนที่ไปช่วยรบที่อเมริกามากกว่า คนที่ใส่ใจเรื่องนี้กลับเป็นสองกลุ่มต่างขั้ว คือ Louis XV ที่พยายามนำแนวคิดในการเก็บภาษีมาใช้ และคนชั้นกลาง Bourgeoisie ที่รู้หนังสือและผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ Karl Marx สรุปไว้ว่า คนรากหญ้ายินยอมไปสู้รบกับศัตรูของ Bourgeoisie เป็นมือเท้า เป็นแรงขับเคลื่อนให้ Bourgeoisie นำไปสู่การปฏิวัติ ก็เพียงหวังให้มีกิน และสุขสบายอย่างชนชั้นกลาง หาใช่ความหวังถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง** ภาคที่สอง ประเทศไทย พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คือความพยายามนำ French Revolution มาใช้ กลุ่มผู้จุดชนวนการเปลี่ยนแปลง ได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส และรับอิทธิพลของ French Revolution จึงต้องการนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทย โดยขาดการไตร่ตรองอย่างละเอียดลึกซึ้ง ถึงสภาพและความพร้อมของคนไทย ณ เวลานั้น ซึ่ง อัตราการรู้หนังสือยังต่ำ ชาวนา เกษตรกร ไม่ได้อดอยาก ชนชั้นกลางยังไม่ปรากฏ การเป็น Feudal society ระบบศักดินา ไม่ได้สร้างอภิสิทธิ์ที่น่าเกลียด ภาษีหรือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้สร้างปัญหา ที่สำคัญ ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ขัดกับ Revolution ทุกที่ในโลก ที่ต้องการล้างระบบกษัตริย์ ต่างกับประเทศไทย ที่กษัตริย์ใกล้ชิดและเป็นที่รักของประชาชน การเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 จึงตีความได้ว่า พวกอำมาตย์ใหม่ไม่พอใจกับวิธีการปกครอง พยายามสร้างระบบ Republic เพื่อแสวงหาอำนาจมาปกครองเสียเอง โดยไม่ใส่ใจกับความไม่พร้อมในชาติ เมื่อหัวใจของประชาธิปไตย คือ ประชาชน ที่ต้องพร้อมรับและเจริญเติบโตไปกับประชาธิปไตยนั้น ยังไม่พร้อม ประชาธิปไตยก็ไม่มีทางโต เมื่อได้อำนาจมา ก็กำหนดให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ริดอำนาจของพระมหากษัตริย์ในบทบาทการปกครองประเทศ ให้เหลือเพียงการเปิดปิดสภาและรับรองรัฐบาล แต่อำนาจไม่สำคัญเท่ากับความอยู่ดีของประชาชน พระมหากษัตริย์จึงยังคงทุ่มเทพระองค์พัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญที่ยั่งยืนอย่างไม่เคยหยุดยั้ง เพราะฉะนั้น ความเลวที่เกิดขึ้นในประเทศชาติ จึงมาจากความบกพร่องของอำมาตย์เหล่านี้ และไม่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ความบกพร่อง ที่ไม่ดำเนินการไปตามระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เรียกร้อง ทั้งที่พระมหากษัตริย์ได้ส่งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดแก่ประชาชนแล้ว อีกประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจ คือ เหตุการณ์ พ.ศ. 2475 เป็นเพียง Coup détat คูเดต้า ไม่ใช่ Revolution Revolution การปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศแบบถอนรากถอนโคน ด้วยการอาศัยแรงผลักดันของมวลชน คนส่วนใหญ่ของประเทศ Coup détat รัฐประหาร คือ ปฏิบัติการโดยคนเพียงกลุ่มเล็ก เพื่อล้มล้างอำนาจของผู้ปกครองบ้านเมืองโดยฉับพลัน และเปลี่ยนขั้วอำนาจ การทำรัฐประหาร 2475 จึงส่งผลอย่างเดียวให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ไร้ความหมาย ภาคสรุป ยุคปัจจุบัน เมื่อการทำรัฐประหาร คือ การเปลี่ยนขั้วอำนาจ หากขาดการสนับสนุนเป็นเสียงเดียวจากคนทั้งประเทศ ก็จุดชนวนการต่อสู้ของคนที่คิดต่างกัน ถ้าทั้งสองขั้วแรงพอกัน ก็นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองได้อย่างเดียว ต้นทุนของรัฐประหารจึงสูง เพราะรัฐประหารเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผลที่ได้มาไม่มีกฎหมายรับรอง ทั้งรัฐประหารไม่เคย และไม่สามารถนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาได้ เป็นแต่เพียงรอเวลา ให้คนต่างขั้วความคิดลุกฮือขึ้นใหม่ วนเป็นวัฏจักรอีกรอบ รู้อย่างนี้แล้ว หยุดคิด... เลิกงมงายกับคำชวนเชื่อของขบวนการล้มเจ้าเสียที ระบบสาธารณรัฐ ไม่ใช่คำตอบอย่างที่ทักษิณพยายามชี้นำ แต่กลับเป็นรัฐประหารที่เอาเงินมาเป็นอาวุธ สร้างอำนาจจูงประชาชน ส่งผลได้อย่างเดียว คือ Economic Dictatorship เผด็จการทางเศรษฐกิจโดย ครอบครัวชินวัตร การพากันเป็น แดงทั้งแผ่นดิน สร้างอำนาจและประโยชน์ให้ใครกันแน่ การเอารัฐประหารมาสู้กัน ก็รังแต่จะส่งให้เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ต่อไป สำนึกในหน้าที่พลเมืองของตนเอง ให้กฎหมายมีโอกาสศักดิ์สิทธิ์ ที่คนทำผิดก็ต้องถูกลงทัณฑ์ เพราะการปกครองที่ยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนั้นการต่อสู้กับสถานการณ์การเมืองตามกติกาย่อมบังเกิดผล ........................................ Ill tip my hat to the new constitution Take a bow for the new revolution Smile and grin at the change all around Pick up my guitar and play Just like yesterday Then Ill get on my knees and prey We dont get fooled again... - Wont Get Fooled Again Pete Townshend, The Who
Reference: Townshend (1971) ตั้งใจเขียนเพลงนี้จากแนวคิดของ Revolution และเตือนนักการเมืองว่า อย่าพยายามเอาความคิดมายัดเยียดมอมเมาประชาชนให้ทำตาม เพราะถ้ามันเลวก็ไม่มีใครเอาด้วย อ่านฉบับเต็ม Pete Townshend/diary The Penguin History of Europe J.M.Roberts, 1996 PENGUIN BOOKS * เชื่อกันว่ามีผลชัดกว่าใน American Revolution ** The Bourgeoisie and the Counter-Revolution by Karl Marx ภาพ The French House, Soho ที่ General Charles de Gaulle นั่งเขียนคำปราศรัย À tous les Français
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |