*/
<< | ตุลาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
ท่ามกลางความสับสนของกระแสเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน เรื่องมากมายถูกนำมาสร้างประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจหลากรูปแบบ อะไรคือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด Capitalism, Socialism หรืออื่นใด การทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจน่าจะช่วยป้องกันการหลงประเด็นได้ดีที่สุด จะเล่าเรื่องของเศรษฐกิจก็ต้องเริ่มต้นที่ยุโรป ถึงแม้ในวันนี้สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก ก็เริ่มจากการเป็นประเทศใหม่ที่ประกาศอิสรภาพมาเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 และรับอิทธิพลมามากจากยุโรป ย้อนไปกลางศตวรรษที่ 18 เกิดการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญยิ่ง เมื่อ Industrial Revolution สร้างโฉมหน้าใหม่ให้เศรษฐกิจบริเทนช่วง พ.ศ. 2293 2373 เป็นกำเนิดของโรงงาน สังคมเมือง และตามมาด้วยเรื่องการศึกษาที่เป็นผลจากรายได้ที่มากขึ้นและความจำเป็นต่อการอ่านออกเขียนได้เพื่อการทำงานในโรงงาน ไม่กี่ปีถัดมา ก็เป็นรัชสมัยของควีนวิคทอเรียที่สภาวะเศรษฐกิจอำนวยให้บริเทนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองอย่างที่สุด จากโรงงานพัฒนาสู่การเดินรถไฟ เมื่อรวมกับทรัพยากรถ่านหินและเหล็กกล้า จึงนำประเทศข้ามไปสู่อุตสาหกรรมหนักที่สร้างความเจริญตามมาอีกมาก บนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Capitalism
เวลาเดียวกัน Karl Marx หนึ่งในบรรดา Thinkers นักคิด ที่อาศัยอยู่ในลอนดอนตอนนั้น มอง Capitalism ต่างออกไปว่า เป็นเผด็จการที่เกิดขึ้นโดยชนชั้นกลาง และเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง (Dictatorship of the bourgeoisie บูร์ จวา ซี่ = คนชั้นกลาง) ซึ่งวันหนึ่งจะถูกลบล้างและสลายลงไปด้วยการแทนที่ของ Socialism ซึ่งเกิดขึ้นโดยผู้ใช้แรงงาน (Dictatorship of the proletariat โพร ลี ทา เรียท = กรรมกร) ที่ในสุดจะแปรสภาพไปเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น หรือ Communism เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน Proletariat ทั้งหลาย บทความนี้ ขอไม่แปลศัพท์เศรษฐกิจภาษาอังกฤษ Socialism ที่ใช้กันว่า สังคมนิยม เป็นระบบการบริหารเศรษฐกิจ ไม่ใช่ระบบการปกครองทางการเมืองอย่างที่มีคนสับสน ความคลาดเคลื่อนนี้อาจเกิดจากหลักการดั้งเดิมของ Marx ที่ไม่ได้แยกเรื่องการเงินและการปกครองออกจากกัน ในยุโรปเข้าใจว่าเป็นระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวอย่างชัดเจนมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการนำมาใช้เป็นหลักการบริหารการเงินของชาติ (อเมริกาไม่ยอมรับ เพราะกลัวการเป็น Communist โดยไม่สนเหตุผล ดังที่ปรากฏตัวอย่างเรื่องการประกันสุขภาพที่ Obama นำเสนอ) Capitalism หากใช้ว่า ทุนนิยม มีความหมายพื้นฐานได้เพียงแค่เป็นการสร้างอุปสงค์อุปทานโดยปราศจากการควบคุมของรัฐบาล (free market) ในทางปฏิบัติรัฐบาลกลับมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทสำคัญในการควบคุมและเรียกเก็บภาษี
แนวคิดของ Karl Marx ต้องการให้ทุกคนเท่าเทียมกันหมด ให้ทุกอย่างเป็นของรัฐ รัฐกำกับราคาสิ่งของและค่าแรง แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครทำได้ทั้งรัสเซีย จีน เพราะก่อนการปฏิวัติทั้งคู่ยังไม่มีอุตสาหกรรม เมื่อรัสเซียต้องการนำความเจริญมาสู่ชาติ ก็ต้องก้าวเข้าสู่ Capitalism ให้มีแรงจูงใจจากผลตอบแทนเพื่อให้อุตสาหกรรมโตขึ้นได้ เพราะคนที่ลงทุนย่อมอยากได้กำไร ซึ่งหาไม่ได้ใน Communism ส่วน Socialism ในความหมายปัจจุบันเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกของตลาด (Market mechanism) ผลักดันให้เกิดผลกำไร นำไปต่อทุน ประเทศยุโรปส่วนมากรวมทั้งเกรทบริเทนใช้ระบบนี้ร่วมกับการวางโครงสร้างเก็บภาษี เพื่อระดมเงินไปสร้างความเจริญและความเสมอภาคให้สังคมมากที่สุด ตัวอย่างของ Socialism ที่ใช้ในประเทศไทยตอนนี้ คือ Progressive taxation หรือภาษีก้าวหน้า คนที่หาเงินได้มากก็จ่ายภาษีมากกว่า คนที่รายได้น้อยก็เสียภาษีน้อยตามลำดับ เพื่อให้มีรายได้เหลือเพียงพอต่อการยังชีพ โดยสรุป Capitalism ไม่มีอะไรผิด เป็นกลไกที่ดีในการสร้างความเจริญให้ประเทศชาติ และสามารถใช้ร่วมกับนโยบายการบริหารเศรษฐกิจแบบ Socialism ได้ หากจะผิด ก็เป็นความผิดของรัฐบาลผู้มีหน้าที่ควบคุมให้การบริหารเศรษฐกิจเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เกือบร้อยปีหลังการเสียชีวิตของ Marx เกิดทฤษฎีทางเศรษฐกิจที่แตกต่างจาก Macro economics ของ Socialism แนวคิดใหม่นี้เป็นเรื่อง Micro economics ที่มุ่งเน้นไปที่สังคม ความคิด และวิธีที่ควรปฏิบัติของคน Small is Beautiful A study of Economics as if People Mattered หนังสือเล่มบาง ที่บรรจุแนวคิดของ E.F. Schumacher เผยแพร่ออกสู่เกรทบริเทนใน พ.ศ.2516 ไม่ใช่หนังสือขายดีติดอันดับทันที แต่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย พิมพ์กี่ครั้งก็จำหน่ายหมด จากการเริ่มต้นแนะนำให้อ่านเสริมวิชาเศรษฐศาสตร์ที่โรงเรียนประจำ ในที่สุดก็กลายมาเป็นหนังสือหนึ่งในร้อย ที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดที่โด่งดังของ Schumacher อยู่ในบทที่ 4: Buddhist Economics ที่พูดถึงกันมาเกือบสี่สิบปีแล้ว ไม่ใช่ของใหม่อย่างที่เข้าใจกันเวลาที่เห็นการนำมาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับ Capitalism อยู่ทุกยุคสมัย Ernest Friedrich Schumacher (1911-1977) ถูกอ้างถึงในฐานะนักเศรษฐศาสตร์บริทิช ทั้งที่มีกำเนิดเป็นเยอรมัน เพราะทั้งได้รับการศึกษาจาก New College, Oxford และเลือกที่จะกลับมาพำนักที่ประเทศอังกฤษก่อนที่จะเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยไม่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ใน Nazi Germany ประเทศเยอรมนี ภายใต้รัฐบาลนาซี หลังสงครามจบ Schumacher ทำงานให้บริเทนโดยตลอด ตั้งแต่ British Control Commission ที่ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้เยอรมนี และ British Coal Board ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงาน มีส่วนทำให้ Small is Beautiful มีจุดเริ่มความคิดพ้องกับความสูญสิ้นของแหล่งพลังงานธรรมชาติ Schumacher รับอิทธิพลของศาสนาพุทธ จากการทำงานในประเทศโลกที่สามอยู่นานวัน สิ่งที่สะท้อนออกมาในแนวคิดของหนังสือ Small is Beautiful ลึกซึ้ง ปนปรัชญาพุทธ และยังทันสมัยถึงปัจจุบันนี้ Schumacher ติดใจความคิดของ Mahatma Gandhi และนำคำพูดคมคายของคานธีมาอ้างไว้ Earth provides enough to satisfy every mans need, but not for everys man greed. หาก Need คือความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ Greed ก็เป็นเพียงความละโมบโลภมาก ... ที่ Schumacher บอกว่า มนุษย์เราพยายามบิดเบือนความเป็นไปของกฎกติกาเศรษฐกิจตามธรรมชาติ จนกระทั่งสายตาแห่งสติปัญญาถูกความโลภบดบังเสียสิ้น หลักการของ Buddhist Economics ที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การทำให้แต่ละองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาส่วนอื่น แปลความว่า หากเกษตรกรมีรายได้มากขึ้น อยู่ได้สบายขึ้นในสังคมของตนเอง ฟันเฟืองส่วนอื่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศก็ไม่ต้องแบกเกษตรกร และเมื่อเกษตรกรอยู่รอดมีเงินทองมากพอ ก็สามารถจับจ่ายใช้ของจากส่วนอื่นของระบบเศรษฐกิจได้ เป็นการผลักดันให้เกิดการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีสมดุล การอยู่รอดด้วยตนเอง อีกความหมายคือ การที่ไม่ต้องดึงเงินของส่วนหนึ่งส่วนใดไปพยุงส่วนอื่นอยู่ตลอด หากรัฐบาลไทยต้องเอาเงินจากกระเป๋าข้างหนึ่งไปโปะอีกข้างอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายก็ไม่มีเงินเหลือในคลังและไม่มีใครพัฒนาไปได้สักทาง ทั้งที่แต่ละส่วนควรเป็นหลักเกื้อกูลให้กันและกันได้ เปรียบเสมือนภาคเกษตรกร Agrarian sector หากสามารถยืนด้วยตนเองได้บ้างโดยไม่ต้องเป็นภาระกับเงินจากภาคอุตสาหกรรม Industrial sector ตลอด ก็จะทำให้ทุกฝ่ายอยู่รอดและเจริญไปข้างหน้าร่วมกันได้ เพราะความเจริญไม่ควรจำกัดอยู่ที่ส่วนใดส่วนเดียว เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการสร้างชาติ สังคม และเศรษฐกิจของชาติ ... ทุกส่วนให้อยู่รอดได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอุ้มแบกกัน เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตีความให้คนไทยในชาติรับรู้ว่า การพัฒนาประเทศต้องทำให้หน่วยสำคัญ ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติเจริญขึ้นมาก่อน เกษตรกรไม่ได้เจริญจากเทคโนโลยี่ล้ำโลก แต่เจริญได้ด้วยการสร้างสมดุลในการประกอบอาชีพและหารายได้ในระยะยาว หลักของเศรษฐกิจพอเพียง จึงสามารถร่วมทางกับ Capitalism ได้โดยไม่ขัดแย้ง หากมีการถ่วงน้ำหนักของการลงทุนและสร้างผลกำไรให้เหมาะสมกับความอยู่รอดของหน่วยย่อยในระบบ หลักการนี้ ปรากฏเป็นเครื่องยืนยันอยู่ในแนวความคิด Intermediate Technology ที่ Schumacher สร้างขึ้นว่า การพัฒนาเทคโนโลยี่เป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องเป็นการพัฒนาที่ลงตัว ในขนาดที่สร้างประโยชน์สูงสุดตรงตามความต้องการ การปฏิเสธพัฒนาการระดับ Cutting Edge ที่สุดกู่ เกินประโยชน์ใช้สอยและความต้องการของเกษตรกร จึงไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงตัดการสร้างความเจริญทิ้งไป ...อย่างที่คิดกันเอาเอง พื้นฐานชาติไทยไม่ใช่อุตสาหกรรม เพราะเราไม่มี Raw materials ที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ในด้านอุตสาหกรรม ไม่ต่างจากฝรั่งเศสที่ไม่มีทรัพยากรเพื่ออุตสาหกรรมหนัก ฝรั่งเศสจึงยังมีปัญหาเรื่องเกษตรกรประท้วงกันไม่เลิก การพัฒนาประเทศตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง คือการสร้างความเจริญที่คำนึงถึงคุณค่า (Value) ของมนุษย์ และสร้างความภูมิใจให้สังคมส่วนรวม หาใช่ในแง่เงินทองและวัตถุอย่างเดียว การจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ คนทั้งประเทศต้องเห็นประโยชน์และเห็นคุณค่าในการพัฒนาร่วมกัน ... ให้ถูกทาง ประเทศไทยจะเจริญได้ เมื่อเราสร้างให้ทุกอย่างเจริญไปพร้อมกัน ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยสังคมต้องเจริญด้วย - อย่างมีจริยธรรม ที่ไม่ใช่เพียงการเอาเงินทุบหัว การอัดเงินของรัฐบาล ทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่ถูกและอาจจะไม่ถูกทั้งกฎหมายและจริยธรรม ก็สร้างได้เพียง Consumption (การใช้เงิน) ที่ไม่ผันแปรไปกับ Productivity (อัตราการผลิต) เพราะแนวโน้มของคนในสังคมไทย เมื่อมีเงินเพิ่มก็นำไปใช้สอยในสิ่ง Luxury ฟุ่มเฟือย ที่ไม่จำเป็น ไม่ได้ผลิตในประเทศ และไม่นำมาซึ่งผลกำไรสู่ชาติ คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นทันสมัย เข้ากับสภาพของประเทศชาติ ลึกซึ้ง โดยไม่ขัดกับความเป็นไปในโลกแห่ง Capitalism หากทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ปัญหาที่เกิดจาก Capitalism จึงไม่ใช่ปัญหาของตัวระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นเพียงความบกพร่องในการควบคุมของรัฐบาล ที่ละเลยในการควบคุมและบริหารความโลภของคน ความโลภซึ่งแพร่กระจายได้อย่างเชื้อโรค ตัวเดียวกันกับปัญหาที่เกิดขึ้นที่ Wall Street หรือ ลอนดอน สเปน ความโลภที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ แก่สังคมส่วนรวม การประท้วง Occupy เกิดต่อกันหลายประเทศ เพราะปัญหาลามถึงกันหมดจากระบบข้ามชาติของธนาคาร ที่หาประโยชน์จากการค้าหนี้กันข้ามโลก การแก้ปัญหาเรื่องธนาคารเหล่านี้ ต้องอาศัยการรวมตัวกันของรัฐบาลทุกชาติ สร้างกฎกำกับธนาคารให้เหมือนกันหมด เพื่อกันการใช้สถานภาพเป็น Multinational ไร้พรมแดน หาประโยชน์จากที่ใดที่หนึ่ง ********** ตอนหน้า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานของรัฐบาลสหรัฐ ที่ Wikileaks นำมาเผยแพร่ Reference: Small is Beautiful: E.F. Schumacher, first published in 1973 ISBN 9780099225614 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |