*/
<< | ตุลาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความลึกซึ้งในแนวคิดเรื่องการพัฒนาประเทศไทยมาเป็นเวลาเนิ่นนาน โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่คนในชาติจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจชัดเจน ที่คนบางกลุ่มกล่าวหาว่าไม่เข้ากับสถานการณ์ความต้องการของชาติ ไม่ยอมรับปฏิบัติทั้งในชาติและโลกตะวันตก เมื่อ พ.ศ.2549 สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และข้อสังเกตถึงการนำไปใช้โดยแต่ส่วนของสังคมไทย ส่งตรงถึง Washington DC และสำเนาถึงสถานทูตสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชีย รายงานชิ้นนี้ Wikileaks นำมาเปิดเผยเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 มีเรื่องให้ศึกษาจากมุมมองของพวกอเมริกัน ที่นิยมการบริหารเศรษฐกิจแบบ Bigger is better ที่ขัดกับ ความพอเพียง อนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียง ที่สังคมไทยคุ้นเคยเป็นเรื่องเดียวกับ Sufficiency Economy ในรายงานฉบับนี้ ที่ขอให้เข้าใจชัดเจนว่า หมายถึง การบริหารเศรษฐกิจที่นำหลักแห่งความพอเพียงมาใช้ ไม่ใช่เศรษฐกิจระบบใหม่ 1. SUFFICIENCY ECONOMY คืออะไร เขียนโดย US Embassy Bangkok SUFFIECIENCY ECONOMY พูดกันแพร่หลายในสังคมไทย สืบเนื่องมาจากพระราชดำรัสของ King Bhumipol เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เกี่ยวกับแนวคิด Sufficiency Economy ว่า ถ้าเราควบคุมความโลภในตัวเองได้ ความอยากได้ใคร่ดีก็จะน้อยลง ถ้าความอยากมันลดลง เราก็จะหาประโยชน์จากคนอื่นน้อยลงไปด้วย ถ้าเราทุกคนทำอย่างนี้ได้ บนทางสายกลาง ที่ไม่มากไปจนสุดขั้ว หรือตะกละไม่ยั้งคิด ไม่รู้จักพอ โลกก็จะน่าอยู่ขึ้น ความจริงแล้ว แนวคิดความพอเพียงของพระมหากษัตริย์ไทย ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นตอนนี้ แต่ปรากฏมากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่พ.ศ.2516 เมื่อ King Bhumipol ประทับใจความคิดในหนังสือ Small is Beautiful ของ E.F. Schumacher โดยเฉพาะบทที่ว่าด้วยเรื่อง Buddhist Economics ขนาดที่ว่าได้ทรงแปลเป็นภาษาไทยไว้ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงการในพระราชดำริเพื่อการพัฒนาเกษตรกร ในปีถัดมา 2517 King Bhumipol ทรงปรับแนวคิดของ Schumacher ให้เป็นทางสายกลางที่เหมาะสมในการพัฒนาชาติ ระหว่างการควบคุมเต็มที่ของรัฐบาล extremes of socialist autarky และปล่อยเสรี laissez faire capitalism การพัฒนา ที่ทรงมองว่าควรเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน สร้างให้เกษตรกรมีปัจจัยพื้นฐานอย่างพอเพียงที่จะดำรงชีวิตได้สุขสบายในครอบครัวของตัวเองและชุมชนที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะไปแสวงหากำไรมหาศาลจากการค้าในที่ไกลตัวออกไป (ตัวอย่าง - เกษตรกรที่ไม่รู้จักเพียงพอ ก็ต้องไปกู้ยืมเงินมาลงทุนด้านเทคโนโลยี่ให้สามารถสร้างผลผลิตมากมายเพื่อการส่งออก หากตลาดล้มก็ติดหนี้และไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้) ข้าราชบริพารที่รับสนองนโยบายของ King Bhumipol ก่อตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชนบทไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 2526 เพื่อหาทางปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของเกษตรกรผ่านการพัฒนาที่ดินทำกิน แหล่งน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การใช้เทคนิคสร้างผลผลิตในพืชผลและสัตว์เลี้ยง จนถึงการสาธิต ทฤษฎีใหม่ทางเกษตรกรรม ตามพระราชดำริ เพื่อเกษตรกรรายย่อย (ครองที่ดินน้อยกว่า 2.4 hectares) จัดแบ่งพื้นที่ทำกินเป็นส่วนละ 30% เพื่อกักเก็บน้ำ ปลูกข้าว พืชผลอื่น และเหลือ 10% เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ Embassy Bangkok ทิ้งท้ายว่า: พูดง่าย แต่ทำยาก แม้ว่า Sufficiency Economy เป็นแนวทางที่ยากจะหาข้อตำหนิ แต่เมื่อคนหลากกลุ่มจับเอาคำไปตีความ ก็เกิดความเห็นแตกแยกกันไป ทั้งต่อต้าน และดึงมาเข้าทางตัวเอง
NGO ดึงประเด็นการสร้างเขื่อนมาต่อต้าน แม้ King Bhumipol ผู้ทรงศึกษา ติดตาม และเห็นความจำเป็นของการสร้างเขื่อน จะทรงอธิบายว่า การตัดต้นไม้บ้างเท่าที่จำเป็น ในบางกรณีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อสร้างเขื่อนให้เกษตรกรมีน้ำใช้และสร้างพลังงานได้สม่ำเสมอ
พวก Anti-Trade ก็อ้าง Sufficiency Economy เพื่อค้านการขยายตัวทางการค้า ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในตลาดการค้า และทำลาย self- reliant ที่เกษตรกรอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง องคมนตรี (Kings Privy Council) อธิบายว่า แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ค้านการค้า หรือโลกานุวัตรใดๆ แต่ยังรองรับการเติบโตตามกระแสโลกผ่านการค้าที่สมเหตุสมผล สร้างรายได้ให้เกษตรกร และช่วยกำหนดสัดส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม Sufficiency Economy ถูกนำมากล่าวถึงอีกครั้ง หลังประเทศไทยผ่านช่วงการลงทุนที่ฟุ้งเฟ้อเกิดขีดความเป็นจริง การเก็งกำไร จนนำสู่การล้มกระจาย เมื่อ พ.ศ. 2540 ทั้งที่วิกฤติการณ์นั้นอาจหลีกเลี่ยงได้ หากพิจารณาว่ามีคำพูดเตือนประเภท live within ones means และ act prudently ให้ใช้ชีวิตในขอบเขตที่สามารถทำมาหาได้ อยู่ตลอด แต่ก็ไม่มีมาตรการทางปฏิบัติใดๆ ในสังคมไทย ขณะที่ King Bhumipol ทรงรักษาธรรมเนียมที่ละเว้น การวิจารณ์และยุ่งเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองเสมอมา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่รับสั่งเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2548 ถูกนำไปตีความกันอีก พวกที่วิจารณ์เศรษฐกิจแบบ Dual Track ของทักษิณอยู่แล้วก็เอาไปขยายความเข้าข้างตนเอง Dual Track approach ของทักษิณคือ 1. สร้าง domestic demand การใช้จ่ายในประเทศ ที่กลุ่มรากหญ้า และพัฒนาธุรกิจระดับเล็กถึงกลาง 2. สร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล และเจรจาต่อรองหาข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTAs Free Trade Agreements) Embassy Bangkok ได้ข้อมูลจากคนใน NESAC (National Economic and Social Advisory Council) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า ระบบของทักษิณนั้นเบี่ยงไปคนละทางกับ Sufficiency Economy ทางแรกของทักษิณ ส่งเสริมให้มีการจับจ่ายใช้สอยอย่างมากมายจนดูเหมือนเศรษฐกิจของชาติดี กระตุ้น Easy credit ให้เกษตรกรกู้ยืมได้ง่าย แต่ผลลัพธ์ คือ อัตราการเป็นหนี้ของคนในสังคมชนบทสูงขึ้นมาก ส่วนทางที่สอง FTAs นั้นไม่เคยเกิดขึ้น แหล่งข่าวจาก NESAC บอกว่า NESDB (National Economic and Social Development Board) คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบโดยตรงในการบรรจุหลักการ Sufficiency Economy สู่การวางแผนเศรษฐกิจชาติ ทำได้เพียงแนะแนวทาง แต่ไม่มีอำนาจบังคับให้นำไปใช้ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้อยู่ใน NESDB วิจารณ์ Dual Track ของทักษิณว่า ได้แต่สร้างให้เกิดการจับจ่ายที่ไม่จีรัง unsustainable ซึ่งมีแต่จะหดหายเมื่อภาระหนี้สินและภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น เงินกู้ Easy credit ที่ได้ก็เอาไปใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น ทีวี แทนที่จะเอาไปซื้ออุปกรณ์ทำมาหากิน คนของ NESAC เล่าอีกว่า นอกจากนโยบายของทักษิณจะผิดพลาดไม่เข้าท่า พรรคการเมืองทั้งหลายก็ไม่เคยตั้งใจนำแนวคิด Sufficiency Economy มาใช้เลย ทุกคนแค่พูดเออ ออ ไปเรื่อย วางแผนเอาไว้ลอยๆ และไม่เคยกำหนดแผนการเชิงปฏิบัติจริง crony capitalism and corruption have been around forever the only difference being whos in power and who benefits from the excesses. การเล่นพรรคพวกทางเศรษฐกิจ การทุจริตมีอยู่เสมอมา ขึ้นอยู่แต่ว่าใครจะขึ้นมามีอำนาจ และใครจะเป็นผู้ได้ผลประโยชน์ ข้อสรุปของ Embassy Bangkok King Bhumipol ทรงริเริ่มนำความคิด Sufficiency Economy มาใช้พัฒนาชาติไทยนานแล้ว แต่นักเศรษฐศาสตร์ไม่เห็นความชัดเจนของหลักการ เลยเกิดข้อจำกัดในการนำมาใช้ทางปฏิบัติ และภาครัฐบาล Royal Thai Government Institutions ก็ดีแต่พูด รับสนองพระราชดำริแล้วก็ไม่ได้ตั้งใจทำอะไรจริงจัง แนวคิดนี้จึงเกิดขึ้นในโครงการเกษตรกรรมขนาดเล็กเท่านั้น End Summary. ความเห็นของ Embassy Bangkok ทุกพรรคการเมืองไทย นำ Sufficiency Economy มาอ้างแค่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง แต่ ไม่มี พรรคไหนที่ตั้งใจนำแนวคิดไปปฏิบัติใช้จริง เพราะ หนึ่ง. ไม่มีใครเข้าใจว่าแนวคิดนี้เอาไปใช้กับใครอื่นได้ นอกจากแค่เกษตรกรในโครงการขนาดเล็ก สอง. นักการเมืองคิดว่า Sufficiency Economy ฟังดูดี แต่ในความเป็นจริงเชื่อว่าประชาชนต้องการใช้เงินในปริมาณที่มากกว่า พอเพียง แต่ประเด็นคือ ไม่มีใครในชาตินี้เข้าใจ และมองเห็นความเป็นจริงว่า Sufficiency Economy จะเกิดขึ้นกับประเทศที่เศรษฐกิจของชาติต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก อย่างไทยแลนด์ได้อย่างไร 2. แปลความจากรายงาน US Embassy Bangkok การอ่านรายงานฉบับนี้ ดังรายละเอียดในข้อ 1 พึงทำด้วยความระมัดระวัง แม้เนื้อความจะยืนยันว่าประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาเห็นความเคลื่อนไหวในการพัฒนาประเทศชาติบนพื้นฐานที่สร้างเศรษฐกิจให้เลี้ยงตัวได้เองอย่างพอเพียง และลำดับความเป็นมาให้เห็น แถมเปิดเผยลักษณะนักการเมืองไทย ขณะเดียวกัน ก็เป็นหลักฐานก้อนโตที่สะท้อนความแคบของคนอเมริกันได้ชัดแจ้งในการตีความสถานการณ์ประเทศไทย ส่งผลให้คนที่มองเรื่องราวผ่านสายตาอเมริกันเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่เป็นที่ยอมรับจากโลกตะวันตก
พื้นฐานของอเมริกันเชื่อใน Free market capitalism ที่ไม่ชอบให้ใครมีอิทธิพลกับกลไกของตลาด เพราะหากรัฐบาลสามารถเข้ามายุ่งและควบคุมดูแลทุกอย่างได้หมด ก็จะมีความหมายเหมือนกับ Socialism อีกทั้ง Sufficiency Economy กลับทางกับวิธีคิด ยิ่งใหญ่ ยิ่งดี ของอเมริกัน ยิ่งทำให้อเมริกันไม่มีวันเข้าใจ สังคมอเมริกันวัด The measure of success ความเจริญก้าวหน้าของชาติและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน จากกำลังในการสร้าง Consumption เพื่อจับจ่ายเรื่องกินอยู่และใช้สอย - ยิ่งมาก ยิ่งดี เมื่อเงินตราเป็นหน่วยวัดเพียงอย่างเดียว คุณงามความดีทาง Spiritual values ที่เป็นคุณค่าทางจิตใจ ศีลธรรม จริยธรรมจึงไม่มีบทบาท ขัดกับรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแนวทางของ Buddhist Economics Dual Track ของทักษิณ ที่เน้นการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง เป็นการอัดฉีดเงินที่ไร้แนวทางกำหนดการใช้เงินสร้างประโยชน์ต่ออาชีพและชุมชน การใช้เงินจึงตกอยู่ที่ Consumer goods ที่ซื้อมาเสพแล้วก็จบขบวนการ โดยปราศจาก Investment goods เพื่อหมุนเวียนสร้างผลผลิตต่อ เงินที่อัดเข้าไปจึงไม่สร้างอัตราการผลิต Productivity การอัดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจโดยไม่สร้าง Productivity ส่งผลได้อย่างเดียว คือ Inflation เงินเฟ้อ 30 กว่าปีที่แล้ว ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ปัจจัยแวดล้อมยังเอื้ออำนวยให้ Sufficiency Economy ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีโอกาสหยั่งรากแก้ว สัดส่วนของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยังไม่แตกต่างกันสูงนัก การสร้าง Equality ความเสมอภาคให้สังคมยังไม่เกินเอื้อม หากกลุ่มคน กระดูกสันหลังของชาติ มีโอกาสเลี้ยงตัวได้ มีโอกาสเปิดตัวเองและลูกหลานให้ได้รับการศึกษา การสร้างความเจริญ (growth) ของเศรษฐกิจของชาติบนพื้นฐานที่ดี มั่นคง ย่อมสร้างประโยชน์กับคนไทยทุกส่วนได้ง่ายขึ้น หากสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มไว้ตั้งแต่วันนั้น ได้รับการตอบสนองจากทุกส่วนของประเทศชาติ คงไม่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่นำมาสู่เสื้อแดงในวันนี้ หากคนเสื้อแดงในวันนี้ ยังปิดหูปิดตาไม่รับรู้ความจริงของหลักการบริหารเศรษฐกิจหลงเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการถอยหลังทางระบบเศรษฐกิจของชาติ และหลงระเริงกับเม็ดเงินที่ลวงตา ไม่นานนักประเทศไทยคงได้ถอยหลังแน่ เมื่อทุกอย่างล้มแตกกระจาย และทุกฝ่ายต้องกลับไปตั้งต้นใหม่
ท้ายความเห็นของ US Embassy Bangkok สะท้อนออกมาได้แค่ว่าอเมริกันรู้จัก Small is Beautiful และ Schumacher เพียงแค่ชื่อ และขาดความเข้าใจในสิ่งที่ King Bhumipol รับสั่ง ว่าเหมาะสมกับสภาพและเงื่อนไขทุกอย่างของเมื่อสามสิบปีที่แล้ว ทำให้พลาดในการอ่านเหตุการณ์ ไม่ต่างจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจในบ้านของตัวเองนัก 3. ย่อยความคิด Buddhist Economics อีกนิด Buddhist Economics ไม่ใช่เรื่องของศาสนา แม้จะนำปรัชญาทางพุทธ อย่างแนวคิดที่กระตุ้นให้เกิด the best of oneself คือการสร้างความพอดีและกลางที่สุดต่อตนเอง Pure Economics หรือวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไป วัดผลด้วยปริมาณการจับจ่ายใช้สอย (consumption) ยิ่งเสพเยอะ ตลาดยิ่งโต การผลิตต้องให้มากที่สุด ด้วย cost ต้นทุน ที่ต่ำที่สุด การวัดผลความสำเร็จ ก็ดูจากความมั่งคั่ง ทั้งผลกำไร และกำลังในการใช้เงิน Buddhist Economics บอกว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ Fulfilment ความพึงใจในชีวิต ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ และโดยหลักการ การบริหารเศรษฐกิจไม่ควรมาจากความโลภ จึงเกิดเส้นบางๆ ขึ้นในการบริหารแบบนี้ ระหว่างการสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการข้ามเส้นไปสู่ความโลภ หากเราบริหารเศรษฐกิจด้วยความโลภ ผลิตผลจะกลายเป็นเจ้าชีวิต และมนุษย์คือทาส แต่ใน Buddhist Economics มนุษย์คือ เจ้า และควบคุมผลิตผล ซึ่งเป็นเพียงทางผ่านไปบรรลุความสำเร็จ Fulfilment ผลทางเศรษฐศาสตร์ ติดอยู่กับการวัดทุกอย่างเป็นตัวเลข แต่ที่วัดไม่ได้อยู่หนึ่งอย่าง คือ การวัดคุณภาพ Schumacher บอกว่า Quality วัดอย่างไรก็ไม่ได้ โดยเฉพาะในวิถีพุทธ Quality of Life หรือคุณภาพชีวิตไม่ใช่ปริมาณที่จับต้องได้ หากสังคมใดได้รับการสอนให้มีความพอดี พอเพียงอยู่แล้ว จะทิ้งคุณค่าที่ดีงาม เพื่อไปแสวงหาความหายนะเยี่ยงเศรษฐกิจของชาติตะวันตกเพื่ออะไรกัน ******* Reference: Wikileaks (link นี้หายไปแล้ว) ว่าจะมีตอนสามของยุคปัจจุบันที่ Occupy กันไปทั่ว หากมีคนสนใจ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |