*/
<< | มิถุนายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 วันอาทิตย์ที่จะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ แห่งการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ เพื่อองค์พระประมุขแห่งเกรทบริเทน **** ย้อนกลับไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 Princess Elizabeth ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของ King George VI ขณะอยู่ระหว่างการเสด็จเยือนเคนย่า เมื่อเสด็จกลับ ก้าวพระบาทที่ประทับลงบนแผ่นดิน จึงกลายเป็นก้าวแรกในฐานะ Queen แห่งเกรทบริเทน เริ่มรัชสมัยของ Queen Elizabeth II ตั้งแต่บัดนั้น โดย Coronation หรือพระราชพิธีราชาภิเศกเกิดขึ้นตามมาในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 * ปี พ.ศ. 2555 จึงเป็นวาระการครองราชย์ครบ 60 ปี * * เป็น 60 ปี ที่ชาวบ้านธรรมดากล่าวว่า การทำงาน serve รับใช้ประชาชน มานานขนาดนี้ใน งาน Job เดียว ซ้ำซาก ที่ไม่เคยทรงมีโอกาสเลือก หรือเปลี่ยน หรือหยุด ก็น่าจะสมควรแก่การที่ประชาชนจะเฉลิมฉลองเพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสิ่งที่จะ ไม่ทรงปฏิบัติ ก็ย่อมได้ เมื่อมีการเอ่ยถึง 60 ปี ของ Diamond Jubilee นั้น เป็นเรื่องธรรมชาติของสื่อมวลชนบริทิชที่จะเปรียบเทียบถึงพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อื่น ซึ่งปัจจุบันนี้ มีเพียงพระองค์เดียวที่ครองราชย์เป็นระยะเวลานานกว่า Queen Elizabeth II คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ทั้งสองพระองค์ผู้ทรงเป็น มหากษัตริย์ ขึ้นครองแต่ละราชอาณาจักร ในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 Queen Elizabeth II ทรงพระราชสมภพในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2555 เมื่อ Queen Elizabth II ครองราชย์ครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะครบ 66 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน รอบการครองราชย์นั้น นับเหมือนกับการฉลองวาระทั่วไป เช่น การครบรอบแต่งงาน แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ Silver Jubilee ครบรอบ 25 ปี ซึ่งอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีพระมหากษัตริย์ที่ครบ Silver Jubilee อีกสองพระองค์ คือ Emperor Akihito แห่งประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2557 และ King Harald V แห่งประเทศนอร์เวย์ พ.ศ. 2559 Goldern Jubilee ครบรอบ 50 ปี พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาถึง Golden Jubilee และยังทรงพระชนม์อยู่ มีเพียงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ Queen Elizabeth II Diamond Jubilee โดยทั่วไปคือครบรอบ 75 ปี หากเป็นเรื่องการครองราชย์จะนับที่ 60 ปี จึงเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยสำหรับธรรมเนียมอเมริกันที่ไม่มีราชวงศ์ และการเปลี่ยนมาเป็น 60 ปี เกิดขึ้นเฉพาะที่เกรทบริเทนจากการถวายการเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 60 ปี แด่ Queen Victoria เนื่องจากทรงไม่เคยห่างหายจากความอาดูรเมื่อสิ้น Prince Albert พระสวามี Diamond Jubilee ของ Queen Victoria จึงเป็นกระบวนการฉลองที่ยิ่งใหญ่อลังการ และยาวนาน ทั้งการถวายความเคารพ ขบวนแห่ และการสวนสนามจากทุกมุมโลก เพราะทรงเป็นทั้ง Queen และ Empress จักรพรรดินี ของหลายอาณาจักร ถึงขั้นทรงมีพระราชหัตถ์เลขาเล่าถึงขบวนเฝ้ารับเสด็จไว้ว่าเรียงแถวยาวถึง 6 ไมล์ นับแต่นั้นมา ธรรมเนียม Diamond Jubilee จึงนับปีที่ครบ 60 Platinum Jubilee นับเวลายาวนานที่สุด 70 ปี The Emperor Francis Joseph แห่ง Austria-Hungary เป็นพระมหากษัตริย์ช่วงก่อนสงครามโลกองค์สุดท้ายที่ครองราชย์นานที่สุดถึง 68 ปี จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2459 สำหรับประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดและรวมจิตใจของประชาชน Diamond Jubilee จึงเป็นยิ่งกว่าวโรกาศพิเศษ * David Cameron นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวสรุปว่า การมี The Queen เป็น Head of State หรือประมุขของประเทศนั้น ทำให้ประเทศชาติมี Unity ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสามัคคี Flexibility ความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญที่สุด คือ Stability ความมั่งคงในชาติ สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ครองบัลลังค์มายาวนานนั้น ยิ่งต้องนับเป็น The Great Public Servant ผู้ทรงงานรับใช้ประชาชน โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว หรือประโยชน์ส่วนตัว ด้วยฐานะและฐานันดรศักดิ์ ทำให้ทรงเป็นผู้เสียสละได้ยิ่งกว่านักการเมืองใดๆ ที่เข้ามาแล้วก็ไปทั้งสิ้น * ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของประเทศในรัชสมัยแห่ง Queen Elizabth II ข้อสรุปของ Cameron คงไม่เกินความจริงนัก เมื่อหน้าที่ตามข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีคือการเข้าเฝ้าถวายรายงานบ้านเมืองทุกสัปดาห์ หากติดภารกิจใดก็จะเปลี่ยนเป็นการถวายรายงานทางโทรศัพท์ การถวายรายงานที่ John Major เคยกล่าวเป็นข้อคิดกับนายกรัฐมนตรีรุ่นหลังว่า ไม่จำเป็นต้องเบี่ยงประเด็น หรือพยายามพลิกพลิ้วกับ The Queen ให้เสียเวลา เพราะทรง เห็น ไส้มาหลายรุ่นแล้ว * การเตรียมงาน Diamond Jubilee ครั้งนี้ จึงพิเศษ และเป็นที่สนใจของประชาชนยิ่งกว่า LONDON 2012 การแข่งขันโอลิมปิกที่จะตามมามากนัก วันที่ 2 5 มิถุนายน นี้จึงหยุดให้เป็นเวลาแห่งการยินดีและภาคภูมิใจของคนบริทิชทั้งมวล * * * * คำร้องขอปิดถนนเพื่อให้คนในชุมชนจัด Street Party สังสรรค์ดื่มกินร่วมกัน ในวันอาทิตย์ที่ 3 มีมากถึงเกือบ 10,000 พื้นที่ มากกว่าคราว Royal Wedding ของ Prince William & Catherine, Duchess of Cambridge กว่า 2 เท่า ไม่นับการขนเสบียงมาปิกนิกริมแม่น้ำเพื่อเฝ้ารอรับขบวนเสด็จบนสายน้ำเทมส์ * * * * * * * The Thames Diamond Jubilee Pageant คือ การเสด็จประพาสทางชลมารคครั้งยิ่งใหญ่ ที่ The Royal Barge เรือพระที่นั่งถูกเตรียมการเป็นพิเศษเพื่อให้บรรยากาศความเกรียงไกรของ Royal maritime traditions ราชประเพณีเดินเรือ ได้ปรากฏสู่สายตาของประชาชน * * * * * * * การวางแผนขบวนเรือประกอบ ใช้เวลา 3 ปี เพื่อให้เป็นขบวน Flotilla ที่สมบูรณ์แบบ * * Flotilla มาจากภาษาสเปน ใช้อธิบายถึงกระบวนเรือรบขนาดเล็ก มีขนาดหรือลักษณะใกล้เคียงกัน ประกอบเป็นขบวนติดตามเรือนำ * * The Royal Barge เรือที่ประทับ จึงเป็นผู้นำขบวนเรือติดตามเข้าร่วมอีก 1,000 ลำ ทั้งเรือของราชนาวี เรือที่เคยเข้าร่วมสมรภูมิ Dunkirk สมัยสงครามโลก และเรือเล็กเรือน้อยของประชาชน เช่น Dragon boats, houseboats และ kayaks จากทั่วโลกที่ตั้งใจมาร่วมขบวนถวายพระพร * และเรือ ดนตรี ที่จะถวายความสำราญด้วยเพลงแบบ British Music ขนานแท้และดั้งเดิม ทั้ง Pop, Jazz, Rock ที่ส่งเสียงมาในแต่ละช่วงปีของยุคสมัยแห่งการครองราชย์ ตั้งแต่ The Beatles ไล่เรื่อยมา * ดอกไม้ประดับประดาบนเรือพระที่นั่ง มาจากสวนส่วนพระองค์ และจากอีก 16 ราชอาณาจักรใน Commonwealth realms ส่งมาถวาย โดยบรรดาดอกไม้ประดับล้วนสื่อความหมายแห่ง British Isles ชาติบนหมู่เกาะแห่งเกรทบริเทน ได้แก่ English roses กุหลาบอังกฤษ Irish shamrocks ใบแชมร็อคส์เครื่องหมายของไอร์แลนด์ Thistles ธีสเซิ่ลส์ของสกอตแลนด์ และ Daffodils & leeks ดอกดัฟโฟดิลและต้นกระเทียมสัญลักษณ์ของเวลสส์ The Queen และ Royal family รวมทั้งทหารเรือและประชาชนที่ร่วมขบวนใน The Thames สายน้ำสำคัญกลางมหานครลอนดอนมีจำนวนถึงกว่าสองหมื่นชีวิต * * * จึงไม่น่าแปลกใจที่คนอีกกว่าหนึ่งล้านสองแสนคน บางส่วนของคนบริทิชทั้งหลายที่เห็นว่าเป็น Proud moment วาระแห่งความภาคภูมิใจ ออกมาคอยเฝ้าแหนชมพระบารมีและกระบวนเรือตลอดระยะทาง 7 ไมล์ ที่ยิ่งใหญ่และไม่เคยเกิดขึ้นมานานถึง 350 ปี ท่ามกลางฝนปรอยปราย อากาศบริทิชของแท้ * * * ทั้งการเปิด Tower Bridge เต็มที่รับขบวนเสด็จ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุด โดยเวลาปกติสะพานจะเปิดในองศาเล็กน้อยเพียงให้เรือผ่านได้ * * * ตลอดเส้นทางรถ การเดินเท้า และสองฝั่งแม่น้ำ จึงมีแต่รอยยิ้มจากคนต่างเพศ หลากวัย สีผิว ทั้งจากชาติอื่น และธง Union Jack ที่ทั้งสีและลายปรากฏในทุกส่วนละลานตา * * * * * * ทุกระยะที่ขบวนเสด็จผ่าน ข้อความและภาพที่ล้วนมีความหมายต่อสังคมบริทิชถูกทูลถวาย รวมทั้ง War horse ที่ออกมารับเสด็จบนยอดตึก National Theatre ด้วยเป็นที่รู้กันถึงความโปรดปรานม้าของ The Queen ที่โปรดละครเรื่องนี้เป็นพิเศษด้วย * * * * ตลอดเวลาเกือบสี่ชั่วโมง Queen Elizabeth II ในพระชนมายุ 86 จึงทรงประทับยืนและโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย * * * * * * * เหตุการณ์ครั้งนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของเกรทบริเทนที่นำความภูมิใจมาสู่คนในชาติ และแสดงให้โลกเห็นว่าชาติที่เจริญและยิ่งใหญ่ย่อมมีและต้องรักษาจารีตประเพณีของตนเองเพื่อให้ความอารยะของชาติคงอยู่ การแสดงออกถึงการให้ความสำคัญต่อสถาบันสูงสุดของชาติยิ่งน่าจะเป็นตัวอย่างชัดเจนให้ประชาชนที่รับข้อมูลผิดๆ ว่าโลกตะวันตกละเลยสถาบันกษัตริย์ได้เข้าใจเสียใหม่ * ที่สำคัญ สำหรับคนไทยที่หลงทางมืดมน น่าจะได้ตระหนักถึงความไม่ธรรมดาแห่งบุญญาบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำรงอยู่ในระดับโลก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็น The Great Public Servant ให้ประชาชนไทยเสมอมาด้วย ********* Brian May - 'God Save The Queen' on Buckingham Palace roof© BBC (2002) Published on 1 Jun 2012 by stephenalanyorke Dimond Jubilee ตอนก่อนหน้า Lunch ที่รวมองค์พระประมุขและผู้แทนพระองค์จากทั่วโลก Reference: God Save The Queen เพลงชาติเกรทบริเทนและประเทศอังกฤษ เพลงสรรเสริญพระบารมีในหนึ่งเดียวกัน โดย Brian May แห่งวง Queen แสดงจากหลังคา Buckingham Palace ในวาระ Golden Jubilee Queen Elizabeth II เมื่อ พ.ศ. 2545 Photos, except ©SW19, courtesy of BBC1 Broadcast. http://www.thediamondjubilee.org/thames-diamond-jubilee-pageant |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |