*/
<< | กุมภาพันธ์ 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
Alexander Solzhenitsyn เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ผ่านร้อนหนาวมาได้เกินความคาดหวังของตนเอง จนอายุหย่อน 90 ปี เพียงแค่สี่เดือน
Solzhenitsyn เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมจากงานเขียนจำนวนไม่น้อย ได้รับ Nobel Prize in Literature ช่วยเชิดชูว่าสิ่งที่กลั่นจากความคิดมีสาระ มีเรื่องราวที่ควรค่าแก่การนำมาไตร่ตรอง หนังสือเล่มเด่นของ Solzhenitsyn ที่พูดถึงกันมาก คือ One day in the Life of Ivan Denisovich
ความสำเร็จที่ตามมากับรางวัลทำให้เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมากขึ้นเพียงใด ก็สร้างความระคายใจให้โซเวียตมากขึ้นเป็นเงา จนถึงวันหนึ่งโซเวียตจึงเพิกถอนสัญชาติ Solzhenitsyn และไล่ออกนอกประเทศไปเสีย
สาระอันเป็น Essence หรือ หัวใจ ของหนังสือ ที่ยังถูกนำมากล่าวอยู่เสมอ แม้การตีพิมพ์ครั้งแรกจะผ่านมาแล้วถึง 50 ปี คือ ที่มาก่อนเกิดหนังสือ และการปรากฏขึ้นของหนังสือ มากกว่าเนื้อความการบรรยายถึงชีวิตในหนึ่งวันของนักโทษหนึ่งคน ที่ถูกจองจำในคุกโหดหนาวเหน็บแบบไซบีเรียของโซเวียต
ชีวิตในคุกผ่านสายตาตั้งแต่แรกตื่นของ Ivan Denisovich Shukhov ตัวแทนถ่ายทอดประสบการณ์จองจำแปดปีของ Solzhenitsyn ไม่ใช่ของใหม่ งานประพันธ์ของรัสเซียที่เล่าเรื่องคุก ความแร้นแค้น ความยากลำบากในการถูกจองจำมีมาแล้วมากมาย
นักเขียนที่ยิ่งใหญ่อย่าง Tolstoy หรือ Dostoevsky ต่างก็เคยพูดเรื่องคุก ทั้ง Pierre ใน War and Peace หรือประสบการณ์คุกของ Dostoevsky ใน The House of the Dead แต่งานเขียนของ Solzhenitsyn ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถแทรกตัวขึ้นมาเหนือกว่าคุกในความทรงจำของคนอื่นได้อย่างโดดเด่น
ช่วงเวลารับโทษของ Solzhenitsyn เป็นยุคสมัยของ Joseph Stalin ที่คนส่วนมาก ‘รู้’ เรื่องความเป็นไปของผู้ปกครองในชาติ สภาพการจองจำที่เหี้ยมโหดผ่านเพื่อนฝูง ญาติ ที่ ‘เล่าต่อกันมา’ โดยเรื่องเล่านั้นไม่เคยมีบันทึกในรูปใด ไม่ว่าจะเขียน หรือวาด จากการคุมเข้ม และ Censorship ที่ห้ามการเผยแพร่ทุกรูปแบบ
เมื่อ Stalin สิ้นชีวิตลง เป็นเวลาเดียวกับที่ Solzhenitsyn พ้นโทษ และโซเวียตถึงยุคผลัดผู้นำ เข้าสู่ช่วงการ De-Stalinisation ล้มล้างภาพเหี้ยมของยุคของสตาลินทิ้ง
De-Stalinisation ยังเป็นข้อโต้แย้งของคนมาจนถึงปัจจุบันว่า การล้างสภาพที่เลวร้ายของยุคสมัย Stalin แต่ไม่มีการชี้ผิดชี้ถูกกับการกระทำของ Stalin หรือสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ประชาชนส่วนรวมทราบ และบอกต่อถึงคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้อง เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของผู้ปกครองในยุคถัดมา
บันทึกชีวิตในคุกของ Solzhenitsyn ถูกลองส่งเข้าพิจารณาขออนุญาตเผยแพร่ โชคและจังหวะเวลา ทำให้หนังสือผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้เผยแพร่โดยมีเงื่อนไขให้ตัดทอนความบางส่วนออก Solzhenitsyn จำต้องเห็นด้วย เพื่อให้ความส่วนใหญ่ได้ปรากฏ แต่การตีพิมพ์ในยุคหลังได้ใส่ข้อความที่ถูกตัดทิ้งคืนกลับแล้ว
หนังสือที่ออกสู่สาธารณะชน กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ไม่ใช่เรื่องเก่าในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเยี่ยง ‘ข่าว’ ที่สร้างความตระหนกแก่ผู้คน ทรงพลังสั่นสะเทือนความรู้สึกและการรับรู้ของคนอ่าน ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของโซเวียต
ความพิเศษของ Ivan Denisovich ที่ไม่สามารถหาได้จากงานของ Tolstoy และ Dostoevsky หรือแม้กระทั่งงานชิ้นอื่นของ Solzhenitsyn เอง คือ การสะท้อนข้อเท็จจริงผ่านปากของ Shukhov ตัวเอกของเรื่องว่า ในยุคสมัยของ Stalin การตัดสินโทษไม่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ความถูกต้องตามข้อกำหนดกฎหมายถูกละเลย ความพึงพอใจของผู้มีอำนาจคือบทสรุปของทุกอย่าง
Shukhov ในเรื่อง มีบุคลิกตรงข้ามกับนักโทษของนักเขียนอื่น เป็นเพียงคนธรรมดา ไม่ใช่นักรบนายทหารที่มีความสามารถ ไม่มีวิชาความรู้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่นั่นคือ ความเป็นคนรัสเชี่ยนธรรมดา ที่ดูมีตัวตน เป็นคนที่เดินสวนกันได้บนถนน และเป็นตัวแทนของคนอีกนับล้านที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน
ผลที่เกิดขึ้นกับสังคมโซเวียต ที่เดิมทีการตรวจสอบระงับข่าวสาร (Censor) ของรัฐบาล ทำให้ประชาชนถูกปิดบังอย่างมืดมนกับความเป็นไปในชาติตนเอง เมื่อเรื่องเล่าจากคุกถูกเผยแพร่ จึงเป็นวันใหม่ที่เปิดหูตาประชาชน เมื่อนั้นโซเวียตจึงมิอาจเป็นดังเดิม
ในต่างชาติเรื่องของ Ivan Denisovich จึงถูกเสพอย่างหิวกระหาย ทำให้ Solzhenitsyn เป็นนักเขียนรัสเชี่ยนคนเดียวที่สร้างเรื่องติดอันดับขายดีในโลกตะวันตก มียอดกว่า 30 ล้านเล่มในกว่า 30 ภาษา และจุดประกายให้เกิดงานเขียนจากบันทึกของนักโทษทั้งหลายตามมาอีกมากมาย
แต่จุดยืนสำคัญของ Solzhenitsyn คือ การต่อต้านเผด็จการของ Joseph Stalin ผู้ปกครองโซเวียตอยู่นานถึงหนึ่งในสี่ของศตวรรษ ที่นำมาซึ่งความหฤโหดและการฆ่าล้างผลาญประชาชนนับสิบล้านคน
แค่ช่วงรอยต่อ พ.ศ. 2480 – 81 ปีเดียว นักโทษจำนวนสองหมื่นเศษที่ปะปนทั้งนักวิทยาศาสตร์ คนทำงานทั้งที่มีความรู้และผู้ใช้แรงงาน และคนจนถูกสั่งประหารที่ขอบกรุง Moscow
คนรัสเชี่ยนในเวลานั้นได้รับรู้ข้อมูลความโหดเหี้ยมของ Joseph Stalin และไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ย้อนกลับมาซ้ำรอยเดิม แต่คนในยุคปัจจุบัน ห่างไกลประวัติศาสตร์จุดนั้น จนนึกภาพอดีตได้ลางเลือน
นักเรียนรัสเชี่ยนรุ่นอายุประมาณ 16 ยังเรียนประวัติศาสตร์ไม่ถึงช่วงครองอำนาจของ Stalin แต่ต้องอ่าน One day in the Life of Ivan Denisovich เป็นหนังสือประกอบการเรียน ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ครบรอบ 50 ปีของการพิมพ์หนังสือ มีการสำรวจการอ่านของนักเรียนที่ต้องอ่าน ได้ตัวเลขที่อาจไม่สามารถเป็นตัวแทนเด็กทั้งประเทศว่า มีนักเรียนอ่าน ‘One Day’ 3 ใน 21 คน เด็กนักเรียนบางคน บอกว่า ในยุค Stalin คนเรียนจบมายังมีงานทำ และ ‘อยู่ได้’ แต่ยุคนี้กลับไม่รู้ว่าเรียนจบแล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร บางคนเชื่อว่า Stalin เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ตั้งใจทำดีกับประเทศชาติ แม้ภาพพจน์ของ Stalin จะอำมหิต
จากการสำรวจความเห็นของประชาชนรุ่นปัจจุบัน 48% เชื่อว่า Stalin มีอิทธิพลในด้านบวกต่อประเทศชาติ ในขณะที่ 22% คิดว่าอิทธิพลนั้นเป็นด้านลบ เมื่อ Solzhenitsyn เสียชีวิตไป รัฐบาลรัสเซียตัดสินใจ ตั้งชื่อถนนหนึ่งสายว่า Alexander Solzhenitsyn Street จากชื่อเดิมว่า Big Communist Street พวกนิยมคอมมิวนิสท์ออกแรงต้านเต็มที่ เรียกร้องให้เปลี่ยนกลับเป็นชื่อเดิม ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยบนถนนลงชื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนกลับเช่นกัน แต่ต่างเหตุผล ว่าเพียงแค่ขี้เกียจเปลี่ยนเอกสารหลายชิ้นให้เป็นไปตามชื่อถนนใหม่บนที่อยู่
เรื่องฐานข้อมูลและความน่าเชื่อถือของการสำรวจอาจไม่เป็นประเด็นสำคัญ สิ่งที่น่าสังเกต คือ การเลื่อนไหลของข้อเท็จจริงผ่านกาลเวลา เลือนหายลงสู่กรุแห่งความทรงจำเกิดขึ้นทุกหนแห่ง
การละเลยและลืมส่งต่อข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะด้วยบันทึกทางประวัติศาสตร์หรือการสั่งสอนในโรงเรียน สามารถทำให้คุณงามความดีของบรรพบุรุษที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองสูญหายไปได้เร็วพอกับที่ความเลวร้ายของเผด็จการกลายเป็นความดีงาม ด้วย social values ความเชื่อและคุณค่าอันดีงามในสังคม ถูกขยับเปลี่ยนศูนย์ที่ตั้งไปสู่ความเชื่อย้อมสีที่เกิดจากความเห็นแก่ตัวของบางผู้คน
Natalya Dmitrievna ภรรยาหม้ายของ Solzhenitsyn ตำหนิผู้นำรุ่นหลังที่ละเลยการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและบทเรียนในอดีต คนรัสเชี่ยนบอกว่า Soviet Union ล่มสลายได้ง่ายนิดเดียว ‘The Soviet Union was destroyed by information, only information. And this wave started from Solzhenitsyn's ONE DAY…’ แค่ ‘ข้อมูล ข่าวสาร’ ก็เป็นตัวทำลาย และล้มความยิ่งใหญ่ของอำนาจเผด็จการได้
Alexander Solzhenitsyn กล่าวตอนรับรางวัลโนเบล เมื่อ พ.ศ.2513 โดยการอ้างถึงสุภาษิตของรัสเซียว่า ‘One word of Truth shall outweigh the whole world.’ ข้อมูล และความจริง เป็นอาวุธทรงพลังให้ต่อสู้กับอำนาจมหาศาลได้ทุกรูปแบบ
ความข้อนี้ น่าจะเป็นข้อคิดให้สังคมที่ไม่ชอบจำประวัติศาสตร์ ไม่ชอบความกระจ่างของสิ่งถูกผิด นำการเกลี่ยข้อเท็จจริงมาเปลี่ยนคำจำกัดความเป็นคำว่าปรองดอง และอนุโลมให้ความผิดที่ไม่มีการตัดสินยังมีที่ยืนสังคม เมื่อถึงวันหนึ่ง คนรุ่นใหม่ในสังคมนั้น ที่เกิดไม่ทันเห็นเหตุการณ์ด้วยสายตาตนเองจะไม่สามารถแยกแยะความถูกผิด ชั่วดีได้ เพียงเพราะเลือกนำประโยชน์ส่วนตนเฉพาะหน้าตามแบบอย่างที่เห็นในสังคม มาใช้ตัดสินคนดี คนชั่ว หรือนี่คือ ความหมายที่คนไทยชอบอ้างถึงว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ
ข้อมูลและความจริง เป็นสมบัติที่ไม่มีวันสูญหาย ยกเว้นผู้ต่อสู้จะละทิ้งให้เลื่อนลอยหายไปกลางลมร้อนและฝุ่นควันด้วยตนเอง
* * * * * * * * *
Reference: One Day in the Life of Ivan Denisovich แปลเป็นภาษาอังกฤษ 5 ฉบับ เล่มที่อ่านเป็นการแปลของ H.T. Willets มีคำนำโดย John Bayley ซึ่งยึดตามข้อความในภาษารัสเซียและเป็นฉบับเดียวที่ได้รับอนุญาตจาก (authorized by..) A Solzhenitsyn |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |