*/
<< | มีนาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
เป็นเรื่องง่ายที่จะชี้หน้าเป้าใหญ่อย่างเกรทบริเทน เพื่อประนามว่ารุกล้ำแผ่นดิน ยึดครองสมบัติผู้อื่นผ่านการสร้าง ‘อาณานิคม’ แค่ฟังอย่างผิวเผินก็เรียกความเห็นใจ และสร้างแนวร่วมได้ทันที
กรณีเรียกร้องดินแดน Falkland Islands ของประเทศอาร์เจนทีน่า ยิ่งสร้างความไขว้เขวได้ง่ายกว่า และสับสนมากขึ้นหากยึดติดอยู่แค่คำว่า ‘การล่าอาณานิคม’ อันจะพลอยทำให้พลาดประเด็นสำคัญจากตัวอย่างประชามติของผู้อื่นไปด้วย
3 มกราคม พ.ศ. 2556 Cristina Fernández de Kirchner, President of the Argentine Republic ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาร์เจนทีน่า ส่งจดหมายถึง David Cameron, Prime Minister of the United Kingdom เรียกร้องดินแดน Falkland Islands คืน
เนื้อความในจดหมายอ้างถึง
‘วันที่ 3 มกราคม 180 ปีก่อน อาร์เจนทีน่า สูญเสียดินแดน Falkland Islands ให้แก่ United Kingdom ระหว่างยุคการไล่ล่าอาณานิคม ประชาชนอาร์เจนไทน์ถูกขับไล่ออกจากเกาะ สหราชอาณาจักรเริ่มเพาะเลี้ยงสร้างประชาชนของตนขึ้นมาทั้งที่หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากกรุงลอนดอนถึง 8,700 ไมล์ พ.ศ. 2508 United Nations ประกาศการสลายอาณานิคม Colonialism โดยปราศจากการคัดค้านจากชาติใดบนโลกนี้ รวมทั้ง United Kingdom แต่อาร์เจนทีน่า ก็ยังมิได้รับดินแดนนี้คืนกลับ ในนามประชาชนอาร์เจนไทน์ ขอเรียกร้องให้ United Kingdom ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ United Nations’
จดหมายของ Kirchner เป็นโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ The Guardian
ขณะที่รัฐบาล UK ยังไม่มีความเห็นใดกับความเคลื่อนไหวของ Kirchner ปฏิกิริยาตอบโต้ทันควัน กลับมาจากการอธิบายความโดยข้อเท็จจริงของนักประวัติศาสตร์นานาชาติ สืบเนื่องจากมีคนหลายชนชาติเคยข้องแวะกับบริเวณนี้ รวมทั้งการตอกกลับรุนแรงจากสื่อ
The Sun ลงโฆษณาสวนกลับวันรุ่งขึ้นใน The Buenos Aires Herald สองภาษาทั้งสแปนิชและอังกฤษ อ้างฐานะตัวแทนผู้อ่านนับล้านสรุปความกลับกระทัดรัด บอก Kirchner ให้ ‘HANDS OFF!’ โต้ความทุกข้อว่า ‘ไม่มีมูล’ ไม่มีกระทั่งอาร์เจนไทน์คนไหนที่ถูกไล่ออกจากเกาะ
เพื่อคลี่คลายความลึกซึ้งของภูมิหลัง Falkland Islands หมู่เกาะที่ Kirchner เรียกว่า Las Malvinas จึงควรย้อนเวลาสู่อดีตก่อน
พ.ศ. 2143 Sebald de Weert นักสำรวจชาติดัทช์ เดินทางถึงเกาะร้างที่ uninhabited คือไม่มีผู้อยู่อาศัยเลย จึงเรียกเกาะนี้ตามชื่อตัวเองว่า Sebald Islands ปรากฏอยู่ในแผนที่ของดัทช์ในศตวรรษที่ 19 พ.ศ. 2233 John Strong นักสำรวจอังกฤษ เดินเรือผ่านช่องแคบของเกาะ ก็ตั้งชื่อว่า Falkland Channel ตามชื่อ Anthony Cary, 5th Viscount Falkland ผู้ออกเงินให้ทำการสำรวจ ถึง พ.ศ.2307 Louis Antoine de Bougainville นักสำรวจและนายทหารฝรั่งเศส มาพบเกาะนี้ จึงเริ่มตั้งรกรากที่ฝั่งตะวันออกของเกาะที่ตั้งชื่อให้ว่า Îles Malouines ปีถัดมา John Byron กัปตันบริทิช แล่นเรือถึงฝั่งตะวันตกของเกาะ และก็ตั้งรกราก โดยไม่รู้ว่าอีกซีกหนึ่งของช่องแคบมีคนฝรั่งเศสมาถึงก่อนแล้ว
ทั้งฝรั่งเศสและบริทิชต่างอยู่คนละฝั่ง จนสองปีต่อมาสเปนเริ่มไปบุกอาณานิคมของฝรั่งเศส รุกจนลามเรื่อยมาถึงฝั่งตะวันตกของ Falkland Islands ขับไล่บริทิชที่ตั้งรกรากอยู่แล้วออกไป แปลงชื่อเกาะจากภาษาฝรั่งเศสเป็นสแปนิชว่า las (Islas) Malvinas ข้อขัดแย้งขยายจนใกล้เป็นสงคราม แต่สุดท้ายบริเทนและสเปนก็ลงนามสงบศึก คนบริทิชได้กลับคืนสู่ฝั่งตะวันตกของเกาะใหม่ จากนั้น เข้าสู่รุ่นอเมริกันที่เดินเรือผ่านมา ก็ต้องการอ้างสิทธิ์ตั้งรกรากบ้าง ล่วงเลยมาถึง Luis Vernet คนเยอรมันเชื้อสายฝรั่งเศส ที่อยากมาตั้งถิ่นฐาน จึงไปบอกทั้งเกรทบริเทนและ Republic of Buenos Aires ซึ่งเพิ่งประกาศตัวเป็นไทจากสเปนได้ไม่นาน Republic of Buenos Aires กลับแต่งตั้งให้ Luis Vernet เป็น Military and Civil Commander ผู้ดูแลพื้นที่ อีกนัยหนึ่ง คืออ้างว่าเกาะนี้เป็นอาณานิคมของตัวเอง แต่ไม่ได้ส่งกำลังหรือให้ความช่วยเหลือใดเลย Vernet จึงไปขอความช่วยเหลือจากเกรทบริเทน ให้ปกป้องภัยจากผู้บุกรุกแทน ณ เวลานั้น พ.ศ. 2372 Republic of Buenos Aires ยังไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ใครได้ เพราะยังอยู่ในช่วงของ Revolution และ Civil Wars สงครามกลางเมือง ที่เกิดตามมาไม่รู้จบหลังจากการประกาศอิสรภาพจากสเปน ประชาชนยังรบกันเองและผู้ปกครองยังไม่ได้สิทธิ์ขาดในการบริหารแผ่นดิน กว่าจะมีประธานาธิบดีคนแรกก็ พ.ศ. 2405 กำเนิดของอาร์เจนทีน่า อยู่บนที่ตั้งซึ่งแม้จะเป็นอาณานิคมของสเปนมาด้วยกัน แต่ทุกแห่งมี Indigenous หรือผู้ตั้งรกราก อยู่ดั้งเดิมก่อนแล้ว วิธีจัดการพื้นที่และคนท้องถิ่นในช่วงที่ยังไม่มีรัฐบาลเป็นหนึ่งเดียว คือ การฆ่าทิ้ง หรือขับไล่ให้ออกนอกเขตแดน การรบครั้งสุดท้ายลักษณะนี้ คือ Conquest of the Desert ใน พ.ศ. 2413 ช่วงนั้นอาร์เจนทีน่า เต็มไปด้วยปัญหาในบ้าน จนไม่เคยข้องแวะกับ Falkland Islands
กลับมาที่ Luis Vernet วันหนึ่งก็เกิดเรื่องขึ้น Vernet ไปยึดเรืออเมริกันที่ล่วงล้ำเข้ามาหาปลาและล่าแมวน้ำที่เกาะฟ้อลค์แลนด์ อเมริกันจึงบุกมาโจมตีถล่มบ้านเรือน Vernet ร้องเรียนให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาชดใช้ความเสียหาย กัปตันเรืออเมริกันจึงกลับมาใหม่ ประกาศว่าเกาะนี้ ‘free from all government’ไม่อยู่ภายใต้การดูแลของใคร แล้วจับคนของ Vernet ไป 7 คน หาว่าเป็นโจรสลัด ภายหลังเมื่อตั้งข้อหาไม่ได้ก็ปล่อยตัวกลับ เงินชดใช้ก็ไม่จ่าย ปลาย พ.ศ. 2375 กองทหารอาร์เจนไทน์ถูกส่งเข้ามาสังเกตการณ์เพื่อตั้งค่าย ปรากฏว่า Commander ผู้นำกำลังเข้ามากลับถูกผู้ใต้บังคับบัญชาฆ่าทิ้ง
เดือนมกราคม พ.ศ. 2376 ทหารบริทิชถูกขอให้กลับมารักษาความสงบ
ณ เวลานั้น เกรทบริเทนอาศัยประโยชน์ของ Falkland Islands เป็นเพียงสถานีทหารเรือ ที่สามารถทอดสมอแวะพักได้โดยไม่มีหน่วยซ่อมบำรุงในพื้นที่ เมื่อถูกขอกำลังมาคุ้มครอง วิธีปฏิบัติเพื่อประหยัดงบประมาณที่สุด คือ ส่งกองทหารมาดูแลปีละครั้ง มาแล้วก็กลับไป ปรากฏว่าถึงเดือนสิงหาคมปีนั้น ผู้ตั้งรกรากรุ่นอาวุโสของ Vernet ถูกฆาตกรรมถึง 5 คน การฆาตกรรมครั้งนั้น นักประวัติศาสตร์อาร์เจนไทน์ยัง ‘เถียงกันเอง’ ไม่จบ ว่าเกิดจากการหาเหตุของพวกอาร์เจนไทน์ แต่ผลที่จบ คือ Vernet ขอให้กองทหารบริทิชมาประจำการอย่างถาวร ตั้งแต่พ.ศ. 2376 – 180 ปีก่อน อย่างที่ Cristina Kirchner อ้างถึง การดำรงอยู่ของกองทหารบริทิชจึงเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัยของผู้อาศัยบนเกาะ ไม่มีการค้า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการปกครองของชาวเกาะ
เหตุการณ์บนเกาะดำเนินไปอย่างสงบจนกระทั่ง พ.ศ. 2525 Military Junta รัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ปกครองอาร์เจนทีน่า ณ เวลานั้น เบี่ยงเบนปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ของชาติ ผนวกกับความต้องการยึดครองหมู่เกาะ Falkland ใช้จังหวะเวลาที่ United Kingdom ลดกองกำลังทหารใน South Atlantic ลงมาก ยกพลบุกยึดเกาะ เกิดเป็นสงครามตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน กองทัพอาร์เจนไทน์ยอมจำนนยุติสงครามเมื่อ 14 มิถุนายน ปีนั้น ความสัมพันธ์ทางการทูตเพิ่งฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อพ.ศ. 2533
คำว่า ‘ล่าอาณานิคม’ ที่ประนามกัน มักถูกลืมว่า ‘ผู้ล่า’ คงอยู่คู่ความรับผิดชอบในพื้นที่เหล่านั้นเสมอ และประเทศที่เข้าใจว่าเป็นอาณานิคมของเกรทบริเทน ก็ไม่ใช่ ‘อาณานิคม’ เสมอไป พื้นฐานการดูแลถูกแบ่งเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ Dominion, Crown Colony, Protectorate และ Territory แตกต่างกันตามความข้องเกี่ยวในการปกครอง ภาวะ ‘อาณานิคม’ ของเกรทบริเทน หมดสิ้นไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุและผลของการสลายอำนาจมองได้จากหลายฝั่ง ผู้เคยตกอยู่ในสภาวะเมืองขึ้น เห็นเป็นการปลดแอก รับเสรีภาพ ผู้เคยได้รับการคุ้มครอง ดูแล จนเกิดเป็นชาติขึ้นมาได้ เห็นเป็นความผูกพัน ผู้เคยคุ้มกฎครองเมือง เห็นเป็นการปลดภาระและค่าใช้จ่ายมหาศาล หลังมหาสงครามโลก ทุกประเทศที่ข้องเกี่ยว ‘หมดตัว’ เท่าเทียมกัน และต่างหาทางเอาประเทศชาติและประชาชนของตนให้พ้นความอดอยาก และฟื้นตัวขึ้นใหม่ก่อน เมื่ออาณานิคมสลายตัว บางชาติกลับเลือกที่จะคงอยู่ภายใต้ British Empire เรียกว่า Commonwealth realms บางชาติไม่ตัดสินใจทำอะไร แม้กระทั่งเรื่องอิสรภาพ ขอคงเป็น British Overseas Territories ปัจจุบันมี 14 แห่ง รวมทั้ง Falkland Islands ที่ดำเนินชีวิตเป็นปกติดีภายใต้การปกครองตนเอง โดยรัฐบาลของตนเอง ยุ่งเกี่ยวกับเกรทบริเทนอยู่เพียงสองเรื่อง คือ ด้านการต่างประเทศ และการรักษาความมั่งคง ประชาชน Falkland Islands จึงไม่เคยมีกองทัพของตนเอง
แล้วอะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจสู่ Falkland Islands เกาะพื้นที่เพียงหมื่นกว่าตารางกิโลเมตร เล็กกว่าประเทศไทย 42 เท่า แกะ ที่มีมากกว่าคน ปศุสัตว์เป็นที่มาสำคัญทางเศรษฐกิจ แกะของทั้งเกาะมีใกล้ครึ่งล้านตัว ส่วนประชาชนที่มี 2,932 ชีวิต มีแนวโน้มลดลงเรื่อยมา ประชากร 59% เรียกตัวเองว่า Falkland Islander แม้ทั้งหมดจะถือสัญชาติบริทิช แต่เพียง 29% เป็นบริทิชที่อพยพเข้าไป
งบประมาณรักษาความมั่นคงของเกาะเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึง 75 ล้านปอนด์ต่อปี เป็นเงินภาษีของประชาชนบริทิชจากเกาะเกรทบริเทน ที่ไม่มีส่วนได้เสียกับผลประโยชน์บนเกาะนี้ ความเห็นแบบนักอนุรักษ์ คงไม่อยากให้อาร์เจนทีน่า เอาแผนเปิดพื้นที่ชายทะเลหาเงินรับเรือนักท่องเที่ยวมายุ่งเกี่ยว เพราะจะทำลายแหล่งธรรมชาติของนกเพนกวินที่ชาวเกาะอุ้มชูไว้ ความเห็นแบบนักลงทุน คงเห็นความต้องการครอบครองเกาะของอาร์เจนทีน่า เพื่อหาประโยชน์จากชายฝั่งที่ส่อแนวโน้มของแหล่งพลังงานธรรมชาติขนาดใหญ่ไม่แพ้ North Sea
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ อาร์เจนทีน่า โหยหาให้ Falkland Islands กลับคืนสู่อ้อมอกไปครอบครองได้อย่างไรกัน เมื่อ Falkland Islander มีรัฐธรรมนูญของตนเอง มีรัฐบาลของตนเอง มี Settlement คือการตั้งรกรากของตนเอง การเรียกร้องเพื่อครอบครอง Falkland Islands จึงเป็นการล่วงล้ำอธิปไตยของบ้านเมืองอื่น คือการกลับมาสร้างอาณานิคมขึ้นมาใหม่ของอาร์เจนทีน่า
ภายใต้รัฐธรรมนูญของ Falkland Islands ประชาชนมีสิทธิ์ในการเรียกร้อง ‘self-determination’ ว่าต้องการเป็น อยู่ อย่างไรกับตนเอง เมื่อรัฐบาลอาร์เจนทีน่า รุกคืบเรื่องครอบครอง กลางปี พ.ศ. 2555 ก่อนครบรอบ 30 ปีของการถูกบุกรุก รัฐบาลฟ้อลค์แลนด์จึงประกาศว่าไม่ต้องการความเห็นจากใคร แต่จะใช้สิทธิ์ทำ Referendum หรือประชามติ เพื่อบอกให้โลกรู้ความต้องการของตนเองอย่างชัดเจน
สำหรับประชาชน การตกอยู่ภายใต้รัฐบาลอาร์เจนทีน่า คือการสูญเสียอำนาจในการปกครองตนเอง ความสงบทางธรรมชาติและทรัพยากรทุกอย่างสู่รัฐบาลกลางอาร์เจนทีน่า โดยสิ้นเชิง รัฐบาลฟ้อลค์แลนด์ย้ำชัดว่า Falkland Islands ไม่ใช่อาณานิคมของ United Kingdom แต่เป็น British Overseas Territory ด้วยความสมัครใจ ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของดินแดน แต่เป็นเรื่องของ ‘คน’ คนที่เข้ามาตั้งรกราก ไม่ต่างกับคนอีกมากที่อพยพสู่อเมริกา คนละเรื่องกับท่าทีของอาร์เจนทีน่า ที่ย้ำเรื่องครอบครองดินแดน อ้างความใกล้ชิดแค่ไม่ถึงสองพันกิโลเมตร แต่ไม่มีคนอาร์เจนไทน์ตั้งท่าย้ายมาอยู่ การเลือกเป็นบริทิช จึงทำให้ยังมีรัฐบาลของตนเอง ปกครองตนเอง ดูแลเศรษฐกิจของตนเอง และได้รับความคุ้มครองเป็นของแถม โดยไม่ต้องสนใจว่าจะอยู่ห่างจากกรุงลอนดอนกี่หมื่นกิโลเมตร
Referendum ถามสั้นกระชับว่า ประชาชนต้องการเป็น an Overseas Territory ของ United Kingdom ต่อไปหรือไม่ คำตอบมีเพียง Yes และ No ว่าต้องการจะอยู่ต่อกับ UK หรือไม่ การโหวต No ไม่แปลว่าเป็นการเลือกอาร์เจนทีน่า หาก No ชนะ เป็นเพียงก้าวสู่ขั้นถัดไปที่รัฐบาลต้องหาทางเลือกให้ประชาชนพิจารณาต่อ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นภาระผูกพันให้ดึงอาร์เจนทีน่า เข้ามา ผลลัพธ์จาก Referendum เบ็ดเสร็จจนระงับการล่วงล้ำของชาติอื่นต่อชาวเกาะนี้ต่อไปอย่างเด็ดขาดฉันใด ยิ่งทำให้ Kirchner ลนลานขอเจรจากับเกรทบริเทนเสียให้เสร็จก่อน Referendum วันที่ 10-11 มีนาคม ฉันนั้น เกรทบริเทนไม่มีสิทธิ์เหนือ Falkland Islander จึงยินดีเป็นเพียงเวทีให้อาร์เจนทีน่า พบปะกับประชาชนฟ้อลค์แลนด์เอง อาร์เจนทีน่า ถอนตัวทันควัน ปฏิเสธการเจรจาที่มีตัวแทน Falkland Islander เข้าร่วม หาว่าเป็น ‘บุคคลที่สาม’ ที่ไม่เกี่ยวและไม่มีสิทธิ์ออกความเห็น เรื่องจึงออกจะดูแยบยลนัก
ที่ Buenos Aires เรื่อง Falklands Islands ถูกเตรียมการมานานแล้ว อาร์เจนไทน์รุ่นเยาว์อายุประมาณ 20 ทั้งร้องและเต้นอย่างเข้าถึงอารมณ์กับเพลง Falkland Islands – 2 April 1982 ของ Rock Band ชื่อดัง เพลงพูดถึงความตาย วีรชนผู้กล้า และความภูมิใจในศักดิ์ศรีของชาติในวันบุก Falkland Islands ‘เด็ก’ เหล่านี้เกิดไม่ทันเหตุการณ์ ไม่รู้ที่มาทางประวัติศาสตร์ เด็กบอกว่า ถูกสอนจากโรงเรียนแค่ ‘เกาะนี้เป็นของเรา’ ผู้ใหญ่อาร์เจนไทน์บางคนบอกว่า เด็กถูกล้างสมอง ผู้ใหญ่บางคนโกรธ ระคนขัดใจที่ประวัติศาสตร์ไม่สามารถชี้ชัดถึงสิทธิ์ขาดของอาร์เจนทีน่า ได้แต่ต้น ผู้ใหญ่จำนวนมากยิ่งแค้นเคืองที่นักการเมืองใช้ Falkland Islands กลบปัญหาอื่น นักประวัติศาสตร์อาร์เจนไทน์จำนวนมากยอมรับว่า Falklands War 1982 เป็นกลอุบายของผู้นำทหารเพื่อสร้างคะแนนนิยม ถึงรุ่นปัจจุบัน Kirchner ก็หันเหความสนใจของประชาชนจากปัญหาเศรษฐกิจ มาสู่การต่อสู้เรื่องจากอดีตที่เสียเวลาและไม่ช่วยปากท้อง หากหวังผลประโยชน์จากทรัพยากรของเกาะ โอกาสร่วมธุรกิจกับชาวเกาะเปิดขึ้นตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Kirchner ชาย ผู้เป็นสามีของประธานาธิบดี Kirchner หญิงคนปัจจุบัน แต่กลับหลุดจากความสนใจของผู้นำที่มัวยุ่งกับการผ่องถ่ายอำนาจกันเอง หากยึดตามท่วงทำนองเพลงเพื่อวีรชน ว่า Falklands War เป็นเรื่องของเกียรติและศักด์ศรี อาร์เจนไทน์ก็คงเข็นกันต่อไป แม้จะตอบไม่ได้ว่า Falkland Islands เป็นของตัวเองมาตั้งแต่เมื่อใดจึงเรียกร้องเอาคืนอยู่ร่ำไป
British Empire จบสมัยไปนานแล้ว การตกเป็นอาณานิคมของใครในวันนี้ ไม่เกิดประโยชน์อันใดเสียแล้ว สิ่งที่น่ากลัวกว่า กลับเป็นการนำเศรษฐกิจมาสร้างอาณานิคม และไล่ล่ากันเองในชาติเดียวกัน ใช้เวลาผลัดรุ่นเยาวชนชั่วระยะไม่กี่ปีการศึกษา ประวัติศาสตร์ก็เปลี่ยนได้ เป็นเรื่องเกิดได้ง่าย ในชาติที่ไม่สนใจจำ และทำการบันทึกเหตุการณ์อย่างเที่ยงตรง
* * * * * * * * *
Reference:
Information and Photos courtesy of: The Guardian, The Sun, The Daily Telegraph and BBC from June 2012.
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |