*/
<< | ธันวาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
เมื่อ CIA Interrogation Report ปรากฏออกสู่สายตาโลก ความเกี่ยวข้องและผลกระทบ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่เรื่องระหว่างสองพรรคการเมือง ประเด็นที่ควรพิจารณา คือ สาระซึ่งรายงานฉบับนั้นเปิดเผย ผู้เกี่ยวข้อง ความถูกต้อง จริยธรรม และส่วนสำคัญที่สุด คือ Truth ความจริงที่จำเป็นต้องชัดแจ้ง และความถูกต้องเท่านั้นที่ควรคงอยู่
การวิจารณ์สหรัฐอเมริกา โดยไม่สนใจมูลเหตุที่มาทำให้ขาดการไตร่ตรองถึงข้อมูลอีกหลายส่วนอันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบตัวเอง สร้างได้แค่เพียงอารมณ์ต่อต้าน ที่ไม่สามารถให้น้ำหนักในการตำหนิติเตียนเมื่อสหรัฐอเมริกาก้าวล้ำเส้นสู่ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศอื่น รายงานที่ครอบคลุมการจัดการโลกยุคใหม่ช่วงสิบกว่าปีที่แล้ว มีสิ่งจำเป็นต้องศึกษาหลายแง่มุม
ปูมหลัง วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 หกวันหลังจากที่มหานครนิวยอร์คถูกบุกโจมตี President George W Bush ลงนามอนุมัติให้ Director of Central Intelligence ดำเนินปฏิบัติการพิเศษเพื่อจับกุม กักขังบุคคลที่ส่อเค้าว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรือมีเจตนาวางแผนก่อการร้ายกับสาธารณชน
เมื่อพิรุธปรากฏ หลังเหตุการณ์ 9/11 ไม่นานนัก CIA กำหนดแนวทางสืบสวน เค้นข้อมูลจากผู้ก่อการร้าย หรือผู้ต้องสงสัยเกี่ยวพันในการก่อการร้ายไว้หลายขั้นตอน อาทิ sleep deprivation บังคับไม่ให้นอน slapping ทุบตี จนถึง waterboarding ที่สร้างสภาพขาดอากาศจากการจมน้ำ Central Intelligence Agency (CIA) ไม่เคยให้รายละเอียดภาคปฏิบัติถึงวิธีการที่ใช้ในการสอบเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัยต่อ Senate Select Committee จนกระทั่งได้ดำเนินการไปแล้ว วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 Videotapes จำนวนใกล้ร้อย ที่ใช้บันทึกขั้นตอนการเค้นสอบสวนผู้ต้องสงสัย ถูกทำลายทิ้ง ตามคำสั่งของ Jose A Rodriguez หัวหน้า CIA ส่วนปฏิบัติงานลับ หลังปรึกษาฝ่ายกฎหมายแล้วว่ากระทำการดังกล่าวได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ของตนเอง โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ถึงพ.ศ. 2549 การทรมานผู้ถูกกักขัง เป็นข่าวโจ่งแจ้งสืบเนื่องจากกรณีเคลื่อนย้าย Abu Zubaydah ไปสู่ สถานกักขัง detention centre ลำดับเหตุการณ์หลัง Zubaydah ถูกจับ มีรายละเอียดว่าการทรมานเค้นข้อมูลเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อช่วงต้นปีพ.ศ. 2545
กระแสเรียกร้องหาข้อเท็จจริงเริ่มก่อตัวขึ้น จนสิ้น พ.ศ. 2550 ผู้สนใจรวมไปถึงกระทรวงยุติธรรม รัฐสภา ต่างใคร่รู้เบื้องหลังของการทำลายเทปบันทึกการสอบสวน ใครกล่าวเท็จ ใครทำผิดกฎหมายในการทำลายหลักฐาน หรือมีใครบางคนที่ White House บงการ
ที่สุด ก็ถึงเวลากระจ่าง 20 มกราคม พ.ศ. 2552 Barak Obama เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 แห่งสหรัฐอเมริกา วันที่สองของการดำรงตำแหน่ง President Obama ออกคำสั่งห้ามใช้การทรมานเพื่อเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัยที่ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขัง และประนามปฏิบัติการดังกล่าวของ CIA ว่าเป็น ‘dark and painful chapter’ ของประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
ถึงเดือนมีนาคม มีมติให้เปิดกระบวนการสอบสวนการทำงานของ CIA detention and interrogation programme การค้นหาความจริงใช้เวลาเกือบสี่ปี รายงานฉบับนี้จึงได้ผ่านมติเห็นชอบในเนื้อหา เข้าสู่ขั้นเตรียมการเปิดเผยต่อสาธารณชน มีขั้นตอนตรวจสอบเพิ่มเติม แก้ไข จนได้ข้อสรุปเพื่อการเปิดเผยก็เมื่อเมษายน พ.ศ. 2557 ในที่สุด บทสรุป 480 หน้า จากรายงานการสอบสวน 6,000 หน้า ก็เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ก้าวต่อไป แน่นอนว่าผู้เกี่ยวข้องของ CIA ย่อมมีข้อโต้แย้งว่าปฏิบัติการนี้มีผู้รับรู้ แต่ไม่มีผู้คัดค้าน นั่นจะเป็นประเด็นของการปกป้องการกระทำของตน หรือการปัดสวะเพียงพ้นคอ ไม่ใช่เรื่องที่ชาวโลกต้องร่วมโต้เถียง Former President George W Bush กล่าวว่า CIA saved lives. ตามบทบาทและหน้าที่ President Obama สรุปว่า การ torture ทรมานผู้ต้องสงสัย เป็นเรื่องผิด ที่ไม่มีความจำเป็น โดยเฉพาะเมื่อรายงานฉบับนี้ ให้ข้อสรุปว่า torture ไม่สามารถให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลที่เกิดประโยชน์ต่อการทำงานต่อ
ประเด็นสำคัญที่ห้ามหลุด Torture ก็คือ torture เป็นสิ่งผิดตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และแม้กระทั่งกฎหมายของ European Union ที่ศาลไม่ยอมรับข้อมูลที่ได้จากการทรมาน Advanced Interrogation ที่เรียกกันว่า CIA torture เป็นความผิด ผู้เกี่ยวข้องสมควรรับผิดชอบ รายงานฉบับนี้ เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ 54 ประเทศ การตีความว่า ผิดจากมาตรฐานใด และ ตีวงขอบเขตผู้เกี่ยวข้องได้เพียงใด เป็นข้อมูลที่ต้องพิจารณาเพื่อเรียนรู้อย่างเท่าทัน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งปรากฏตามรายงานว่าพัวพันในกิจกรรมอยู่หลายโอกาส ภาษาที่ใช้กำกับการสืบสวน มีความหมายชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติ Rendition, Detention and Interrogation ของ CIA ที่สามารถอธิบายความสงสัย ไปถึงเรื่อง ‘คุก’ ที่ถูกกล่าวถึงในประเทศไทย Rendition คือ The practice of sending a foreign criminal or terrorist suspect covertly to be interrogated in a country with less rigorous regulations for the humane treatment of prisoners. Detention คือ การกักขังหน่วงเหนี่ยว The action of detaining someone or the state of being detained in official custody. Interrogation คือ The process of asking question of (someone) closely, aggressively or formally. ตามความหมาย Rendition ระบุชัดเจนว่า คือการนำตัวผู้ต้องสงสัยไป ‘interrogate สอบสวน’ ในประเทศที่หย่อน หรือไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมการปฏิบัติโดยมีมนุษยธรรม การกระทำนั้น ผิดชัดแจ้งในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามใน UN Convention against Torture และจาก US legal code ข้อกำหนดกฎหมายของตนเอง ความผิดนี้จึงเป็นไปตามมาตรฐานโลกและตนเอง การวางขอบเขตความผิดของผู้เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับการการรู้เห็นเป็นใจให้เหตุแห่งความผิดนั้นดำเนินไปได้
เมื่อการกระทำ Rendition, Detention และ Interrogation เป็นความผิดตามที่สหรัฐอเมริกาลงนามความร่วมมือไว้แล้ว หากยังต้องการฝืนทำ วิธีหลีกเลี่ยงอย่างสวยงาม คือ ย้ายไปทำใน ‘ประเทศที่หย่อน หรือไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมการปฏิบัติโดยมีมนุษยธรรม’ เรื่องนี้ประเทศไทยถูกพาดพิงอย่างเปิดเผยมานานแล้ว จากปากผู้ที่ถูกลากตัวไปจาก Bangkok Airport สนามบินไทยด้วย
ก่อนที่จะประนามว่า CIA อ้างชื่อประเทศไทยอย่างเลื่อนลอย ควรคำนึงถึงสถานการณ์แวดล้อมประกอบ เช่น - ช่วงเวลาของเหตุการณ์อยู่ภายใต้การบริหารประเทศของใคร - ตั้งคำถามว่าทำไมผู้นำประเทศทั้งสองละเว้นการตรวจสอบซึ่งกันและกันในสิ่งที่ ‘ผิด’ ณ ช่วงเวลานั้น การปราบผู้ค้ายาเสพติดด้วยการไล่ฆ่าอย่างรุนแรงในประเทศไทย ไม่สะดุดความรู้สึกของผู้นำสหรัฐอเมริกาว่าเกินขอบเขตสิทธิมนุษยชน หรือเพียงเพราะไม่ต้องการถูกซักถามเรื่องของตนเองที่หาประโยชน์อยู่ในพื้นที่อื่น
ในเวลาเดียวกัน การเลือกสถานที่ปฏิบัติการล้ำเส้นสิ่งที่ตนเองลงนามไว้ มีหลักเกณฑ์ไม่ยุ่งยาก หากประเทศนั้น - เป็นมิตรสหายกันมานาน - มีผู้นำที่ซื้อได้ บังคับได้ – manipulated บงการได้ตามชอบ, corrupt ยิ่งทุจริตก็คุยกันง่าย - กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ – ผู้ถือกฎหมายเป็นใหญ่กว่าตัวบทกฎหมาย - Press อ่อนแอ ประเทศไทยจึงเป็นเป้าหมายที่ลงตัว และหากจะเปลี่ยนจากการมองหา ‘คุก’ มาเป็น ‘facility’ ให้ดำเนินกิจกรรมตามต้องการ เช่น safe house หรือ detention centre ก็ยิ่งลงตัว เพราะการทรมานผู้ต้องสงสัยต้องการแค่ ‘สถานที่ปิด’ ปราศจากการแทรกแซง ไม่จำเป็นต้องเป็นคุก
สหรัฐอเมริกาหยั่งรากความสัมพันธ์ทางการทหารและใช้พื้นที่ประเทศไทยมานานกว่าครึ่งศตวรรษ กิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องผ่านเส้นทางของ CIA และไม่จำเป็นต้องจบสิ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามในต้นยุค 70s ที่ทหารอเมริกันเดินเกลื่อนประเทศไทย การลงทุนใน Infrastructure ทางโครงสร้างถาวร เป็นคู่ขนานกับความสัมพันธ์ทางการแลกเปลี่ยนการฝึกภาคสนาม ค่ายสุรนารี นครราชสีมา มีฐานที่ JUSMAG หนึ่งหน่วยของกลาโหมสหรัฐอเมริกาประจำการ มีอาคารที่ทำการ บ้านพัก สิ่งอำนวยความสะดวกก่อสร้างตามมาตรฐานรูปแบบค่ายทหารอเมริกัน ร้านค้าให้บรรยากาศและสินค้าเทียบเท่าในอเมริกา โรงพยาบาลทหารที่ผ่านเข้าไปเมื่อปลายยุค 60s มีอุปกรณ์เครื่องมือและความสะดวกล้ำหน้าโรงพยาบาลไทยทั้งสิ้นแล้ว ถึงช่วง Thanksgiving ไก่งวงก็ส่งตรงเข้ามา ถึงเวลาสร้างขวัญกำลังใจ Bob Hope ก็บินมาให้ความสำราญ
ทหารอเมริกันหมดสมัยที่ค่ายสุรนารีไปนานแล้ว แต่วันนี้ JUSMAG Thai ยังอยู่ที่หัวถนนสาทร ผู้ข้องเกี่ยวต้องมาจาก DoD – Department of Defense เท่านั้น
สิ่งที่ยังอยู่...ก็ยังคงอยู่ สหรัฐอเมริกาลงทุนมหาศาลสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้มีมาตรฐานการปฏิบัติภารกิจสูงภายใต้ CinCPacFleet – Commander in Chief Pacific Fleet, Hawaii เท่าเทียมกับ Clarke Air Base, Philippines ซึ่งเป็น US Air Base มีเอกสิทธิ์ทางพื้นที่และยังต้องเคารพกฎหมายและพันธะสัญญาของสหรัฐอเมริกา อู่ตะเภา จึงมีความเป็นต่อในฐานะพื้นที่นอก jurisdiction เขตของกฎหมายสหรัฐอเมริกา
อู่ตะเภามี runway range ถึง 4900 feet รองรับการขึ้นลงของเครื่อง B52 ได้อย่างสบาย มีพิกัดเหมาะเจาะสำหรับการแวะลงเติมน้ำมันในเส้นทางสู่ตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาจึงสามารถวางใจอู่ตะเภาได้เสมอ หากต้องออกปฏิบัติการในสงครามอิรัก หรือภารกิจในอัฟกานิสถาน – ไม่นานมานี้
สนามบินอู่ตะเภา ติดตั้งอุปกรณ์ทางทหารและสิ่งอำนวยความสะดวกไว้พร้อม มีธนาคาร สระว่ายน้ำ สโมสร ตู้กดน้ำอัดลมที่ส่งตรงมาจาก Clarke Air Base กดซื้อได้ด้วยเหรียญ Dime - 25 cents ระดับการก่อสร้าง บวกกับความรับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุงและรักษามาตรฐานให้ทันยุคสมัยย่อมมีมูลค่ามหาศาล ข้อแลกเปลี่ยนสิทธิในการใช้พื้นที่ไม่เพียงแค่ยาวนาน เนื้อหาความผูกพันตามสัญญาจึงไม่ระบุเวลาสิ้นสุด การเข้าออกไม่เอิกเกริก
ในความเป็นจริง หน่วยงานดูแลความมั่นคงของแต่ละชาติ มีโอกาสถูกชื่นชมและประนามได้เสมอกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะสร้างผลงานที่ป้องกันความสูญเสีย หรือ ความหายนะจากความล่าช้าเพียงหนึ่งก้าว การป้องกันเหตุร้ายกับการกระทำเกินเหตุผล มีเส้นแบ่งที่ผอมบาง เมื่อเกิดความผิดพลาดสิ่งที่เหมาะสมที่สุด คือการรับผิด หรือการรับโทษ ที่สังคมโลกคาดหวัง
แม้ประชาชนของประเทศที่ถูกพาดพิง จะไม่สนใจปฏิกิริยาจากต่างชาติ ก็ไม่ควรหลุดประเด็นสำคัญ ในการตรวจสอบความถูกต้องภายในประเทศ - ของผู้บริหารประเทศ
ก่อนที่จะประนามสหรัฐอเมริกา เราควรศึกษาความลึกซึ้งของความสัมพันธ์ที่ผู้บริหารประเทศ นักการเมือง และหรือผู้นำทางการทหารสร้างไว้ ท่าทีของสหรัฐอเมริกาก่อนรัฐประหารไทย พ.ศ.2557 คือ ตำหนิวิธีการ ‘ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย’ ของผู้ชุมนุมต่อต้านทักษิณ เพราะความหวังของการเอาคนที่สหรัฐอเมริกา ซื้อได้ สั่งได้ กลับสู่ประเทศไทยยังมี พอรัฐประหารเกิด สายการทูตตบหัวประนาม Junta Government สาย CinCPac ส่งสาส์นมาลูบหลังทหารไทยว่า มิตรภาพกับซิงคแพ็คยังคงอยู่ ครั้นรัฐประหารลงตัว ความหวังไหลลงท่อ สหรัฐอเมริกาก็หน้าตาเฉยกลับมาใหม่
เมื่อ Bottom line คือเรื่องของผลประโยชน์ การรื้อทิ้งความเกี่ยวข้องของคนที่เสมือนนอนร่วมเตียง ต้องอาศัยความถูกต้องเป็นเครื่องมือ ใช้อาวุธที่ทรงอานุภาพ คือ Truth ความจริง หากภาระผูกพันที่ผู้บริหารประเทศและนักการเมืองผูกปมเอาไว้ยังอยู่ ประนามอย่างไรก็ไม่สะเทือนถึงคนผิด
Won’t Get Fooled Again Uploaded by: gawlerpete *********
Full report: http://www.intelligence.senate.gov/study2014/sscistudy1.pdf Photo credits are as on each photo. Won’t get Fooled Again เสียดสีการเมืองได้เหมาะสมสถานการณ์
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |