*/
<< | มกราคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
การสังหารหมู่ ณ สำนักงาน นิตยสาร Charlie Hebdo กรุงปารีส ราวสิบเอ็ดโมงครึ่งของวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558 ใช้เวลาไม่กี่นาทีคร่าชีวิต Journalists สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้อง 12 คน ปฏิกิริยาแรกของชาวโลกคือ ตระหนก ฉงนในเหตุปัจจัย ต่อด้วยการคาดการณ์ตามพื้นฐานความเข้าใจที่ไม่เท่ากัน
ความนำที่จำเป็นต้องเกริ่นเพื่อความเข้าใจตรงกัน คือ 1. เป็นความจำเป็นที่ต้องเข้าใจที่มาอย่างถูกต้อง ปัญหาที่ตรงจุด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่ตามมาในสังคมวงกว้าง ไม่ว่าจะส่วนใดของโลก 2. ส่วนสำคัญของปัญหาเกี่ยวเนื่องกับศาสนา แต่ศาสนาไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้ง สาธารณชนโลกตะวันตกเข้าใจและสนทนากันอย่างเป็นกลางและเปิดเผยว่า ปัญหาความรุนแรงที่มาจากมุสลิมกลุ่ม Radicals หรือ Extremists เกิดจาก ‘มุสลิม’ ไม่ใช่ ‘อิสลาม’ ความหมาย คือ จาก ‘คน’ ไม่ใช่ ‘ศาสนา’ หรือคำสั่งสอน 3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเสมือนผลลัพธ์จาก การปกครอง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ มีปมปัญหาต้องทอดขนานหลายสายให้มองร่วมกัน
4. ...
Charlie Hebdo Attack มีเหตุ และวิธีตอบโต้จากรัฐบาลและประชาชนเปรียบเทียบได้ใกล้กับ 7/7 – 7 July 2005 London Bombings ซึ่งแตกต่างจาก 9/11 (2001) ของสหรัฐอเมริกา และต้องมองในมุมของ Europe ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน – ไม่ใช่ปัญหาของฝรั่งเศสเพียงลำพัง
สายแรก การลี้ภัยหลายปีก่อนหน้า กรณีขัดแย้ง Arab Spring ปลาย พ.ศ. 2553 ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรครั้งใหญ่จากอัฟริกาสู่ภาคพื้นทวีปยุโรป มีรอยต่อจากตุรกี มุ่งหน้าสู่กรีซและอิตาลี กรีซวางแนวลวดหนามกั้นชายแดนกับตุรกี ผลักผู้อพยพให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางมาฝ่าคลื่นลมกลางมหาสมุทรเพื่อหาจุดขึ้นบกตลอดแนวชายฝั่งกรีซ ซึ่งยาวกว่าหลายประเทศในยุโรปรวมกัน แต่เมื่อเศรษฐกิจของกรีซและอิตาลีช่วยเหลือใครไม่ได้ ก็รอดตัว เป็นแค่จุดให้ผู้อพยพเหยียบแผ่นดิน European Union ผ่านสู่ปลายทางที่ฝรั่งเศส คนของ Tunisia และ Algeria รู้ภาษาฝรั่งเศสถึงกว่า 60% การตั้งต้นที่ฝรั่งเศสจึงลงตัว ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจในภาคพื้นทวีปถดถอย เป้าหมายถัดจากฝรั่งเศส คือ สหราชอาณาจักร เกราะป้องกันของ UK คือ ความเป็นเกาะ ที่ควบคุมจุดข้ามแดนได้ชัดเจน ความพยายามเกาะใต้ท้องรถบรรทุกและลักลอบซ่อนตัวท้ายรถจาก Calais ข้าม English Channel มีสม่ำเสมอ ถูกจับได้ก็มาก โชคร้ายเกิดอุบัติเหตุก็สูญเสียชีวิต รัฐบาล UK ต้องอนุมัติเงินพิเศษเพื่อช่วยฝรั่งเศสเพิ่มการควบคุมชายแดน
สายที่สอง ปัญหาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม – ไม่ใช่ศาสนา Rightwing กลุ่มรักชาติแบบขวาจัด มีอยู่ทุกแห่งในโลกนี้ กลุ่ม Rightwing จะเสียงดังมากขึ้น ยามเศรษฐกิจไม่ดี เมื่อความเป็นอยู่ของประชาชนฝืดเคือง ธรรมชาติของการเห็นแก่ตัวกระตุ้นให้นึกถึงชาติตัวเองก่อนอื่น พวก Nationalist จึงกระตุกความสนใจของประชาชนได้เร็ว ขณะที่ EU พยายามต้านแรงกดดันเพื่อป้องกันจุดจบของความเป็น union ฝั่ง Rightwing ก็จับประเด็นทางสังคม และการเมือง กระแสการต่อต้านคนต่างชาติเกิดขึ้นทุกหัวระแหง ปริมาณคนต่างชาติที่ทะลักสู่เกรทบริเทนเป็นประเด็นสำคัญในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2558 ที่ UK หมายหัวคนจาก EU ด้วยกันเอง แต่หลายชาติในยุโรปไม่เป็นเช่นนั้น ปัญหาของมุสลิมโยกย้ายถิ่นที่เกิดขึ้นและจับต้องได้ คือความบกพร่องด้าน Assimilation การปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ที่ต้องมีส่วนร่วมเมื่อตนเองเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ บนพื้นฐานของการยอมรับศาสนาเป็น a way of life ที่ศาสนาชี้นำการดำเนินชีวิต ศาสนาจึงสำคัญเป็นลำดับแรกของชีวิตมุสลิม – ซึ่งไม่ผิด แต่ไม่ใช่วิธีปฏิบัติของอีกหลายชาติที่มุสลิมอพยพเข้าไปอยู่ การจับประเด็นของ Rightwing จากเดิมที่ต่อต้าน Immigration คนที่เข้ามาแย่งการทำกินจากใน EU ด้วยกันเอง เปลี่ยนเป็นกลุ่มที่มาเป็นภาระ ที่ไม่สามารถกลมกลืนเข้าสู่สังคมเดียวกันได้ – มุสลิม แม้จะมีกลุ่มที่คะคานและคัดค้านการต่อต้านมุสลิม แต่ความเคลื่อนไหวนี้เป็นระลอกคลื่นที่เกิดขึ้นแล้ว กลุ่ม Pegida ที่ Germany ต่อต้านมุสลิม คะคานกับกลุ่ม Anti-Pegida นักการเมือง Rightwing ของ Italy เรียกร้องให้จำกัดจำนวนมุสลิมเข้าประเทศ Switzerland, Walter Wobmann ที่เคยรณรงค์ให้ยุติการสร้างสถานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม เรียกร้องให้ห้ามมุสลิมบางกลุ่มเข้าประเทศ ผู้นำ Ukip ขวาจัดถูกโจมตีหลังจากประนามวัฒนธรรมที่เกี่ยวร้อยคนหลากเชื้อชาติของ UK
จากข้อเท็จจริงที่มุสลิมบางกลุ่ม ทำให้มุสลิมส่วนรวมเสียหาย ผนวกกับการจับจ้องของนักการเมือง Rightwing และกลุ่ม Nationalist ส่งให้ข้อขัดแย้งที่ซับซ้อนยิ่งยุ่งเหยิง การปกป้องผู้อพยพลี้ภัยมุสลิมในช่วงหลังยิ่งลำบาก ทั้งที่เป็นคนละกลุ่มกับมุสลิมสร้างปัญหา ซึ่งมีมาเป็นสิบปีก่อนเข้าศตวรรษที่ 21 ใน พ.ศ. 2543 แล้ว
สายสำคัญ Secular State หลายประเทศ วางตัวเป็น Secular State ที่ตัดบทบาทของศาสนาออกจากการปกครองอย่างสิ้นเชิง ไม่กำหนดศาสนาประจำชาติ ไม่ให้ประชาชนในความเชื่อถือศรัทธาใดมีอิทธิพลเหนือกว่าใคร ประชาชนมีอิสระเสรีภาพในการเลือกยึดถือศาสนาตามความพอใจ แต่ไม่สามารถนำศาสนามาเป็นเครื่องต่อรอง หรือสร้างสิทธิพิเศษเหนือสิทธิและหน้าที่ ซึ่งพลเมืองต้องปฏิบัติเท่าเทียมกัน เมื่อศาสนาไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศ สิ่งเดียวที่สำคัญที่สุด คือ กฎระเบียบที่ใช้ควบคุมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข หลายร้อยกว่าปีก่อนหน้า เมื่อฝรั่งเศสยังเป็น Absolute Monarchy สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่กษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จปกครองประเทศ ยังมีความเชื่อว่า กษัตริย์มี Divine right ในการครองเมือง Divine right เปรียบเสมือนอำนาจจาก God – The Creator ผู้สร้างโลก ที่เป็นเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ห้ามสงสัย เคลือบแคลง ห้ามท้าทาย โต้แย้ง อำนาจนั้น อิงศรัทธาในศาสนา เกี่ยวร้อยไว้ไม่แยกออกจากกัน เมื่อถึงจุดเปลี่ยน เกิด French Revolution ภารกิจสำคัญของผู้ยึดอำนาจ คือการล้างทิ้งอำนาจเก่า สลายขั้ว ตัดบทบาทศาสนาไม่ให้ศรัทธาและความเชื่อมีพลังเหนือกฎระเบียบ ที่กำกับสังคม หลังการปฏิวัติ หัวใจ The Motto ของ French Republic คือ Liberté, Égalité, Fraternité เสาค้ำประเทศสามประการที่คนรุ่นหลังหวงแหนนั้น เป็นจุดอ่อนไหว ที่ไม่ยอมอ่อนข้อต่อการท้าทายอันใด
Secular state เป็นอยู่มา โดยการยอมรับและเคารพของประชาชน ในฐานะแกนหลักของชาติมาหลายร้อยปี ฝรั่งเศสระบุหลักการนี้ชัดเจนในหน้าแรกที่แนะนำประเทศ คนที่ต้องปรับคือผู้มาใหม่ ไม่ใช่ระบบเก่าที่ต้องเปลี่ยน
France ดินแดนอิสระของนักคิด - Charlie Hebdo ไม่ใช่คนแรก ประวัติศาสตร์ของ French Journalism ย้อนได้หลายร้อยปี ก่อนเข้าสู่ French Revolution การเผยแพร่ข่าวเป็นเพียงแผ่นกระดาษ การขุดคุ้ย Versailles ที่เป็นราชสำนักและรัฐบาล มีทั้งเรื่องฉาว ทุจริต การประนาม Marie-Antoinette และราชวงศ์เกิดขึ้นมาแล้ว ถอยกลับไปอีกนิด สิ่งที่ถูกโจมตีมาก่อน คือ ศาสนา หมู่ผู้นิยมงานประพันธ์ของฝรั่งเศสควรจำได้ว่า Voltaire มีชื่อเสียงเพียงไรในการถ่ายทอดความคิดเรื่องการแยกศาสนาออกจากการปกครอง การเรียกร้อง Freedom of Expression และ Freedom of Religion ผ่านงานเขียนเสียดสี Satire ข้อคิดจากการติเตียนความเป็นไปของ Catholic Church มีอิทธิพลต่อคนฝรั่งเศสมาก ส่งให้ Voltaire เป็นที่รู้จักดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2309 Lefebvre de la Barre ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยตัดลิ้นก่อนแล้วตัดหัวตาม ฐานลบหลู่สัญลักษณ์และหมิ่น Christianity ตำหนิ Roman Catholic Church ว่ามีอิทธิพลและอำนาจมากเกินไป La Barre ถูกเผาไปพร้อมของส่วนตัว คืองานเขียนของ Voltaire Paris ในต้นศตวรรษที่ 19 มีนักคิด นักเขียน ศิลปิน หลั่งใหลเข้าสู่บริเวณ Rive Gauche คำแปลคือ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ความหมาย คือ แหล่งเสวนาของนักคิด อาทิ Zola, Manet, Degas, Fauré จนถึง Pablo Picasso, Arthur Rimbaud, Paul Verlaine, Henri Matisse, Jean-Paul Sartre, Amedeo Modigliani, Salvador Dalí, Edgar Degas และ Samuel Beckett ชุมชนใหญ่ของคนเหล่านี้ ชื่อ Montparnasse หากไม่มีบรรยากาศที่ไร้กรอบกั้น คงไม่มีงานเป็นเอกอีกหลายชิ้นเกิดขึ้นในโลกนี้
Raison d'etre – The Point is -- เรซง เด็ท เหตุผลของสิ่งที่เป็นอยู่ ที่ Charlie Hebdo มีที่ยืนในสังคม ที่การทำลาย Charlie Hebdo กระตุกความรู้สึกของคนทั้งยุโรป
ภายใต้ Secular principle ไม่สนใจว่าใครนับถือศาสนาอะไร และไม่ต้องการทราบด้วย เพราะศาสนาและพื้นฐานความเชื่อ ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล Press Freedom สำหรับคนฝรั่งเศสจึงไร้ boundary ไม่มีขอบเขต อยู่เหนือศาสนา เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนที่จะได้รับข้อมูล ข่าวสาร รายงาน ได้ความรู้ ได้ความบันเทิง ได้ขำ เย้ยหยัน กับชีวิตที่เป็นไปตามครรลอง Press Freedom เป็นกลไกตรวจสอบการปกครองและสังคม มีหน้าที่กำกับให้สิทธิ์ที่ควรมี คงอยู่ สังคมปัจุบัน มีสิ่งแวดล้อมให้สอดส่องหลายด้าน - การเมือง นักการเมือง ตำรวจ การเงิน จนถึงศาสนา - Satire เป็นทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบ จากศตวรรษที่ 18 – 21 บรรยากาศศาสนาในฝรั่งเศสเปลี่ยนโฉมอย่างพลิกผัน Catholic Church สิ้นอิทธิพลแบบดิ่งลงเหว จากที่ Church เคยพิพากษาเอาชีวิตคนได้ กลับกลายเป็นไร้บทบาทในการปกครอง คนกลุ่มน้อย minority เพียงหกล้านที่ทยอยอพยพเข้าสู่ฝรั่งเศสเมื่อไม่กี่ปีมานี้ จึงไม่มีเหตุอันสมควรให้เอาศรัทธาและความเชื่อที่แตกต่างมาพิพากษาสังคมให้ปฏิบัติต่อตนเป็นพิเศษได้ Charlie Hebdo ยุ่งกับทุกศาสนา หากศาสนามีอิทธิพลมากเกินตัว Charlie Hebdo ก็ตั้งคำถาม วิธีการ ก็คือ Satire Pope และ Catholic Church, Judaism, พุทธ – ไม่เคยถูกละเว้น Charlie Hebdo ส่องทุกคนบนพื้นฐาน Liberté d’Expression
พ.ศ. 2551 Philippe Val บรรณาธิการ Charlie Hebdo ออกหนังสือปกป้องเสรีภาพของการใช้ Satire ล้อเลียน เสียดสี ตั้งคำถามสิ่งต้องห้ามที่แตะไม่ได้ของศาสนา ชื่อ Reviens, Voltaire, Ils Sont Devenus Fous – Voltaire กลับมาช่วยด้วย โลกเป็นบ้าไปแล้ว
ความเป็น Charlie Hebdo จึงเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณที่คนฝรั่งเศสต้องการรักษา เพื่อทำหน้าที่ที่ต้องทำ คือ การท้าทาย ในสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ การท้าทายรัฐบาลฝรั่งเศส ที่บกพร่องและไม่เป็นกลาง ใส่ใจข้อเรียกร้องพิเศษของมุสลิม ทั้งที่มุสลิมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมตามกฎกติกาของสังคม เหมือนคนอื่น ไม่ใช่ผู้ได้รับการยกเว้น Charlie Hebdo จึงไม่ยุติการตอแยกับมุสลิม ทั้งที่ไม่ได้ท้าทาย หรือโจมตี Islam ในแง่ความเป็นศาสนา
เมื่อล้ำเส้น ก็ถูกฟ้องไป – นับครั้งไม่ถ้วน ไม่ใช่ถูกขู่ฆ่าจนต้องอยู่ภายใต้การคุ้มครองของตำรวจ และถูกฆ่า อย่างที่เกิดกับ Stephane Charbonnier
ประเด็นของการแตะต้อง Muslims - ความถูกผิด คนไทยส่วนมากไม่สนิทกับ Freedom of Speech ขณะที่มีความสัมพันธ์อันดีกับมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งถูกต้องแล้วตามฐานะที่ประเทศไทยไม่เป็น Secular State มีศาสนาประจำชาติ ให้การยอมรับว่าศาสนามีบทบาทต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด United Kingdom ก็ไม่เป็น Secular State มี Queen Elizabeth II เป็น Head of State และ Head of The Church of England ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ มีข้อโต้แย้งว่าฝรั่งเศสปฏิบัติต่อ Judaism อย่างแตกต่าง ทำไมกรณี Anti-Semitism ต่อต้านยิว มีการตัดสินลงโทษทางกระบวนการยุติธรรม แล้วการเสียดสีด้วยการล้อเลียน Prophet Muhammad ไม่ผิดได้อย่างไร นี่คือความแตกต่างในรายละเอียดของ Freedom of Speech และ Incitement of violence Liberté d’Expression คือเสรีภาพในการแสดงความคิด ตามกฎหมายฝรั่งเศสการล้อเลียน เสียดสี เป็นเรื่องของคำพูด ปากกาไม่สามารถฆ่าคน ไม่มีการทำร้ายบุคคลจริง ไม่ได้ยุยงส่งเสริมให้ใครออกไปฆ่าใคร กรณี Anti-Semitism ที่อ้างถึงความปรีดาในการฆ่ายิวช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการส่งเสริมว่าการฆ่าคน ‘ดีแล้ว สมควรแล้ว’ นั่นคือ Incitement of Hatred and Violence ผิดตามกฎหมาย ฝรั่งเศสระบุฐานะ Secularism ชัดเจน กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ และเมื่อ Liberté d’Expression เป็นเสาหลักของโครงสร้างประชาธิปไตยฝรั่งเศส ข้อเรียกร้องของคนส่วนน้อยที่มาขออาศัยอยู่ในประเทศนี้จึงเป็นการท้าทายกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศที่ถูกกำหนดมาเป็นร้อยปี การปฏิเสธที่จะโอนอ่อนของฝรั่งเศสจึง justify สมเหตุ ในฐานะเจ้าของประเทศ คนที่ไปอาศัยภูมิลำเนาที่วางข้อกำหนดชัดเจนอยู่แล้ว จึงเป็นฝ่ายต้องตริตรอง ‘เอง’ อย่างถี่ถ้วน เมื่อยังมีคนอีกมาก ต้องการอพยพไปอยู่ฝรั่งเศส เพราะความเป็น Secular State
เมื่อการเรียกร้องความรับผิดชอบในแง่กฎหมายของมุสลิม ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส การตั้งคำถามว่า การ exercise Freedom of Expression ที่เกินเลย จนกระทบสิ่งที่เคารพในศรัทธาของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ผิดกฎหมายของชาตินั้น แต่กระทบต่อความรู้สึกของคนส่วนรวมในสังคมความเชื่อนั้น เหมาะสมหรือไม่ จำเป็นหรือไม่ ควรระงับหรือไม่ กลับเป็นสิ่งที่จะกระตุกผู้ที่กำลัง exercise right ให้หยุด และฟังมากกว่า
เป็นสัจธรรมที่จริงแท้ว่า การใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจระดับความสำนึกเรื่อง Social consideration ของประชาชน ก็คงไม่สามารถควบคุมให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้
ข้อ 4…มองกลับมาที่ประเทศไทย เหตุการณ์ครั้งนี้ ควรศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อการเรียนรู้ Freedom of Speech และ Free Press ที่เป็นฐานหลักของการพัฒนาประชาธิปไตย คำถามสำหรับสังคมไทย มีหลายข้อ
- การรับวิธีการของฝรั่งเศสมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ผู้กระทำ ตระหนักถึงพื้นฐานและองค์ประกอบทั้งเหตุและผลของฝรั่งเศสอย่างลึกซึ้งแค่ไหน เข้าใจแค่ไหน และตั้งใจนำมาใช้แบบไหน คาดหวังให้สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นไหน การรับวิธีการของชาติใด มีองค์ประกอบของพื้นฐานประชาชนและปัญหาในชาติที่แตกต่างกัน การรับเพียงแนวทางที่ลงตัวแล้วกับชาติหนึ่ง ไม่มีข้อสรุปในประวัติศาสตร์ว่าเหมาะสมกับทุกชาติ
- การรับสิ่งที่เหมาะสมกับฝรั่งเศสทั้งชาติ ว่าเหมาะกับกลุ่มผู้นำคณะราษฎรราว 30 คน เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องกับประชาชนไทยทั้งมวลหรือไม่ การกระทำของคณะราษฎรสรุปได้หรือยังว่าต้องการเพียงอำนาจ แต่ไม่ได้นำเอาหัวใจของ Liberté, Égalité, Fraternité มาด้วย ทิ้งให้ประเทศไทยเกิดแต่เผด็จการ และไม่มี Freedom of Expression การกระทำนั้นหากเป็นความผิด สมควรถูกพิจารณาย้อนหลังหรือไม่
- Freedom of Speech ตามวิธีการประชาธิปไตยถูกกำหนดเพื่อใช้เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนักการเมือง พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย ไม่มีบทบาทในการทำงานบริหารบ้านเมือง การคงอยู่ของมาตรา ๑๑๒ ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารประเทศ การเสียดสี ยั่วแหย่แบบ Satire ยังคงทำได้ตามเจตนาเดิมของ Freedom of Speech พร้อมการคงอยู่ของ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๒ ถูกใช้ป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่อยู่นอกเหนือการทำงานของรัฐบาล ไม่มีสิทธิใดเหนือรัฐธรรมนูญ และไม่มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาใด คือ พระมหากษัตริย์ไทย ที่ประทับอยู่ชัดเจนภายใต้นิยามของ Constitutional Monarchy และเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยที่ไม่เข้าข่ายลักษณะใดในโลกนี้ ผู้เรียกร้องให้ยกเลิก มาตรา ๑๑๒ สมควรเลิกเบี่ยงเบนความหมายของ Freedom of Speech ได้หรือยัง ผู้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และเคารพในมาตรา ๑๑๒ สมควรแก้ต่างความไม่เกี่ยวข้องของมาตรา ๑๑๒ กับการลิดรอน Freedom of Speech ที่ถูกนักวิชาการบิดเบือนความหมาย และนำไปใช้ในทางที่ผิด – ผิด spirit of the law และถึงเวลารณรงค์ให้โลกสากลเข้าใจความไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยหรือยัง
United we stand, European Union. SW19 London *********
Edith Piaf - Non, Je ne regrette rien uploaded by: ondrejtis's channel
Regret nothing. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |