*/
<< | สิงหาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
ความวุ่นวายในสังคมโลกเวลานี้ ถ้ามองผ่านมุมการเมือง ความขัดแย้ง การสู้รบ คงเห็นมูลเหตุเป็นความแตกต่างทางความคิด การช่วงชิงอำนาจ ความโลภ แต่หากเฝ้าดูความเป็นไปจากหน่วยย่อยของสังคม ปมปัญหาคงไม่ไกลเกินความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ปุถุชน
1. มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นปีแรกที่ Davos เอ่ยถึง Inequality Davos คือ World Economic Forum การพบปะในแต่ละปีถูกมองเป็นภาพสะท้อนทิศทางความคิดของกลุ่มอำนาจที่ขับเคลื่อนโลกหลายส่วน ทั้งประมุขประเทศ ผู้นำรัฐบาล ผู้ก่อตั้ง/ผู้บริหารธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อโลกประเภท Bill Gates, Google, Yahoo, Alibaba นักการธนาคาร นักดนตรี เมื่อ Davos พูด จึงเป็นข่าว แม้ว่า Inequality จะไม่ใช่ของใหม่
2. The Spirit Level ถูกกล่าวถึงมาหลายปีจากงานวิจัยบนพื้นฐานการแพทย์ ที่ตั้งเป้าศึกษาเรื่อง health inequalities ในแง่ความสัมพันธ์ของโอกาสได้รับการดูแลสุขภาพของคนต่างชนชั้นและลำดับขั้นทางสังคม – ทำไมสุขภาพของคนที่ด้อยโอกาส จึงผุกร่อนกว่าคนในลำดับชั้นที่สูงกว่า ถัดกันขึ้นไป ผลที่พบ กลับชี้นำสู่รากของปัญหาในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ก่อนหน้านี้ เมื่อมีพฤติกรรมไร้ระเบียบ ความต้องการที่ดูไร้เหตุผลมาสร้างความวุ่นวายให้สังคม กลุ่มชนชั้นล่างสุดจะถูกตำหนิก่อน ครั้นเกิดวิกฤติการณ์การเงิน Global financial crisis (2008) จนเดือดร้อนทั่วโลก ก็วิจารณ์ว่าเป็นเพราะความไร้จริยธรรมของนักการธนาคาร
เหตุการณ์ทั้งคู่ดูเหมือนต่างมูลเหตุ จำเลย และผลลัพธ์ แต่ในความเป็นจริงมีปัจจัยร่วมจาก Inequality ที่ขยายวงกว้างขึ้น เพราะ Inequality เกิดได้หลายด้าน – ทั้งสถานะทางสังคม การศึกษา รายได้ อำนาจ – สัมพันธ์เชื่อมโยงกันและส่งผลเหนือความคาดหมาย
เป็นได้ทั้งการเรียกร้อง ที่เริ่มในกรอบของเหตุและผล ลามสู่ขั้นจราจล – การประท้วง Thatcher ยุค 80s ความเคลื่อนไหว Occupy movement การลุกฮือ unrest ในหลายมุมโลก การรุกรานและหรือแบ่งแยกประเทศทั้งเพื่อครอบครอง-หวังผลประโยชน์ รวมทั้งความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง
3. แล้ว Inequality คืออะไร สังคมโลกที่จำนวนประชากรเพิ่มอย่างไม่หยุดยั้ง ความต้องการพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตอย่างปลอดโรคภัย ไม่สามารถปฎิเสธการค้าเสรีที่อิง Capitalism ได้ Capitalism โดยหลักการไม่สร้างความเท่าเทียม แต่เป็นระบบที่ให้โอกาสสร้างความมั่งมี อันเป็นกลไกสร้างความเจริญให้สังคม คนส่วนรวมสามารถมีความพึงใจและอยู่ร่วมกันได้ภายใต้การควบคุมที่รู้เท่าทันและมีประสิทธิภาพ ปัญหาพื้นฐานของ Capitalism คือการควบคุมล้าหลัง และการปฏิบัติขาดจริยธรรม
Communism ที่เชื่อกันว่าให้ความเท่าเทียม ก็ให้ได้เพียงจนเท่ากันตามที่รัฐบาลกำหนด เพราะรัฐบาลสร้างให้คนมั่งมีเท่ากันไม่ได้ และไม่สามารถหาทุนมาสร้างความเจริญได้ Inequality จึงไม่ใช่ความไม่เท่าเทียม – เมื่อเห็นชัดว่าความเท่าเทียมไม่มีอยู่จริงในทางปฏิบัติ แต่เป็น ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ในทุกสังคม และไม่สามารถตัดได้หมดจด
สังคมที่มีเป้าหมายในการสร้างความเจริญ ความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ความสงบสุข ต้องควบคุม Inequality ให้อยู่ในขอบเขต Inequality จึงเป็นดัชนีบอกความสามารถในการบริหารของรัฐบาลแต่ละประเทศด้วย
4. Inequality ปรากฏอยู่รอบตัวเราทุกด้าน เกี่ยวพันและส่งผลถึงกัน Social Inequality ความเหลื่อมล้ำ หรือ การถูกกีดกันในสังคม – ตั้งแต่กำเนิด การศึกษา ชนชั้น เชื้อชาติ เพศ สีผิว อายุ Economic Inequality ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ทั้ง Wealth ความมั่งมี – Income รายได้ – Consumption การจับจ่ายใช้สอย
Economic Inequality หากควบคุมได้ ก็เป็นฐานเสริมช่วยแก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านอื่น การพิจารณาปัญหาโลกในแง่ Inequality จึงพุ่งมาด้านเศรษฐกิจซึ่งจับต้องได้ วัดได้ นิยมดูจากรายได้ว่ามีการกระจายออกไปได้ดีแค่ไหน เรียกว่า Gini Coefficient
Gini Coefficient มีค่าเป็น 0 ในสถานการณ์ที่ไร้ความเหลื่อมล้ำ เปรียบเสมือนว่าทุกคนในประเทศมีรายได้เท่ากันหมด หากถึง 1 ก็แปลว่าความเหลื่อมล้ำแตะขีดสูงสุด รายได้ทั้งหมดตกอยู่ในมือบุคคลเดียว United Nations ติดตามและตั้งข้อสังเกตว่า Gini Coefficient ที่เกิน 0.4 จะส่อเค้าให้เกิด Social unrest ขณะที่สหรัฐอเมริกากำหนดให้ 0.5 เป็นระดับเหลื่อมล้ำสุดขั้ว Gini Coefficient ณ พ.ศ. 2556 ของสหรัฐอเมริกา 0.45 ขณะที่จีนแซงไปถึง 0.47 แล้ว
5. ปัญหาของ Inequality ระดับพื้นฐาน ปัญหาทางตรงคือ ช่องว่างระหว่างความจน และความมั่งมีขยายกว้างขึ้น กลุ่มคนรวยมีโอกาสสร้างความร่ำรวยมากขึ้น ขณะที่กลุ่มคนจนถูกตีวงให้ทางอยู่รอดแคบลง ผลตามมาคือ สภาพความเป็นอยู่อัตคัต การศึกษาจำกัด การยอมรับจากสังคมลดลง เข้าถึงสิ่งพื้นฐานของการดำรงชีวิตและรักษาพยาบาลยากขึ้น
ปัญหาทางอ้อม มีอยู่ใต้ผิวหนังอีกมหาศาล ใกล้ตัวจนเกินคาด เป็นปัญหาอีกทอด สืบเนื่องจากการต้องดำรงชีวิตภายใต้สภาพ Inequality เช่น การค้าบริการทางเพศ โสเภณีเด็ก การตั้งครรภ์ในผู้เยาว์ ยาเสพติด อาชญากรรม ความรุนแรง จนถึงความไม่สงบในประเทศ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
ในสังคมที่ดูสงบ ยังมีเรื่อง aging population ที่ประชากรสูงอายุเพิ่มจำนวน ระยะเวลาทำงานเพื่อสะสมเงินให้พอเพียงหลังเกษียณอายุยาวขึ้น สวนทางกับโอกาสมีงานทำ เมื่อธุรกิจส่วนมากพอใจคนอายุน้อยที่ต้นทุนการว่าจ้างต่ำกว่า ประเทศที่ระดับ Inequality ยิ่งสูง การชิงกันเด่นเรื่องสถานะทางสังคมและหน้าตา – ที่ใช้เงินเพียงเพื่อตอบสนองด้านอารมณ์ แต่สวนทางความเป็นจริงของเหตุผลทางเศรษฐกิจ – เกิดกับคนทั้งสองขั้วรายได้ คนรวยใช้เงินกับสิ่งของเพื่อแสดงฐานะ สะท้อนภาพตัวตนมากกว่า functional benefits คุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอย คนจนใช้เงินเพื่อรักษาสถานะตนเองให้ยังอยู่ในสังคมได้โดยไม่น้อยหน้า หรือดูขาดแคลน
ที่สหรัฐอเมริกา งานวิจัยในกลุ่มคนรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานค่าครองชีพ พบว่า 3 ใน 4 เลือกใช้เงินซื้อรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอำนวยความสะดวกก่อน 1 ใน 3 มีรถคันที่สอง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ล่าสุด และบางส่วนซื้อโทรศัพท์มือถือก่อนสิ่งอื่น ที่จีน เมื่อความโลภมาผสมกับพื้นฐานการพนัน การลงทุนบนก้อนเมฆที่ปราศจากเงินจริงของประชาชน non-rich ยิ่งทำให้เศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและประเทศเสี่ยงต่อการล้มครืน
การใช้จ่ายลักษณะนี้เรียกว่า Conspicuous consumption เกิดกับรากหญ้าในสังคมไทยด้วย
6. ปัจจัยซ้ำเติม Inequality จากประชากรโลกทั้งหมด ยังมีอีกหยิบมือ 1% ที่อยู่เหนือสุดยอดของความมั่งคั่ง ครอบครองทรัพย์สินมูลค่า ‘เกือบจะเท่า’ กับที่คน 99% ที่เหลือในโลกมีรวมกัน
การคาดการณ์ว่าความร่ำรวยของคน 1% จะมากขึ้นจนแซงหน้าทรัพย์สินของคนทั้งโลกในพ.ศ. 2559 เป็นเรื่องที่ยังโต้แย้งกันอยู่เรื่องความเป็นไปได้ เนื่องจากความเบี่ยงเบนของฐานตัวเลขที่ไม่ครบถ้วน และปัจจัยร่วมอื่นที่อาจทำให้คลาดเคลื่อน กระนั้นก็ตาม โอกาสที่ 1% จะครองโลกก็มีอยู่สูง – เป็นเรื่องน่าตระหนก และจำเป็นต้องสร้างสมดุล
1% ของประชากรโลกเป็นฐานที่บ่งบอกความเหลื่อมล้ำ – ไม่ใช่สาเหตุ – แต่ตำแหน่งที่ 1% เหล่านี้ยืนอยู่สะท้อนภาพ extreme capitalism ที่ให้โอกาสคนที่รวยอยู่แล้วยิ่งสร้างความรวยเพิ่ม การขยายจำนวนมากขึ้นของ 1% เป็นผลลัพธ์ของการควบคุม capitalism ที่หย่อนประสิทธิภาพ ไม่ทันเหตุการณ์ และทับถมให้ Inequality หนักถ่วงขึ้น
7. ปัญหาที่ลงลึก Inequality ทางสังคมและเศรษฐกิจขั้นซับซ้อนยังมีอีก ปัญหาของ Ebola ไม่สามารถจบได้เร็ว วัคซีนไม่ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นมาเสียนานแล้ว ก็ด้วยธรรมชาติของโรคที่เกิดขึ้นแต่ในพื้นที่ยากจน ขาดสุขอนามัย ผู้ผลิตยาไม่เห็นทางคุ้มทุนและกำไรในการค้าขายกับประเทศด้อยพัฒนา จนเมื่อการระบาดที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า Ebola เป็นปัญหาระดับโลก กระทบต่อทุกประเทศไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย Ebola เป็นความเหลื่อมล้ำจาก social problem ทางสังคม ที่การแสวงหากำไรทางธุรกิจปิดกั้นทางแก้ไข Calais crisis เหตุการณ์ปัจจุบันสะท้อน economic problem จากผู้อพยพที่จ่อชายแดน UK – เป้าหมายปลายทางที่มีระบบเศรษฐกิจมั่นคงกว่า – เพื่อเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาแสวงหาโอกาสในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น มีงานทำ มีการรักษาพยาบาล โดยไม่ใส่ใจว่าประชากรที่ต้องเสียภาษีเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการสังคมเหล่านั้นจะรู้สึกอย่างไร ที่สุดแล้ว Inequality มีผลกระทบทุกสังคม
8. 1% ของสังคมและคนจน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน สังคมส่วนที่มั่งคั่งและภาคธุรกิจเป็นผู้สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่รักษาสภาพเศรษฐกิจให้คงอยู่ดี คือการใช้จ่ายของคนกลุ่มใหญ่ และคนจน Big investment เงินจำนวนสูง กว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือน คนรวย ใช้เงินกับของฟุ่มเฟือย ที่ไม่สร้าง productivity การกระจายรายได้ในประเทศ คนจนหรือคนธรรมดา ซื้อของกินของใช้ มูลค่าต่อหน่วยต่ำ แต่สร้าง velocity การหมุนเวียน ให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นการสร้างบรรยากาศให้เศรษฐกิจเติบโต แข็งแรงได้ ต้องสร้างให้คนจนและคนชั้นกลางมีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จริงอยู่ที่ว่าการลดช่องว่างของ Inequality ไม่สามารถตัดความยากจนให้หมดไป แต่หากไม่แก้ปัญหาของ Inequality เลย จะลงแรงสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจมหาศาลเพียงใด ก็ไม่สามารถรับมือกับปัญหาความยากจนได้ สิ่งที่จะควบคุม Inequality ได้ คือ ภาษี และการนำภาษีไปใช้ เราไม่สามารถหยุดยั้งคน 1% และคนรวยในการสร้างความมั่งคั่ง แต่เราสามารถใช้ระบบจัดเก็บภาษีมาควบคุม นำเงินที่คน 1% และคนรวยผลิตขึ้นมา ใช้ลดทอน Inequality – ในชั้นต้น สร้างโอกาสให้การเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตใกล้เคียงกัน ประเทศที่เศรษฐกิจมั่นคง Gini Coefficient ก่อนและหลังหักภาษีจะแตกต่างกันมาก การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าในประเทศเหล่านั้น แสดงถึงการเกลี่ยรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inequality ระหว่างประชากรต่างชนชั้นมีระดับต่ำ ระบบการศึกษา และการสาธารณสุขมีมาตรฐานสูง
การลด Inequality ในระยะยาว คือ Income redistribution การกระจายรายได้ เกิดได้จากการลงทุน ที่สร้างงาน เกิดการว่าจ้าง ส่งผลกลับเป็น Income tax – นอกเหนือจาก VAT ที่ได้จากการกินอยู่ – มีรายได้เพื่อการพัฒนาประเทศ หลักการ new socialism นี้ ใช้ capitalism สร้างความเจริญอย่าง ruthless แล้วขูดภาษีเอาเงินมาเลี้ยงดูประชาชนอย่างเท่าเทียม
9. ประเทศไทย Gini Coefficient ของประเทศไทยคือ 0.51 ขณะที่อินโดนีเชีย มาเลเชีย เวียดนามต่ำกว่า 0.4* Inequality ของไทยจึงอยู่ในกลุ่มสูงสุดของ Southeast Asia และมีสถานการณ์คล้ายคลึงกับประเทศลาตินอเมริกัน เช่น อาร์เจนทีน่า บราซิล และเม็กซิโก
90% ของคนจนไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบท พื้นฐานเศรษฐกิจครัวเรือนเป็นเกษตรกรรม มีรายได้เป็นลักษณะ nonwage – ซึ่งวัดไม่ได้ ไม่แน่นอน และไม่สามารถสร้างภาษีรายได้ให้ประเทศได้ – ถึงแม้จะนำรายได้กลุ่มผู้ใช้แรงงานมารวม ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างสังคมเมืองและต่างจังหวัดก็ยังห่างกันลิบ
ขณะที่ 1% ในสังคมไทย ยังมีอยู่โดยไม่ถูกแตะต้อง
ความแตกแยกของสังคมไทยที่ผ่านมา มองอย่างผิวเผินคือ รสนิยมทางการเมือง หากพิจารณาข้อเท็จจริงทางตัวเลข มิอาจปฏิเสธได้ว่ามาจากความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่จริงในสังคมไทย
การเรียกร้องของกลุ่มเสื้อแดง หากตัดอคติ ข้อขัดแย้ง และความโลภที่ถูกนักการเมืองนำมาบริหารเพื่อประโยชน์ของตนเองออกไป ยังมีปัญหาที่ผู้บริหารประเทศต้องแก้ไขอีกมาก การใช้ภาษาหวือหวาว่า เยียวยา หรือปรองดองเป็นการใช้เงินกับสิ่งที่ไม่สร้างคำตอบกับปัญหาที่มี
การเริ่มต้นสร้างคุณภาพให้ชีวิตในความจำเป็นพื้นฐานเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข – ตราบใดที่ปากท้องอิ่มยังเป็นความพอเพียงที่เรียบง่ายของชาวพุทธ และเมื่อความโลภจากฝีมือนักการเมืองถูกชะล้างออกไป – จึงจะเป็นการสร้างพื้นฐานต่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
การจัดเก็บภาษีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการให้ชัดเจนโปร่งใส ประชาชนต้องทำความเข้าใจและให้ความร่วมมือ เมื่อนั้นประเทศไทยจึงจะมีทุนเพียงพอที่ก้าวสู่ความเจริญอย่างมั่นคง
ไม่ว่าจะปัญหาโลก หรือปัญหาไทย หากแก้ไขอย่างผิวเผิน ย่อมชะลอความฉิบหายได้ชั่วครู่ การสร้างสังคมที่ประชาชนสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี จำเป็นต้องพิจารณาปมปัญหาของความเป็นอยู่ที่เสมอภาคกัน จึงจะเกิดสังคมที่เป็นอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้อย่างจีรัง
*********
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |