*/
<< | มีนาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
The Military as the Guardian of Constitutional Democracy ต่างจากคนอื่นตรงแนวคิดของ Professor Varol ว่าทหารเกื้อหนุนประชาธิปไตยให้อยู่ดีได้ ซึ่งขัดกับหลักการและสิ่งที่เกิดในอเมริกาใต้ อัฟริกา และเอเชีย เช่น ไทย และพม่า การประยุกต์ใช้แนวคิดของวาโรล ‘มอง’ ประเทศไทย จำเป็นต้องสำรวจความผิดพลาดที่สร้างอุปสรรคสะสมมาจนถึงปัจจุบัน ต้องมองหลักการ และมองปัจจัยที่วาโรลละเอาไว้ คือ ‘คน’ – ที่เป็นประชาชนเหมือนกัน แค่ต่างกันไปตามอาชีพ
ทหารไทย มาจากไหน
ทหารไทยมีประสบการณ์ซ้อมรบ เคยร่วมรบกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลีและเวียดนาม ได้เห็นบทบาททหารของประเทศที่ประชาธิปไตยเข้าที่ และยังเคยรับเงินเดือนจาก United Nations ด้วย แต่ทหารไทยกลับหลุดจากกรอบ Interdependent Military ความสามารถอ่านออกเขียนได้ของทหาร มีพื้นฐานจากการศึกษาในวัด ที่ผู้ชายมีโอกาสเรียนมากกว่าและก่อนผู้หญิง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความที่อ่านออกเขียนได้ ทหารก็ถูกส่งไปประจำตามหัวเมือง สามารถรับคำสั่ง และรายงานตอบโต้เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วทหาร มาจากไหน ทหารมาจากโรงเรียนทหาร และการเกณฑ์ทหาร ทั้งสองกลุ่มแตกต่างทางที่มาและระดับชั้นสังคม สภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนา ทำให้คนมองทหารเป็น ‘อาชีพ’ ที่ให้ความมั่นคง ที่ต่อมากลายเป็นความมั่งคั่ง เมื่อเกิดการก่อตัวเป็นสถาบันดูแลผองเพื่อนพี่น้อง ทหารก็หลุดจากสำนึกว่าตนเองก็เป็นประชาชน Citizenry
สมัย 2475 รูปอีโต้บนกำแพงที่นักเรียนนายร้อยวาดล้อโรงเรียนนายดาบ ดูเป็นเรื่องธรรมดาน่าขัน หากเหลียวดูอีกที จะเห็นการแบ่งพวกพ้องแทรกตัวอย่างเงียบเชียบแล้ว
ความเหนียวแน่นของพวกพ้อง อำนาจในมือ ความรู้ที่มี เมื่อคนส่วนใหญ่ยังอ่านหนังสือไม่แตก ทำให้ทหารมั่นใจในกำลังที่เหนือใคร จนเผลอคิดว่ารู้ดีกว่าคนอื่น จนก้าวล้ำเส้นในการปกป้องประเทศจากศัตรูภายนอก มากดครอบประชาชน ทหารทำลายโอกาสที่คนจะได้เรียนรู้ หัดคิด และทำลายสภาพดินอุดมเพื่อการเพาะเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยให้เสียทิ้ง ไม่ทันได้รู้ว่าจะเกิดอยู่หรือตายไปเอง
การปกครองภายใต้เผด็จการทหาร
เวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษา หลักปฏิบัติของเผด็จการคือ ไม่ให้รู้มาก ยิ่งรู้มาก คิดได้มาก ยิ่งปกครองยาก การให้รู้เท่าที่ต้องการ ทำให้บังคับและควบคุมสถานการณ์ได้อย่างใจ การตั้งข้อหาคอมมิวนิสท์ให้คนหัวแข็งที่คิดต่าง ทำได้ง่าย เมื่อมีความเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสท์ในประเทศเพื่อนบ้าน สหรัฐอเมริกายิ่งยอมรับและสนับสนุนฐานะของรัฐบาลทหารเพื่อใช้ไทยเป็นแนวกันชนในภูมิภาค การ ‘manipulate จัดการกึ่งบงการ’ ผู้นำทหารไทยก็ไม่ยุ่งยาก
การตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการยาวนาน มีผลต่อเนื่องด้านการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ การปกครองแบบเผด็จการ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งมี absolute power อำนาจเบ็ดเสร็จ นำมาสู่ absolute corruption ที่คนถืออำนาจเบ็ดเสร็จนั้นผลักดันผลประโยชน์ให้กลุ่มตน การปกครองแบบเผด็จการ ควบคุมและจำกัดสิ่งที่ให้ประชาชนรู้ ให้เชื่อตามสั่งแบบล้างสมอง สร้างนิสัย ‘เชื่อโดยไม่ต้องคิด’ จนประชาชนโต้แย้งไม่เป็นถึงวันนี้ การปกครองแบบเผด็จการ ปล่อยให้คนบางกลุ่มมีอำนาจเหนือกฎหมาย สร้างความเคยชินให้ประชาชนยอมรับการตัดสิน และการบังคับใช้กฎหมายหลายมาตรฐาน สิ่งที่เผด็จการทหารไม่แตะต้อง คือ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับบทบาทของประชาธิปไตย เพราะความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องทำให้ประชาชนต่อต้านวิธีของเผด็จการทหาร การวิเคราะห์ถกความเคลื่อนไหวเรื่องการเมือง political dialogue ถูกปิดกั้น ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของประชาชนจึงมีจำกัด ไม่เกิดผู้นำความคิดที่โดดเด่น ไม่มีผู้ซักค้าน ทำให้ขาดตัวเลือก Political Plurality ผลต่อเนื่อง คือ ประชาชน และประชาชนที่เป็นนักการเมือง ไม่เข้าใจหน้าที่และบทบาทที่ถูกต้อง เกิดความคาดหวังในทางที่ผิดที่ประชาธิปไตยไม่มีให้ นักการเมืองไม่รู้จักคำว่า Manifesto
Manifesto คือ นโยบายที่กำหนดเป็นแนวทางบริหารประเทศ แตกต่างกันไปตามแต่ละพรรค นักการเมืองต้องเห็นตรงกันจึงจะอยู่ร่วมพรรคเดียวกันได้ ประชาชนในประเทศที่เข้าใจกลไกการทำงานของประชาธิปไตยแล้ว ใช้ Manifesto เพื่อพิจารณาเลือกพรรค และนำย้อนกลับมาประเมินผลงานพรรค ไม่ว่าจะทำหน้าที่รัฐบาลหรือฝ่ายค้าน
บรรยากาศการเมืองไทย Manifesto ไม่ถูกปลูกฝังให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การศึกษาไม่สอนให้คนเข้าใจและเห็นคุณค่า สิ่งที่ประชาชนเห็น คือ ตัวนักการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้ง ประชาชนก็สนับสนุนตัวบุคคลก่อนพรรค และดูหัวหน้าพรรคโดยไม่นึกถึงนโยบาย เมื่อ Manifesto จับต้องไม่ได้ ประชาชนก็เลือกสิ่งที่โฆษณาชวนเชื่อว่าให้ประโยชน์แก่ตน ก่อนจะมองหาพรรคที่มีนโยบายยังประโยชน์สูงสุดให้ประเทศชาติ ซึ่งไกลตัวและจับต้องไม่ได้
เมื่อคนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาธิปไตย แถมคาดหวังว่าการมีประชาธิปไตยเป็นผลลัพธ์สุทธิให้ตัวเองดีขึ้น เมื่อนั้นด้านมืดของประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้น ประชาชนต่างเรียกหาสิทธิ์อันเสมอกันโดยไม่ใส่ใจกับหน้าที่ที่ต้องกระทำ ไม่เคารพเงื่อนไขถ้าคนหมู่มาก ‘ได้’ ในสิ่งที่ขัดกับความต้องการส่วนตน กลายเป็นเรื่องที่คนรักตัวก่อนรักชาติ ประชาธิปไตย อันเป็นเพียงเครื่องมือ วิธีการปกครอง ที่ทำให้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันได้ บนพื้นฐานที่เห็นประโยชน์สูงสุดของชาติสำคัญก่อนและกว่าของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงเกิดขึ้นไม่ได้
ยิ่งผิดพลาดมามากเท่าไหร่ ย่อมต้องแก้ไขมากเท่านั้น
แม้ประวัติศาสตร์ไทยหลัง พ.ศ. 2475 บางส่วนถูกบิดเบือนหรือลบทิ้ง ประวัติศาสตร์ยังมีค่าเกินกว่าจะแค่พล่อยปากว่าเขียนโดยผู้ชนะ คนรุ่นหลังควรต้องศึกษาไม่ให้ย้อนรอยกลับไปผิดซ้ำซาก การบีบบังคับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ขณะที่ทรงประทับอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว จนที่สุดทรงสละราชสมบัติ เป็นปฏิบัติการแสวงอำนาจของเผด็จการทหารแบบ absolute power ที่ทำตัวเป็น absolute monarchy เจ้าสายใหม่เสียเอง
ความผิดพลาดของคณะราษฎร ต่อมาถึงการเสพอำนาจอย่างไร้การควบคุมของเผด็จการทหาร เป็นเรื่อง post fact ที่จบไปแล้ว จะตำหนิซ้ำซากความผิดในอดีตก็ไม่หายไป แต่หากไม่ชี้ต้นตอปัญหา เรียนรู้ข้อผิดพลาด ประเทศไทยก็ก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องสรรเสริญเชิดชูทหารที่ปฏิบัติตัวผิดจากบทบาทที่ควรกระทำ
ณ วันนี้ มีแต่ทหารเท่านั้นที่มีศักยภาพในฐานะกลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดพอที่จะแก้ไขประชาธิปไตย ที่ในอดีตถูกบิดเบือนและใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จแก่กลุ่มแสวงหาอำนาจเสมือนเผด็จการ จนประชาธิปไตยไม่สามารถทำหน้าที่ได้
สิ่งที่ทหารต้องทำ
การแก้ไขปัญหาของชาติ ต้องอาศัยการกระทำที่เป็นกลาง รัฐประหารครั้งล่าสุด ถูกมองว่าไม่มีความเป็นกลาง เลือกข้าง – ข้างเดียวกับประชาชนที่ต่อต้านทักษิณ – ทำให้ถูกต่อต้านจากพวกทักษิณ พวกที่ยึดมั่นแต่อุดมการณ์ของประชาธิปไตยตามนิยาม และพวกที่คาดหวังประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะเข้าใจที่มาและผลร้ายที่แท้จริงของเผด็จการทหาร หากมองประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ รัฐประหารครั้งนี้มีความเป็นกลางตรงที่ไม่เข้าข้างการทุจริต โกงกิน การทุจริต เป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้มีอำนาจบริหารประเทศต้องกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทหารหรือพลเรือน เมื่อครอบหลักการของวาโรล 3 อย่าง: Intra-state Stability ความมั่นคงและเป็นอิสระในหน่วยราชการ, Political Plurality มีตัวเลือกทางการเมือง และ National Unity ประชาชนปราศจากความแตกแยก จะเห็นว่า เป้าหมายสำคัญอันแรกของทหารไทย คือ กำจัดอิทธิพลจากตัวบุคคล และจากกลไกที่ฝังอยู่ในระบบ อันเป็นเครื่องมือที่สร้างผลประโยชน์ให้นักการเมือง
การชำระขุดสันดอนที่สะสมมานาน อาศัยการล้างทั้งระบบ เป็นงานสร้างความเกลียดชังและศัตรู แต่เมื่อทหารไม่มีหน้าที่ในการปกครองประเทศ ไม่ต้องสนใจหาคะแนนนิยมเพื่อการเลือกตั้ง ทหารจึงควรภูมิใจที่ได้ทำงานสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานราชการทำงานได้อย่างอิสระ และ ล้างความผิดพลาดที่ทหารรุ่นก่อนสร้างไว้กับแผ่นดิน
หน้าที่ของ ‘คน’ – ‘ประชาชนและทหาร’ และเวลาจบบทบาทของ Enforcer
เป้าหมายที่สอง คือ แก้ไขระบบการศึกษา ซึ่งจะพึ่งทหารฝ่ายเดียวไม่ได้ ทหารไทยทั้งผู้นำและพลทหาร โตมาภายใต้ระบบการศึกษาเดียวกับประชาชน การคิดออกนอกกรอบจึงเกินจินตนาการ ย้อนกลับไปที่พ.ศ. 2475 การรู้หนังสือของประชาชนต่ำมาก คำว่าประชาธิปไตย แค่ความหมายก็ยากแล้ว เมื่อระบบและกระบวนการที่สามารถประคองให้ประชาชนเข้าใจบทบาทของประชาธิปไตย หน้าที่ของตัวเอง และเติบโตไปพร้อมกัน ถูกทำลายลงและสะกดไว้ เกือบ 40 ปีถัดมาจึงยังมีประชาชนที่ไม่รู้หนังสือ และไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อความเป็นอยู่ของตนเอง
การไม่มีความรู้ในอดีต เป็นเรื่องที่ถูกเอาเปรียบ แต่วันนี้ หมดข้ออ้างที่จะไม่หาความรู้และสร้างสำนึกแล้ว
การศึกษา ที่ต้องแก้ไข จึงต้องพัฒนาทั้งความรู้ สำนึก ให้เกิดในเด็กที่จะมีโอกาสเลือกตั้ง และในผู้ใหญ่ เช่น คนอายุ 15 ที่ไม่รู้หนังสือเมื่อ พ.ศ. 2513 และผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือ แต่ไม่มีสำนึก
การแก้ปัญหาของทหาร โดยกำหนด เป้าหมาย objectives ว่าต้องบรรลุอะไร ด้วย วิธีปฏิบัติ strategies อย่างไร ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะบรรลุเป้าหมายที่ประชาชนดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างลงตัว ด้วยความเข้าใจเงื่อนไขของระบอบการปกครอง ปราศจากความแตกแยก ไม่ใช่เรื่องที่ทหารกำหนดได้ ไม่มีสูตรสำเร็จว่าระบบการศึกษาใดจะสร้างประชาธิปไตยได้
แม้อุปนิสัยสันดานเป็นสิ่งขุดออกยาก แต่หากไม่เกิดสำนึกและรู้จักใช้สิ่งที่ได้จากการศึกษา สิ่งที่รู้ก็ไร้ค่า จึงต้องเป็นประชาชนเท่านั้นที่ต้องลงแรงเปลี่ยนตัวเอง
ทหารต้องกำหนด Exit plan ให้ชัดเจนว่าไม่ต้องการอ้อยอิ่งอยู่ในอำนาจ ให้ประชาชนทั้งมวลรู้เป้าหมายที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน ให้รู้จุดที่ Enforcer จบบทบาท สิ่งที่ทหารไม่ต้องทำ คือ การระบุว่าเมื่อไหร่ การถอนตัวของทหารจากฉากการเมืองได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับตัวประชาชนเอง
Democracy is merely a means of governance, not an end in itself. The end should be good governance. การเรียกร้อง Democracy ไม่ทำให้เกิด Good governance หรือ การปกครองที่ดีและเป็นธรรม การตะโกนเรียกร้องการเลือกตั้ง ไม่เทียบเท่ากับการทำให้เกิดรัฐบาลที่ดี
SW19
**** ตอน 1 ทหารสร้างประชาธิปไตยได้ ตอน 2 ทหารในฐานะผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย อ่านเพิ่มเติม The Military as the Guardian of Constitutional Democracy by Professor Ozan Varol
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |