*/
<< | เมษายน 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
ช่วงปีที่ผ่านมา เป็นเวลาที่การเมืองในสังคมโลกเหวี่ยงโยนจากรูปแบบที่เคยเป็นอย่างพลิกผัน การมาถึงของ President Trump สร้างแรงสั่นสะเทือนเสมือนโลกถูกเขย่าลงลึกถึงจุดศูนย์กลาง แต่เมื่อมองกลับมาที่ปมของ Brexit ปรากฏการณ์นี้ก็ไม่เกินความคาดหมาย สัญญานเตือนเรื่อง Anti-establishment การต่อต้านรัฐบาล กระหึ่มมาก่อนหน้าแล้ว
แม้กระแส Anti-establishment ในยุโรปจะแตกต่างจากสหรัฐอเมริกา ปัจจัยที่สร้าง Brexit และ President Trump มีความเหมือนที่ไม่ควรมองข้าม
1. หลังชัยชนะของ Trump เป็นจังหวะเดียวกับที่หลายประเทศยุโรปเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้ง
ต้นธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่อิตาลี นายกรัฐมนตรี Matteo Renzi ต้องลาออก เมื่อ Referendum เพื่อการปฏิรูประบบรัฐสภา ที่ตัวเองเสนอโดยวางตำแหน่งเป็นเดิมพัน ถูกประชาชนปฏิเสธ
Referendum ของอิตาลีแตกต่างจาก Brexit แต่ประชาชนใช้เสียง ‘No’ สูงถึง 60% แสดงท่าทีต่อต้าน Establishment รัฐบาล อย่างไม่ต่างกัน การลาออกของ Renzi แม้จะไม่ทำให้รัฐบาลหยุดชะงัก ก็เปิดทางให้เกิดโอกาสเลือกตั้งก่อนกำหนด ประจวบเหมาะกับช่วงที่ความนิยมใน M5S กลุ่มคัดค้าน Referendum ของ Renzi กำลังพุ่งสูง M5S พรรคที่บอกว่าไม่เป็นซ้าย ไม่เป็นขวา และวางตัวเองเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ใช้นโยบาย Populist และ Anti-establishment จับความอึดอัดของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาล เอาสภาพเศรษฐกิจที่หยุดนิ่งไม่เติบโต ผนวกเข้ากับปัญหาผู้อพยพจากอัฟริกา มาให้คำมั่นจัด Referendum หามติออกจาก Eurozone เลิกใช้เงินสกุลกลาง โอกาสเกิดการเลือกตั้งก่อนกำหนด กับความนิยมที่เพิ่มขึ้นในพรรคที่ไม่เอา Euro ของประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามใน Eurozone ย่อมเพิ่มความไม่แน่นอนทางการเมืองให้ภาคพื้นยุโรป
ที่ออสเตรีย ในเดือนเดียวกันนั้น มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ถัดมาที่เนเธอร์แลนดส์ มีการเลือกตั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้ผู้นำ pro-European และ establishment-friendly ยุโรปมีเวลาโล่งใจอยู่ชั่วครู่ ก่อนเข้าสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
มูลเหตุของ Brexit และ President Trump สันนิษฐานกันไว้หลายประเด็น จากความพึงใจของประชาชนใน Populist policy นโยบายที่เข้าทางตนเอง ถึง Nationalist นิยมชาติตนเอง รักตนเอง และการกลับมาของ Far right ที่สุดขั้วก็ถึงขั้น ฟาสชิสท์ Fascist เหล่านั้น คือ ประเด็นผลักดันให้ประชาชนเป็นอย่างที่เห็นหรือ
2. Forgotten Britain – Forgotten America
ที่บริเทน ปัญหาจากอุตสาหกรรมที่หมดวาระ โรงงานปิดตัวลง เศรษฐกิจในครัวเรือนตกต่ำ และไม่เคยได้รับการพัฒนาให้ฟื้นตัว พื้นที่ของ Working class คนหาเช้ากินค่ำ ถูกละเลยจากคนระดับสูงทั้งผู้บริหารทางการเมืองและการเงิน บันทึกช่วยจำของ Margaret Thatcher นายกรัฐมนตรีบริทิชในเวลานั้น เปิดเผยความตั้งใจของรัฐบาลในการ ‘ตัดหาง’ อีกนัยหนึ่ง คือ ปล่อยให้พื้นที่ตกยากเหล่านั้นค่อยตายลงไปเอง
เมื่อความรู้สึกของประชาชนที่ถูกลืม ไร้ความหวัง มารวมกับข้อมูลประเภทจริงบางส่วน พูดบางส่วน เลี่ยงบางส่วน ถูกบิดเบือน จนถึงเป็นความเท็จ และจับ European Union เป็นเป้าใหญ่ขึ้นมาบดบังปัญหาที่เกิดจากการบริหารของรัฐบาลบริทิชเอง EU Referendum จึงเป็นโอกาสให้ Forgotten Britain แสดงเจตนาต่อต้าน Establishment แทนการเลือกแบบที่เป็นมา อันนำมาสู่ Brexit
ที่สหรัฐอเมริกา ในยุคหนึ่ง ไล่จากตะวันออกเฉียงเหนือสู่กลางประเทศแถบ Midwest เป็นพื้นที่ทองเฟื่องฟูในการอุตสาหกรรม เรียกว่า Steel Belt หรือ Manufacturing Belt มาถึงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเหล่านี้หมดแรงต้านความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้าที่เปิดโลกถึงกัน อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าที่แปรรูปไปสู่การผลิตรถยนต์ถูกกระทบหนัก เครื่องจักรและอุปกรณ์เขยิบเข้ามาแทนที่แรงคน เทคโนโลยีพัฒนาช้าจนทำให้ต้นทุนสูงกว่าญี่ปุ่น พอความต้องการแรงงานลด ประชาชนในพื้นที่ก็หดหาย ภาษีเก็บได้น้อยลง สวนทางกับอัตราว่างงาน อาชญากรรม ยาเสพติด และหนี้สินที่เพิ่มขึ้น อาณาบริเวณทองแห่งนี้ ถูกสนิมจับเกรอะกรัง กลายเป็น The Rust Belt อเมริกัน ‘ขาว’ ระดับการศึกษาไม่สูง ยังชีพจากการใช้แรงงาน ต้องตะกายเพื่อความอยู่รอด ร้องหาความใส่ใจจากผู้บริหารปกครอง กลายเป็น Forgotten American คนที่ถูกลืม ที่เอาสิทธิ์ออกเสียง มาใช้ประท้วง Establishment
3. การเมืองคนละฝั่ง
พรรคการเมืองในยุโรป มีฐานความคิดมาจากสองแนวหลัก คือ Left และ Right Left wing เชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของประชาชนในสังคม ตรงกันข้ามกับที่ฝั่งขวา Right wing บอกว่าชนชั้น และความเหลื่อมล้ำนั้นเลี่ยงไม่ได้ ในกรอบของเศรษฐกิจ ‘ความเท่าเทียม – ความเหลื่อมล้ำ’ ของทั้งสองฝั่งยิ่งคิดไปคนละทาง เศรษฐกิจของ Left เชื่อในระบบ welfare state หรือ socialist state ที่ให้รัฐจัดให้ประชาชนได้รับการดูแลเท่าเทียมกัน บนมาตรฐานการดำรงชีวิตพื้นฐานเดียวกัน ทั้งการศึกษา สาธารณสุข ให้รัฐคุ้มครองความมั่นคงของตลาดการจ้างงาน Right มองเศรษฐกิจ ในรูปของ laissez-faire เลเซ แฟร์ ที่แปลว่า leave be, leave alone หมายความว่า ปล่อยให้เศรษฐกิจไหลลอย ขึ้น-ลง ตามสภาพจริง โดยปราศจากกลไกควบคุมจากรัฐ แบบ capitalism แนวคิดของสองฝั่งสามารถแยกไปคนละทางจนสุดมาตรวัด ความเท่าเทียมเต็มที่แบบ Far left คือ คอมมิวนิสท์ Far right ขวาสุดปลายก็ไกลถึงขั้นกำจัดสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตนเอง แบบ Nazi ช่วงปีที่ผ่าน ความนิยม Far right ค่อยขยับสูงจนสังเกตได้ในยุโรป ที่มีบรรยากาศเศรษฐกิจแบบ Socialist นโยบาย Far right มักถูกเชื่อมโยงกับเรื่องตัวตนของตนเอง เชื่อมั่นในความเหนือกว่าผู้อื่น เหมือนกับ Nationalism ที่เชิดชูชาติตนเหนือใคร ปฏิเสธการมีอยู่ของคนที่ต่างกว่า ด้อยกว่า ระยะหลัง Far right ทุกสายมุ่งต่อต้าน immigration เป็นหลัก
ย้อนกลับไปสองร้อยปีเศษ French Revolution กำลังคุกรุ่น ความคิดและจุดยืนในรัฐสภาฝรั่งเศสแตกกันสองทาง พวกสนับสนุนการปฏิวัติ ระบบ Republic และต่อต้านระบบกษัตริย์ รวมกันไปนั่งด้านซ้าย ใครพอใจระบบดั้งเดิมอยู่ฝั่งขวา หลายสิบปีต่อมา เมื่อ Karl Marx เกิด และเขียน Communist Manifesto แล้ว คำว่า wing ถึงเอามาเติมท้าย left หรือ right ใช้เรียกกลุ่มก้อนในพรรคการเมืองที่เห็นต่างไปจากกระแสหลัก
กระนั้นก็ตาม left wing ยังมีความนัยแฝงถึง คนที่ไม่เข้ากรอบใด กับใคร French Revolution เปลี่ยนการปกครองให้ฝรั่งเศสเป็น République Françaiseซึ่งหวงแหน Liberté, égalité, fraternité อิสรภาพ ความเท่าเทียม และเป็นหนึ่งเดียวกัน ย้ำความเป็น left wing ของฝรั่งเศสเสมอมา
French values ที่ประชาชนหวงแหนเหล่านั้นถูก Far right ในปัจจุบัน นำย้อนมาใช้ปลุกความรู้สึกคน ให้ร่วมกันปกป้อง identity ความเป็นฝรั่งเศส เกิดการยอมรับที่ขยายวงกว้างขึ้น พร้อมกับสร้างความหวั่นใจให้ EU ในเวลาเดียวกัน
4. การเมือง หรือ เศรษฐกิจที่ประชาชนอึดอัด – Victims of Globalisation เหตุผลของการได้มาซึ่ง President Trump และกรณี Brexit ไม่แตกต่างกัน นักการเมืองช่วยกันปลุกความรู้สึกประชาชนให้คิดถึงตัวเอง และต่อต้านสิ่ง ‘เป็นอื่น’ ทั้ง คน – แรงงานต่างชาติ ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย และมุสลิม ชาติ – ประเทศที่ทั้งดีและด้อยกว่าทางเศรษฐกิจ Establishment –EU รัฐบาล
วลีติดหู Take back control และ Make America great again จับใจ Forgotten Britain และ Forgotten America ได้สนิทอย่างไม่ทันคิดว่า นั่นคือจุดยืนของ Far right politics France เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ถอนรากการปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างกับโลกมาแล้ว France วันนี้กำลังอธิบายความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและสังคมให้โลกฟังอีกวาระ ผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังเกิดขึ้น ที่ Burgundy ฐานเสียงของ French left คนฝั่งซ้าย เคยเป็นถิ่นอุตสาหกรรม เมื่อเหมืองและโรงงานปิดตัวลง รัฐบาลก็ไม่เหลียวแล สภาพหมู่บ้านชนบททุรกันดาร กลายเป็น The Rust Belt มีคนว่างงานจำนวนมหาศาลที่รายได้ต่ำกว่ามาตรฐานค่าครองชีพ งบสาธารณูปโภคถูกตัด แพทย์ใกล้ที่สุดยังอยู่แสนไกล Forgotten France ตรงนี้ ที่สุดก็หมดความเชื่อถือกับนักการเมืองหน้าเดิม
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก วันที่ 23 เมษายน ตัดผู้ชิงตำแหน่งให้เหลือเพียง 2 ซึ่งรวม Marine Le Pen จาก Front National (FN) พรรค Far right ที่ขวาสุดจนล้นขอบ การได้เสียงอย่างสูงจาก Forgotten France ไม่ใช่เรื่องเกินคาด ไม่ใช่ด้วยความขวา แต่เป็นเรื่องปากท้อง ความอยู่รอด ในพื้นที่ซึ่งคนยังไม่สามารถก้าวทันโลกที่เปิดกว้าง การผสมผเสของคนต่างศาสนา วัฒนธรรม สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมจากวิถีชีวิตดั้งเดิม ชีวิตที่ยุ่งยากขึ้น ยังต้องมาแบ่งสาธารณูปโภค ทรัพยากรที่ขาดแคลนกับ ‘คนที่แปลกแตกต่าง’ ไม่ว่าจะมาใหม่อย่างจน หรือเกิดมาเป็นฝรั่งเศสเหมือนกัน เมื่อถูกผู้ก่อการร้าย Daesh โจมตี คนต้องการมาตรการป้องกันประเทศ ประเด็นต่อต้าน immigration คนต่างชาติเข้าประเทศ ก็สูงพรวด โดยไม่ทันฉุกคิดว่า immigrants มีหลายประเภท และชาติยังต้องการคนทำงานอีกหลายส่วน Front National ใช้ว่า France First ชูประเด็นความเป็น ‘ฝรั่งเศส’ เพื่อคนฝรั่งเศส FN ให้คำมั่นว่าจะตัดจำนวน immigration ห้ามนำวิธีปฏิบัติทางศาสนามาใช้เหนือวัฒนธรรมของชาติ และทำ Referendum ออกจาก European Union เมื่อ France First จับความรู้สึกคนให้ตัดสินใจเลือก FN ได้อย่างมั่นใจ Forgotten France ที่เคยเป็น commie ซ้ายสุดแบบคอมมิวนิสท์ ก็คล้อยตาม เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงจากเดิม
5. แล้วโลกกำลังเคลื่อนไปทางไหน French revolution จากแนวตั้ง สู่แนวนอน French revolution เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลระดับโลก ไม่ว่าจะยอมรับหรือต่อต้าน การรับหลักการไปใช้กับชาติบ้านเมืองใด จะเกิดประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจมูลเหตุที่ถ่องแท้ มิใช่เพียงหวังว่ารู้จัก mean วิธี แล้วจะสร้าง end ผลลัพธ์ ได้ ไม่ใช่เพียงการตัด mean ระบบ ระบอบ การปกครองที่เป็นอยู่ แล้วจะได้มาซึ่ง end ระบบการปกครองที่เท่าเทียมและเป็นธรรมอย่างที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะมีให้ French revolution มีพื้นฐานจากการเกิดแรงต้านในแนวตั้ง จากชนชั้นล่างต้านชั้นสูงสุด คือ กษัตริย์ ปมของการต่อต้าน คือ ความเหลื่อมล้ำ ที่คนระดับสูงฟุ่มเฟือยอย่างถึงที่สุด ในเวลาที่คนชั้นล่างอดอยากอย่างที่สุด การเลื่อนไหลสู่ Far right ของฝรั่งเศสในวันนี้ คือการย้ายการต่อต้านไปสู่แนวนอน จากกลุ่มก้อนคนในชาติ ออกด้านข้างสู่คนอื่นในประเทศรอบด้าน
ยามเศรษฐกิจตกต่ำ ผลกระทบย่อมไปถึงทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ตั้งแต่ The Great Depression 1930 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดว่าเศรษฐกิจยังไม่ globalised สัมพันธ์กันทั้งโลก ทุกประเทศก็ลำบาก และเลื่อนเข้าสู่ภาวะปิดและปกป้องตัวเอง ถึง Great Depression 2008 โลกเชื่อมต่อกันสนิท สิ่งที่เกิดจากจุดหนึ่งพ่วงถึงกันได้ในพริบตา ไม่พ้นปีประเทศที่รับผลกระทบเพิ่มจาก 25 เป็น 50 จะเป็นซ้าย เป็นขวา จะปิดตัวเองอย่างไร ปัญหาก็แทรกเข้าถึงในบ้าน ในวันนี้ France บอกสังคมโลกว่า Left – Right ที่เคยแตกต่างทั้งจุดยืนทางการเมืองและเศรษฐกิจ กำลังเคลื่อนผสมกัน
Left wing เอา Capitalism ของฝั่งขวามาใช้เพราะต้องการ economic growth สร้างเศรษฐกิจให้โต มีเงิน มีภาษี มาเลี้ยงดูประชาชนแบบ socialist state ของตน แต่หากรัฐบาลไม่สามารถทดแรงเหวี่ยงของ Global capitalism ที่มาจาก Globalisation คนที่รวยก็เป็นได้เพียง 1% ของสังคม คนที่ลำบากคือผู้ใช้แรงงาน Far right ประกาศปิดตัวจากสังคมโลกในลักษณะ extreme right แบบเผด็จการ แล้วไปคว้านโยบายเศรษฐกิจของ Left wing ที่ให้รัฐมาทำหน้าที่ดูแลประชาชน เพื่อตอบสนอง Forgotten people เมื่อนโยบายเศรษฐกิจเป็นตัวผลักให้ฝั่งซ้ายและขวาเคลื่อนเข้าหากัน ไม่ว่าจุดยืนทางการเมืองจะเป็นเช่นไร เส้นแบ่งสองซีกขวาซ้ายก็หายไป สำหรับประชาชนจะขวา หรือ ซ้าย ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป หากนโยบายของพรรคดูแลปากท้องให้อยู่สบายได้
Globalisation ไม่ใช่สิ่งที่ต้องต่อต้าน สิ่งที่จำเป็น คือ ความสามารถควบคุมให้ Globalisation เกิดขึ้นและเป็นอยู่อย่าง fair and inclusive นั่นคือ ยุติธรรม และให้ทุกคนมีโอกาสได้ประโยชน์ หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุม Globalisation ไปในทิศทางที่ถูกต้อง กระแสต่อต้าน Globalisation ก็ไม่มีวันหยุดนิ่ง การบริหารปกครองประเทศไม่สามารถหลุดพ้นจากประเด็นอื่นที่ขึ้นมาลวงตาจากรากฐานปัญหาแท้จริง เรื่องเดิม คือ Inequality ความไม่เท่าเทียม
มองกลับมาประเทศไทย การเอาแนวตั้งของคนกลุ่มใหญ่ในฝรั่งเศส มาแปลงเป็นแนวตั้งจากบ่าขึ้นหัว ของคนกลุ่มน้อยในประเทศไทย คือตัวสร้างปัญหา French revolution เป็นพลังของคนกลุ่มใหญ่ เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใหญ่ – Revolution แนวตั้งที่ใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากระดับล่างขึ้นสู่บน ให้ช่องว่างลดลง และสร้างประชาธิปไตยให้คนระดับล่าง แต่วิธีปฏิบัติของไทย เป็นการกระทำของคนกลุ่มน้อย เพียงเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยเอง – Coup d’état ที่เอาแนวตั้งมาสร้างอำนาจให้ระดับบ่ากลายมาเป็นหัว โดยระดับล่างไม่ได้เข้าใจรู้เห็น และไม่ได้รับประโยชน์ด้วย ดังนั้น การนำเอาระบบฝรั่งเศสมาใช้ของไทย สร้างได้อย่างเดียว คือ อำนาจแก่ผู้ก่อการ อำนาจอันไม่จีรัง ในเมื่อทุกคนไม่สุจริตใจที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้คนระดับต่ำกว่าบ่า ประชาธิปไตยก็ไม่สามารถแทรกเผด็จการขึ้นมาได้ รัฐบาลไม่ว่าที่ไหน หากหลงระเริงกับอำนาจ และละเลยกับปัญหาจากความไม่เท่าเทียม ผลของ Inequality ก็จะสร้างคนที่มีแรงต้านในรูปลักษณ์ต่างกันไป ไม่มีวันหมด ไม่ต่างจากเสื้อแดง Forgotten Thailand ที่เป็นผลมาจากการหาประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย
**** Inequality: http://oknation.nationtv.tv/blog/Montparnasse/2015/08/05/entry-1 Note: Photos of the celebration of Thatcher’s death: source unknown. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |