*/
<< | สิงหาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ย่างเข้าฤดูหนาวราวๆเดือนตุลาคมจนถึงปลายฤดูหนาวเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่นักดูนกคึกคักเป็นพิเศษ สถานที่ดูนกไม่ว่าจะเป็นแก่งกระจานไล่ขึ้นไปทางด้านตะวันออก อุทยานแห่งชาตเขาใหญ่ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว ภูหลวง ภูสวนทราย ทางตะวันตกก็มีช่องเย็น ทุ่งใหญ่นเรศวร์ ห้วยขาแข้ง แดนเหนือจะเป็น อินทนนท์ ดอยลาง สันจุุ๊ อ่างข่าง หรือ คนที่ชอบสงบบๆก็จะไปทุ่งกิ๊กแถวๆลำพูน สำหรับฝั่งตะวันตก ช่องเย็นถือว่าเป็นแหล่งดูนกและเป็นที่ชมธรรมชาติที่ขึ้นชื่อ หลังจากผ่านพ้นปีใหม่ได้สองสัปดาห์ หรือว่าหลังกลางเดือนมกราคมเป็นต้นไป การใช้สิทธิลาพักผ่อนจากงานประจำจะสามารถลาได้ พวกเรากลุ่มเดิมๆก็จัดวางโปรแกรมการไปดูนก ไล่ขึ้นไปจาก ช่องเย็น จ.กำแพงเพชร แล้วมุ่งตรงไปยังดอยสันจุ๊-ดอยลาง อ่างขาง แล้วกลับลงมาพักที่นครสวรรค์แวะชมบึงบรเพ็ด ใช้เวลาทั้งสิ้น ๙ วัน ๘ คืน ช่องเย็น ยามตะวันรอน จุดหมายปลายทางแรกที่เราไปคือ ช่องเย็น อช.แม่วงก์ ที่ตั้งอยู่ จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ จากหาดใหญ่เราบินตรงไปตั้งต้นที่สนามบินดอนเมือง สันติเจ้าของพาหนะรถตู้โดยสารก็มารับ จากดอนเมืองเราไม่ได้แวะที่ไหนตรงไปครัวท่าน้ำอ้อย ครัวท่าน้ำอ้อยอยู่ก่อนถึงทางแยกที่จะเลี้ยวไป จ.อุทัยธานี ที่นี่เรามักแวะกันเป็นประจำเมื่อเดินทางขึ้นทางเหนือ ปากเนื้ออ่อนทอดกระเทียม ทอดมันปลากราย ปลาคังผัดฉ่า ไข่ปลายี่สกทอด ผัดผักหวาน ฯลฯ อาหารเต็มโต๊ะอย่างนี้ก็เพราะเรายอมทนหิวมาจนกระทั่งบ่ายสองโมง เพื่อมาที่ร้านนี้โดยเฉพาะ บรรยากาศของร้านดีมากๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังอาหารเราก็ตรงไปยัง อช.แม่วงก์ ถึงที่ทำการเกือบจะห้าโมงเย็น ชำระค่าธรรมเนียมแล้วก็ไต่ระดับความสูงขึ้นสู่ช่องเย็น ช่องเย็นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๓๔๐ เมตรจากที่ทำการไปถึงช่องเย็นระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางเกือบๆชั่วโมง ช่องเย็นกลุ่มของเราไปกันหลายครั้ง ไปครั้งไหนก็ประทับใจกับตัวคุ่นที่มากเป็นพิเศษ ช่องเย็นจึงเป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อมากๆเรื่องคุ่นเมื่อเกาะแขนเกาะขาเราครั้งใด ความเร็วในการเจาะกัดอยู่ในระดับเร็วที่สุด อาการคันก็จะอยู่ติดตัวเป็นเดือนๆ ที่ประทับใจอีกเรื่องหนึ่งคืออากาศ ที่นั่นอากาศหนาวจับใจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหน ผมไปครั้งแรกเมื่อวันสงกรานต์ ปี ๒๕๕๐ ไม่คิดว่าอากาศจะหนาวขนาดนั้น เสื้อกันหนาวก็ไม่ได้นำไป คืนแรกกางเต็นท์คืนถัดไปรีบมุดเข้าบ้านพักของอุทยานที่ว่างพอดี ช่องเย็นเมื่อ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๐ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ช่องเย็น (กม.93) เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน - อุ้มผาง และเป็นจุดสุดท้ายที่ยานพาหนะเข้าถึง มีความสูงประมาณ 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล เนื่องจากบริเวณนี้เเป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern) นอกจากนี้ช่องเย็นยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ข้อมูลจาก www.dnp.go.th จุดสุดท้ายของเส้นทาง คลองลาน-อุ้มผาง ช่องเย็น คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวและนักดูนก ชมอาทิตย์อัสดง ก่อนค่ำนิดหน่อยเราก็ถึงช่องเย็น เราก็พบกับ อาจารย์ C & W จากบางคล้าที่เรานัดหมายกันล่วงหน้า ลงจากรถมาได้เดี่ยวเดียวความหนาวเย็นที่ระดับ ๑๒ องศาทำให้เราต้องรื้อเสื้อกันหนาวจากกระเป๋าใบเขื่องขึ้นมาสวม แล้วหาทำเลกางเต็นท์ ซึ่งหาที่ว่างแทบไม่ค่อยจะได้ พื้นที่กลางสนามเต็มไปด้วยเต็นท์ที่มาจับจองตั้งแต่กลางวัน เราจึงต้องกางเต็นท์เบียดๆกันหน่อย แต่ก็ดีเหมือนกันจะได้ช่วยกันบังลมหนาวให้กันและกัน ทานอาหารค่ำเสร็จเรานั่งย่อยอาหาร สักครู่เดียวก็เข้านอน อากาศหนาวเย็นยะเยือกจนสั่นสะท้านจนนอนไม่ค่อยหลับ เช้าขึ้นมาอยากจะรู้ว่าอุณภูมิเมื่อคืนที่ผ่านมาสักกี่องศา จึงเดินไปดูมาตรวัดที่ติดไว้ตรงเสาริมรั่วจึงทราบว่า ๘ องศา นั่นนะซิทำไมถึงหนาวได้ขนาดนี้ แดดอ่อนๆยามเช้าช่วยผ่อนคลายความหนาวเย็น คัดคูเหี่ยวใหญ่วัยอ่อนออกมาเกาะกิ่งเหมือนกับจะโล้ชิงช้าเพื่ออาบแดดยามเช้าให้ร่างกายอบอุ่น เพราะคืนที่ผ่านมาเขาคงจะหนาวสะท้านผ้าห่มผืนน้อยที่ปกปิดร่างกายคงจะต้านทานความหนาวเย็นได้ไม่ดีนัก คัดคูเหยี่ยวใหญ่ ( Large Hawk Cuckoo ) หัวเทาหนังรอบตาเหลือง คางดำ ลำตัวด้านบนเทา อกน้ำตาลแดง นกวัยอ่อนหัวน้ำตาลแกมเทา ท้ายทอยน้ำตาลแดง มีลายขีดที่อกและท้อง เป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ และนกอพยพมาผสมพันธ์ พบไม่บ่อย
นกนิลตวาท้องสีส้มคอดำ จะพบนกชนิดนี้เฉพาะถิ่นเหนือแถบแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่เชียงราย และอีสานเหนือแถบภูสวนทราย จากข้อมูลชนิดนกที่พบของ อช.แม่วงก์จะไม่พบนกชนิดนี้ แต่ปี ๕๗ กลับพบนกชนิดนี้หลายตัวทีเดียว จึงเป็นนกชนิดใหม่ของช่องเย็น อช.แม่วงก์ นิลตวาท้องสีส้มคอดำ ( Rufous-bellied Niltava ) ลักษณะคล้ายนกนิลตวาท้องสีส้มจนยากที่จะแยกออก จะต่างกันตรงคอสีส้มจะไม่เว้าแหลมไปชนกับออก เจ้าเอี้ยงถ้ำ ใครๆก็ไม่ค่อยจะสนใจเขามากนัก เมื่อดูแล้วจะเฉยๆ เพราะไม่มีลักษณะเด่นอะไร สีสันเมื่อดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นสีดำ แต่ถ้าหากส่องด้วยกล้องสองตา จะเห็นรายละเอียดของสีว่าเป็นสีม่วงแกมน้ำเงินเป็นมัน มีความสวยงามยิ่ง เอี้ยงถ้ำ ( Blue Whishing-Thrush ) ลำตัวหนาใหญ่ ปากใหญ่สีเหลือง ขนลำตัวม่วงแกมน้ำเงิน แซมด้วยจุดเหลือบม่วงน้ำเงินเป็นมัน เจ้าเอี้ยงถ้ำสองภาพแรกแตกต่างจากภาพล่างอย่างไรครับ ผมเจอนกโพระดกครั้งไหนไม่ว่าจะเป็นชนิดอะไร จะทำให้ผมนึกถึงเมื่ออยู่ในช่วงเด็ก เพราะะคุ้นเคยกับนกโพระดกเป็นอย่างมาก ใช่ว่าจะได้เห็นนกโพระดกทุกวี่ทุกวัน แต่ที่คุ้นคือเสียงเพลงนกโพระดกของรุ่งฤดี แพ่งผ่องใสที่แว่วมายามเช้าหรือยามค่ำจากวิทยุเครื่องหลอดโบราณ เสียงนกโพระดกมันร้อง โฮ-ป๊ก โฮ-ป๊ก อยู่หนไหน เอ่อ เอิง เอย พระพุทธเจ้าข้า จับกิ่งเพคานั่นเป็นไร ตัวมันเขียวๆบินเลี้ยวไป เข้าโพรงไม้ทางนี้เอย
นกโพระดกคางเหลือง นกโพระดกคางเหลือง ( Golden-throated Barbet ) คอตอนบนสีเหลือง ตอนล่างสีเทาแกมขาว หน้าผากและกระหม่อมแดงตอนกลางกระหม่อมเหลือง แถบตาใหญ่สีดำ ช่วงฤดูหนาวนกอพยพอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยสุดแต่พวกเราเพิ่งจะพบเป็นครั้งแรก นกเดินดงสีคล้ำ เดินดงสีคล้ำ ( Eyebrowed Thrush ) ช่วงอพยพพบได้หลายสภาพป่า อาจพบเป็นฝูงใหญ่ เป็นนกอพยพพบค่อนข้างบ่อยกว่านกเดินดงชนิดอื่นๆ
เขนสีฟ้าหางขาว ( White-tailed Robin ) ตามสถานะแจ้งว่าเป็นนกประจำถิ่นที่แจ้งว่าพบไม่บ่อย แต่ความจริงแล้วพบบ่อยมาก ทั้งที่ช่องเย็นและดอยลางดอนสันจุ๊ เขนสีฟ้าหงขาว ตัวผู้ เขนหางฟ้าสีขาว ตัวเมีย
ช่องเย็นเมื่อครั้งก่อนผมแทบจะเป็นลม เพราะนั่งรอนกแว่นสีเทาในบลายน์เป็นครั้งแรก ต้งแต่เที่ยงเศษๆจนกระทั่งเกือบหกโมงเย็น กว่านกแว่นสีเทาจะออกมาให้ยลโฉม แต่ครั้งนี้เพียงไปนั่งรอไม่นานเขาก็โผล่มาให้ชมแล้ว เรื่องเก่า น้องแว่น ทำไมถึงทำกับฉันได้ นกแว่นสีเทา ( Grey Peacock-Pheasant ) ในจุดเดียวกัน หากเจอนกแว่นสีเทา เรามักจะเจอนกกระทาดงคอสีแสดเช่นกัน ทั้งนกแว่นสีเทาและนกกระทาดงคอสีแสดมักตื่นตกใจง่าย ได้ยินเสียงลั่นชัตเตอร์นิดเดียวก็จะวิ่งหนีเข้าป่ารก กระทาดงคอสีแสด ( Rofous-throated Partridge ) หัวสีน้ำตาล หนังรอบตาแดง คิ้วและใต้ตาสีขาว คอสีล้ม ข้างคอและกระหม่อมมีจุดดำ ปีกส้มแกมน้ำตาลเหลือง มีจุดดำขนาดใหญ่ที่ขนปีก อกเทาแกมน้ำเงินคล้ำ
นกนิลตวาใหญ่และนกนิลตวาเล็กมักบตามจุดที่นกใหญ่ๆมาหากิน นกนิลตวาใหญ่ เพศผู้ นกนิลตวาเล็ก เพศเมีย นกที่ได้รับการขนานนามว่านางพยาบาล นกกางเขนน้ำหัวขาว พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วประเทศ จากที่ราบจนกระทั่งถึงความสูง ๒,๕๖๕ เมตร ณ ยอดดอยอินทนนท์ โชว์หมวกขาวๆ ให้สมกับนามนางพยาบาล นกกางเขนน้ำหัวขาว ( White-crowed Forktail ) เป็นนกกางเขนน้ำที่ใหญ่กว่าชนิดอื่น หน้าผากตั้งเป็นสันสีขาว หัว อก และหลังดำ ปีกดำมีแถบขาวใหญ่ หลังตอนล่างและตะโพกขาว ท้องขาว แข้งและตีนชมพูหรือสีเนื้อ ส่วนนกวัยอ่อนหน้าผากดำและมักไม่เป็นสัน
ก่อนหน้านี้การที่จะได้พบนกแต้วแล้วชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากนกแต้วแล้วธรรมดา เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะนกแต้วแล้วเป็นนกที่ตื่นตกใจง่าย มีการระวังตัวสูง การจะดูนกแต้วแล้วจึงต้องนั่งบังไพล แต่บางครั้งเราไปนั่งซุ่มอยู่เฉยๆนกก็ออกมาหากิน คงจะคุ้นเคยกับนักดูนกและรู้ว่าไม่เป็นอันตราย ที่เป็นห่วงก็คือพรานล่าที่คอยดักจับ ทำให้สถานะของนกอยู่ในขั้นอาจจะสูญพันธ์ได้ หากเจ้าหน้าที่อุทยานไม่เข็มงวดกวดขันหรือปล่อยปละละเลย นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล ( Rusty-naped Pitta )
ไปช่องเย็นครั้งนี้ผมได้เจอนกใหม่หลายชนิดทีเดียว นกจู๋เต้นหางสั้น ก็เป็นนกใหม่ในลิสต์ของผม แม้ว่าจะเป็นนกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย แต่ใช่ว่าเราไปแต่ละครั้งจะเจอเสมอไป ต้องมีช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะทั้งวันและเวลา นกจู๋เต้นหางสั้น ( Streaked Wren Babbler ) นกอีกชนิดที่ใหม่สำหรับผม นกกินแมลงคอลาย นกกินแมลงคอลาย ( Spot-necked Babbler ) หน้าผากมีลายขีดและจุดเล็กๆ สีขาวต่อกันเป็นคิ้ว ต่อเนื่องกับลายเกล็ดสีขาวที่ข้างคอและข้างหลังตอนบน ขนคลุมหูเทาดำ ระหว่างโคนปากกับตาเป็นแถบขาวใหญ่ สถานะเป็นนกประจำถิ่นพบไม่บ่อย
นกกระเบื้องผา ถิ่นอาศัย อยู่ตามหน้าผา กระเบื้องหลังคาบ้าน นกกระเบื้องผา ( Blue Rock-Thrush )
นกที่เจอบ่อยและพบเจอได้เกือบทุกอุทยานตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือ นกกะรางหัวแดง นกกะรางหัวแดง ( Chestnut-crowed Laughinhthrush ) ป่าแม่วงก์ ไปช่องเย็นครั้งใดไม่เคยผิดหวัง ทั้งนกทั้งอากาศอีกทั้งตัวคุ่นที่ฝากร่องรอยความทรงจำที่แสนคันอยู่ตลอดไป |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |