*/
<< | พฤษภาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
เรายังมีเวลาเหลือในปากีสถานอีกสองคืนเท่านั้น มาวันแรกๆรู้สึกนาน แต่สองสามวันถัดมาเราไม่มีความรู้สึกแบบนั้นเลย มีแต่ความรู้สึกว่าวันเวลาทำไมถึงได้เร็วจัง หลังอาหารเที่ยงที่ PTDC GUPIS เราก็กลับมาพักที่ PTDC GILGIT อีกคืนหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไกลกลับไปยังอิสลามาบัด ระหว่างทางเราผ่าน ทุ่งหญ้าสีส้มตัดกับสายน้ำสีเขียวสวยงามมาก เมื่อขามารถเราวิ่งเร็วและโยกไหวสั่นสะเทือนจนไม่สามารถถ่ายภาพได้ ขากลับรถจึงจอดแวะให้เราถ่ายภาพจนชุ่มใจ บริเวณนี้อยู่ในเขตเมือง Ghizer เส้นทางที่รถของเราวิ่งเลียบริมแม่น้ำมาตลอดก็คือแม่น้ำ Ghizer เมือง Ghizer ได้รับการขนานว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลสาบ คงจะมีพื้นที่กักเก็บน้ำมากมายในบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าดินแดนแห่งทะเลสาบ แม่น้ำ Ghizer แม่น้ำใสๆไหลเอื่อยๆเลาะเลียบไปตามเชิงเขา ทุ่งหญ้าสีบาดตาตัดกับแม่น้ำเขียวคราม ถ่ายกันทุกๆองศา สวยงามไปทุกโฟกัส แม่น้ำไหลแบ่งผ่าทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าอ่อนไหวโอนเอียงไหวเอนไปตามแรงลม สุดขอบฝั่งด้านตรงข้ามเป็นผาหิน ก่อนถึงที่พักเมืองกิลกิต เราแวะไปดูพระพุทธรูปสลักบนหน้าผา พระพุทธรูป Kargah
พระพุทธรูปสลักบนหน้าผา มองระยะไกลแทบจะไม่เห็นถ้าไม่สังเกตุดีๆ พระพุทธรูป Kargah เย็นจนใกล้ค่ำเราจึงออกจากที่นี่เพื่อกลับไปยังที่พัก PTDC Gilgit เมื่อถึงที่พักทุกคนทราบว่าพรุ่งนี้และมะรืนนี้จะเป็นการเดินทางยาวนานเพื่อไปอิสลามาบัด เราจะต้องนั่งบนรถสองวันเต็มๆ หลังจากถึงอิสลามาบัดเรามีโปรแกรมไปตักศิลาและสถานที่สำคัญๆของพุทธศาสนาหนึ่งวันเต็ม ค่ำๆจึงเดินทางไปสนามบิน ค่ำวันนี้กรุ๊ปเราขอเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำครอบครัวอามีนและซาลีม เนื่องจากเรามีความรู้สึกถึงการช่วยเหลือและให้บริการด้วยน้ำใจ คอยดูแลห่วงใยโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นอย่างดี เสมือนหนึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบดุจดั่งญาติ เมื่อไปถึงสถานที่ได้เห็นความหรูหราของสังคมอีกระดับหนึ่ง ผมนึกในใจว่าสังคมของประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนาช่างเหมือนกันทุกประเทศ นั่นคือความแตกต่างระหว่างชนชั้นที่ห่างไกลกันมาก ความหรูหราของสังคมเมืองที่ใช้จ่ายอย่างสนุกกับความยากจนของชาวชนบทที่แทบจะไม่มีเงินติดกระเป่า ไม่มีรายได้อื่นๆนอกจากหากินตามวิถีชนบท ชีวิตที่ต้องดิ้นรนกับชีวิตที่มีแต่สิ่งอำนวยสะดวก ไม่ว่าจะนำทฤษฎีการเมืองใดมาใช้ก็ยากที่จะทำให้ชนชั้นของสังคมเท่าเทียมกัน อาหารถึงแม้อร่อย บริการยอดเยี่ยมเพียงใด แต่เมื่อก้าวเท้าเดินทางออกไปไม่เกินห้าหรือสิบกิโลเมตร เราจะพบเห็นสังคมที่ยังขาดการเหลียวแล ไม่ว่าประเทศใดก็ตามที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา เราก็จะได้พบกับสิ่งเหล่านี้ แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้โดยไม่มีชนชั้นของสังคมนั่นคือความฟุ่มเฟือยในการใช้ทรัพยากรที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความคุ่มค่า " สมาร์ท โฟน " คือตัวที่ทำให้สังคมขาดความอบอุ่น ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในครัวเรือนอย่างมหาศาล นั่งรออาหาร ลูกชายน่ารักๆของไกด์ซาลีม นายกเทศมนตรีเมืองกิลกิต(คนกลาง)
หลังจากอาหารค่ำเราก็เข้าที่พักเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางในเช้าวันถัดไป เช้าวันใหม่ก่อนเดินทาง การเดินทางทียาวนานเริ่มขึ้นตั้งแต่แปดโมงเช้า ออกจากเมืองกิลกิตเพื่อไปพักที่บีชาม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ทางการให้ความสำคัญแก่นักท่องเที่ยวมาก มีการตรวจเข้มทุกจุดตรวจ ความแออัดในเมืองค่อยๆผ่อนคลายขึ้นเมื่อรถวิ่งออกมาได้สักครู่ จะเห็นเด็กๆนักเรียนนักศึกษาไปโรงเรียนไปมหาวิทยาลัย การแต่งกายของนักเรียนดูเท่ทะมัดทะแมง เหมาะกับสถาพอากาศที่หนาวเย็น ทิวทัศน์ที่ผ่านทำให้เราชินตา เพียงนั่งมองออกไปนอกหน้าต่างดูสภาพบ้านเมือง จนกระทั่งมาถึงจุดบรรจบของเทือกเขาสามเทือก คือเทือกฮินดูกูธ เทือกการาโครัม และเทือกหิมาลายัน และตรงนี้ยังเป็นที่บรรจบของแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำสิงห์และแม่น้ำกิลกิต เราจึงได้เปลี่ยนอริยาบทลงไปสำรวจภูมิทัศน์ เมื่อได้เวลาก็ขึ้นรถเพื่อเดินทางกันต่อไป เส้นทางไม่มีอะไรที่ทำให้เราตื่นเต้น นั่งกันเงียบๆมองออกไปนอกหน้าต่างจนถึงจุดรับประทานอาหารกลางวันเกือบๆบ่ายสองโมง ตรงนี้เป็นจุดพักรถที่รถเกือบทุกคันต้องแวะมาพักเหนื่อยที่นี่ เราได้สัมผัสกับอาหารริมทางเป็นมื้อแรก มีข้าวผักจานใหญ่ๆสองจานรับประทานกันสิบคนก็ไม่หมด ไก่ทอดคืออาหารหลักที่ต้องขึ้นโต๊ะตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย สั่งน้ำโค๊กปราศจากน้ำแข็งมาดื่มเพื่อดับกระหาย ที่ขาดไม่ได้คือนานอาหารประจำชาติ ทานอาหารกันอิ่มแล้วก็รีบขึ้นรถเดินทางกันต่อ ขึ้นรถแล้วก็ได้แต่นั่งมองไปนอกหน้าต่าง ในใจก็เร่งเวลาให้ถึงจุดหมายเร็วๆ แต่ก็ไม่ได้อย่างใจ ถึงที่พักก็ตะวันตกดินไปแล้ว ผมจำไม่ได้เลยว่าที่พักนั้นชื่ออะไร เพียงคิดอย่างเดียวถึงที่พักแล้วทานอาหารมื้อค่ำแล้วขอพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อสลัดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหล้าที่นั่งจ่อมอยู่บนรถเป็นเวลายาวนาน ไปโรงเรียน..พี่จูงน้องน่ารักดี พี่ไปไหนแล้ว...ปล่อยให้หนูอยู่คนเดียว จุดที่เทือกเขาสามเทือกมาบรรจบกัน ฮินดูกูธ การาโกรัม หิมาลายัน มาบรรจบกัน แม่น้ำสองสาย อินดัส และ กิลกิต มาบรรจบกันที่นี่เช่นกัน แม่น้ำอินดัส และ กิลกิต แผนผังสามเทือกเขาและสองแม่น่ำ การาโครัมไฮเวย์ ( KKH ) เส้นทางที่ผ่านมีแต่ภูเขาสีหม่นๆและแม่น้ำสีขุ่นๆ แวะทานอาหารริมทาง เมื่อคืนที่ผ่านมาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ บรรยากาศช่วงเช้าที่นี่ค่อนข้างดีพอสมควร ต้นไม้รอบๆที่พักเป็นแหล่งหากินของนก นกประจำถิ่นที่พบบ่อยและเยอะมากคือ Himalayan Bulbul เทียบแล้วก็เหมือนนกกระจอกบ้านเรา ไม่ว่าจะไปที่ไหนจะเจอนกชนิดนี้ตลอด ที่พักระหว่างทาง Himalayan Bulbul ตำรวจที่คอยดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว มาดูแลถึงที่พัก จากจุดที่เราพัก (เมืองบิชาม) เดินทางสู่อิสลามาบัค เราต้องใช้เวลาเดินทางอีกหนึ่งวัน ประมาณ ๙ ชั่วโมง(รวมเวลาพักทานอาหารมื้อกลางวัน) ช่างเป็นการเดินทางที่ยาวนาน ด้วยสภาพถนนและความคับคั่งของประชากรในหมู่บ้านท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางออกมาจับจ่ายใช้สอย ผู้คนพลุกพล่านตลอด บ้างก็ออกมาเดินเล่นๆไม่มีอะไรจะทำ รถจึงทำความเร็วเฉลี่ยได้เพียงสีสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ไกด์ซาลีมบอกว่า Look busy do nothing พวกเราชอบกันมากเลยกับคำๆนี้ ทำให้นึกถึงพวกทำงานใน Office หรือข้าราชการที่ไม่มีอะไรจะทำ นั่งเล่นนั่งคุยกันสนุก แต่พอหัวหน้างานมาจะทำตัวให้ดูยุ่งวุ่นวายกับงาน ทั้งๆที่ไม่มีงานอะไรให้ทำ นึกถึงประโยคนี้ขึ้นมาทีไรก็อดขำและอมยิ้มขึ้นทุกครั้ง ตลาดผลไม้ จัดเรียงสวยงามน่าซื้อมาก พืชผักและผลไม้มีบ้างที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน อัฟกานิสถาน และอินเดีย ได้แวะพักทานอาหารกลางวันที่เมืองเล็กๆร่างกายค่อยสดชื่นขึ้น เหลือระยะทางอีกไม่มากนักก็จะถึงเมืองหลวง เมื่อขึ้นไปนั่งบนรถต้ได้แต่ชมวิวที่มีแต่เทือกเขาสีน้ำตาลหม่นๆ ไม่มีใบไม้เปลี่ยนสีให้ชม แม่น้ำสีขุ่นๆก็หายไป ได้แต่นั่งมองไปเรื่อยๆรอเวลาให้ถึงที่พักคืนนี้เร็วๆ เรามีเวลาในอิสลามาบัดหนึ่งวันเต็ม เครื่องจะออกช่วงสี่ทุ่มเศษ เราจึงไปชมดินแดนพุทธศาสนา ตักศิลา ตักศิลา (อักษรโรมัน: Taxila; ตัก-กะ-สิ-ลา)[1] หรือ ตักสิลา (Takkaśilā; ตัก-กะ-สิ-ลา) ในภาษาบาลี หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา) ในภาษาสันสกฤต[2] เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาลมีสำนักอาจารย์ทิศาปาติโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีปบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ อาทิ พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม แลปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนจนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อม ๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสาบสูญแต่บัดนั้น (ข้อมมูลจาก วิกิพีเดีย) คำบรรยายภาษาไทยในป้ายที่ถ่ายจากตักศิลา อ่านแล้วไม่ได้ใจความ จึงนำข้อมูลจาก วิกิพีเดียมาใช้ ป้ายบอกว่าตักศิลาปิดวันจันทร์ เราไปถึงที่นั่นแล้วแต่ก็ต้องเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะไปตรงกับวันที่เขาปิดพอดี ได้แต่ยืนตาปริบๆมองผ่านรั้วเข้าไปสำรวจ เราจึงแวะไป DHAMARAJIKA ที่อยู่ห่างออกไปราวๆ ๓ กม. DHAMARAJIKA STUPA มีความสำคัญคือเป็นที่ฝังพระศพพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นเราเดินทางต่อไปที่ SIRKAP เป็นเมืองโบราณตั้งแต่ 180 ปีก่อน คศ. พอมีเวลาเราจึงเดินทางต่อไปที่ มัสยิดไฟซาล เป็นมัสยิดที่ใหญ่มี่สุดของปากีสถาน จุผู้คนที่มีความศรัทธามาสวดมนต์ได้ราวๆ 100,000 คน และลานด้านนอกอีกกว่า 200,000 คน มัสยิดแห่งนี้ได้ตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่กษัตริย์ Faisal bin Abdul Aziz ตักศิลาปิด เราจึงแวะไปที่ DHARMARAJIKA STUPA ธรรมราชาสถูปที่กล่าวว่าเป็นที่ฝังพระศพพระพุทธจ้า หมอแอ๊ด ชื่นชอบสะสมป้ายมรดกโลก มัสยิดไฟซาล ที่นั่งสวดมนต์จุคนราวๆหนึ่งแสนคน บริเวณรอบๆมัสยิดสามารถจุผู้ศรัทธาร่วมสองแสนคน มัสยิดไฟซาลว่ากันว่าสามารถมองเห็นจากเครื่องบินขณะจะลงจอดที่ท่าอากาศยาน เราถึงกรุงเทพฯ หกโมงเช้าแล้วรอต่อเครื่องกลับหาดใหญ่ ถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ พร้อมความทรงจำดีๆกับทริปปากีสถาน มันเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อมากสำหรับปากีสถาน มีแต่ความงดงามทั้งผู้คนและสถานที่ เราจึงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ถึงข่าวสารร้ายๆที่ได้รับ แต่ทุกอย่างย่อมมีสิ่งดีๆที่ไม่ได้ปรากฎในข่าวสารอีกมากมาย ปากีสถานจึงเป็นทริปที่ประทับใจอีกทริปหนึ่ง _______________________________________________________________ อนึ่ง...ทริปนี้ผมขออุทิศให้คุณหมอกมลพันธ์ เนื่องศรี ขณะเดินทางร่วมทริปที่กำลังป่วย แต่ยังมีจิตใจเข้มแข็งเดินทางไปกับพวกเราด้วย ซึ่งทริปนี้เป็นทริปสุดท้ายที่ได้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวด้วยกัน หลังกลับจากปากีสถาน คุณหมอมีอาการทรุดลง จนกระทั่งจากไปในที่สุด ผมขออนุญาตนำข้อความที่เขียนถึงหมอกมลพันธ์ เนื่องศรี ของคุณหมอติมที่ลงใน FB ที่ได้เก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆขณะร่วมงานมาด้วย เพื่อเป็นที่ระลึกและคิดถึงหมอตลอดไป Supanee Buranadham พี่พัน
พบกันใหม่ทริปหน้า ขอบคุณทุกท่านที่แวะมา _________________________________ เรื่องย้อนหลัง>>>http://oknation.nationtv.tv/blog/PeeThong/2017/04/19/entry-1 ปากีสถาน ปานภาพวาด ( ตอน ๗ )
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |