ส่วนทับหลังด้านบนเป็นรูปพระศิวนาฏราชที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งในประเทศไทย ในความรู้สึกของผมนั้น นางอัปสรากำลังยิ้มเล็กน้อยเหมือนจะอวดด้วยความภาคภูมิใจว่า เธอได้เฝ้าปรนนิบัติแด่องค์พระศิวะมหาเทพผู้เป็นใหญ่แห่งเทวสถาน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปราสาทบ้านระแงงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่พระศิวะและชุมชนโบราชที่อยู่บริเวณนี้ ก็ต้องยอมรับนับถือคติแบบไศวนิกายให้เป็นศาสนาของผู้คนพลเมืองมาก่อนอย่างแน่นอน ไศวนิกายคือการบูชาและยกย่องพระศิวะหรือพระอิศวรให้เป็นใหญ่เหนือเทพทั้งปวง ตามความเชื่อในลักธิพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้ามากมายเป็นร้อยเป็นพัน หากมองในแง่ศิลปะแล้ว การจำหลักภาพนางอัปสรของที่นี่ถือเป็นงานฝีมือชั้นครู ทำได้อย่างงดงามและปราณีตบรรจงไม่ด้อยกว่าที่ใด ในอีกมุมมองหนึ่งนั้น ศิลปะที่มีอายุนับพันปีอย่างนี้คงไม่ได้ทำขึ้นเพียงเพื่อมุ่งให้แลดูสวยงามอย่างเดียวเป็นแน่ ผมไม่เคยเห็นนางอัปสรในท่วงท่าลักษณะนี้มาก่อน เท่าที่ตระเวณดูปราสาทเขมรโบราณ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในอีสานก็มีไม่กี่แห่งที่ยังพอจะเหลือรูปนางอัปสรให้เห็นกันอย่างชัดๆ กลายเป็นของหาดูยากไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ การปรากฏภาพจำหลักนางอัปสรยืนเฝ้าปราสาทระแงงจึงมิใช่เป็นเรื่องธรรมดา จะเพียงชื่นชมว่าสวยแล้วจากไปเฉยๆ คงไม่อาจทำได้ ถ้าใครเคยไปเที่ยวนครวัดของกัมพูชาจะประจักษ์ด้วยตัวเองว่า เฉพาะที่นครวัดแห่งเดียวก็ดาษดื่นไปด้วยรูปจำหลักนางอัปสรจนตื่นตาตื่นใจไปหมดไม่ว่าจะเดินไปตรงไหนเป็นต้องเห้นนางอัสรสถิตอยู่บนทับหลัง ซุ้มประตู ผนัง หน้าบัน ฯลฯ แทบไม่มีซอกมุมใดไร้เงานางอัปสรเลย นักโบราณคดีตรวจนับรูปนางอัปสรที่นครวัดได้มากมายถึง ๑๖๓๕ นาง บางคนยืนยันว่ามีมากกว่านั้น ชาวกัมพูชาเรียกนางอัปสรว่า "อัปสรา"(Apsara) เป็นคำเดียวกันกับภาษาไทย ("อัปสร" เป็นคำสันสกฤต ถ้าเป็นบาลีจะใช้คำว่า "อัจฉรา") นางอัปสร หรือ "อัป-สะ-รา" เป็นใครมาจากไหนหรือ? คำตอบเรื่องนี้เห็นจะต้องย้อนยุคไปไกลร่วม 3000 ปีและไกลถึงชมพูทวีป ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมโบราณที่เราสืบทอดมานับร้อยชั่วอายุคน คัมภีร์ปุราณะ ซึ่งเขียนขึ้นในยุคมหากาพย์ของอินเดีย (ช่วงเดียวกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะ) มีเรื่องราวตอนหนึ่งเกี่ยวกับการเกิดของนางอัปสรเนื้อหาสาระค่อนข้างจะพิสดารตามแบบนิยายปรัมปราทั่วไป เรื่องมีอยู่ว่า ในกาลหนึ่ง เทพยากับอสูรได้ร่วมกันทำน้ำอมฤตเพื่อความเป็นอมตะไม่รู้จักตายพิธีนี้เรียกว่า กวนเกษียรสมุทร มีพระนารายณ์เป็นผู้ควบคุมการทำพิธีดังกล่าว กรรมวิธีการทำน้ำอมฤตนี้ต้องใช้พญานาควาสุกรี(เป็นนาคห้าหัว)ทอดตัวรัดพันรอบภูเขามัณธระ(คือเขาพระสุเมรุ ซึ่งก็คือยอดเขาหิมาลัย) พวกอสูรช่วยกันจับลำตัวส่วนหัว พวกเทวดาจับตรงหาง ดึงกันไปดึงกันมาอยู่คนละฟาก ๓เขาที่อยู่ตรงกลางจึงกวนมหาสมุทรเป็นวังวน ระหว่างทำพิธีอยู่นั้นเกิดดเหตุไม่คาดฝัน ภูเขามัณธระได้ถล่มลงมาน้ำอมฤตที่ว่าจึงหายไปอยู่ใต้ภูเขา ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องแปลงร่างเป็นเต่าแหวกว่ายลงไปใต้สมุทรเพื่อหนุนเขามัณธระขึ้นมา ขณะที่ยักษ์กับเทวดาชักดึงนาคไปมาจนทะเลปั่นป่วนนั้น นางอัปสรก็ผุดขึ้นมาประดุจฟองคลื่น จึงกล่าวได้ว่าพวกเธอคือนางฟ้าที่จุติจากน้ำในมหาสมุทรนั่นเองก็ยากจะทราบได้ เรื่องราวเหล่านี้เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ไม่ใช่ตำนานที่เขมรหรือไทยเขียนขึ้นมาแต่อย่างใด ว่ากันส่านางอัปสรองค์แรกที่จุติขึ้นมาคือ "พระลักษมี"ผู้ซึ่งต่อมาเป็นฉายาของพระนารายณ์ ซึ่งก็เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนจำนวนมากเหมือนกัน อย่างไรก็ดี มหกรรมเทวดากับยักษ์ช่วยกันกวนน้ำทิพย์นี้จบแปลกๆ เพราะเมื่อได้น้ำอมฤตสมดังตั้งใจแล้ว แทนที่จะแบ่งกันอย่างเป็นธรรม พวกเทวดากลับใช้เล่ห์ดื่มกินเองฝ่ายเดียวไม่ยอมแบ่งปันแก่อสูร บรรดาเหล่าเทวดาทั้งหลายจึงอยู่ยงคงกระพันเป็นอมตะแต่ฝ่ายเดียว ส่วนอสูรก็อกหักไปตามระเบียบบางตำราถึงกับบอกว่าเพราะการที่ได้ดื่มน้ำอมฤตนี้เองทำให้เทวดาสามารถขับไล่อสูรลงจากสวรรค์ได้สำเร็จ พิธีกวนเกษียรสมุทร เรียกตามโบราชราชประเพณีของไทยว่า "ชักนาคดึกดำบรรพ์" เป็นพิธีสรรเสริญยกย่องกษัตริย์เป็นเสมือนเทพ อยุธยารับสืบทอดมาจากพราหมณ์ที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาเมื่อครั้งไปตีได้กรุงกัมพูชา ที่นครวัดก็สลักภาพพิธีกรรมนี้ไว้บนผนังศิลายาวร่วม ๕๐ เมตรเป็นรูปยักษ์และเทวดาจำนวนนับร้อยกำลังชักนาคดึกดำบรรพ์ที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดที่มนุษย์ทำขึ้นมา มีผู้สันนิษฐานว่าคำ "ดึกดำบรรพ์" น่าจะเพี้ยนมาจากภาษาเขมรว่า "ตึ๊กตระบัล" แปลว่าตีน้ำหรือกวนน้ำ ซึ่งก็ดูสมเหตุสมผลดี ดังนั้นหากได้ยินใครพูดถึงสมัยดึกดำบรรพ์ก็ต้องเข้าใจด้วยว่านั่นย่อมหมายถึงยุคโบราณจริงๆ ตั้งแต่ครั้งที่ยัง "ตีน้ำ" กวนเกษียรสมุทรเอาเลยทีเดียว ตรงห้องอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของเราก็มีการสร้างประติมากรรมขนาดใหญ่จำลองการกวนเกษียรสมุทรแบบนี้ไว้ให้ฝรั่งต่างชาติและนักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทยได้เห็น แต่จะเข้าใจเรื่องราวมากน้อยเพียงใดก็ยากที่จะทราบได้ สรุปแล้วภาพจำหลักนางอัปสรที่มีอยู่ตามโบราณสถานเขมรพอจะแยกได้เป็นสองลักษณะคือ รูปยืนเต็มตัว เป็นเทพประจำเทวสถานอย่างที่ปราสาทบ้านระแงงอีกลักษณะหนึ่งอยู่ในท่ารำฟ้อนหรือเหมาะเหินเดินอากาศเป็นนางอัปสรที่กำลังเคลื่อนไหว ซึ่งพบเห็นมากตามทับหลังหรือหน้าบัน แต่ไม่ว่าจะเป็นนางอัปสรกลุ่มใด หากสังเกตเสื้อผ้าอาภรณ์การแต่งองค์ทรงเครื่องตลอดจนผ้านุ่ง สร้อยคอ กำไลมือ รัดต้นแขน ต่างหู ชฎา การเกล้าผมหรือกระทั่งหน้าตาท่าทาง ก็จะพบความแตกต่างไปตามยุคสมัยและความนิยมของแต่ละท้องถิ่น อาจมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือความเป็นสตรีที่งดงาม สูงศักดิ์และเย้ายวน ตรงนี้ผู้สร้างคงมิได้มีเจตนาจะให้เป็นหญิงชาวบ้านสามัญชน น่าจะเป็นความคิดฝันของคนในสมัยนั้นถึงเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ที่คอยเฝ้าบำเรอความสุขแด่เทพผู้เป็นใหญ่มากกว่า บรรดานาฏศิลป์แขนงต่างๆ ที่ตกทอดมายังสุโขทัย อยุธยา จนถึงปัจจุบัน ก็ล้วนแต่มีพื้นฐานอันเกี่ยวโยงกับนางอัปสร ไม่ว่าท่าหรือการแต่งกาย มีการจัดลำดับความสำคัญไว้ชัดเจน เช่น การเล่นโขนรามเกียรติ์ถือเป็นของสูง ในขณะลิเกและเซิ้งทั้งหลายเป็นการละเล่นของชาวบ้าน ไม่ปะปนกัน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเกี่ยวกับนางอัปสรเหล่านี้ทำให้ต้องยืนยันว่านางอัปสรไม่ได้เป็นแค่เพียงภาพจำหลักอันไร้จิตวิญญาณ แต่ในความเป็นจริงพวกเธออยู่ใกล้ชิดกับเราอย่างยิ่งและอยู่ในวัฒนธรรมของเรามาอย่างมั่นคงชั่วนาตาปีแล้ว นี่คือเหตุผลว่าทำไมนางอัปสรที่ปราสาทบ้านระแงง อ.ศีขรภูมิ จึงไม่ธรรมดา ... ทับหลังของปรางค์ประธานจำหลักเป็นรูปศิวนาฏราชยืนอยู่บนแท่นมีหงส์แบก ๓ ตัว อยู่เหนือเศียรเกียติมุข สองข้างประตูทางเข้า จำหลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว ด้านข้างจำหลักลายก้ามปูและทวารบาลยืนถือกระบอง ที่ปรางค์บริวารพบทับหลัง ๒ ชื้น เป็นเรื่องกฤษณาอวตาล ชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะปราบช้างและคชสีห์ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะปราบคชสีห์ ที่ปรางค์บริวารทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบจารึกหินทรายที่กรอบประตู เป็นจารึกอักษรธรรม กล่าวถึงพระเถระผู้ใหญ่และท้ายพระยาร่วมกันบูรณะศาสนสถานแห่งนี้ ...บทความเรื่องนางอัปสราแสนสวยแห่งบ้านระแงง จากหนังสือ...สุรินทร์สโมสร... ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๐) ขอขอบคุณหนังสือที่ทางสุรินทร์สโมสรมอบให้ด้วยนะคะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ลัดเลาะเลียบเมือง...ภูเก็ต | ||
![]() |
||
... |
||
View All ![]() |
The Moon | ||
![]() |
||
... |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |