*/
Oh What A Night | ||
![]() |
||
เพลงจาก Jersey Boys,West End, London |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
LONDON ในปีพิเศษ พ.ศ. 2555 มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งวาระการครองราชย์ครบ 60 ปี Diamond Jubilee ของ Queen Elizabeth II และ LONDON 2012 ที่ลอนดอนจะกลายเป็นเมืองแรกของโลกที่มีกีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นถึงสามครั้ง ก่อนหน้านี้ ตอน พ.ศ. 2551 เกิดแผนงาน Cultural Olympiad ที่ตั้งเป้าหมายกระตุ้นประชาชนบริทิชโดยเน้นกลุ่มเยาวชนเป็นสำคัญ ให้สนใจใคร่รู้ อยากมีส่วนร่วมกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม Art & Culture ของชาติ มากพอที่จะร่วมสร้างผลงานในทุกแขนงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าด้านการแสดง หนังสือ หนัง ดนตรี พอถึงปีนี้ London 2012 Festival ระหว่าง 21 มิถุนายน 9 กันยายน ได้ถูกกำหนดให้เป็นฉากจบ Finale ตระการตา เพื่อนำผลงานที่ทุ่มเทมาตลอดสี่ปีก่อนออกสู่สายตาคนทั่วโลก หนึ่งผลผลิตสำคัญของ Cultural Olympiad คือ World Shakespeare Festival ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดที่นำความเป็นเอกในงานประพันธ์ของ Shakespeare อันเป็นศิลปวัฒนธรรมคลาสสิคของชาติ ออกไปเชื่อมต่อกับโลกกว้าง British Council เก็บข้อมูลมาบอกว่า 50% ของเด็กทั่วโลก เป็นจำนวนประมาณ 64 ล้านคน รู้จักและใคร่รู้ ใคร่อ่านเรื่องของ William Shakespeare จึงเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขยายการให้ความรู้แก่เยาวชน ผ่านครูเป็นร้อยและนักเรียนนับพันคน จากเกรทบริเทน กับอีก 7 ประเทศ คือ Oman, India, Brazil, Czech Republic, Hong Kong, USA และ South Africa World Shakespeare Festival สร้างสรรค์บนพื้นฐานที่ผลงานวรรณกรรมของShakespeare สามารถนำไปประยุกต์ในวิธีการของแต่ละชาติภาษา ให้สามารถตีความและนำเสนอในมุมมองและภาษาของตนเอง
The Royal Shakespeare Company จึงเริ่มรวบรวมกลุ่มผู้จัดและนักแสดงจากทั่วโลกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ให้นำบทละครทั้งหมดของ Shakespeare มาตีความ ได้ผลออกมาเป็นการแสดง 37 เรื่อง 37 ภาษา ที่รวม British Sign Language เอาไว้ด้วย * ในเกรทบริเทน การเรียนบทประพันธ์ของ William Shakespeare เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ผ่านสื่อการสอนทุกรูปแบบ จนภาษาวรรณกรรมซับซ้อนที่ยากแก่การเข้าใจ ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงและความรื่นรมย์ มีผลงานให้เห็นทั้งบนเวที และไม่เคยห่างหายไปจากจอโทรทัศน์ * เมื่อการให้ชีวิตแก่ตัวละครออกมาโลดแล่นบนเวทีที่เรียกว่า Adaptation เป็นวิธีดึงโครงหลักและหัวใจของเรื่อง โดยมิต้องคำนึงถึงแม้กระทั่งการคงชื่อตัวละครตามเดิม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้จัดต้องสามารถมองเห็นแก่นของบทประพันธ์ มีรสนิยมในการตีความให้เที่ยง คงความละเมียดละไมในชั้นเชิงการแสดงออก และไม่ลดทอนคุณค่าด้วยวิธีการนำเสนอราคาถูก * 37 ภาษาของการแสดงครั้งนี้มีเรื่องน่าสนใจว่า หลายชาติในเอเชียที่ไม่มีความเจริญล้ำหน้ากว่าและไกลจากประเทศไทยนัก สามารถนำภาษาของตนเองมาร่วมเวทีสากลอย่างเต็มภาคภูมิ อย่าง ภาษา Hindi, Urdu, Gujarati หรือภาษาจีนทั้ง Cantonese จากฮ่องกง Mandarin จีนกลาง เกาหลี และ ญี่ปุ่น * * * * * * เมื่อความเป็นไปในโลกปัจจุบันนี้ยุ่งเหยิง วิธีนำเสนอ Adaptation หลายเรื่องอดใจละการวิจารณ์ประเด็นเหล่านั้นไม่ได้ ผลงานที่โดดเด่นจึงต้องสะท้อนความขัดแย้งในสังคม ความเชื่อ ความแตกต่างทางการเมืองอย่างมีลีลา และมีปมทางเลือกทิ้งท้ายให้คิด มากกว่าแค่กระแทกร้อยร้าวให้แตกมากขึ้นอย่างไร้ทางออก การแสดงหลายเรื่อง จึงมีมุมมองใหม่ในการตีความที่น่าสนใจ Romeo and Juliet ของอิรัก พูดถึงความรักที่แบ่งแยกแบบ sectarian ของมุสลิมต่างนิกาย Sunni และ Shia ที่ผลจากความรุนแรงและการแก้แค้นคงเหลือไว้เพียงแค่ความเหนื่อยล้าให้คนซึมซับ Macbeth ของ Tunesia ยกเรื่องวิธีหาประโยชน์จากการเมืองและอำนาจในทางอยุติธรรมของบางผู้นำในโลกอาหรับมาแสดง วาดภาพการเป็นสาธารณรัฐและประธานาธิบดีให้เห็นช่องทางชั่วและดี ให้คนได้มีโอกาสคิด ไม่เพียงแค่สุมปัญหาใส่ โดยไม่นำทางไปข้างหน้า นักแสดง Maori จาก New Zealand หยิบการร่าย Haka ธรรมเนียมท้ารบ Warrior dance ที่คุ้นตาในกีฬารักบี้ของผู้เล่นเชื้อสาย Polynesian ในขั้วโลกใต้ มาแนะนำวัฒนธรรม Haka ที่สอดแทรกอยู่ในหลายส่วนของประเพณีผ่านเรื่อง Troilus & Cressida Q Brothers จาก Chicago เคยประสบความสำเร็จจากการนำ Much Ado About Nothing มาทำร่วมสมัยเป็น Funk It Up About Nothin กลับมาอีกครั้งด้วย Othello ในสไตล์ Hip Hop ที่แค่บางวลีก็ได้สัมผัสความรู้สึกสดใหม่ของโลกรุ่นเยาว์ I hate the bastard, hate the Moor, I hate his rhymes, I hate his whore. การแสดง 37 เรื่อง 37 ภาษา ถือฤกษ์ดีเปิดตัววันที่ 23 เมษายน St Georges Day วันเฉลิมฉลองนักบุญอุปถัมภ์ของประเทศอังกฤษ และ The Bards Birthday วันที่ถือเอามาระลึกเป็นวันเกิดของ Shakespeare ซึ่งบังเอิญพ้องกับวันเสียชีวิต 23 เมษายน พ.ศ. 2159 ด้วย * * ผลงานที่ปรากฏใน World Shakespeare Festival ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ถึงความลึกซึ้งของเนื้อความที่สะท้อนสถานการณ์โลกด้วยการตะโกนใส่หน้าอย่างตรงและแรง ไม่ไร้รสนิยมในการนำเสนอ และคงความละเมียดของบทประพันธ์ ที่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องชี้ทางให้สังคมเสมอไป แต่วรรณกรรมชั้นดีสามารถเป็นเครื่องบันทึกและวิจารณ์ความเป็นไปในสังคม ให้เห็นความรัก ความโลภ อำนาจ ที่วนเวียนคงอยู่ทุกยุคสมัย ไม่เคยล้าต่อกาลเวลา พ.ศ. 2555 นับเป็นเวลาถึง 448 ปี จากปีเกิดของ Shakespeare แต่ผลงานและความคิดที่ปรากฏของ William Shakespeare ยังคงร่วมสมัย จนกลายเป็นสถาบันเสียมากกว่าตัวตนที่จากไป ให้สรุปได้เพียงว่า Through his work, The Bard lives... และไม่มีวันตาย * * * * * * * * * Hello, Hello Lady Gaga & Elton John, from Gnomeo & Juliet (Uploaded by Azelf550TV) Reference: About World Shakespeare Festival ข้อมูลการแสดง http://globetoglobe.shakespearesglobe.com/ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |