ลองกลับไปทบทวนความจำอ่าน "นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ" ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีสมรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2553 กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2558 อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะครอบคลุมประชากรไม่ต่ำกว่า 80% และภายในปี 2563 จะต้องครอบคลุมไม่ต่ำกว่า 95% ยังเป็นความฝันที่ห่างไกลความเป็นจริงมาก ความเป็นจริงคือ จำนวนครัวเรือนไทยที่เป็นสมาชิกหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากผู้ให้บริการหลัก 3 ราย คือ บริษัท ทศท. จำกัด(มหาชน), กลุ่มทรู และ กลุ่มจัสมิน ในปีนี้ยังมีแค่ประมาณ 5 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 25% เท่านั้นเอง การเนรมิตรให้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เกิดขึ้นจริงในเร็ววันทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีใหม่กับอายุของรัฐบาลชุดนี้ที่มีเวลาทำงานอีกไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า จึงไม่ควรเริ่มต้นเสียเวลากับการถกเถียงกันว่า โครงสร้างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะประกอบด้วยหน่วยงานอะไร, การออกกฎหมายใหม่ๆ ที่ข้าราชการตั้งแท่นไว้เกือบ 10 ฉบับ จะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ฯลฯ ลองกลับไปปัดฝุ่นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่ผ่านคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่พ.ย. 2553 ในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อัตราการเร่งลงมือปฏิบัติทำให้เกิดขึ้นจริงตามแผนสวยหรูยังมี "ความเร็วต่ำ" มากๆ ไม่ใช่ "ความเร็วสูง" ตามชื่อแผนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่อยากจะโทษว่าเป็นเพราะนักการเมืองที่มาเป็นรัฐบาลมาจากคนละพรรคจะไม่ยอมทำงานต่อเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนหรือไปอ้างเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ในช่วงปี 2553-2554 ที่มีความวุ่นวายทางการเมือง และปี 2555 รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาเจอน้ำท่วมใหญ่ แล้วมาปี 2556 ปลายปีต่อมาถึงปี 2557 เจอปัญหาการชุมนุมยืดเยื้อของกปปส.ไปอีก แต่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในยุครัฐมนตรีชื่อ "จุติ ไกรฤกษ์" ที่เป็นเจ้าภาพหลักในการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านคณะรัฐมนตรี และยังมีการตั้งคณะกรรมการอีกชุดขึ้นมา เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือ KPI แต่ดูเหมือนว่าพลาดเป้าไปเป็นส่วนใหญ่ แล้วในยุครัฐมนตรีไอซีทีคนต่อมา "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครธรรพ" แทบไม่มีเวลาสานต่อนโยบายนี้ต้องไปสะสางปัญหาทางการเมืองที่รุมเร้าเสียมากกว่า ไม่อยากจะไปถามว่าใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหรือถูกลงโทษในการทำงานไม่ได้ตาม KPI ระหว่าง "นักการเมือง" หรือ "ข้าราชการ" ที่ไม่สามารถทำได้ตามแผนบรอดแบนด์แห่งชาติตั้งแต่ปี 2553 แต่มาถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่น่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายในการเร่งสปีดนำประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล อย่าแค่สร้างความฮือฮาจากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลให้ภาคเอกชนเกิดอาการกระดี่ได้น้ำขึ้นมาอีกครั้ง ดูแล้วนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลน่าจะเป็นภาพใหญ่กว่านโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติมาก แต่หากกลับไปสู่วังวนเดิมหลังจากรัฐบาลออกนโยบายใหญ่ แล้วปล่อยให้ไปอยู่ในมือของข้าราชการอีกครั้ง หากไม่มีกลไกพิเศษในการผลักดันนโยบายใหญ่ขนาดนี้หรือนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ เพียงแต่พูดแล้วผ่านไปก็ไม่น่าจะมีความหวังมากนักกับการเกิดขึ้นของ "เศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล" ที่เป็นจริงได้ ยังไม่ค่อยอยากจะไปตั้งความคาดหวังไว้สูงเกินไป กับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (กลัวฝันสลาย) แต่อยากจะให้นายกฯประยุทธ์ลองปัดฝุ่นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่ร่างกรอบใหญ่ๆ ไว้ดีพอสมควร แล้วใช้อำนาจเบ็ดเสร็จที่มีอยู่สั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือระดมเงินงบประมาณทำให้เสร็จตามเป้าหมายเดิมให้ได้ เป้าหมายใหญ่ๆ ของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เมื่อพ.ย. ปี 2553 ที่ยังไม่ใกล้เคียงความจริง 1.ขยายบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำกว่า 80% ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563 ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps 2. ประชาชนสามารถได้รับบริการบรอดแบนด์ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม -ขยายโอกาสด้านการศึกษาให้บรอดแบนด์ไปถึงโรงเรียนระดับตำบลทุกแห่งภายในปี 2558 และโรงเรียนทั่วประเทศภายในปี 2563 -ขยายโอกาสด้านสาธารณสุขให้บรอดแบนด์ไปถึงสถานีอนามัยทุกแห่งทั่วประเทศภายในปี 2558 -ขายไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลเพื่อให้บริการประชาชนในรูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทอรนิกส์ภายในปี 2558 3.ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน,การขยายตัวของธุรกิจเชิงสร้างสรรค์,การเพิ่มมูลค่าอีคอมเมิร์ซต่อ GDP ให้เป็น 10% ภายในปี 2558 4.ยังมีเป้าหมายอีกหลายข้อ เช่น การลดภาระค่าใช้จ่ายวงจรติดต่อกับต่างประเทศ, การพัฒนาคอนเทนท์และโปรแกรมประยุกต์ ฯลฯ ยังเชื่อว่าถ้านายกฯ ประยุทธ์อองปรับจูน "ความคิด" ให้เห็นภาพชัดๆ ประกาศให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐมีหน้าที่จะต้องลงทุนทำให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง เพียงพอในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมจะไม่มีความลังเลใดๆ ในการทำให้เกิดขึ้นจริงภายใน 2-3 ปี ให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่า 80% ก็หรูเริ่ดมากแล้วไม่ต้องครอบคลุมภายในปี 2558 เท่าที่ทราบข้อมูลขนาดโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคที่มีการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีระยะทางหรือขนาดแบนด์วิธรวมกันมากเกินพอ สามารถนำมาจัดระเบียบนำมารวมกันเป็น "โครงข่ายเดียว" (One Network) หรือ Backbone เดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น แล้วเชื่อมต่อโครงข่ายย่อยๆ ของแต่ละผู้ให้บริการเข้าด้วยกันเพื่อทำให้การเข้าถึง "อินเทอร์เน็ต" แบบความเร็วปกติทั่วไปในขอบเขตทั่วประเทศ ขยับจากประมาณแค่ 35% ให้เป็นมากกว่า 50% ได้ไม่ยาก แล้วค่อยขยายเป็น "อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง" ในพื้นที่เขตเทศบาล สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และ โรงพยาบาลได้ไม่ยาก ควรจะรื้อฟื้นแนวคิดจะให้บริษัท ทศท. จำกัด(มหาชน),การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่างคนต่างลงทุนโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคภาคพื้นดินที่ยังให้บริการไม่เต็มกำลัง มานั่งโต๊ะพร้อมหน้าคุยกันเพื่อเชื่อมต่อและกำหนดแผนการใช้โครงข่ายร่วมกัน รวมทั้งการวางแผนขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ในอนาคตจะได้ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อนอีก แล้วยังควรจะรวมไปถึงการจัดการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ 2 ราย คือ กลุ่มทรูกับกลุ่มจัสมินที่มีความสามารถในการระดมทุนในรูปแบบกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกลุ่มทรูได้จัดตั้งระดมทุนไปได้แล้วกว่า 80,000 ล้านบาท และกลุ่มจัสมินกำลังอยู่ระหว่างการขายหน่วยลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 55,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายไฟเบอร์ออฟฟิคภาคพื้นดินที่โยงใยกันเป็นหย่อมๆ ในแต่ละพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นในจังหวัดใหญ่ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดจากการรุกรากทุกทิศทุกทางจากผู้ให้บริการจานดาวเทียมที่ไม่เสียค่าสมาชิก,เคเบิ้ลทีวีระดับชาติที่มีการลดราคาค่าสมาชิกลงเหลือเท่าเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นประมาณ 300 บาทต่อเดือน ฯลฯ ทำให้ผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีในระดับจังหวัดต้องรวมกลุ่มกันเพื่อลดต้นทุนการบริหารโครงข่ายและการออกอากาศ โครงข่ายไฟเบอร์ออฟฟิคเหล่านี้ที่มีทั้งในรูปแบบของ Backbone ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศและบริษัท ทศท.จำกัด (ประเทศไทย) กับโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคที่ไปถึงบ้านหรือ Last Mile ของเคเบิลทีวีท้องถิ่น หากคณะทำงานเศรษฐกิจดิจิทัลได้มองเห็น "โครงข่ายขนาดใหญ่" ที่มีการลงทุนซ้ำซ้อนมากเกินไป เชิญทุกองค์กรที่มีโครงข่ายเหล่านี้มา "จัดการ" ใหม่ให้ไม่ซ้ำซ้อนในทิศทางเดียวกันแล้วสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้เป็น "โครงข่ายสำรอง" เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงของการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวได้ อยากให้ลงมือทำทันที โดยไม่ต้องรอออกกฎหมายนับ 10 ฉบับ ไม่ต้องรอตั้งกระทรวงใหม่ การเร่งสะสางโครงข่ายเดิมแล้วสร้างเพิ่มโครงข่ายไฟเบอร์ออฟฟิคให้ไปถึงทุกครัวเรือน สามารถทำได้ไม่ยากนักจะทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นทันที ประเมินกันว่าการเพิ่มขึ้นของความเร็วอินเทอร์เน็ตทุกๆ 10% จะส่งผลให้ GDP ของประเทศขยายตัว 1% |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |