*/
Discover India | ||
![]() |
||
สถานที่น่าเที่ยวของอินเดีย |
||
View All ![]() |
Shelldon2 | ||
![]() |
||
การแสดงเชลล์ดอนที่สยาม โอเชี่ยน เวิล์ด |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
กระบวนการสู่การเป็นบล็อกเกอร์ หรือ Bloggerization กำลังกลายเป็นกระแสที่กำลังมาแรงในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเมืองไทยคาดว่ามีบล็อกไม่ต่ำกว่า 300,000 บล็อก ขณะที่จำนวนคนเขียน blog ในอเมริกามีประมาณ 15 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะถึงจุดอิ่มตัว แล้วไปนิยมแหล่งชุมชนออนไลน์ หรือ Social Network แทน ซึ่งเป็นเว็บที่ผสมผสาน เทคโนโลยีใหม่ๆ หลากหลายอย่างลงตัว ฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย ปรับแต่งแก้ไขได้ง่าย อย่างไรก็ถือว่ากระแสการมุ่งสู่บล็อกของไทย ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่มีมิติของกระบวนการอยู่หลายมิติเช่นกันที่ต้องวิเคราะห์กันในเชิงเป้าหมายของการใช้บล็อกว่าแท้จริงแล้วสัดส่วนเป็นด้านไหนเป็นหลัก แล้วกระบวนการที่จะมุ่งสู่บล็อกที่มีอิทธิพลต่อสังคมน่าจะเดินหน้าไปอย่างไร ก็อย่างที่ทราบว่าปัจจุบันไทยเริ่มมีทั้งการใช้บล็อกที่หลากหลาย เช่น 1.) เพื่อส่งเสริมการตลาดทางธุรกิจ หรือสร้าง แบรนด์เพิ่มมูลค่า 2.) เพื่อสร้างรายได้ 3.) เพื่อเป็นงานอดิเรก 4.) เพื่อเป็นการสื่อสารทางด้านข่าวสาร (Media) ฯลฯ และไม่แน่ครับ ที่อนาคตก็จะมีการวิจัยใหม่ในเรื่องการมีส่วนร่วม หรือวัฒนธรรมการเมืองผ่าน Blog , Blog Science , หรือ Marketing of Blog ขึ้นมาก็ได้ Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง ลงบนเว็บไซต์ ส่วนคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ ในทุกเรื่องที่เจ้าของสนใจ ทั้ง "ข้อเท็จจริง" และ "ความคิดเห็นส่วนตัวต่อข้อเท็จจริงนั้น ๆ" หรือ เป็น "คอลัมภ์วิเคราะห์" ตามหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดออกมาให้ผู้อ่านทราบเป็นด้านหลัก กระแสนี้เป็นกระแสของการให้พื้นที่ความคิดส่วนตัวกลายเป็นพื้นที่ความคิด หรือความรู้ทางสาธารณะ ไม่ใช่เป็นกระแสการตั้งกระทู้ พูดง่าย ๆ คือการเปิดสมองเพื่อถ่ายทอด และเปิดรับแนวคิด แง่มุมของบุคคลอื่นที่แตกต่าง และสร้างสรรค์ อิทธิพลของบล็อกไม่ต่างจากทุกคนมีสื่อทางเลือกในมือ นั่นคือการสร้างพลังอาณาจักรทางความคิด ข้ามพรมแดน ด้วยระยะเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อก ต้องยอมรับว่าบล็อกมีความปัจเจกชนอยู่ค่อนข้างสูงมาก และปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าของบล็อกก็คือบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง ที่มีบุคลิก ภูมิปัญญา ความสนใจ เป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นในสังคมบล็อกก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีทั้งดีและไม่ดีอยู่ภายในสังคม เพียงแต่เทคโนโลยีสามารถควบคุมได้ส่วนหนึ่ง ร่วมกับสังคมบล็อกร่วมกันสอดส่องตรวจสอบสิ่งที่เป็นเป็นบล็อกมลพิษเข้ามาอยู่ในสังคม ปัจจุบันสัดส่วนของบล็อกไทยส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น และเขียนไดอะรี่เป็นกระแสหลัก ส่วนกระแสที่ทางสำนักข่าวกำลังสร้างขึ้นก็อยู่ในช่วงการผสมผสานของกลุ่มเจ้าของบล็อกที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันทั้งกลุ่มฮาร์ดคอร์ ในทางเศรษฐกิจการเมือง กลุ่มสื่อสารมวลชน กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ และกลุ่มทั่วไป โดยมีการสร้างทางเลือกและสร้างจุดยืนของบล็อกอย่างชัดเจนว่าจะเปิดรับกลุ่มผู้ใช้ ผู้อ่านกลุ่มใด ซึ่งสุดท้ายผู้ใช้ก็จะจับกลุ่มบริโภคและแยกสัดส่วนกันได้เอง เช่น กลุ่มวัยรุ่นก็จะไปที่กระปุก สนุก ฯลฯ สำหรับกระบวนการ บล็อกเกอร์ไรเซชั่น ที่ผมให้ความสนใจก็คือเป้าหมายในแนวทางของสื่อสารมวลชน ซึ่งในของ oknation เองก็ถือว่าเป็นบล็อกที่ได้เริ่มกระบวนการสู่การสร้างพลเมืองนักข่าว หรือ citizen reporter หรือ citizen journalism ขึ้นมา บางก็มีการบัญญัติศัพท์อีกด้านว่าลักษณะของบล็อกนี้น่าจะเป็น independent media หรือ independent journalism ที่มีความเป็นอิสระ มากกว่า ความเป็นพลเมือง ถึงกับมีการบอกแนวโน้มของบล็อกว่าจะเป็น นิวมีเดีย (New Media) หรือ สื่อรูปแบบใหม่ ภายใต้โครงสร้างของสื่อมวลชนยุคใหม่ ที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางธุรกิจ หรือการเมือง ซึ่งจริงแล้วหากทำได้ก็เป็นการดี เพราะต้องยอมรับว่าร่มใบใหญ่ที่บล็อกเกอร์พร้อมจะอยู่ใต้ร่มเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่หนักหน่วงในกระบวนการสร้างบล็อกเกอร์ พลเมืองนักข่าวได้นั้นย่อมยากลำบาก และใช้เวลา เนื่องจากวัฒนธรรมการรับรู้ การเสพย์ข้อมูลข่าวสารของไทยอยู่ภายใต้กระแสหลักมานาน ดังนั้นการที่จะปรับทัศนคติ หรือกรอบความคิดของพลเมืองวงกว้างให้เป็นนักข่าวได้นั้น ก็ต้องแยกให้ออกว่าบล็อกเกอร์พร้อมจะเป็นนักข่าวประเภทใด แต่หากเป็นนักข่าวที่ไม่แตกต่างกับกระแสหลักที่ยังไม่ทิ้งของข่าวประโลมโลกแล้ว ก็ไม่สามารถประกาศได้ว่ากระบวนการสร้างบล็อกคือการสร้างสื่อใหม่ขึ้นมาในเมืองไทยได้ ดังนั้นผมคิดว่าสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิด Impacts ของ Blog ในวิชาชีพสื่อสารมวลชนมาก ๆ คือการสร้างกระแสเนื้อหา Content และ social networking ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ผลการศึกษาก็พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยพบว่าต่ำสุด และมีการแบ่งปันความรู้ (content) โดยการสร้าง personnel blogs น้อยมาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยส่วนใหญ่ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านการตั้ง forum เป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เก่าในสมัยปัจจุบัน นอกจากนั้น หากจะสร้างให้บล็อกด้านสื่อสารมวลชนที่ทรงพลังจริง ๆ นอกจากการพัฒนาเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถผนึกเครือข่ายสังคมที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันแล้ว ผมคิดว่าการไปสู่วารสารศาสตร์แนวสืบสวนสอบสวน (Investigative Reporting) คือสิ่งจำเป็นที่พลเมืองนักข่าวต้องมีจมูกของนักข่าวที่ทราบว่าอะไรผิดปกติ ไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง และมีความกระหายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ความถูกต้องด้วยการเสาะแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปิดโปง ในแง่มุมต่าง ๆ ผมคิดว่ากระบวนการ บล็อกเกอร์ไรเซชั่น ของไทยต้องมุ่งไปสู่การแบ่งปันความรู้ให้มากที่สุดก่อน หลังจากนั้นคือการให้ความมั่นใจในกระบวนการนำเสนอแนวคิดที่อิสระ ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างเครือข่าย และวิชาชีพสื่อสารมวลชนแนวสืบสวนสอบสวนอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำคัญคือกระแสสื่อสารมวลชนสุดท้าย คือกระแสการทำบล็อกให้เป็นทางธุรกิจแบบหนัก ๆ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาเป็นกระแสกลบครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |