<< | กันยายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
โดย พ.อ.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เสด็จฯ ส่วนพระองค์เพื่อรักษาพระองค์ การตัดสินพระทัยว่าจะเสด็จฯ ลักษณะใด เป็นทางการ หรือส่วนพระองค์ อาจแสดงถึงพระราชประสงค์ของการเสด็จฯ เช่นกัน เนื่องจากรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ จึงโปรดให้การเสด็จฯ ครั้งนี้เป็นการส่วนพระองค์ หรือไม่เป็นทางการ ทรงกล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินพระทัยเช่นนี้ไว้ ๓ ประการ ดังนี้ ประการแรก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการเสด็จฯ ส่วนพระองค์ ไม่ต้องมีผู้ตามเสด็จจำนวนมาก จดหมายเหตุเกี่ยวกับการเสด็จฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ...แต่ครั้งนี้จะเสด็จไปเพื่อประโยชน์รักษาพระองค์เปนสำคัญ ถึงแม้ว่าจะเสด็จไปเยี่ยมเยือนยังราชสำนักในนานาประเทศที่จะเสด็จไปถึง ก็ได้ทรงคุ้นเคยอยู่แล้วโดยมาก ไม่จำจะต้องจัดการเสด็จเปนทางราชการอันต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเหมือนครั้งก่อน จึงโปรดฯ ให้จัดกระบวนเสด็จเปนอย่างไปรเวต มีราชบริพารโดยเสด็จแต่ที่จำเป็น จะทรงเรือพระที่นั่งมหาจักรีไปเพียงสิงคโปร์ แต่นั้นจะเสด็จโดยเรือเมล์ทั้งขาไปขากลับ... ประการที่ ๒ เพื่อจะได้ไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยเกินไป รัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่าการเสด็จฯ เป็นทางการเมื่อเสด็จฯ ยุโรปครั้งแรกทำให้พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯ ในลักษณะเช่นนั้นอีก เมื่อครั้งก่อนที่ไปได้เห็นแต่ราชสำนักแลเห็นจนเหนื่อยฟกซ้ำเหลือเกิน ครั้งนี้ถ้าจะไปอย่างแต่ก่อนแล้ว เห็นจะทนไม่ไหว ประการที่ ๓ เพื่อการเที่ยวต้น หรือเสด็จประพาสโดยอิสระ รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ว่า หลังจากทรงหายประชวรแล้ว พระองค์จะเสด็จประพาสทอดพระเนตรภูมิประเทศ วิถีชีวิตผู้คนและบ้านเมืองธรรมดาทั่วไป ไม่ใช่การเสด็จฯ ราชสำนักเช่นครั้งแรก "อยากจะใคร่เที่ยวให้เห็นภูมิประเทศ ประเพณีบ้านเมืองโดยสามัญ ให้หายกันกับที่ไม่ได้เห็นครั้งก่อน" ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ พระองค์ทรงเรียกการเสด็จฯ เช่นนี้ว่าเที่ยวต้นและเพื่อให้ทรงเที่ยวต้นได้อย่างสะดวกสบาย รัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงนำรถยนต์พระที่นั่งจากเมืองไทยลงเรือไปด้วยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จยุโรปล่วงหน้าเพื่อทรงเตรียมการรับเสด็จ โดยสรุป ด้วยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์แท้จริงเพื่อรักษาพระองค์ให้หายขาดจากพระอาการประชวรที่เรื้อรังมานาน จึงโปรดที่จะเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการประหยัด ไม่ต้องทรงเหน็ดเหนื่อยเกินไป และทำให้พระองค์ทรงมีเวลาที่จะเสด็จประพาสต้นเพื่อทอดพระเนตรวิถีชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีของชาวยุโรป การเตรียมการเสด็จฯ : ทรงมุ่งรักษาพระองค์ หลังจากรัชกาลที่ ๕ ตกลงพระทัยเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ที่ยุโรป พระองค์มีพระราชกระแสทันทีให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมการเสด็จฯ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ที่ประทับ เรือพระที่นั่ง แพทย์ในยุโรปซึ่งจะถวายการตรวจรักษา และการมีหนังสือราชการถึงประเทศที่จะเสด็จฯ ดังนี้ เมื่อตกลงพระทัยแล้วว่า จะเสด็จฯ ยุโรป รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการเตรียมจัดการเสด็จฯ และโปรดให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งจัดหาที่ประทับแรมที่เมืองซันเรโม ซึ่งเป็นที่หมายแรกที่จะประทับรักษาพระองค์ พระองค์ทรงเกรงว่า จะหาที่ประทับไม่ได้ เนื่องจากเวลาที่จะประทับนาน ๑ เดือนนั้น ตรงกับฤดูท่องเที่ยวในยุโรป กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีพระโทรเลขถึงหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากรทันที (๒๙ ตุลาคม) พระโทรเลขให้ข้อมูลชัดเจนว่า รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ยุโรป เพื่อรักษาพระองค์ และเป็นการส่วนพระองค์ (He wishes incognito to be strictly observed) หลีกเลี่ยงงานพิธีหรือการต้อนรับอย่างเป็นทางการให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตราบเท่าที่ไม่เป็นการเสียมารยาท ในเวลาใกล้เคียงกัน รัชกาลที่ ๕ มีพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ต่างหากถึงหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องเสด็จฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากเรื่องจัดหาที่ประทับที่เมืองซันเรโมแล้ว เรื่องสำคัญที่สุดคือ การจัดหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะถวายการตรวจพระวรกาย รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ติดต่อ ๔ แห่งด้วยกัน ผ่านทูตไทยในยุโรป และพระราชโอรส ได้แก่ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร (ทูตประจำฝรั่งเศส) พระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) (ทูตประจำอังกฤษ) หลวงพินิจวิรัชกิจ (อุปทูตทำการแทนทูตประจำกรุงเบอร์ลิน) พระองค์มีพระราชกระแสให้หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากรทรงจัดหาแพทย์พิเศษสองหรือสามคนเพื่อถวายการตรวจพระวรกายโดยเร็วที่สุดเมื่อพระองค์เสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโม "จะต้องการหมอที่เปนเอกสเปิตสำหรับรักษาโรคเช่นนี้มาตรวจดูตั้งแต่ต้นมือไป" พระองค์ทรงส่งคำวินิจฉัยของแพทย์ไปพระราชทานด้วย แต่ทรงขอไม่ให้เปิดเผยพระอาการให้สาธารณชนทราบ "แต่ขออย่าให้อาการนี้เปนการเปิดเผยโด่งดังไปให้เปนที่เล่าฦๅตื่นเต้นกันไป" นอกจากนั้น ยังมีพระราชกระแสให้หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากรจัดหาแพทย์ประจำพระองค์ตลอดการเสด็จประพาสยุโรป และสำหรับตามเสด็จกลับกรุงเทพฯ ส่วนพระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ พระราชโอรสซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่เมืองไฮเดลแบร์ก (Heidelberg) ประเทศเยอรมนี โปรดให้ทรงติดต่อนายแพทย์ที่เมืองไฮเดลแบร์ก ตามที่นายแพทย์โบห์แมร์กราบบังคมทูลแนะนำ ดังที่ทรงเล่าไว้ว่า รังสิตได้เคยพูดถึงเรื่องหมอว่าจะสืบหาไว้ก่อนแล้ว จึงได้จดหมายตามรอยไป และ รังสิตได้สืบหาหมออยู่แล้ว เมื่อกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จยุโรปล่วงหน้าเพื่อเตรียมการรับเสด็จ รัชกาลที่ ๕ ก็โปรดให้ทรงร่วมเลือกแพทย์ทั้ง ๓ ประเภทนั้นด้วย ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยืนยันว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ความสำคัญกับการรักษาพระองค์มาก มิฉะนั้นแล้ว คงไม่โปรดให้มีการเตรียมจัดหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้ถวายการตรวจพระวรกายทันที ณ ที่หมายแรกของการประทับในยุโรป ต่อมา ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ระหว่างทรงพระประชวรและประทับที่พระราชวังบางปะอิน รัชกาลที่ ๕ ทรงมีหมายกำหนดการเสด็จฯ คร่าว ๆ เริ่มตั้งแต่การเสด็จฯ ออกจากสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม และเสด็จฯ ถึงอียิปต์เมื่อเสด็จฯ ออกจากยุโรปแล้ว สำหรับประเทศในยุโรปที่จะเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ ได้แก่ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี เดนมาร์ก นอร์เวย์ แล้วเสด็จฯ กลับลงมาทางเยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี เพื่อเสด็จฯ ลงเรือที่เมืองเนเปิลส์ ตามหมายกำหนดการนี้ยืนยันว่า ที่หมายแรกที่จะประทับในยุโรป คือ เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี ไม่ใช่เยอรมนีเช่นที่เคยเข้าใจ หลังจากมีหมายกำหนดการแล้ว กระทรวงการต่างประเทศไทยแจ้งทางวาจาให้ทูตและอุปทูตประเทศที่จะเสด็จฯ ให้ทราบถึงการตกลงพระทัยเสด็จฯ ยุโรปว่า "เพื่อรักษาพระโรคอย่างเดียว แลเปนการที่จะเสด็จพระราชดำเนินไม่ให้ปรากฏพระราชอิศริยศอย่างแต่ก่อน คือ ที่เรียกว่า สตริกต์ลี อินคอกนิโต เพื่อจะหลีกเสียซึ่งการรับรองทางราชการตามที่จะหลีกเลี่ยงได้" นอกจากนั้น กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงแจ้งให้ทูตอังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นทราบด้วยว่า การเสด็จฯ ครั้งนี้ รัชกาลที่ ๕ ...หวังว่าจะหาความสุขอย่างเดียวเท่านั้น หมอว่าแห่งใดดีก็จะประทับแลประพาศที่นั่น... ข้อความนี้ยืนยันว่า เมื่อทรงเตรียมการเสด็จฯ ยุโรปตั้งแต่ต้นนั้น นอกจากเมืองซันเรโม ซึ่งเป็นที่หมายแรกของการประทับรักษาพระองค์แล้ว รัชกาลที่ ๕ ไม่มีหมายกำหนดการตายตัวว่าจะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ที่ใด (รวมทั้งเยอรมนีด้วย) การจะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ที่ไหนขึ้นอยู่กับคำกราบบังคมทูลของแพทย์ในยุโรปที่จะถวายการตรวจต่อไป ต่อมาในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน กระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือถึงทูตไทยในยุโรปให้แจ้งข่าวการเสด็จฯ ทางวาจาแก่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปฯ เช่น อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส หนังสือที่มีถึงสถานทูตไทยในยุโรปกล่าวทำนองเดียวกันว่า มีพระอาการไข้อยู่เสมอ แพทย์เห็นว่าพระอาการไข้มีสาเหตุมาจาก "อากาศไม่ดีอยู่ช้านาน ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า ครอนิคมลาเรีย" พระโรคจะหายก็ต้องเสด็จฯ ไปประทับในประเทศที่มีอากาศแห้ง "แลอยู่ในท่ามกลางระหว่างประเทศร้อนและเย็นที่สุดนั้นหลาย ๆ เดือน" |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |