<< | มิถุนายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
พระที่นั่งอัมพรสถาน ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงรับราชสมบัติในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 นั้น พระองค์ได้ย้ายพระราชฐานจากวังศุโขทัย วังส่วนพระองค์ที่ริมคลองสามเสน ไปประทับที่พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังเป็นปฐม ครั้นเมื่อได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 แล้ว หลายเดือน จึงได้ทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ศกนั้น ที่ห้องอาวุธ พระที่นั่งอัมพรสถาน มีพิธีสงฆ์แล้ว “เวลา 6 นาฬิกา 51 นาที 51 วินาที หลังเที่ยง เป็นประถมฤกษ์ เสด็จขึ้นเถลิงพระแท่นบรรทมเป็นพระฤกษ์พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี” จากนั้นเวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียร ต่อมาประทับโต๊ะเสวยพร้อมด้วยเจ้านาย ฝ่ายหน้า สมเด็จฯเสวยพร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายใน และในเวลากลางคืนมีการฉายภาพยนตร์ ห้องพระบรรทมนั้น อยู่ที่ชั้นสองของพระที่นั่งอัมพรสถาน โดยมิได้ทรงใช้ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระปิยมหาราชที่ชั้นสาม แม้ว่าพระที่นั่งอัมพรสถานจะเป็นที่ซึ่งทรงใช้เป็นสถานที่หลักในการทรงงานราชการแผ่นดิน เมื่อประทับอยู่ในพระนคร ก็ตาม แต่ก็ปรากฎว่าบ่อยครั้ง พระองค์และสมเด็จฯได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่วังศุโขทัย ซึ่งทรงถือเป็น “บ้าน” ส่วนพระองค์ เป็นระยะ ๆ บางครั้งเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือไม่ก็เสด็จฯ ไปทรงเทนนิสที่นั่นเป็นบางวัน พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อเสด็จฯ กลับมาจากวังไกลกังวล หัวหิน ได้เสด็จฯ เข้าประทับที่วังศุโขทัย และ 2 เดือนหลังจากนั้นทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมไว้ในพระราชวังดุสิตแล้ว) โดยมิได้เสด็จฯ กลับไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานอีกเลย เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการที่พระราชสถานะได้เปลี่ยนแปลงไป ต่อมาเมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 (นับศักราชตามเดิม) ได้เสด็จประพาสยุโรปและแล้วทรงสละราชสมบัติขณะที่ประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชกรณียกิจสำคัญๆ ที่พระที่นั่งอัมพรสถานฯ อนันต์ฯและอภิเษกดุสิต หากศึกษาพระราชกิจรายวันฯ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลง ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทรงเป็นประธานในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา แทบทุกสัปดาห์ ในขณะที่เสด็จฯ ไปที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ประทับเป็นประธานในการประชุมเสนาบดีสภา แทบทุกสัปดาห์เช่นเดียวกัน อีกทั้งเสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าฯ ที่พระที่นั่งอนันต์ฯ บ่อยครั้งด้วย แสดงว่าเหล่านั้นเป็นพระราชกรณียกิจที่ต้องทรงปฏิบัติและได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำ ในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” จึงไม่เป็นความจริงดังที่ นักวิชาการชาวต่างประเทศคนหนึ่งเขียนไว้ว่า พระที่นั่งอนันต์ฯ แทบไม่ได้ใช้เป็นท้องพระโรง นอกจากนั้น พระที่นั่งอนันตสมาคมยังเป็นที่ซึ่งเสด็จออกให้ทูตจากต่างประเทศเข้าเฝ้าฯ อย่างเป็นที่การเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสาส์นตราตั้ง โดยที่สมเด็จพระบรมราชินีมิได้เสด็จออกด้วย แต่ทูตจะเข้าเฝ้าฯ สมเด็จฯ เป็นการเฉพาะพระองค์ในวันเดียวกันหลังจากนั้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน โดยภริยาทูตเฝ้าฯ สมเด็จฯในวันอีกหนึ่ง บ่อยครั้ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดเกล้าให้เสนาบดีเข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานกิจการของแต่ละกระทรวงเป็นองค์ ๆ คน ๆไปที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
สำหรับในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในช่วงวันที่ 8 พฤศจิกายนของทุกปีนั้น นอกจากพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวังแล้ว ในตอนค่ำวันที่ 9 เสด็จออกที่พระที่นั่งอัมพรฯ ในการเลี้ยงพระกระยาหารแก่เจ้านายฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศจัดเลี้ยงคณะทูตที่พระราชวังสราญรมย์ ที่ทำการของกระทรวงแล้วเสด็จออกที่ พระที่นั่งอนันต์โดยมีเจ้านายชั้นบรมวงศ์ตามเสด็จ “มีพระราชปฏิสันถารแก่ ทูตานุทูตและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตามสมควรแล้ว พระราชทานงานเลี้ยงของบรรดาผู้ที่มาสโมสรสันนิบาต มีการโห่ถวายไชยแล้วเป็นเสร็จการ” (ตัวสะกดตามต้นฉบับ) นับว่าแตกต่างไปจากในปัจจุบันที่งานสโมสรสันนิบาตรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล ส่วนในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในช่วงวันที่ 20 ธันวาคมของทุกปีนั้น จัดที่พระที่นั่งอัมพรสถานโดยมีงานช่วงเย็นวันที่ 20 เป็นพิธีสงฆ์ที่ห้องประชุมและในเวลากลางคืนมีภาพยนตร์ฉาย วันรุ่งขึ้น ณ ที่เดียวกันเวลาประมาณ 11.00 น. มีพิธีสงฆ์ ทรงบาตร พระราชทานฉัน สังเวยเทวดาและทรงประเคนเครื่องไทยธรรม ที่น่าสนใจคือ สมเด็จฯ “เสด็จเข้าสู่ที่สรงสนานในพระที่นั่งข้างใน” ตอนบ่ายมีงานสโมสรสันนิบาตที่สนามสวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง และตอนค่ำเสด็จออกที่ท้องพระโรงหลัง พระที่นั่งอัมพรสถาน ทอดพระเนตรละคร การจัดงานเฉลิมฯ สมเด็จฯ จึงนับว่าเป็นการภายในกว่าของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ นักษัตร เมื่อ พ.ศ. 2472 นั้น จัดเป็นงานใหญ่ระหว่างวันที่ 6 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน โดยนอกเหนือจากพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวังแล้ว ได้เสด็จออกพระที่นั่งอัมพรฯ ให้ข้าราชการกรมราชเลขาฯ เข้าเฝ้าถวายของที่ระลึกในวันที่ 9 ก่อนเสด็จฯ ยังพระราชอุทยานสราญรมย์ (ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งพระราชวังดุสิต) ให้ลูกเสือและนักเรียนชายหญิงอุปชาติ (ผู้ที่เกิดในปีนักษัตรเดียวกันแต่ต่างรอบกับพระองค์) ปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 รวม 3,518 คน เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยและรับพระราชทานพระบรมราโชวาทและเสมา แสดงถึงพระราชหฤทัยเมตตาแผ่ไพศาลแก่เด็กและเยาวชนอันเป็นพระอุปนิสัยประจำพระองค์ พระบรมราโชวาทเนื้อหาว่าด้วย ลักษณะเฉพาะเอาอย่าง มีความบางตอนว่า “...เราจะเรียนแต่เอาอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเรียนคิดเองด้วยจึงจะเจริญแท้...ไม่ใช่แต่เรียนจำตามที่สอนเท่านั้น ต้องฝึกใช้ความคิด ไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย...การที่จะเจริญเท่าเขาได้จริง เราต้องเก่งเท่าเขา ต้องคิดอะไรให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์โลกได้ด้วยอย่างเขา... ” ครั้นวันรุ่งขึ้น ตอนค่ำ เสด็จออกพระที่นั่งอัมพรฯ พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารแก่เจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายใน ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศเลี้ยงทูตานุทูต ณ วังสราญรมย์ แล้วเฝ้าฯ ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันต์ฯ และเสด็จออกท้องพระโรงหน้างานพระที่นั่งอัมพรฯ ในอุทยานสโมสรเจ้านายข้าทูลละอองธุลีพระบาท ราชสกุล ราชินิกุล ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน อุปชาติปีมะเส็งเฝ้าฯ อีกทั้งในวันที่ 12 เสด็จออกพระที่นั่งอนันต์ฯ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท สหชาติปีมะเส็ง พ.ศ. 2436 (ปีนักษัตรรอบเดียวกันกับพระองค์) ทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายใน 496 คนเฝ้าฯ พระราชทานแหนบลูกศรกับซองบุหรี่มีรูปงูลงยาสีเขียวอย่างทั่วถึง วังสราญรมย์ ในช่วงขึ้นปีใหม่ตามคติเดิม คือ วันที่ 1 เมษายน จะเสด็จออกที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชทานนำพระมหาสังข์และทรงเจิมเจ้านายฝ่ายใน ฝ่ายหน้าเป็นสิริมงคลเป็นประจำ นอกจากพระที่นั่งอัมพรฯ และพระที่นั่งอนันต์ฯ แล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบางประเภทที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ที่เป็นประจำคือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชทานน้ำมหาสังข์และทรงเจิมพระยาแรกนาที่นั่น แต่การจรดพระนังคัลกระทำที่ทุ่งพญาไทตามที่เป็นมาแต่เดิม ในงานที่มีเพียงครั้งเดียวในรัชกาล คือ งานพระราชพิธีสมโภชช้างสำคัญ คือ พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ พระที่นั่งนี้ก็ได้รับการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญ คือ เป็นที่ออกพระราชบัลลังก์ที่มุขหน้า มีมหรสพตอนกลางคืนของวันที่ 15 และ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ส่วนพิธีพระและพราหมณ์ ในการสมโภชนั้น กระทำที่หน้าโรงช้างต้น นอกจากนั้น พระที่นั่งอภิเษกฯ ยังใช้เป็นประกอบพระราชพิธีหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาด้วย ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าทรงเลือกที่จะใช้พระที่นั่งทั้งสามซึ่งสร้างไว้แต่สมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 และตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กัน ตามความเหมาะสมแก่โอกาส สถานะของบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ และกิจกรรม มิได้ทรงทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์แต่อย่างใด การเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีสาบานต่อธงชัยเฉลิมพลและสวนสนามของทหาร ณ พระลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) เป็นพระราชกรณียกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทรงประกอบเป็นประจำทุกปี ในเดือนตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงม้าพระที่นั่ง ส่วนสมเด็จฯ ประทับรถม้าพระที่นั่งตามเสด็จท้ายขบวน เสร็จพิธีแล้วทั้งสองพระองค์ประทับรถม้าพระที่นั่งเสด็จฯ กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน อีกงานหนึ่งซึ่งประทับรถม้าในขบวนซึ่งมีนายทหารเชิญธงกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ขึ้นม้านำ คือ การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน เช่น ที่วัดเบญจมบพิตรฯ วัดประจำพระราชวังดุสิตฯ เป็นต้น ส่วนในวันสวรรคตของสมเด็จพระปิยมหาราชนั้น เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ประทับที่พระลานฯ ทรงวางพวงมาลา แล้วเสด็จทรงประกอบพิธีสงฆ์ที่พระที่นั่งอนันต์ฯ โดยที่น่าสนใจ โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าที่ยังเยาว์ทอดผ้ารายร้อย พระสงฆ์ 200 รูปด้วย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |