<< | มิถุนายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร การตากอากาศชายทะเลเป็นรสนิยมของชนชั้นสูงที่แพร่เข้ามาพร้อมกับชาวตะวันตก ผ่านความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่และการคมนาคมทางรถไฟ การเริ่มต้นไปตากอากาศชายทะเลในสยามเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จากการเรียกร้องของชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ที่ต้องการสถานที่พักผ่อนชายทะเล เพื่ออากาศบริสุทธิ์และการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับการขอให้ทางการตัดถนนเพื่อขี่ม้าออกกำลังกายและการขอเช่าที่ดินแถบทุ่งพญาไทเพื่อการสร้างสนามม้า การขยายตัวออกไปด้วยเส้นทางคมนาคมทางรถไฟสายใต้ที่สร้างเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสถานพักตากอากาศที่ชื่อว่า “หัวหิน” ทางรถไฟสายใต้เปิดเดินทางจากสถานีบ้านชะอำ-หัวหิน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๔ ก่อนหน้านั้นได้เปิดเดินรถไฟจากสถานีธนบุรี-เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๖ และจากสถานีเพชรบุรี-บ้านชะอำ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔ (สงวน อั้นคง ๒๕๑๔.: ๔๐๑) การขยายเส้นทางรถไฟถึงหัวหินทำให้ชนชั้นสูงไม่ต้องนั่งเรือออกอ่าวไทยไปเกาะสีชังให้ลำบากเช่นสมัยก่อน การโดยสารรถไฟมาหัวหินมีความสะดวกมากกว่า สามารถขนข้าทาสบริวารเดินทางมาด้วยกันทั้งขบวน ลักษณะภูมิประเทศอันงดงามของชายหาดบริเวณนี้เป็นเหตุจูงใจให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง คหบดีจากกรุงเทพฯ เริ่มมาสร้างบ้านพักชายทะเล พระราชวังของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และวังไกลกังวล ส่วนบรรดาเจ้านายและข้าราชการชั้นสูงก็นิยมสร้างบ้านพักในบริเวณนี้เช่นกันความเหมาะสมของการเป็น “สถานที่ตากอากาศ” ของหัวหินปรากฏอยู่ในพระวินิจฉัยของพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในหนังสือพิมพ์ “พิมพ์ไทย” ว่า “อากาศในตำบลนี้แห้งมากและเย็นสบายผิดกว่าที่อื่น ไม่มีที่ใดในพระราชอาณาเขตร์ที่มีอากาศแห้งและความร้อนหนาวของอากาศจะเป็นปรกติ ไม่ผันแปรเท่าที่ตำบลนี้ เป็นที่สำหรับคนป่วยไปพักรักษาตัวแลคนธรรมดาไปพักตากอากาศ...” ( กรรณิการ์ ตันประเสริฐ :๒๕๔๖: ๓-๔) นับตั้งแต่นั้นมาหัวหินก็เติบโตเป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ปัจจุบันก็ยังมีการจัดเทศกาลเพลงแจ๊ส (Jazz Festival) ตามพระราชนิยมและมีการถือครองที่ดินของคนต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นหญิงไทย และมีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพำนักแบบ (Long Stay : การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว) ในอัตราที่สูง ซึ่งมองจากภายนอกหัวหินเป็นเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ทางการท่องเที่ยว วิวัฒนาการเชิงภูมิศาสตร์สังคมพื้นที่หัวเมืองชายทะเลแถบเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หลักฐานพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาระบุถึงการเสด็จฯประพาสชลมารคมาตามหัวเมืองดังกล่าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถไปถึงเขาสามร้อยยอด และขากลับยังได้เสด็จฯ ประทับแรมที่บ้านโตนดหลวง ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เสด็จฯประพาสทางเรือไปยังเพชรบุรีและประชวรระหว่างทาง แต่เมื่อเสด็จฯ ถึงชายหาดแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี พระอาการประชวรก็หายไป จึงพระราชทานนามให้แก่ชายหาดแห่งนั้นว่า หาดเจ้าสำราญ (กรมศิลปากร : ๒๕๓๔ : ๑๗๖) วิวัฒนาการเชิงภูมิศาสตร์สังคมของเมืองหัวหินแบ่งออกเป็น ๔ ยุค ดังนี้ ยุคที่ ๑ ชุมชนเกษตรกรรมพื้นบ้านและหมู่บ้านชายประมงชายฝั่ง อรุณ กระแสสินธุ์ เล่าถึงการสร้างบ้านเรือนของราษฎรกลุ่มแรกในหัวหินว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยถือเอา พ.ศ. ๒๓๕๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จฯ ยาตราทัพมาทางปักษ์ใต้จากเมืองเพชรบุรีผ่านตำบลชะอำ และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กผู้โดยเสด็จฯ บันทึกเป็นโคลงนิราศอ้างถึงชุมชนชาวชะอำและชุมชนชาวทับใต้ (เทศบาลเมืองหัวหิน : ๒๕๔๙: ๔) ไม่ปรากฏชื่อหมู่บ้านบางควาย ตำบลห้วยทราย ตำบลบ่อฝ้าย หรือตำบลหนองแกเพราะตำบลทับไต้อยู่ห่างจากตำบลหัวหินไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๒๐ เส้นหรือประมาณ ๙.๖ กิโลเมตร (เทศบาลเมืองหัวหิน : ๒๕๔๙ : ๕) โคลงนิราศนรินทร์ ชี้ให้เห็นว่าใน พ.ศ. ๒๓๕๒ ตำบลหัวหินอาจจะยังไม่ตั้งขึ้นเพราะสภาพภูมิประเทศยังเป็นป่าทึบ แต่อาจมีชาวบ้านตำบลหนองแกหรือตำบลชระอำมาทำไร่แตงโมบ้างเป็นกลุ่ม ๆ ชุมชนใกล้เคียงที่สุดอยู่ห่างไปทางทิศใต้ คือ หมู่บ้านชาวประมง “เขาตะเกียบ” ห่างจากหัวหินราว ๗ กิโลเมตร ส่วนทางเหนือก็มีชุมชนบ้านบ่อฝ้ายตั้งอยู่ ต่อมาก็มีราษฎรจากบ้านบางจานและบ้านบางแก้ว จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งประสบกับปัญหาการทำมาหากินชักชวนกันมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่รกร้างที่ตำบลหัวหินเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) พบว่า ในเขตพื้นที่เมืองเพชรบุรีมีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่น คือ มีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม จึงสันนิษฐานว่าแต่เดิมหัวหินอาจมีชื่อเรียกกันว่า “บ้านสมอเรียง” “บ้านหินเรียง” “บ้านหัวกรวด” และ “แหลมหิน” เป็นต้น คำว่า “สมอ” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก “ถมอ” ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า “หิน” คนรุ่นใหม่อาจตั้งข้อสงสัยว่า ภาษาเขมรเข้ามาเกี่ยวกับภูมิภาคชายฝั่งตะวันตกได้อย่างไร จึงขออธิบายโดยสังเขปว่า นับแต่สังคมไทยรับเอาภาษาขอม-เขมรมาใช้ตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะในคัมภีร์ใบลานก็มีการจารึกเนื้อหาของพระไตรปิฏกเอาไว้ ทำให้ผู้ที่จะสอบเปรียญต้องศึกษาอักษรขอม-เขมรให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งจึงจะสามารถสอบคัมภีร์ใบลานผ่านได้ วัฒนธรรมดังกล่าวเลิกไปหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่นานนัก กระนั้นก็ตามรีสอร์ทบางแห่งของทายาทชนชั้นสูงยังได้พลิกแพลงย้อนกลับไปนำภาษาเขมรโบราณมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์เนมใหม่ว่า “กบาลถมอ” ซึ่งแปลว่า “หัวหิน” นายทักษ์ เตชะปัญญา อดีตประธานสภาเทศบาลตำบลหัวหินให้สัมภาษณ์แก่แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ว่า “...สมัยกรมพระนเรศวรฤทธิ์ท่านเสด็จมาประทับเป็นประจำเสมือนหนึ่งเป็นชาวหัวหินก็บอกว่า ชื่อแหลมหินมันเชยเปลี่ยนเสียใหม่ว่า หัวหิน....” (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ :๒๕๔๖ :๔๗) ยุคที่ ๒. ยุคแห่งการสำราญพระอิริยาบถ (พ.ศ. ๒๔๕๒ -๒๔๗๕) สรศัลย์ แพ่งสภากล่าวในหนังสือ ราตรีประดับดาวที่หัวหิน ว่าปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องกับสมัยรัชกาลที่ ๖ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๖๐) นายช่างชาวอังกฤษ ชื่อ มิสเตอร์ เฮนรี กิตตินส์ (Henry Gittins) เจ้ากรมรถไฟหลวงสายใต้ (สรศัลย์ แพ่งสภา: ๒๕๓๙ : ๒๗) สำรวจเส้นทางจากเพชรบุรีมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทยผ่านภูมิประเทศแห้งแล้งกันดาร จนพบพื้นที่อ่าวมีหาดทรายสีขาวเป็นแนวยาวจากกลุ่มแนวโขดหินใหญ่จรดเขาตะเกียบ จึงนำความกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินซึ่งดำรงพระยศเป็นที่ปรึกษากรมรถไฟหลวง เมื่อทางรถไฟสายใต้จากสถานีบางกอกน้อยถึงเขตบ้านสมอเรียงสร้างเสร็จแล้ว ทำให้การคมนาคมไปยังหัวหินสะดวกสบายขึ้น พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตลอดจนพ่อค้าและคหบดี จึงไปซื้อที่ดินบริเวณชายหาดบ้านสมอเรียงซึ่งมีทิวทัศน์งดงาม เพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศและเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า “หัวหิน” ตามชื่อหาดหน้าพระตำหนักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลกฤดากร) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างพระตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ติดกับโรงแรมรถไฟหัวหิน) และประทานชื่อว่า “ตำหนักแสนสำราญสุขเวศน์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงเคยมาประทับพักผ่อนตากอากาศด้วย ต่อมากรมพระนเรศวรฤทธิ์ทรงปลูกตำหนักอีกหลังหนึ่งแยกเป็น “แสนสำราญ” และ “สุขเวศน์” เพื่อไว้ใช้รับเสด็จฯเจ้านาย และทรงสร้างเรือนเล็กใต้ถุนสูงเพิ่มอีกหลายหลัง ชื่อว่า บานฤทัย ใจชื่น รื่นจิตต์ ปลิดกังวล ดลสุขเพลิน เจริญอาหาร สมานอารมณ์และรับลมทะเล (ม.ร.ว.รมณียฉัตร แก้วกิริยา:มปป:99) ต่อมาหมู่เรือเหล่านี้ได้พัฒนาเป็น “บังกะโลสุขเวศน์” หัวหินเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศริมทะเลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๓ ก่อนที่จะเริ่มมีการก่อสร้างสถานีรถไฟหัวหินและสร้างสนามกอล์ฟแห่งแรกของไทยขึ้นในสมัย รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓- ๒๔๖๘) โดยในครั้งนั้น รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมที่ค่ายหลวงบางทะลุ ปากคลองบางทะลุ ชายทะเลเมืองเพชรบุรี และพระราชทานนามว่า “ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ” ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นที่ชายหาดตำบลบางกรา (คือ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ) ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ทางรถไฟสายใต้เชื่อมเข้ากับเส้นทางรถไฟของรัฐมลายู และทรงมีพระราชประสงค์ให้หัวหินเป็นสถานตากอากาศทันสมัยที่สุดในการรับรองชาวต่างประเทศ โฮเต็ลรถไฟหัวหินแห่งสยามประเทศ (Hua Hin Hotel Siam) หรือ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโฮเต็ลรถไฟหัวหินแห่งสยามประเทศ (Hua Hin Hotel Siam) และสนามกอล์ฟหลวงหัวหินที่สวยงามและได้มาตรฐานที่สุดในภูมิภาคขึ้นโดยเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชทานชื่อสนามกอล์ฟแห่งนี้ว่า “เดอะ รอยัล หัวหิน กอล์ฟ คอร์ส (The Royal Hua Hin Golf Course-สนามกอล์ฟหลวง)” |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |