<< | มิถุนายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร ความเฟื่องฟูของหัวหินเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังไกลกังวลขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ วังไกลกังวล เป็นวังส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่ อยู่ห่างจากหาดหัวหินไปทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ พระตำหนักต่าง ๆ ในวังไกลกังวล ได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักปลุกเกษม ตำหนักเอิบเปรมและตำหนักเอมปรีดิ์ โดยมีวิศวกรชาวต่างประเทศเป็นผู้เดินทางไปควบคุมการก่อสร้างทุกเดือนโดยพักที่โรงแรมรถไฟดังปรากฏหลักฐานค่าใช้จ่ายประกอบด้วย “ค่าที่พัก ๔ บาท น้ำชาเช้า ๕๐ สตางค์ อาหารเช้า ๑ บาท ๗๕ สตางค์ อาหารกลางวัน ๒ บาท ๗๕ สตางค์ อาหารเย็น ๓ บาท” (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ : เรื่องเดิม : ๑๗ ) รัชกาลที่ ๗ ทรงเรียก วังไกลกังวล ว่า สวนไกลกังวล และไม่ปรากฏหลักฐานเรื่องการยกวังไกลกังวลเป็นพระราชวังในหนังสือราชกิจจานุเบกษา จึงเรียกวังแห่งนี้ว่าวังไกลกังวลมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี การขาดแคลนน้ำในหัวหินเป็นปัญหาสำคัญ โดยปกติน้ำดื่มน้ำใช้ในวังไกลกังวลนำมาจากจังหวัดเพชรบุรีหรือปราณบุรี ทำให้มีหลักฐานว่าค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ในการประทับแรมที่หัวหินสูงยิ่งกว่าค่าใช้จ่ายเรื่องไฟฟ้า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ : เรื่องเดิม: ๓๑) การสร้างวังไกลกังวลแม้จะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ชาวท้องถิ่นเป็นอันมาก แต่ก็อาจสร้างความไม่พอใจแก่คนบางกลุ่ม จึงมีผู้ร้ายชุกชุมรบกวนการก่อสร้าง แม้จะมีการจ้างแขกยามเฝ้าทรัพย์สินเป็นเงินเดือนละ ๓๕ บาท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เจ้านายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวหินขณะสร้างวังไกลกังวล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ต้นราชสกุลฉัตรชัย) สร้างตลาดฉัตร์ไชยบนที่ดินพระคลังข้างที่ โดยทรงออกแบบให้มีหลังคารูปโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน ๗ โค้ง หมายถึงสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๗ ทั้งตัวอาคารและแผงขายสินค้ามีลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวตลาดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก และถูกสุขลักษณะที่สุดในขณะนั้น ชื่อตลาดนำมาจากพระนามเดิมของพระองค์ การสร้างตลาดฉัตร์ไชยทำให้หัวหินเจริญเติบโตขึ้นเป็นสถานตากอากาศหรูหราและมีชื่อเสียงที่สุด แต่มีสิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งคือ ข้อมูลจากเชื้อพระวงศ์ท่านหนึ่งเล่าว่า กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินไม่ทรงมีที่ดินในหัวหินเลยแม้แต่น้อย สิ่งนี้อาจ สะท้อนให้เห็นว่าทรงปฎิบัติราชการด้วยหลักธรรมาภิบาลและไม่ทรงมีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานมายังหัวหินอยู่เนือง ๆ เอกสารทางการรัชกาลที่ ๗ ระบุว่า ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ชาวพระนครและชาวต่างชาติเดินทางไปเที่ยวหัวหินถึงราว ๑๐,๐๐๐ คน ปีถัดมา (พ.ศ. ๒๔๗๒ ) ชาวพระนครและชาวต่างชาติเดินทางไปเที่ยวหัวหินเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐,๐๐๐ คน (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ : เรื่องเดิม: ๕) ยุคที่ ๓ .จากยุคคณะราษฎรถึงยุคปริศนาพาฝัน (พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๑๐) หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ กระแสต่อต้านเจ้ารุนแรงมาก หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า “...หัวหินกลายเป็นที่ชุมนุมชนทุกชั้น มีตั้งแต่คณะรัฐมนตรีใหม่และพระยามโนฯ นายกรัฐมนตรี พระยาศรีวิศาลวาจาและนายประยูร ภมรมนตรี ออกไปอยู่ตามหัวเมือง พวกทหารโดยมากไม่มีงานทำ ในหลวงจึงทรงพระดำริจะจับจองที่ว่างทางหลังเขา แบ่งเป็นผืน ๆ ให้พวกเหล่านี้ปลูกปอ และจะทรงลงทุนทำโรงงานทำกระสอบข้าวเล็ก ๆ ขึ้นในแถวนั้น โปรดให้กรมพระกำแพงฯ ไปติดต่อกับทางบริษัทในเมือง Manila ยังไม่ทันเป็นผลสำเร็จในหลวงก็ถูกกล่าวหาว่าทำทางไว้จะหนีไปเมืองพม่า พวกผู้ดีสมัยใหม่ก็ enjoy ไปตากอากาศที่หัวหิน จนถึงมีรถไฟพิเศษลดราคาสำหรับให้คนไปเที่ยวแน่น ๆ ในวัน weekend และพวกเราที่ถูกเตะออกไปใหม่ ๆ ก็เป็นตัวแมลงสำหรับคนเหล่านี้ไปเดินผ่านดูด้วยความเยาะเย้ยต่าง ๆ บางคนก็ยังรู้จัก บางคนก็แกล้งไม่รู้จัก คำว่า “เสรีภาพ” “เสมอภาค” “ภราดรภาพ” เป็นสิ่งที่มึนเมาอย่างน่าสะพรึงกลัว ครั้งหนึ่งหม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นรถไฟนั่งมาทางกรุงเทพฯ มีชายคนหนึ่งเข้าไปนั่งข้าง ๆ แล้วเหยียดตีนไปที่หัวเข่าและหัวเราะพูดว่า “ไหนลองเหยียดตีนใส่เจ้าดูสักที” พี่ทองเติม (our cousin) ตอบว่า ‘ได้ แต่อย่าให้ถูกตัวฉันก็แล้วกัน ถ้าถูกจะตบหน้าให้ดูว่าเขาปราบกิริยาชั่วกันอย่างไร’ ชายผู้นั้นก็เลยทำหน้าแหย ๆ แล้วลุก ๆ ไป...” (ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล : ๒๕๔๖ : ๖๘-๖๙) หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุลเล่าว่า กระแสต่อต้านเจ้าทำให้หัวหินมีคนแปลกหน้าซึ่งตอนหลังทรงสืบได้ว่าเป็นพวกนักเรียนกฎหมายเดินเล่นทุกหนทุกแห่ง พลอยทำให้ราษฎรในหัวหินแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ “...พวกผู้ใหญ่ยังมาหาเจ้าและคอยบอกเหตุการณ์แต่พวกหนุ่ม ๆ เปลี่ยนกิริยาเป็นแบบเสรีภาพเที่ยวเดินตรวจดูทั้งทางหน้าบ้านหลังบ้านตามสบาย ถ้าเห็นพวกสาว ๆ ก็ทำท่าทางจะเกี้ยวไปทุกหนทุกแห่ง...” (ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล : เรื่องเดิม: ๗๕) หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุลบันทึกถึงพฤติกรรมจาบจ้วงของกลุ่มต่อต้านเจ้าว่า “เย็นวันหนึ่งในหลวงทรงพระดำเนินเล่นตามชายหาดทางโฮเต็ล ราษฎรหาบของกินขายจำได้ก็วางหาบลงนั่งถวายบังคม ในหลวงตรัสทักว่า ‘ขายอะไร?’ ยายคนนั้นดีใจพนมมือทูลตอบ พอเสด็จเลยไปนิดเดียวก็มีชายหนุ่ม ๒ คนแวะเข้าไปขู่ถามยายคนขายของนั้นว่า ‘หน้ายาวขึ้นไหมที่ในหลวงพูดด้วยน่ะ ?’ ยายคนนั้นตอบว่า ‘ธุระอะไรของมึง’ วันรุ่งขึ้นแกก็มาเล่าให้เราฟังว่า มันแต่งตัวกางเกงสั้นใส่เสื้อขาว มีผ้าเช็ดหน้าเหลืองโผล่ที่กระเป๋าเสื้อทั้ง ๒ คนและยังมีพวกใส่หมวก beret สีน้ำเงินอีกพวกหนึ่งที่รู้กันดีว่าเป็นพวกเกลียดเจ้า...” (ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล : เรื่องเดิม : ๗๕) หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๗) รัฐบาลพยายามปรับปรุงสังคมไทยให้มีวัฒนธรรมทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ เช่น มีการออกรัฐนิยม ซึ่งประกอบไปด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ทรงผม กิริยา มารยาทและอื่น ๆ ทำให้ผู้หญิงต้องแต่งกายด้วยกระโปรงกับเสื้อเข้าชุดกัน สวมหมวก เลิกนุ่งผ้าโจงกระเบนกับผ้าคาดอก ผู้ชายใส่เสื้อนอกเสื้อในครบชุด สวมหมวกและเปิดหมวกโค้งคำนับทักทายผู้ใหญ่เห็นชินตาที่โรงแรมรถไฟหัวหิน ผู้มีฐานะและคนชั้นสูงนิยมเดินทางไปพักผ่อนตามชายทะเล แม้แต่หม่อมเจ้าพจน์ปรีชา พระเอกในนิยายรักอมตะเรื่อง “ปริศนา” ของ ว.ณ. ประมวลมารค (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ก็ทรงมีตำหนัก “มโนรมณ์” ที่หัวหิน ครอบครัวของปริศนาไปพักบังกะโลของกรมรถไฟหลวง ความรักของ “ท่านชายพจน์กับปริศนา” ท่ามกลางฟองคลื่นและหาดทรายสีขาวละเอียดโดยมีเสียงเพลง “หัวหินสิ้นมนต์รัก” กังวานก้องห้องเต้นรำของโรงแรมรถไฟ (เพลง “หัวหินสิ้นมนต์รัก” แต่งโดยไสล ไกรเลิศ บันทึกเสียงครั้งแรกพ.ศ. ๒๕๐๔ ขับร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง) ว.ณ. ประมวลมารค หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต หญิงสาวที่ไปหัวหินมักนุ่งกางเกงขาสั้น ชุดว่ายน้ำ แต่งหน้า ทาปากและแก้มสีแดงชาด ทำผมหยิกเป็นลอน จนมีชายหนุ่มมาเกี้ยวพาราสีและตกหลุมรัก จึงมักได้ยินคำถามว่า สุภาพสตรีคนนั้นคนนี้เป็นลูกเต้าเหล่าใคร มีชาติตระกูลเป็นอย่างไรเพราะหนุ่มสาวที่จะไปเดินเล่นที่ชายหาดหัวหินได้ต้องว่าจัดเป็นคนมีชาติตระกูล โรงแรมรถไฟซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง คือ ค่าที่พักและค่าอาหารรวมวันละ ๓๐ บาท ขณะนั้นข้าราชการระดับเจ้าพระยามีเงินเดือน ๆ ละ ๒,๐๐๐ บาท ส่วนข้าราชการผู้น้อยมีเงินเดือนเพียงเดือน ๆ ละ ๕๐ บาท ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๔ -๒๔๘๘) หัวหินมีบรรยากาศซบเซาเป็นช่วงสั้น ๆ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเลย แต่เจ้านายและคหบดีซึ่งมีที่พักถาวรต่างพากันมาหลบพักที่หัวหินเป็นแรมปี หลังสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ไม่นาน หัวหินกลับได้รับความนิยมอีกครั้งเรียกว่า “ยุคคลั่งไคล้หัวหิน Hua Hin Fever” (ระหว่างพ.ศ.๒๔๙๐ –๒๔๙๒ ) ชาวกรุงเทพฯในวงสังคมทันสมัยต่างพากันไปพักที่บ้านตากอากาศของครอบครัวหรือที่โรงแรมรถไฟ ช่วงนี้เริ่มมีการสร้างโรงแรมและตึกแถวรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทำให้มีการสร้างโรงแรมหน้าตลาดฉัตร์ไชย เป็นต้น นิยายเรื่อง พล นิกร กิมหงวน ตอน มนต์รักที่หัวหินของ ป. อินทรปาลิต กล่าวถึงค่านิยมสมัยนั้นว่า "...ส่วนประเภทมีสตางค์หน่อย พอนึกจะไปตากอากาศ ก็เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเดินทาง แล้วขึ้นรถไฟตรงไปหัวหินทีเดียว ไปถึงที่นั่นหาโรงแรมถูก ๆ พักเล่นข้างแกงตามตลาด เดินย่ำต๊อกวางมาดชายทะเลทุกเช้าเย็น แต่งตัวให้ภูมิฐานหน่อย อยู่ที่หัวหินสักหนึ่งอาทิตย์พอผิวเนื้อถูกแดดดำคล้ำก็กลับกรุงเทพฯ พบหน้าใคร ๆ ก็คุยอวดว่า ไปตากอากาศที่หัวหินกลับมา โรงแรมรถไฟที่นั่นสบายมาก สนามกอล์ฟงดงาม อาหารแพงหน่อย เพื่อนฝูงไม่รู้ความจริงก็เลยนับถือ เรื่องมันเป็นอย่างนี้จริง ๆ ครับ ไม่ใช่ผมมดเท็จพูด ในวงสังคม ถ้าหากใครคนใดคนหนึ่งพูดว่า เขาไปหัวหินกลับมา ก็รู้สึกว่าเป็นของโก้เก๋เหลือเกิน.." พ.ศ.๒๔๙๓ ผู้ที่มีรถยนต์ก็สามารถไปเที่ยวหัวหินได้อย่างเป็นส่วนตัว ป. อินทรปาลิต ทางหลวงหมายเลข๔ ถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จแล้ว แต่รถยนต์ยังมีราคาแพงทำให้คนรวยยังเป็นผู้นำของการไปเที่ยวหัวหินและนำวัฒนธรรมการเดินเล่นยามเช้า (Morning walk) ไปด้วย (เดินจากประตูน้ำไปราชดำริและเพลินจิตเพื่อไปดื่มกาแฟ และรับประทานปาท่องโก๋ (หรือ อิ้วจาก้วย) โจ๊กไก่ หรือต้มเลือดหมู ) เนื่องจากมีการตัดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนวิทยุและถนนราชดำริ ดังนั้นทุกเช้าจะเห็นนักท่องเที่ยวตากอากาศเดินทักทายคนรู้จักตามชายหาด แล้วก็ไปหาโจ๊ก หรือกาแฟและไข่ลวกรับประทาน กลายเป็นกิจวัตรยอดนิยมที่ส่งผลให้ “ร้านกาแฟเจ๊กเปี๊ยะ” ขายดี (สุกัญญา ไชยภาษี : ๒๕๕๑ :๑๐) พาหนะที่ใช้ทั่วไปในหัวหิน คือ รถสามล้อถีบ ซึ่งก่อนหน้านั้นแม้แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จฯทรงตรวจงานการสร้าง “สวนไกลกังวล” ก็ยังทรงประทับอย่างผ่อนคลายพระอิริยาบถบนรถสามล้อแบบที่เรียกในปัจจุบันว่า “รถซาเล้ง” ยุคที่ ๔ พ.ศ.๒๕๑๐ -ปัจจุบัน ความซบเซาของหัวหินเกิดขึ้นหลังการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙ ) ทำให้มีการตัดถนนทั่วประเทศ นักท่องเที่ยวเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น ประกอบกับมีสถานที่พักตากอากาศแห่งใหม่เกิดขึ้น เช่น สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี และการสร้างถนนสุขุมวิทจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดตราด ผู้คนจึงเดินทางไปเที่ยวทางตะวันออกของอ่าวไทยกันมาก เป็นเหตุให้หัวหินเงียบเหงาลง โรงแรมรถไฟประสบภาวะขาดทุนต้องให้เอกชนเข้ามาบริหารกิจการ ทำให้สถานตากอากาศหัวหิน-ชะอำเสื่อมความนิยมลงไปกว่ายี่สิบปี จวบจนปัจจุบัน หัวหินกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งจากความโดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์และกลิ่นอายของอดีตที่ผสมผสานกับบรรยากาศการท่องเที่ยวสมัยใหม่ อาทิ การจัดเทศกาลแจ๊สเฟสติวัล (Jazz Festival) การสร้างร้านอาหารเพลินวานเพื่อเลียนแบบวิถีวัฒนธรรม |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |