รู้จักยา Ibuprofen รักษาไมเกรน ข้อมูลยา สรรพคุณ ผลข้างเคียงหนึ่งในยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบที่นิยมใช้กันและหาซื้อตามร้านขายยาได้ค่อนข้างง่ายคือยาไอบูโพรเฟน หรือ Ibuprofen นั่นเอง เพราะยาตัวนี้มีฤทธิ์ในการลดปวดและลดอักเสบที่มีสาเหตุมาจากโรคและอาการต่าง ๆ ได้หลากหลายและสามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่ายาแก้ปวดพาราเซตามอลอีกด้วย ถึงแม้ยาไอบูโพรเฟนจะสามารถหาซื้อได้ง่าย แต่ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตรายที่หากไม่ระมัดระวังในการใช้ก็อาจส่งผลเสีย เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นก่อนจะเลือกใช้ยาไอบูโพรเฟนควรจะรู้ถึงข้อมูลสำคัญของยา เพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัยมากที่สุด ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือที่หลายคนอาจเรียกติดปากด้วยชื่อยาทางการค้าว่า ยาบรูเฟ่น (Brufen) บรูเฟน 400, บูเฟล็กซ์ (Buflex), โคโปรเฟน (Coprofen), ดูแรน (Duran), โกเฟน 400 (Gofen 400), ไอบูเฟน (Ibufen), อัยบูแกน (Ibugan), ไอบูแมน (Ibuman), ไอโปรเฟน (Iprofen), จูนิเฟน (Junifen), นูโรเฟน (Nurofen) หรือรูโปรเฟน (Ruprofen) เป็นต้น Ibuprofen เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) มักถูกใช้เป็นยารักษาบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบด้วยสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะปวดหัว ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน ปวดข้อต่อ เป็นต้น ยาไอบูโพรเฟนเป็นยาที่สามาหาซื้อได้เอง ดังนั้นควรใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำข้างบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามข้อมูลก่อนการใช้ยากับแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันการใช้ยาในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอบูโพรเฟนโดยปกติแล้วการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเกิดจากการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส (Cyclooxygenase) ชนิด 1 (Cox-1) และชนิด 2 (Cox-2) ซึ่งเอนไซม์ 2 ตัวนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่เป็นตัวชักนำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายนั่นเอง ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส ไม่ให้ไปกระตุ้นการสร้างสารโพรสตาแกลดิน ดังนั้นเมื่อไม่มีตัวชักนำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น จึงทำให้อาการอักเสบที่มีอยู่ลดลงไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามไอบูโพรเฟนยังมีผลข้างเคียง เพราะตัวยาเดียวกันนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเมือกปกคลุมเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นและก่อให้เกิดอาการระคายเคืองจนกลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ สรรพคุณของยาไอบูโพรเฟนจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอบูโพรเฟนจะเห็นได้ว่ามีการออกฤทธิ์ที่ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แต่เป็นการออกฤทธิ์กับเอนไซม์ที่สามารถสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นจึงทำให้ยาไอบูโพรเฟนสามารถรักษาอาการปวดอักเสบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ทั้งหมด ได้แก่ 1. รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อต่อบริเวณรอยต่อระหว่างกระดูก ตัวยาไอบูโพรเฟนจะสามารถยับยั้งการสร้างสารที่ชักนำให้เกิดการอักเสบ จึงทำให้อาการปวดจากโรคข้ออักเสบบรรเทาลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการอักเสบของข้อจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ยาไอบูโพรเฟนจึงไม่สามารถแก้ปัญหาของโรคได้ ทำได้แต่เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น 2. รักษาโรคข้อกระดูกเสื่อมโรคข้อกระดูกเสื่อมเกิดจากการที่ผิวข้อต่อระหว่างกระดูกเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกเกิดการชนและเสียดสีกัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ยาไอบูโพรเฟนสามารถลดอาการอักเสบและอาการปวดข้อได้ แต่เช่นเดียวกับโรคข้ออักเสบ ที่เพียงการใช้ยาไอบูโพรเฟนไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ เพราะเมื่่อใดก็ตามที่ข้อต่อยังเสื่อมและทำให้กระดูกเกิดการเสียดสีก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดการอักเสบได้เรื่อย ๆ 3. บรรเทาอาการปวดเล็กน้อย - ปานกลางอาการปวดเล็กน้อย ปานกลางที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือเกิดจากการใช้งานสะสม หรือเกิดจากการอักเสบอื่น ๆ เช่น เส้นเอ็นอักเสบ ข้อต่อแพลงจากอุบัติเหตุ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลังจากการใช้งาน หรือการอักเสบจากการติดเชื้อเช่นปวดแผล ปวดฟัน เป็นต้น การใช้ยาไอบูโพรเฟนสามารถรักษาอาการปวดเหล่านี้ได้ 4. บรรเทาอาการปวดประจำเดือนการปวดประจำเดือนมาจากการที่กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการขดตัวเพื่อขับเลือดประจำเดือนออกมา ส่งผลให้เกิดอาการปวดขึ้น ยาไอบูโพรเฟนสามารถบรรเทาอาการปวดที่มาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้ 5. บรรเทาอาการไข้การเกิดไข้เป็นสัญญานเตือนของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายว่าภายในร่างกายอาจเกิดความผิดปกติขึ้นอย่างเช่นการติดเชื้อ การอักเสบ ดังนั้นการใช้ยาไอบูโพรเฟนที่สามารถลดอาการอักเสบ เมื่ออาการอักเสบดีขึ้นอาการไข้ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย 6. บรรเทาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลันอาการไมเกรนเฉียบพลันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ยาไอบูโพรเฟนสามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ในบางราย แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาไอบูโพรเฟนในการบรรเทาอาการปวดไม่เกรนอย่างไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างแผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่มาจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด รูปแบบของยาไอบูโพรเฟน1. ยา Ibuprofen แบบเม็ดและแคปซูลยา Ibuprofen ชนิดรับประทานมีทั้งรูปแบบเม็ดและแคปซูล โดยรูปแบบยาเม็ดที่เห็นได้ทั่วไปมักจะมีลักษณะกลมหรือรี มีสีชมพู ม่วง เทา และอื่น ๆ ขึ้นกับแต่ละยี่ห้อยา ยาแคปซูลก็จะมีการบรรจุผงยาไอบูโพรเฟนในแคปซูลพลาสติกที่สามารถย่อยได้ในกระเพาะอาหาร ถึงรูปแบบยาจะแตกต่างกันแต่ปริมาณยาและการออกฤทธิ์เหมือนกัน โดยขนาดยาไอบูโพรเฟนที่มีจำหน่ายมีหลายขนาดตั้งแต่ 200-800 มิลลิกรัม 2. ยา Ibuprofen แบบน้ำยาน้ำมักจะมีปริมาณตัวยาไอบูโพรเฟนที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณความเข้มข้นของยาน้อยกว่าชนิดเม็ดและแคปซูล จึงมักใช้รักษาในผู้ป่วยเด็ก โดยมักจะเป็นส่วนประกอบในยาแก้ไอ ยาแก้เจ็บคอ ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น 3. ยา Ibuprofen ชนิดทาภายนอกยาไอบูโพรเฟนชนิดทาภายนอกมีทั้งรูปแบบเจล ครีม สเปรย์ โดยมักจะเป็นตัวยาสำคัญในยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ วิธีใช้ยาไอบูโพรเฟนและปริมาณยาที่เหมาะสมการใช้ยาไอบูโพรเฟนที่ถูกต้องจะช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงโดยที่ลดผลข้างเคียงลงได้มากที่สุด
ปริมาณการใช้ยา Ibuprofen ที่เหมาะสม
อาการไข้ : 200-400 มิลลิกรัมทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 1200 มิลลิกรัมต่อวัน อาการปวดระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง : 200-400 มิลลิกรัมทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 1200 มิลลิกรัมต่อวัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม : 400-800 มิลลิกรัมต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้งและไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 3200 มิลลิกรัมต่อวัน อาการปวดประจำเดือน : 200-400 มิลลิกรัมทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 1200 มิลลิกรัมต่อวัน อาการไมเกรน : 200-400 มิลลิกรัมเมื่อมีอาการไมเกรน และไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ขนาดยาที่ใช้คือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนเกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน
ยาไอบูโพรเฟนชนิดทาภายนอกควรใช้ที่มีตัวยาความเข้มข้น 5-10% ทาบริเวณที่มีอาการปวด การใช้ยา Ibuprofen รักษาไมเกรนยาไอบูโพรเฟนสามารใช้รักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลันได้ แต่นอกจากยาไอบูโพรเฟนก็ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่ใช้รักษาไมเกรนได้เช่นกัน ดังนี้ กลุ่มยารักษาไมเกรนอื่นๆ
ทางเลือกอื่นในการรักษาไมเกรนสำหรับใครที่อาจลองหาวิธีรักษาไมเกรนนอกจากการใช้ยาไอบูโพรเฟนและยาอื่น ๆ ในหัวข้อนี้ได้รวมวิธีการรักษาไมเกรนที่ได้ผลค่อนข้างดี ไม่แก้กับการใช้ยารักษาไมเกรน แถมได้ผลระยะยาวอีกด้วย พักผ่อนให้เพียงพอการนอนหลับที่ไม่เพียงพอสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนกำเริบได้ ดังนั้นควรผักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 6-8 ชั่วโมง และระหว่างการนอนไม่ควรมีสิ่งรบกวนอื่น ๆ เช่นเสียง แสงไฟ อาจแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการปิดเสียงโทรศัพท์ที่อาจรบกวนเราระหว่างพักผ่อน และใส่ผ้าปิดตาป้องกันแสง เป็นต้น นวดกดจุดบรรเทาอาการไมเกรนการเกิดไมเกรน นอกจากปวดหัวแล้วยังทำให้กล้ามเนื้อตึงอีกด้วย ดังนั้นการนวดกดจุดจึงสามารถคลายกล้ามเนื้อที่ตึง และลดการปวดไมเกรนลงได้ ฉีดยาบรรเทาไมเกรนในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาที่สามารถไปยับยั้ง calcitonin gene-related peptide หรือ CGRP ซึ่งทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดไมเกรน เมื่อ CGRP ถูกยับยั้งจึงทำให้หลอดเลือดแดงไม่ขยายตัว จึงทำให้อาการปวดไมเกรนหายไป ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนทางเลือกสำหรับคนที่อยากรักษาไมเกรนโดยไม่ต้องกินยาแต่ได้ผลค่อนข้างดี คือการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน โดยโบท็อคจะเข้าไปยับยั้งปลายประสาทส่วนกลางที่เป็นตัวกลางส่งสัญญาณความเจ็บปวด เมื่อปลายประสาทส่วนกลางถูกยับยั้ง จึงทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณเจ็บปวดได้ ร่างกายจึงไม่รู้สึกปวดศีรษะไมเกรนนั่นเอง ข้อควรระวังในการใช้ยา Ibuprofenยาไอบูโพรเฟนมีข้อควรระวังในการใช้งาน ดังนี้
ใครที่ไม่ควรใช้ยา Ibuprofen
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Ibuprofenกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอบูโพรเฟนอาจไปขัดขวางหรือส่งเสริมการออกฤทธิ์ของยาตัวอื่น จนเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ สำหรับยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับไอบูโพรเฟน ได้แก่
ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากยา Ibuprofenยาไอบูโพรเฟนสามารถบรรเทาและรักษาอาการได้มากมาย แต่กลับมีผลข้างเคียงค่อนข้างมากโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทส่วนกลาง โดยอาการข้างเคียงที่สามารถเกิดได้ขณะใช้ยา
ยา Ibuprofen ราคาเท่าไหร่ราคายา Ibuprofen อาจมีราคาแตกต่างกันขึ้นกับยี่ห้อยาและสถานที่วางจำหน่ายยา แต่ทางองค์การอาหารและยาได้กำหนดราคากลางของยาไอบูโพรเฟนอยู่ที่ 0.6 บาทต่อเม็ดสำหรับยาเม็ด 0.8 บาทต่อเม็ดสำหรับยาแคปซูล และ 15 บาทต่อ 1 มิลลิลิตรสำหรับยาน้ำ สำหรับในร้านขายยาจะมีราคายาไอบูโพรเฟนเฉลี่ยอยู่ประมาณไม่เกินหลักร้อยต่อ 1 แผง
ข้อสรุปIbuprofen เป็นยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่สามารถใช้รักษาอาการปวด ลดไข้ ลดการอักเสบได้หลาย ๆ โรค และสามารถหาซื้อได้ง่ายจึงเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กรกฎาคม 2022 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |