ในปีที่ 81 ของประชาธิปไตยไทย มีหนังสารคดีการเมืองเข้าโรงฉายบ้านเราอยู่ 2 เรื่อง แม้จะเป็นหนังการเมืองเหมือนกัน เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างมาจากวิกฤตการเมืองไทยในรอบสิบปีเหมือนๆกัน แต่โดยรายละเอียดและการนำเสนอค่อนข้างจะต่างกัน เรื่องแรก "ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง" ผลงานของนนทวัฒน์ นำเบญจพล หนังไทยที่หวิดโดนแบน แต่ก็เหมือนแมวเก้าชีวิต กองเซ็นเซอร์กลับคำให้ผ่านซะงั้น หนังเรื่องนี้เลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านชนชั้นรากหญ้า ประชาชนในพื้นที่เขาพระวิหารที่รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล ขณะที่ "ประชาธิปไทย" ของ เป็นเอก รัตนเรือง กลับตั้งคำถามถึงความหมายและการเดินทางของประชาธิปไตยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จนถึงทุกวันนี้ และเลือกที่จะหาคำตอบจากนักแสดงที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นนำทางความความคิด ...หันมาอีกด้าน บนโลกที่ตรงกันข้ามกับการเมืองไทยสุดโต่ง โลกใบเล็กๆที่สร้างความยิ่งใหญ่ผ่านจินตนาการ "LEGO" ของเล่นตัวต่อพลาสติกสีสันสดใสยอดฮิต ก็มีอายุ 81 ปีแล้วเท่ากันพอดี๊ พอดี กับประชาธิปไตยไทย ทั้งเลโก้ และ ประชาธิปไตยไทย เกิดในปี 2475 เหมือนกัน ต่างกันที่ว่า คนทั้งโลกไม่เคยมีใครต้องตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบจริงจังว่า Lego คืออะไร? มีคุณูปการใหญ่หลวงของสังคมไทยอย่างไร? (บางคนอาจเถียงในลำคอเบาๆว่า แหม..ริอ่านเอาเลโก้ ของเล่นไปเทียบชั้นกับประชาธิปไตยเนี่ยนะ บ้ารึเปล่า?) เอาล่ะ บ้าไม่บ้าเดี๋ยวว่ากัน… ถ้าไม่มองว่าเรื่องประชาธิปไตย ว่าเป็นเรื่องใหญ่หรือเล็กกว่าLEGO ทั้งสองอย่างนี้ต่างมีคุณูปการและให้บทเรียนกับมนุษยชาติคนละรูปแบบ และต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งต่างกันไป อย่างน้อยที่สุด ประชาธิปไตยก็ปูทางไว้ให้ทุกคนได้จับต้องอย่างทั่วถึง ขณะที่ Lego ของเล่นสีสันแห่งยุคอุตสาหกรรม ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะ ถึงวันนี้ LEGO คือโมเดลของเล่นที่คนทั้งโลกยอมรับแล้วว่ามันมีส่วนช่วยเรื่องพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย สมอง และจิตใจจริงๆ ...สารภาพหน้าตาซื่อๆว่า มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา หาเช้ากินค่ำ ริจะฝึกจินตนาการให้ก้าวไกลก็ยังไม่มีปัญญา ใจรักแต่เงินไม่มีให้ ก็จำเป็นต้องพึ่งพา เลโกจีน (บริคจีน) ที่เลียนแบบ LEGO จริงอยู่หลายหน ชื่อ LEGO มาจากภาษาสวีดิชว่า leg godt แปลว่า Play well แปลว่า ‘เล่นให้สนุก’ และมีสโลแกนว่า “Only the best is good enough” “ต้องดีที่สุดเท่านั้น ถึงจะดีพอ” จะว่าไปเส้นทางของ LEGO ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่แพ้ประชาธิปไตยไทย... 81 ปีที่ LEGO ยังคงฝ่าความท้าทายสารพัดรูปแบบ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมการเล่นของเล่นในเด็ก การตลาดยุคใหม่ การเกิดขึ้นของยุคเกมส์คอมพิวเตอร์ Ole Kirk Christiansen ช่างไม้ชาวเมืองบิลลุนด์ (Billund) ประเทศเดนมาร์ก คือผู้ที่ผลิตของเล่นไม้ขึ้นมาจำหน่ายในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) หนึ่งในนั้นคือตัวต่อที่เรียกว่า “Automatic Binding Brick” จากนั้นก็เริ่มดีไซน์รูปแบบของเล่นให้หลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่การวางจำหน่ายของเล่นชุด "LEGO System of Play" ที่ผู้เล่นสามารถต่อตัวต่อได้ตามจินตนาการของตัวเองโดยไม่ต้องทำตามคู่มือ ตามมาด้วยการออกแบรนด์ The DUPLO® brick ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำหรับเด็กเล็กโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันเด็กกลืนกินตัวต่อ แม้ในปี 2540 ยุคของเกมส์คอมพิวเตอร์ LEGO ได้ออกเกมคอมพิวเตอร์ Panic on LEGO Island จนกระทั่งได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์จูนว่า LEGO นั้นเป็น "ของเล่นแห่งศตวรรษ" จากนั้นก็เริ่มทยอยจับมือกับค่ายหนัง โดยออก Licensed Theme ของ Star Wars เป็นครั้งแรก
น่าสนใจที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า การออกแบบของเล่นที่เกิดขึ้นของ LEGO ในยุคหลังอาจทำให้จินตนาการในโลกแห่งการเล่นของเด็กแยกแยะความดีความชั่วไม่ได้อีกแล้ว เพราะเด็กน้อยจะเห็นโลกที่พระเอกหรือฮีโร่ของเขามีความหวาดกลัว และผู้ร้ายมีรอยยิ้มแบบผู้ชนะ ซึ่งนั่นอาจเป็นปมซับซ้อนที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ยิ่งระยะหลัง LEGO ก็ได้เขยิบตัวเองเข้ามาแฝงตัวด้วยการแอบเข้ามาเดินอยู่ในโลกของมนุษย์จริงๆ ที่มีทั้งอารมณ์และความรู้สึกมากขึ้น ลองดูเรื่องราวของตัวต่อหลากสีสันอย่างเลโก้ ที่ถูกนำมาตีความเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ความรักผ่านบทเพลงดูละกัน เอากับเค้าสิ!! ... นักร้องนักแต่งเพลง ชาวอังกฤษ Ed Sheeran คือเจ้าของบทเพลง Lego House เทียบอารมณ์เปรียบเปรย บ้านตัวต่อเลโก้ กับการสร้างบ้านที่รื้อใหม่ได้ คล้ายจะเป็นตัวแทนบอกความรู้สึกของผู้ชายที่ทำให้ความสัมพันธ์ทุกอย่างกับผู้หญิงคนหนึ่งพังทลายแต่สุดท้ายก็อยากจะกลับมาแก้ไขในสิ่งที่พลาดไป
ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลง ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่า 81 ปีในโลกที่เต็มไปด้วยสีสันอย่างโลกของ LEGO กับ 81 ปีในโลกของความเป็นจริงกับประชาธิปไตยไทย โลกใบไหนจะปลอดภัยกว่ากัน จะเลือกอยู่แต่ในโลกจินตนาการ จับต้องไม่ได้แต่มีข้อดีที่ถ้าหากก้าวพลาด สามารถเริ่มนับหนึ่งใหม่ได้เสมอ กับโลกอีกใบ โลกแบบไทยๆที่ดูยิ่งใหญ่ แต่เปราะบางกว่าที่คิด เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ประชาธิปไตยไทยถูกพังทลายลงไปแล้วคงจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นใหม่ได้ไม่ง่ายเหมือน LEGO แน่!! |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เฉาก๊วย | ||
![]() |
||
ดำดี สีไม่ตก |
||
View All ![]() |
เกาะติดรัฐธรรมนูญ : มองสื่อไทยในรัฐธรรมนูญ 50 | ||
![]() |
||
มองสื่อไทยในรัฐธรรมนูญ 50 : มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล on air 18 - 4 - 50 |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |