นาฏศิลป์ไทยพื้นเมืองภาคใต้
ชุดตารีกีปัส
การแต่งกายมี 2 ลักษณะคือ
1. แบบแสดงคู่ชาย-หญิงจะนิยมแต่งตามลักษณะของชนชั้นสูงชาวไทย
มุสลิมเต็มยศประกอบด้วย
ผู้ชาย เสื้อตือโละบลางอ มีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมหรือคอตั้งแบบจีน
แขนกว้างยาวจรดข้อมือ ผ่าอกครึ่งติดกระดุม3 เม็ดติดกระเป๋าด้านซ้าย
สีเดียวกันกับกางเกงซึ่งมีลักษณะเป็นกางเกงขายาวคล้ายกางเกงจีน
ผ้านุ่งใช้ผ้ายกเงิน– ยกทองหรือผ้าซอแกะนุ่งทับ ทับกางเกงสั้น
เหนือเข่าเล็กน้อยจับเป็นดอกด้านหนึ่งหรือทำจีบทบกัน 5จีบ
เรียกว่า “ผ้าลิลิปังซาเลนดังหรือสลีแน”
เข็มขัดภาษามาลายูท้องถิ่นเรียกว่า “เป็นแนะ” มีความกว้าง
ประมาณ 5 นิ้วคาดทับบนผ้าซอแกะอีกทีหนึ่ง
หมวก(ซอแกะ) คือหมวกทำด้วยผ้าเนื้อดีสีดำลักษณะคล้าย
หมวกหนีบ. ไทยพุทธท้องถิ่นเรียกหมวกชนิดนี้ว่าหมวกแขก
หรือใช้ผ้าสอดดิ้นเงินทองเย็บเป็นลักษณะของหมวกเจ้าบ่าว
ไทยมุสลิมเรียกตามภาษามลายูกลางว่า“สตางัน” ภาษามลายูท้องถิ่น
เรียกว่า“สตาแง” เป็นผ้าโพกศีรษะที่พับเป็นรูปต่างๆ (เสื้อกางเกง
ผ้านุ่งทับกางเกงผ้าโพกศีรษะจะทำด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ปัจจุบัน
นิยมใช้ในงานวิวาห์ของไทยมุสลิมด้วยกัน)
ผู้หญิง เสื้อเรียกว่า “บานง” ภาษามลายูกลางเรียกว่า“บันดง”
เป็นเสื้อเข้ารูปแขนยาวเน้นรูปทรงคอวีผ่าอกหน้าตลอดมักจะติด
กระดุมทองเป็นระยะตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก ด้านหลังสั้นเฉียงมายาว
เป็นมุมด้านหน้าเสื้อบานง มักใช้ผ้าค่อนข้างบางอาจปักฉลุลวดลาย
ตรงชายเสื้ออย่างสวยงามและพับริมปกซ้อนไว้ตลอด ผ้าที่นิยมใช้
ตัดเสื้อกันมากคือผ้าลูกไม้ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าต่วนและ ผ้าชีฟอง ฯลฯ
ผ้านุ่งใช้ซอแกะหรือผ้าปาเต๊ะนุ่งสั้นแค่เข่าทำเป็นจีบทบกันที่สะโพก
ทางด้านขวาประมาณ 5 – 7 จีบตามแบบการนุ่งผ้าของรัฐยะโฮร์
ประเทศมาเลเซีย
ผมเกล้ามวยต่ำระดับท้ายทอยติดดอกไม่สีทองที่เรียกว่า
บุงอเจ๊ะงาโม๊ะ เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่าดอกซัมเบ็ง ปัจจุบันนิยม
เกล้าผมขึ้นติดดอกไม้ทองทางขวาปักเรียงเป็นแถวดูสวยงาม
เครื่องประดับมี 2 อย่าง คือสร้อยคอ ต่างหู
เอกลักษณ์ของการแต่งกายด้วยชุดนี้คือ การนุ่งผ้าของผู้ชายและ
ผู้หญิงจะทำจีบทบกันทางด้านขวาของสะโพก 5 – 7 จีบ ผู้ชายเน้น
ความแปลกและใหม่ ผู้หญิงเน้นให้ความสะดวกในการร่ายรำที่จะต้อง
ยักย้ายส่ายสะโพกให้เข้ากับจังหวะเพลงที่สนุกสนานและเร้าใจ
2. แต่งกายแบบหญิงล้วน
แต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็น
การแต่งกายของตารีกีปัส ชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย
(กีฬาแห่งชาติ) ครั้งที่ 14 ณ จังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2524
ประกอบด้วย
1. เสื้อในนางไม่มีแขนสีดำ
2. ผ้านุ่งเป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ (Song Ket) สอดดิ้น
เงิน– ทองประปรายแบบมาเลเซีย ตัดเย็บแบบหน้านาง หรือเลียนแบบ
จับจีบหางไหล
3. ผ้าสไบสำหรับคลุมไหล่จับจีบเป็นโบด้านหน้า
เครื่องประดับเข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู และดอกซัมเบ็ง
|
<< | มกราคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |