นาฏศิลป์ไทยพื้นเมืองภาคใต้
ชุดตารีกีปัส
โอกาสที่ใช้แสดง
ในสมัยโบราณใช้แสดงในงานต่างๆดังนี้
1. งานฉลองการครองรัฐของรายา งานนี้ถือเป็นงานใหญ่และสำคัญมาก
มีการแสดงหลายชุดด้วยกัน ผู้รำจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างดีเป็นการแสดง
ที่มุ่งลีลาท่ารำความสวยงามของเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ ฉะนั้นใน
การแสดง เครื่องแต่งกายจะต้องประณีตงดงาม. ลีลาท่าทางรำอ่อนช้อย
นุ่มนวล และผู้แสดงจะต้องเป็นนางสนมกำนัลในราชสำนักเท่านั้น
2. งานพิธีสำคัญ เช่น งานฉลองวันแต่งงานวันเข้าสุหนัต (วันสำคัญของ
ชาวมุสลิม) วันฮารีรายอ เป็นต้น วันเหล่านี้ประชาชนถือว่าเป็นวันสำคัญ
มีการจัดงานฉลองและจัดการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมืองหลายอย่างด้วยกัน
การแสดงจะใช้แสดงคู่ ชาย– หญิง เครื่องแต่งกายสีเดียวกันเป็นคู่ๆ
ลีลาท่ารำยังคงความอ่อนช้อย นุ่มนวล แต่เพิ่มความสนุกสนานเร้าใจ
ยิ่งขึ้นกว่างานฉลองการครองรัฐของรายา เนื่องจากเป็นงานที่แสดงบนเวที
ให้ประชาชนชมเสนาข้าราชการผู้ใหญ่ที่สำคัญของรัฐต่างๆ เป็นผู้จัดเท่านั้น
3. งานทั่วไปในหมู่บ้าน การแสดงของชาวบ้านนั้น การแต่งกายไม่พิถีพิถัน
คือใส่เสื้อที่ตนเห็นว่าสวยที่สุดที่ตนเองมีเป็นใช้ได้ มุ่งความสนุกสนาน
เพลิดเพลินเป็นเกณฑ์ จะแสดงทั้งชาย– หญิง และการแสดงที่ใช้หญิงล้วน
ส่วนสถานที่จะใช้ลานบ้าน หรือบนเวทีตามความเหมาะสม. ถ้าใช้ลานบ้าน
เป็นเวทีผู้ชมมีโอกาสได้ร่วมสนุกด้วย โดยการปรบมือให้จังหวะ การแสดง
ในโอกาสเช่นนี้ มุ่งที่ความสนุกสนานเป็นสำคัญ ไม่เน้นความสวยงามของ
ท่ารำมากนัก ปัจจุบัน “ตารีกีปัส” กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนไทย
อิสลามโดยทั่วไปในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และจังหวัดใกล้เคียง
ใช้แสดงในโอกาสต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ในงานแต่ง งานงานฮารีรายอ
งานมาโซะยาวี(พิธีเข้าสุหนัต) และงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น เนื่องจาก
ในสมัยโบราณเมืองยะหริ่งนับเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของรัฐปัตตานี หรือ
เมืองตานีอันมีชื่อเสียง และรุ่งเรืองที่สุดในสมัยพระพิพิธเสนามาตย์
เป็นรายาผู้ครองเมืองยะหริ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของนาฎศิลป์
จึงโปรดให้แสดงระบำชุดต่างๆ ขึ้นสำหรับในงานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง
ต่างๆ ตารีกีปัสก็เป็นชุดหนึ่งที่นิยมกันมากในสมัยนั้น และได้สูญหายไป
ต่อมาเมื่ออาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ฟื้นฟูการแสดงชุดนี้ขึ้นมา ปรากฏว่า
ได้รับความสนใจ และเป็นที่นิยมกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนาฎศิลป์พื้นเมือง
ชุดหนึ่งของปัตตานีรองจากชุดรองเง็ง แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน
นาฎศิลป์พื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการฟื้นฟูอีกหลายชุด
เช่น ยอเก็จปาฮังตารี ปายงซัมเบ็ง ฯลฯ เป็นต้นแต่ละชุดจะมีลักษณะ
ที่แปลกแตกต่างกันออกไปแต่ยังคงแสดงให้เป็นถึงศิลปวัฒนธรรมมุสลิม
ทางภาคใต้ของเราซึ่งควรจะฟื้นฟู ผดุงรักษาศิลปะประเภทนี้ให้ดำรง
อยู่ตลอดไป หรือฟื้นฟูเพื่ออนุชนรุ่นหลังที่สนใจศิลปะประเภทนี้ได้ศึกษา
ค้นคว้าสืบทอดตลอดไป
|
<< | มกราคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |