การวางแผนการเงินอย่างง่าย บรรยง วิทยวีรศักดิ์ RFC, AFC ทำไมต้องวางแผนการเงิน 1. คนอายุยืนขึ้น ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ย 71 ปี แต่ถ้าเราเก็บสถิติเฉพาะคนไทยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ได้อีกประมาณ 20 ปี ( ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม ม.มหิดล ) ดังนั้น จึงน่าคิดว่า ช่วงเวลาหลังเกษียณที่ต้องอยู่อีกตั้ง 20 ปี เราจะอยู่กันอย่างไร ถ้าไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีพอ 2. โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป เดิมคนไทยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ปัจจุบันแยกย้ายกันอยู่ เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การคาดหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดู เป็นเรื่องที่หวังได้น้อยลง เราจึงต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ 3. ค่าครองชีพในอนาคตจะสูงขึ้นมาก ข้าวของในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน อีก 20-30 ปีข้างหน้าในวันที่เราเกษียณ สินค้าที่จำเป็นอาจแพงขึ้นอีก 1-2 เท่าตัว โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล ที่มักมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเฟ้อเสมอ ดังนั้นงบประมาณที่เราเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ ถ้าไม่ได้คำนวนเผื่อค่าเงินเฟ้อไว้ด้วย 4. สวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอแน่ ในอีก 15 ปีข้างหน้า สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 20% นั่นหมายความว่า 1 ใน 5 ของคนไทยจะเป็นคนสูงอายุ ขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อคนสูงอายุจะลดลงจาก 6:1 ในปัจจุบันเป็น 3:1 ในปี 2021 ทำให้ภาษีที่รัฐเก็บได้จะไม่เพียงพอต่อการจัดหาสวัสดิการให้คนสูงอายุ หรือหากทำได้ก็เป็นแบบพื้นๆเท่านั้น 5. ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น สมัยก่อนการฝากเงินในธนาคารให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจและมีความมั่นคงสูง เดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากลดน้อยลงมาก ขณะที่ช่องทางการลงทุนใหม่ๆมีให้เลือกหลากหลายมากขึ้น แต่ก็มีรูปแบบและความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจและรู้จักวางแผนการลงทุนให้ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น 6. ทำให้เราสามารถเกษียณอายุได้เร็วขึ้น หากมีการวางแผนที่ดีและเริ่มต้นเร็ว ย่อมบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินออมที่เก็บได้มากขึ้น ดอกเบี้ยทบต้นที่สูงขึ้น หรือการสามารถหาประโยชน์จากโอกาสดีๆที่บังเอิญผ่านเข้ามา เพราะเรามีเงินออม เงินก้อนที่เก็บเอาไว้ เช่น ซื้อที่ดินทำเลสวยจากคนที่ร้อนเงิน หรือ ซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตกลงมามากเกินควร 7. ช่วยรองรับความเสี่ยงของชีวิตได้มากขึ้น ชีวิตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เราอาจโชคร้าย เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุหนักๆขึ้นได้ แต่ถ้าเรามีการวางแผนการประกันภัยไว้ ย่อมสามารถบรรเทาภาระต่างๆลงได้ หรือ เราเกิดตกงานกระทันหัน มีคนในครอบครัวป่วย การมีเงินเก็บสำรองไว้ ย่อมหลีกเลี่ยงความยุ่งยากจากการต้องไปกู้หนี้ยืมสินเงินกู้นอกระบบลงได้
ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน 1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการเงิน ในการวางแผนการเงิน ควรจะเริ่มจากการมีเป้าหมายคร่าวๆว่า เราอยากบรรลุเป้าหมายทางการเงินในเรื่องอะไร และต้องใช้เวลาเท่าไร เช่น - อยากเกษียณการทำงานตอนอายุเท่าไร ตอนนั้นอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไร - อยากเตรียมทุนการศึกษาให้ลูกเรียนถึงระดับไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไร - หรืออยากวางแผนจัดสรรมรดกให้ลูกหลาน ต้องทำอย่างไร เป้าหมายที่กำหนดขึ้น อาจเป็นเป้าหมายเดี่ยว หรือ เป้าหมายผสมผสานเต็มรูปแบบก็ได้ 2. รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลทางการเงิน ทั้งของตนเอง ครอบครัว และภาวะรอบล้อมทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ เช่น รายรับ , รายจ่าย , ทรัพย์สิน , หนี้สิน , ภาระผูกพัน , ดอกเบี้ย หรือทิศทางการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต 3. วิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงิน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาสถานะทางการเงินปัจจุบัน ว่าตอนนี้มีเงินเก็บสุทธิเท่าไรแล้ว ยังขาดอีกเท่าไรเพื่อที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และมีทางเลือกอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น 4. จัดทำแผนการเงิน หลังจากวิเคราะห์เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆแล้ว ให้ประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด แล้วเขียนแผนการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา ภายใต้สมมติฐานและข้อมูลที่รวบรวมไว้ 5. นำแผนไปปฎิบัติ เป็นการปฎิบัติตามแผนที่ได้เขียนไว้ ว่าต้องลงมือทำอะไรบ้างในกรอบเวลาเท่าไร เช่น ต้องออมให้ได้เดือนละเท่าไร ต้องนำเงินไปลงทุนอะไรบ้าง หรือ ต้องทำประกันภัยเพิ่มในเรื่องอะไรบ้าง โดยต้องมีการตรวจทานด้วยว่า ได้ทำครบพอที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ 6. ติดตามและกำกับให้เป็นไปตามแผน หลังจากปฎิบัติไปได้ระยะหนึ่ง ต้องหมั่นตรวจสอบและประเมินผลที่เกิดขึ้นว่า ได้ผลตามที่คาดหวังหรือไม่ สมมติฐานที่วางไว้มีการเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร และควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปเราจะมีการทบทวนแผนปีละ 1 ครั้ง (อ่านต่อตอนที่2 ,ตอนจบ) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กันยายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |