ผ่านไปแล้วสำหรับการลงประชามติ ผลที่ได้จากทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า มีผู้ไปใช้สิทธิประมาณ 58% ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หรือออกมาใช้สิทธิราว 28 ล้านคน (ตัวเลข ณ เวลา 19.33 น.ของวันที่ 7 สิงหาคม) หากดูคะแนนที่ 94%ของผู้มาใช้สิทธิ ประชาชนเห็นชอบหรือรับร่างรัฐธรรมนูญ 61.41% ไม่รับร่าง 38.59% คำถามพ่วงว่าสมควรให้ วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เห็นควร 58.11% ไม่เห็นควร 41.89% ตัวเลขเหล่านี้ บอกอะไรกับเรา เมื่อคืน ผมดูรายการทางช่องทีวีดิจิตอลไทยรัฐ ที่มีคุณสุภาพ คลี่ขจาย เป็นผู้ดำเนินรายการ มีการโทรศัพท์ไปสัมภาษณ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายถาวร เสนเนียมหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ยอมรับคำตัดสินของประชาชนโดยดุษฎี ผมชอบคำตอบของผู้ร่วมรายการท่านหนึ่งที่ไม่ใช่นักการเมือง(ขออภัยที่จำชื่อท่านไม่ได้) ท่านบอกว่า ประชาชนทราบดีว่าประชาธิปไตยดีอย่างไร แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมา เขาต่างรับรู้ว่ามันมีจุดบกพร่องหลายอย่าง สมควรที่จะมีช่วงเว้นวรรคเพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดระเบียบก่อนที่จะกลับเข้าสู่แนวทางประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง (ถ้าคลาดเคลื่อนขออภัย แต่สรุปได้ทำนองนี้) ซึ่งเท่าที่ฟังเสียงเพื่อนหลายกลุ่มที่ไปลงประชามติเมื่อวาน ต่างก็พูดในทำนองนี้ ผมพูดเสมอว่า ไม่แปลกใจที่นักการเมืองไม่ว่าพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์(ที่หลายคนชื่นชอบว่ายึดมั่นในหลักการ) ต่างออกมาบอกไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ เพราะพรรคการเมืองทุกพรรคจะดำเนินกิจกรรมได้ ต้องใช้เงิน จะมากน้อยแต่ต้องใช้เงิน เช่น จัดประชุมพรรค เรียกร้องให้สมาชิกโหวตรับหรือไม่รับญัตติต่างๆ ลำพังเงินบริจาคเข้าพรรค ไม่เพียงพอแน่ เพราะบริษัทเอกชนต่างไม่อยากโชว์ภาพเชียร์พรรคใด(take side) มากเกินไป จึงให้บ้างนิดหน่อย ไม่ได้ให้เป็นหลักร้อยล้านพันล้านอย่างที่ให้เงินใต้โต๊ะแลกกับงานสัมปทานต่างๆ พรรคการเมืองจะได้เงินบริจาคเยอะๆจากบริษัทเอกชนแบบสหรัฐอเมริกา ต้องใช้เวลา ดังนั้นถ้าร่างนี้ผ่านออกมา ใครเป็นรัฐมนตรีต่างก็เสียวว่าจะพลาดท่าถูกยึดทรัพย์เมื่อไรก็ได้ โอกาสจะรับเงินใต้โต๊ะโครงการใหญ่ๆแม้กระทั่งมาตรฐานโลกที่ 3% , 5% ก็ยังลำบาก ไม่มีใครอยากเสี่ยงเป็นรัฐมนตรีใน ครม. เพราะถ้าคนอื่นกิน ตัวเองไปร่วมเห็นชอบใน ครม. รัฐธรรมนูญใหม่ให้ถือว่าร่วมรับรู้ด้วย ถือเป็นยาแรงจริงๆ จากผลที่ออกมา และจะกลายเป็นบทบัญญัติที่จะใช้กับประเทศไทย ขอทำนายว่า ในช่วง 5 ปีแรกของบทเฉพาะกาล รัฐบาลชุดใหม่จะมาจากการรวมเสียงโหวตของพรรคประชาธิปัตย์กับเสียงของกลุ่ม ส.ว. นายกรัฐมนตรีคนใหม่ น่าจะชื่อ พล อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือไม่ก็ พล อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีที่ถูกดึงมาร่วมงานน่าจะเป็นเทคโนแครต หรือกลุ่มข้าราชการผู้มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในทางเศรษฐกิจ ร่วมกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เหมือนยุคนายกอานันท์ ปันยารชุน หรือยุคพล อ.เปรม ติณสูลานนท์ การเมืองจะกลับมา(ค่อนข้าง)ขาวสะอาด เป็นยุคต้นแบบอีกครั้ง การทุจรติระดับรัฐบาลจะลดฮวบ (ซึ่งผมอยากให้มีทุจริตเกิดขึ้นและถูกจับได้จัง จะได้เห็นการลงโทษยึดทรัพย์เป็นเยี่ยงอย่างให้คนเข็ดหลาบตลอดไป) แต่ทุจริตคอรัปชั่นยังคงมีบ้างสำหรับนักการเมืองปลายแถวหรือท้องถิ่น แต่โดยรวมคิดว่าน่าจะลดไปกว่าครึ่ง แล้วพอครบอายุรัฐบาล 4 ปี(ตามวาระของ ส.ส.) แต่วาระของ ส.ว.นั้น 5 ปี รัฐบาลใหม่ ยังน่าจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์รวมกับเสียงของ ส.ว. ที่ยังเป็นชุดเดิม เข้าใจว่าเป็นไปตามแผนที่ต้องการจัดระเบียบ 5 ปี แต่หวังผลไว้ 8 ปี หลังจากนั้น ต้องมาดูว่ากฎหมายลูกเรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.จะออกมาอย่างไร จะเอื้อให้พรรคการเมืองเข้าไปล็อบบี้ได้มากขนาดไหน เช่น ถ้าให้คนในกลุ่มอาชีพต่างๆเข้าไปสมัครและเลือกกันเอง พรรคการเมืองก็ส่งคน(ทางลับ)เข้าไปสมัครสัก 2-3,000 คน หากเลือกกันเอง ก็ให้เทเสียงไปที่คนใดคนหนึ่ง เท่ากับล็อคสเปกแน่นอน ค่อยดูกันต่อไป ขอทำนายแบบนี้นะครับ ถูกผิดก็ค่อยมาพิสูจน์เอา การลงประชามติได้ผ่านไปแล้ว แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผลจะออกมาค่อนข้างขาดลอย แต่ไม่ถึงสง่างามมาก เนื่องจากมีการกดดันฝ่ายตรงข้ามไม่ให้แสดงความเห็นค้านเลย (โดยต้องยอมรับว่าฝ่ายตรงข้ามก็เล่นแรง มีการบิดเบือนใส่ไข่ไปเยอะ เช่น โพทะนาว่า จะมีการยกเลิก 30 บาท รักษาทุกโรค ยกเลิกเงินผู้สูงอายุ เป็นต้น) ถึงแม้ในช่วงหลังจะมีการผ่อนปรนให้แสดงความเห็นในทางวิชาการได้ว่า เหตุผลที่ไม่รับร่างมีอะไรบ้าง แต่ก็มีลักษณะเกร็งกันไปตามๆกัน ไม่เปิดกว้างเต็มที่ทีเดียว ขณะที่การโหวตเสียงของคำถามพ่วง ผมมีความเห็นว่า แทนที่จะเขียนตรงๆไปว่า "เห็นควรให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่" แต่กลับไปใช้คำว่า "ให้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบบุคคลสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ" เนื่องจาก คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวบ้านทั่วไป ยังเข้าใจว่า ที่ประชุมรัฐสภาหมายถึง ส.ส.เท่านั้น เขาอาจไม่รู้ว่า มันมี 3 คำคือ สมาชิกรัฐสภา ประกอบขึ้นจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) กับวุฒิสมาชิก (ส.ว.) แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ที่ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้และใกล้ชิดข้อมูลข่าวสาร ผลการโหวตคำถามพ่วง อยู่ที่ เห็นชอบ 1,272,604 เสียง ต่อไม่เห็นชอบ 656,831 เสียง ก็ถือว่าผ่าน แต่ถ้าดูในภาพรวมทั้งประเทศที่ผลโหวตคำถามพ่วงอยู่ที่ 58 ต่อ 42 นั้น ข้อความข้างต้นน่าจะส่งผลอย่างมีนัยพอสมควรครับ จบการคาดการณ์แต่เพียงเท่านี้ครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | สิงหาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |