*/
Toys of the Past | ||
![]() |
||
เล่นมากับมือ ทุกชิ้น เลิกเล่นแล้วกะจะเก็บให้ลูกหลานเล่น |
||
View All ![]() |
coffee | ||
![]() |
||
coffee |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
พระไตรปิฎกบาลีสู่สากล วันนี้ ขอชวนชมพระไตรปิฎกของจริงทั้งหมด พระไตรปิฎกภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรโรมัน เป็นต้น จากการสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎบาลีสู่สากล” เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม 2566) และเพื่อร่วมเสนอพระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อองค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2566 ม.เกษตรจัดงานนี้แบบออนไลน์ 17-19กย64 เปิดให้เข้าชมพระไตรปิฎกของจริงทั้งหมด ๑. ประเทศไทยมีการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในรัชสมัยของพระองค์ มีการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก ในประเทศไทยการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก กระทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑ - พ.ศ. ๒๔๓๕ จำนวนครบชุดในครั้งนั้นมี ๓๙ เล่ม นอกจากใช้ประโยชน์ในราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังได้ส่งไปยังสถาบันสำคัญต่างๆ ในต่างประเทศด้วย ๒.การพิมพ์ครั้งที่ ๒ จัดทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีการตรวจชำระ สอบทานกับพระไตรปิฎก ที่พิมพ์ในประเทศอื่นๆ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย การพิมพ์ครั้งนี้ มีจำนวนพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็น ๔๕ เล่ม เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ ในการพิมพ์ครั้งแรก ระยะเวลาตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เมื่อมีผู้ต้องการมากขึ้น จึงได้มีการพิมพ์ซ้ำอีก ๒ ครั้งใน พ.ศ. ๒๕๐๒ และ พ.ศ. ๒๕๒๓ ในการนี้มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากทางราชการ เป็นฝ่ายดำเนินการ เมื่อจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ ๓. การพิมพ์ครั้งที่ ๓ จัดทำตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อให้มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เนื่องในมงคลดิถี ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ การดำเนินงานในครั้งนี้มีเวลา ๒ ปี และได้พิมพ์แล้วเสร็จ ทั้งฉบับภาษาบาลี และฉบับแปลเป็นภาษาไทย โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายดำเนินงาน
พระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ที่มีการตรวจชำระและจัดพิมพ์ เนื่องในมงคลดิถีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๔. การพิมพ์ครั้งที่ ๔ มิใช่เป็นของทางราชการ แต่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งทำงานติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี และพิมพ์ได้สำเร็จใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รวม ๔๕ เล่มชุด และในขณะเดียวกัน นอกจากจะพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีแล้ว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยังได้จัดพิมพ์คำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ด้วย การดำเนินงานของอาจารย์ท่านหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ มีการริเริ่มหาทุนจัดตั้งคณะทำงาน ในที่สุดก็จัดพิมพ์ได้สำเร็จชุดแรก ๓๔ เล่ม และจะพิมพ์เพิ่มเติมอีกให้สมบูรณ์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ท่านนั้น คือ นายพร รัตนสุวรรณ ในขณะเดียวกันทางคณะสงฆ์คือ มหาเถรสมาคม มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระประมุข ได้ดำเนินการจัดพิมพ์คำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ให้ครบชุดสมบูรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย รวมความว่าในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้ เป็นระยะเวลาที่ตำราทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี และที่แปลเป็นไทย รวมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นสมบูรณ์ การแปลพระไตรปิฎก และคำอธิบายภาษาบาลี เป็นภาษาไทย รวมกัน ๙๑ เล่ม อันเป็นผลงาน ของมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนั้นจะกล่าวถึง ในส่วนที่ว่าด้วยพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย ในลำดับต่อไปจากเรื่องภาษา ที่รองรับพระไตรปิฎก มีข้อที่ควรกล่าวในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ ในปัจจุบันประเทศที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีสมบูรณ์แล้ว คือ ประเทศไทย ประเทศอินเดีย (พิมพ์เป็นตัวอักษรเทวนาครี) ประเทศพม่า (พิมพ์เป็นตัวอักษรพม่า) ประเทศอังกฤษ (พิมพ์เป็นตัวอักษรโรมัน) อ้างอิง https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=16&chap=2&page=t16-2-infodetail03.html
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |