ในโลกของสื่อใหม่ การสื่อสารที่รวดเร็ว ฉับไว โดยก้าวข้ามขั้นตอนการกลั่นกรองของบรรณาธิการในฉับพลันทันที ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะก่อความเสียหายให้กับบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น มีผู้คนจำนวนมาก ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเชิงวาทกรรม บิดเบือนข้อมูล แพร่ภาพหรือตัดต่อภาพอนาจาร ฉ้อโกง ฟอกเงิน ฯลฯ โดยที่ไม่สามารถจัดการป้องกันได้ ด้วยข้อจำกัดของกฎหมายว่าด้วยความผิดทางอาญา ที่มิได้ครอบคลุมถึง อำนาจการสื่อสารในไซเบอร์สเปซที่จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรม จึงเป็นอำนาจที่ไร้ขอบเขต ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงจิตสำนึกในเชิงจริยธรรมที่อ่อนแออย่างยิ่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (๑๘) น่าจะเป็นความหวังของบรรดาเหยื่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ในการใช้เพื่อต่อสู้กับการถูกกระทำย่ำยี โดยโจรคอมพิวเตอร์ได้ ๕ ฐานความผิดอาชญากรคอมพิวเตอร์ ๑.แฮกเกอร์ (Hacker) มาตรา ๕ "ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดิอน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๖ "ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๗ " ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๘ "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ โดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ" คำอธิบาย ในกลุ่มความผิดนี้ เป็นเรื่องของแฮกเกอร์ (Hacker) คือ การเจาะเข้าไปใน"ระบบ"คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งระดับความร้ายแรงของโทษ ไล่ขึ้นไปจากการใช้ mail ของคนอื่น เข้าไปในระบบ หรือเผยแพร่ mail ของคนอื่น การเข้าไปใน "ข้อมูล" คอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่น จนกระทั่งการเข้าไปจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล โดยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการค้า (Corporate Eepionage) ๒.ทำลายซอฟท์แวร์ มาตรา ๙ "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" มาตรา ๑๐ "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ โดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" คำอธิบาย เป็นลักษณะความผิดเช่นเดียวกับ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ในประมวลกฎหมายอาญา แต่กฎหมายฉบับนี้หมายถึงซอฟท์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ ปกปิด หรือปลอมชื่อส่ง Mail มาตรา ๑๑ "ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินไม่เกินหนึ่งแสนบาท" คำอธิบาย เป็นการส่งข้อมูล หรือ Mail โดยปกปิดหรือปลอมแปลงชื่อ รบกวนบุคคลอื่น เช่น จดหมายลูกโซ่ ข้อมูลขยะต่างๆ ๔.ผู้ค้าซอฟท์แวร์ สนับสนุนการทำผิด มาตรา ๑๓ "ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ และ ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" คำอธิบาย เป็นความผิดที่ลงโทษผู้ค้าซอฟท์แวร์ ที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือกระทำความผิดตาม มาตรา ๕ - ๑๑ ๕.ตัดต่อ เผยแพร่ ภาพอนาจาร มาตรา ๑๖ "ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไป อาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด คำอธิบาย เป็นเรื่องของการตัดต่อ หรือตกแต่งภาพดารา ภาพบุคคลอื่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในลักษณะอนาจาร และเผยแพร่ไปยังบุคคลที่สาม คำว่าประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายนั้น เพียงเห็นภาพก็น่าเชื่อแล้ว ไม่จำเป็นต้องยืนยันด้วยหลักฐาน หรือบุคคลโดยทั่วไปจะต้องเข้าใจในทันทีว่าบุคคลที่สามนั้นจะต้องได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน จากการเผยแพร่ภาพนั้น สำหรับผู้ที่ได้รับภาพ ไม่มีความผิด ยกเว้นจะ Forward หรือเผยแพร่ต่อ ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถึงแม้จะมีกฎหมายที่ตราขึ้นไว้เฉพาะความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม แต่ความผิดในลักษณะนี้ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า ซึ่งสามารถรู้ตัวผู้กระทำความผิดได้ในฉับพลัน เช่นเดียวกับความผิดอาญาโดยทั่วไป นอกจาก "รอยเท้าอิเล็กทรอนิกส์" (electronic footprints) อันได้แก่ IP หรือร่องรอยที่ทิ้งไว้ในซอฟท์แวร์ แต่ถึงอย่างไร นับจากวันนี้(๑๘) อาชญากรคอมพิวเตอร์ ก็มิอาจหลบเร้นกายได้อีกต่อไป |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Jasmine & Jk stories | ||
![]() |
||
การเดินทางของจินตนาการ ความรู้และความคิด บนถนนสายดิจิตอล |
||
View All ![]() |
Social Media | ||
![]() |
||
เมื่อโลกทั้งใบพูดจากันด้วยภาษาดิจิตอล สื่อจะก้าวเดินไปอย่างไร นี่มิใช่คำถาม แต่มันเป็นความท้าทาย |
||
View All ![]() |