สังคมอุดมข่าว VS สังคมอุดมปัญญา ในเมื่อสังคมปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมภายนอกเต็มไปด้วยข่าวเล่าลือ ข่าวลวง ข่าวปลอม ข่าวตัดต่อ เพื่อจุดมุ่งหมายต่างๆ เช่น เพื่อผลทางการเมืองบ้าง ทางการค้าบ้าง เพื่อสนองความต้องการส่วนตัวด้านอื่นๆ บ้าง สื่อสารมวลชนที่ควรเป็นหลักในการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ควรรักษาฐานที่มั่นของตัวเองไว้ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงกลับเต็มไปด้วยความคิดเห็น เริ่มตั้งแต่พาดหัวชี้นำ ไม่ต้องกล่าวถึงเนื้อหาเลย แถมยังนำความคิดเห็นในเวทีสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ไปผลิตเป็นข่าวอีก น่าสังเกตว่า เทคโนโลยีทำให้สื่อกระแสหลักตามนิยามในยุคเดิม ตกไปเป็นสื่อกระแสรองให้สื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังนำประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นประเด็นข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ต่ออีก บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าระหว่างสื่อกระแสหลัก กระแสรอง กำลังหลงบทบาทกัน? ถึงเวลาหรือยังที่นักนิเทศศาสตร์ นักวารสารศาสตร์ สื่อมวลชน ต้องทบทวนเรื่องแหล่งข่าว ความน่าเชื่อถือและหลักเกณฑ์การเลือกประเด็นข่าว (News Selection Criteria)? รวมทั้งควรให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่สังคมเพื่อความรู้เท่าทันสื่อ กระบวนการของสื่อ (Media Education/ Literacy) ด้วยความสะดวกของเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) เพียงเครื่องเดียวสามารถเป็นอุปกรณ์สร้างและถ่ายทอดข่าวสารออกสู่สังคมโลกได้อย่างง่ายดาย จากเหตุปัจจัยนี้จึงส่งเสริมให้สมาชิกของสังคมกลายเป็นผู้สื่อข่าวโดยปริยาย ส่งผลให้ยุคปัจจุบันกลายเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น มีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน ข่าวคลาดเคลื่อน ข่าวลวง ข่าวเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะด้าน ฯลฯ ในเมื่อมีข่าวสารท่วมท้นหน้าที่ในการเลือกเสพข่าวจึงตกเป็นของผู้เสพข่าว ข่าวสารที่นำเสนอในสื่อต่างๆ มากด้วยสิ่งที่เสมือนหนึ่ง “ขยะข่าว (Junk News)” โดยจุดประสงค์ที่มุ่งใช้ข่าวสารรับใช้ผลประโยชน์ทางการเมือง การค้า หรือไม่ก็เน้นความรวดเร็วในการเผยแพร่ข่าวสารมากกว่าคุณภาพของข่าวสาร หรือจะใช้ภาษาพูดว่ามุ่งเน้นเพื่อ “ความสะใจ” ในการนำเสนอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ความคิดเห็นของตนมีอิทธิพลในการชักนำความเห็นของสาธารณชน เยาวชนไทยไร้ภูมิคุ้มกัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เผยแพร่รายงานเรื่อง “เด็กอายุ 15 ปีเตรียมรับมือกับข่าวปลอมและข้อมูลเท็จหรือไม่? (Are 15-year-olds prepared to deal with fake news and misinformation?)” สำรวจการฝึกฝนที่โรงเรียนสอนนักเรียนให้มีความสามารถแยกแยะเรื่องความลำเอียงในการเสนอข่าว ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข่าวสาร ความสามารถในการแยกระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นในประเทศสมาชิก ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนไทยไม่ถึง 1% ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หรือแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงและความคิดเห็นได้!! (ภาษาไทย https://bit.ly/3wZZRQI ภาษาอังกฤษ https://bit.ly/3rB1Xp4) หากทุกองคาพยพของสังคมไทย รวมถึงในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสื่อมวลชน ไม่เร่งหาทางสร้างภูมิคุ้มกันด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้เยาวชนไทย ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติในโอกาสข้างหน้า เกรงว่าสังคมไทยจะถูกรุกคืบและถูกทำลายโดยพลังของสื่อสังคมออนไลน์? ทั้งนี้ก็เพราะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ มีโซเชียลมีเดียอยู่ในมือ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่กลั่นกรองสิ่งที่นำเสนอมาดีพอแล้ว ดังที่อุมแบร์โต้ แอโค (Umberto Eco) นักเขียนชาวอิตาลี วิพากษ์วิจารณ์โซเชียลมีเดียไว้ว่า “โซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเบาปัญญาได้สิทธิในการพูดการแสดงความคิดเห็น แบบที่เคยทำกันตอนดื่มในบาร์ และไม่เป็นพิษภัยต่อสังคม แล้วก็เงียบๆ กันไปไม่นานหลังจากนั้น แต่ทุกวันนี้พวกเขาได้สิทธิพูดเหมือนกันกับพวกเขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล นับเป็นการรุกรานของคนเบาปัญญา (Social media gives legions of idiots the right to speak when they once only spoke at a bar after a glass of wine, without harming the community. Then they were quickly silenced, but now they have the same right to speak as a Nobel Prize winner. It’s the invasion of the idiots.)” อุมแบร์โต้ แอโค (Umberto Eco) สิ่งที่นำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนมากจะเป็นตามตัวอย่างในภาพประกอบนี้ คือเห็นเฉพาะเสี้ยวส่วนของเหตุการณ์ ยังไม่ได้หาข้อมูลให้รอบด้านให้ครบถ้วนพอ และรีบด่วนสรุปว่าความจริงเป็นอย่างที่ตนเห็น แต่ถ้าหาข้อมูลข้อเท็จจริงให้มากพอ จะได้ความเป็นจริงที่แตกต่างกัน จากตัวอย่างนี้ จึงไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเรื่องใดออกมา ไม่นานหลังจากนั้นจะมีคำชี้แจงข้อเท็จจริงตามมา ซึ่งมักจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับที่สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอ ใช่หรือไม่ว่าดูดีๆ สิ่งที่สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอบางครั้งก็คล้ายกับนิทานเรื่องตาบอดคลำช้าง? และแม้จะมีคำชี้แจงตามมา แต่ความเสียหาย เสียชื่อเสียงก็เกิดขึ้นต่อผู้ที่ถูกพูดถึงแล้ว! ภาพนี้ให้ภาพของปรากฏการณ์โซเชียลมีเดียได้ดี (ภาพจากอินเทอร์เน็ต) หลักกาลามสูตร : วัคซีนเสริมภูมิสู้ Fake News นอกจากนี้ หลักในกาลามสูตร ซึ่งว่าด้วยวิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ หรือ “กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10” ก็ควรนำมาสอน มาเน้นย้ำกันบ่อยๆ เพื่อไม่ให้สมาชิกของสังคมทุกวัยตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงที่ในโลกปัจจุบันเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย มีดังนี้ หลักกาลามสูตรนี้เป็นเครื่องกรองข้อมูลข่าวสารชั้นดี ทำหน้าที่เป็นเสมือนนายทวาร (Security Guard) คอยคัดแยกสิ่งที่เข้ามาสู่การรับรู้ว่าจะกันสิ่งใดออก จะกลั่นกรองให้สิ่งใดเข้า จึงควรนำมาคิดคำนึงและฝึกฝนใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้ขาด หากเปรียบหลักกาลามสูตรกับวัคซีน ก็ควรฉีดวัคซีนกาลามสูตรบ่อยๆ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านปัญญาให้มีอยู่เสมอ จากการสังเกตประสบการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน จากงานวิจัยของแวดวงการศึกษาที่นำมาเสนอข้างต้น ไม่แปลกใจที่เห็นนักปราชญ์ร่วมสมัยที่อยู่คู่สังคมไทยและคอยให้สติสังคมไทย อย่างเช่นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คอยกระตุกสติบ่อยๆ ว่า สังคมเรามักจะแสดงความคิดเห็นไปตามความชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขาดการแสวงหาความรู้ ก่อนจะแสดงความเห็น ภาพจากอินเทอร์เน็ต ลองนำข้อคิดของท่านมาคิดต่อว่า หากผู้คนในสังคมเห็นข้อมูลข่าวสารในสื่อโซเชียล ก่อนจะรีบกระโดดเข้าสู่การแสดงความเห็น (Comment) หรือเผยแพร่ต่อ (Share) ในทันที ทดลองยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน แล้วไปค้นคว้าหาข้อมูลข้อเท็จจริงมาดูกัน ค้นหาผู้เป็นแหล่งข่าว (Source) แหล่งที่เผยแพร่ข่าว การค้นคว้าข้อมูลในปัจจุบันก็ทำได้สะดวก เพียงแต่ต้องหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อ้างอิงได้ มีที่ไปที่มา เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นต้นเค้า (Primary Source) ลดความสำคัญของแหล่งข่าวทำนอง “ได้ข่าวมาว่า” “เขาพูดกันว่า” “เขาลือกันว่า” ฯลฯ ถ้าทำได้เช่นว่านี้สังคมเราย่อมจะลดการกล่าวร้ายกันลงได้อย่างไม่ต้องสงสัย เป็นการตัดกระแสข้อมูลข่าวสารเท็จ บิดเบือน หรือยุยง ซึ่งอาจนำไปสู่ความร้าวฉานระหว่างบุคคล ระหว่างสังคม ได้แน่นอน แนวปฏิบัติอีกแนวหนึ่ง เพื่อจะตัดวงจร และลดการมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างข่าวของผู้อื่นคือ ควรยึดถือคติว่าในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ของแต่ละคน แม้จะเป็นพื้นที่ส่วนตัว ก็ควรเผยแพร่ (โพสต์) เฉพาะเรื่องที่เขียนเอง ถ่ายภาพเอง สร้างสรรค์ขึ้นมาเองเท่านั้น ไม่โพสต์ ไม่เผยแพร่ต่อ (Share) เรื่องจากจากคนอื่น หรือถ้าจำเป็นจะต้องเผยแพร่ต่อจริงๆ ก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องมีที่ไปที่มา มีอ้างอิง และยึดหลักแน่นๆ ว่า ควรคิดใคร่ครวญทุกครั้งที่จะเขียน (คิดทุกครั้งที่โพสต์) และคิดแล้วคิดอีกๆๆ ต้องหักห้ามใจไม่ให้ “โพสต์ทุกครั้งที่คิด” คอยเตือนสติตัวเองไว้ มิฉะนั้นจะนำความเดือดร้อนมาในภายหลังได้ หลักเบื้องต้นที่กล่าวถึงมานี้ น่าจะเป็นวัฒนธรรมในการสร้างวัคซีนทางปัญญา สร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นให้แก่สมาชิกของสังคมไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการหลอกลวง ขบวนการตกทองออนไลน์ หรือตกเป็นเหยื่อของขบวนการชักนำเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทางการค้า หรือทางอื่นๆ
อ่านตอนที่ 1 http://oknation.nationtv.tv/blog/chao/2021/05/24/entry-1
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
....SaNd...FaNtAsY..... | ||
![]() |
||
"ลายริ้วบนผิวทราย สื่อความหมายแทนภาษา มือไหวแทนใจพา นาฏลีลาน่าภิรมย์" คือกลอนที่ "นิดนรี" บรรยายถึง "SaNd FantAsY" โดย Illana Yahav - ศิลปิน sand animation ชาวอิสราเอล ดนตรีของ Yanni |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |