*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ท้องนาเหลืองอร่ามอันกว้างใหญ่ไพศาล ไกลสุดลูกหูลูกตา ดูเวิ้งว้าง ว่างเปล่า และเงียบสงัด และแต่ในความรู้สึกที่ว่าอ้างว้างนั้น เป็นเพียงภาพมายา ภายใต้อาณาบริเวณที่มีฟางข้าวเกลื่อนกระจายเต็มท้องทุ่ง กลับซุกซ่อนไปด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆจำนวนมากมาย ทุ่งข้าวต่างๆ ทั่วโลกกระทั่งในประเทศไทยเรา เป็นแหล่งอาหารและเป็นแหล่งพักพิงของฝูงนกนานาชนิด นกประจำถิ่นที่อาศัยออกลูกออกหลานมาอย่างยาวนาน และนกอพยพที่ลี้ภัยความหนาวเย็นทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย บินในระยะทางไกล ข้ามฟ้าหลายประเทศ มายังบริเวณที่อบอุ่นกว่าทางตอนใต้ รวมถึงพื้นที่ประเทศไทย หนาวปีนี้อากาศเย็นหนักกว่าทุกปี แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เริ่มมีผองชนทยอยขึ้นดงดอยไปสัมผัสความหนาว ชมทะเลหมอก ถ่ายภาพน้ำค้างแข็ง สัมผัสสายลมแห่งหุบเขา แต่ผมเลือกที่จะเดินดุ่มๆ ไปซุ่มดูนกตามท้องทุ่งภาคกลาง เป็นทุ่งนาบ้านโคกสำโรง อ.ปากพลี จ.นครนายก ต่างไปจากทุกปีที่ต้องขับรถขึ้นเหนือหลายร้อยกิโลเมตร จราจรติดขัดไม่ใช่ปัญหา ระยะทางไกลลืมไปได้เลย ความหนาวยะเยือกมิใช่อุปสรรค แต่บางสิ่งที่ทอดทิ้งไปแรมเดือน ก็ปรารถนา"แรงบันดาลใจ"เช่นกัน ท่ามกลางทุกสิ่งทุกอย่างของท้องทุ่งกว้างไกล ฉาบฉายด้วยสัญลักษณ์แห่งการพึ่งพากันระหว่างมนุษย์กับสัตว์โลก ก้าวย่างบนเส้นทางที่ผ่านเข้าไปถึงผืนนาหน้าหนาว อ.ปากพลี นครนายก เป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี นกยางสีขาว นกสามัญประจำทุ่งนา ดวงตะวันทอแสงอบอุ่น ตั้งแต่ยามเช้าของฤดูหนาวปีนี้ ขับไล่ความหนาวเย็นจากพื้นผิวโลก ก่อนค่อยๆทวีแสงแรงขึ้น ตัวเลขวัดอุณหภูมิความร้อนขยับปรับตัวขึ้นตามลำดับ แต่ไม่ได้สร้างปัญหาอันใดให้กับผมแม้แต่น้อย ด้วยจิตใจยังมุ่งมั่นจดจ่ออยู่กับการส่องหานกทุ่งและนกน้ำที่หากินอยู่ตามท้องทุ่งนา เมล็ดข้าวที่ตกหล่นตามพื้นนาจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว ถือเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของนกหลายชนิด เช่น นกกระจาบ นกกระติ๊ด นกกระจอก ฯลฯ รวมไปถึงนกอพยพอย่างจำพวกนกจาบปีกอ่อน นอกจากนั้น เมล็ดข้าวยังเป็นอาหารของหนู นั่นจึงเป็นคำตอบว่าทำไมเราจึงเห็นงูและเหยี่ยวนักล่ามาป้วนเปี้ยนตามท้องทุ่ง... พวกมันมาดักกินหนูนั่นเอง นกจาบคาเล็ก (Green Bee-eater) นกกระเต็นอกขาว (White-throated Kingfisher) นกอ้ายงั่ว (Oriental Darter) นกหางนาค (Striated Grassbird) ที่ราบภาคกลางถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของเมืองไทย ในส่วนที่เป็นทุ่งหญ้าและพื้นที่เกษตรกรรม มีนกหลายชนิดปรับตัวเข้าไปอาศัยอยู่ได้ แต่ก็มีหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปสิ้นไปจากธรรมชาติ เช่น นกช้อนหอยใหญ่ (Giant Ibis) จากปัญหาการล่า การทำลายแหล่งอาหารและถิ่นอาศัย ใครจะดูนกชนิดนี้ต้องตามไปถึงประเทศกัมพูชาแล้วเดี๋ยวนี้ โชคดีที่หลายชนิดมีประชากรฟื้นตัวขึ้น เช่น นกอ้ายงั่ว (Oriental Darter) ,นกกระทุง (Spot-billed Pelican),นกกาบบัว (Painted Stork), นกช้อนหอยขาว (Black-Headed Ibis) ,นกช้อนหอยดำเหลือบ (Glossy Ibis) ฯลฯ จะเป็นเพราะการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติหรือการดูแลคุ้มครองที่เข้มงวดก็ตามแต่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนได้รุกคืบเข้าสู่ท้องทุ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งชีวิตคนและชีวิตสัตว์ แต่ยังคงปรากฎภาพของนกน้ำและนกทุ่งนานาชนิดควบคู่ไปกับท้องนาเขียวขจีและท้องทุ่งเหลืองอร่ามอยู่เสมอ ....แม้อนาคตของพวกมันมีความไม่แน่นอนอยู่มากก็ตาม ทุ่งนาเป็นระบบนิเวศหนึ่งที่นกนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia) นกยอดข้าวหางแพนลาย (Zitting Cisticola) นกยอดหญ้าหัวดำ (Stejneger's Stonechat) ตัวผู้ ขุนชุดนอกฤดูผสมพันธุ์ นกจาบฝนเสียงใส (Australasian Bush Lark) นกจาบฝนเสียงสวรรค์ (Oriental Skylark) บรรยากาศยามรุ่งอรุณ เหมาะแก่การดูนกในทุ่งยิ่งนัก ยามเย็นก็ดูได้ แต่สู้ช่วงเช้าไม่ได้ตามความรู้สึกของผม นกส่วนใหญ่ชอบออกหากินในช่วงเช้าและช่วงเย็น ส่วนยามแดดแรงตอนกลางวัน นกจะหลบพักตามกอหญ้า กอข้าว และดงไม้ตามหัวไร่ปลายนา ยานพาหนะพาเราเคลื่อนไปตามถนนลูกรังที่ขนาบด้วยคลองชลประทานขนาดเล็ก ตามรายทางก่อนถึงจุดเป้าหมาย เราพบนกหลากหลายชนิด ทั้งนกตะขาบทุ่ง นกจาบคาเล็ก นกเด้าดินทุ่งเล็ก นกกระจิบหญ้าสีเรียบ นกยอดหญ้าหัวดำ นกกระเต็นอกขาว นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกอีวาบตั๊กแตน นกกาน้ำเล็ก เป็ดคับแค นกอีโก้ง นกจาบฝน ฯลฯ บางชนิดเป็นตัวประจำถิ่น บางชนิดเป็นตัวอพยพ ฝูงนกยางบินอยู่บนท้องฟ้า นกเด้าดินทุ่งเล็ก (Paddyfield Pipit) นกเด้าดินอกแดง (Red-throated Pipit) ตัวเมีย นกเด้าดินอกแดง (Red-throated Pipit) ตัวผู้ นกเด้่าดินอกสีชมพู (Rosy Pipit) ชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ นกจาบปีกอ่อนหัวเทา (Chestnut-eared Bunting ) พบที่ปากพลี จ.นครนายก เป็น record แรกของภาคกลาง ตื่นเต้นเล็กน้อยเมื่อเห็นเหยี่ยวด่างดำขาว อินทรีปีกลาย นกอ้ายงั่ว นกหางนาค และนกเด้าดินอกสีชมพู ซึ่งชนิดหลังถือเป็นนกใหม่ของผมทีเดียว ขณะที่นกเด้าดินอกแดงนั่นมีอยู่เต็มไปหมด จะถือว่าทุ่งนาปากพลี นครนายก เป็นอาณานิคมของมันเลยก็ว่าได้ แต่ผมยังไม่ได้พบนกใหม่ของประเทศไทยที่คนแห่ตามมาดู คือ Greater Short-toed Lark ซึ่งถูกถ่ายภาพไว้ได้ โดย นพ.สมชาย กาญจนสุต ณ ทุ่งนาปากพลี เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา แม้ไม่พบนกใหม่ของประเทศไทยตัวล่าสุด แต่นกจาบปีกอ่อนหัวเทา รายงานแรกของภาคกลางที่ผมเจอในการออกทริปเที่ยวนี้ ก็พอจะช่วยปลอบประโลมใจได้บ้าง เหยี่ยวด่างดำขาว (Pied Harrier) ตัวเมีย ทุ่งนาบางจุดของ อ.ปากพลี จ. นครนายก ยังเป็นแหล่งอาศัยของนกนักล่าประจำถิ่นอย่าง เหยี่ยวดำ (Black Kite) Milvus migrans govinda ซึ่งเพิ่งถูกแยกชนิดออกจากญาติของมันซึ่งเป็นตัวอพยพอย่าง เหยี่ยวหูดำ Black-eared Kite (Milvus lineatus) มาปรับสถานะเป็นนกชนิดใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ในท้องทุ่งปากพลี พื้นที่กว่า 1,500 ไร่ ซึ่งมีทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีต้นไม้นานาชนิดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งอาศัยของนกเหยี่ยวดำตัวประจำถิ่น(หายาก) และเหยี่ยวหูดำ (พบบ่อย) ซึ่งเป็นนกอพยพ แต่ปริมาณของเหยี่ยวดำมีไม่มากนัก ขณะที่ในฤดูอพยพ ระหว่างต้นฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมจนถึงเดือนมีนาคม เหยี่ยวหูดำที่มาปักหลักแถวทุ่งนาปากพลีน่าจะมีจำนวนเกินหนึ่งพันตัวเป็นอย่างต่ำ เหยี่ยวหูดำ (Black-eared Kite) Milvus lineatus ตัวอพยพ เหยี่ยวดำ (Black Kite) Milvus migrans govinda ตัวประจำถิ่น เหยี่ยวดำ (Black Kite) Milvus migrans govinda ตัวประจำถิ่น จะว่าไปแล้ว หน้าตาของเหยี่ยวดำและเหยี่ยวหูดำคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีจุดจำแนกที่ถือเป็นจุดตายอยู่หลายจุดด้วยกันทั้งสีหนังหุ้มจมูก ตีน สีตัว และลักษณะของหาง เหยี่ยวตัวประถิ่น มีหนังหุ้มจมูก และขา เป็นสีเหลือง สีลำตัวออกน้ำตาลช็อคโกแลต ปีกค่อนข้างสั้นกว่า หางยาวและเป็นแฉกลึกกว่า ส่วนอาคันตุกะจากแดนไกล มีหนังคลุมจมูก แข้ง ตีนเทาแกมฟ้า และมีปื้นสีขาวใต้ปีกใหญ่กว่าเหยี่ยวดำตัวประจำถิ่น ฝูงเหยี่ยวหูดำ (Black-eared Kite) Milvus lineatus ตัวอพยพ ในช่วงฤดูอพยพ เหยี่ยวหูดำหลายร้อยมาอาศัยหลับนอนอยู่ตรงบริเวณดงต้นยูคาแถบหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นกลางทุ่งนา ผมเองอดสงสัยไม่ได้เช่นกันว่า ไฉนเจ้าต้นไม้ตายยากจึงไปปรากฎอยู่กลางทุ่งนาได้ นกอินทรีปีกลาย (Greater Spotted Eagle ) ชาวในพื้นที่ใกล้เคียง เล่าว่า เหยี่ยวชนิดต่าง ๆอพยพมาอาศัยอยู่ในทุ่งนาบ้านโคกสำโรง เป็นปีที่ 9 แล้ว ส่วนใหญ่ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์ ห้ามประชาชนเข้ามาทำร้ายนก เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ และระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เหยี่ยวหูดำเลือกอพยพหนีหนาวมาอาศัยทุ่งนาแห่งนี้เพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยปริมาณและชนิดของนกนักล่าที่พบทั้ง เหยี่ยวดำ เหยี่ยวหูดำ อินทรีปีกกลาย และเหยี่ยวทุ่ง รวมไปถึงนกนานาชนิด ทำให้ทุ่งนาปากพลีกลายเป็นแหล่งดูนกแห่งใหม่ยามลมหนาวมาเยือนไปโดยปริยาย ได้ข่าวมาอีกว่า ททท.สำนักงานนครนายก ได้ส่งเจ้าหน้าที่ฯลงพื้นที่สำรวจเส้นทางกิจกรรมดู“เหยี่ยวหูดำ” สำหรับผู้ที่มีใจรักษ์ในกิจกรรมดูนกศึกษาธรรมชาติ และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศพื้นถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อยากฝากเรียนไปยังททท.สำนักงานนครนายกว่า การจัดทำกิจกรรมดูเหยี่ยวนั้น ควรขอคำปรึกษาจากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) ทั้งในเรื่องรูปแบบและเนื้อหา รวมไปถึงการหาวิธีสร้างรายได้ให้ชุมชนด้วย ผมเสนอว่า ควรทำเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องนกและระบบนิเวศ เช่นเดียวกับแหล่งดูนกชายเลนที่บ้านปากทะเล จ.เพชรบุรี เสียเลยทีเดียว อย่างที่ทราบกันดี สัตว์นานาชนิดที่มีความสำคัญเป็นอันยิ่งต่อระบบนิเวศของโลก ตราบใดที่ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ เป็นไปอย่างเกื้อกูลและพึ่งพากัน ตราบนั้นโลกใบนี้จะยังเป็นพื้นที่ที่คนอาศัยอยู่ได้ไปอีกยาวนาน --------------------------------------------- Killing Me Softly With His Song
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |