*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
เกาะฮอกไกโด อยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เป็นโซนที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ ร่ำรวยความสวยงามของวิวทิวทัศน์ทั้งภูเขา ทะเล ทะเลสาบ และท้องทุ่งหญ้า มีความหลากหลายทางสภาพอากาศตั้งแต่ฤดูร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงมากจนถึงหน้าหนาวที่อุณหภูมิติดลบ ด้วยความพร้อมพรั่งนี้เองผสมผสานให้ฮอกไกโดเป็นจุดหมายปลายทางของนักนิยมธรรมชาติ แน่นอนว่าสำหรับนักดูนกแล้ว เกาะแห่งนี้ถือเป็นจุดหมายปลายทางของการดูนกอีกแห่งหนึ่งก็ว่าได้ ออกตัวก่อนนะครับ ผมเดินทางไปฮอกไกโดมาเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2557 กับการบินไทยและการท่องเที่ยวฮอกไกโด ไปสัมผัสไออุ่นแหล่งท่องเที่ยวทางตอนใต้ของเกาะแห่งนี้ในช่วงฤดูร้อน ไม่ได้เป็นทริป Birding อะไรนะครับ ภาพนกที่ผมจะเล่าถึงต่อไปนี้ ผมบันทึกได้ตามรายทาง และเป็นเพียงนกส่วนน้อยมากๆเมื่อเทียบกับจำนวนและความสำคัญของนกที่พบบนเกาะฮอกไกโด เคยอ่านพบตามเว็บไซต์ Birding in Hokkaido ว่า ไฮไลท์ของการดูนกที่ฮอกไกโดนั่นอยู่ที่ "Big Three" ได้แก่ นกกระเรียน Red-crowned Crane , นกทึดทือ Blakiston’s Fish-Owl และนกอินทรี Steller’s Sea-Eagle แต่สำหรับตัวผมแล้ว เจอนกชนิดไหนที่ฮอกไกโดก็ตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด มีลุ้นตลอดว่าใช่พวกเป็ดหรือพวกเหยี่ยวที่เราอยากพบอยากเห็นหรือไม่ กลับจากฮอกไกโดรอบนี้ ผมได้ฉายาติดตัวกลับมาด้วยว่า "Charlee, The Last One" ไม่รู้จะปลื้มใจดีไหมเนี่ย (ฮา) Large-billed Crow / อีกาปากหนา เป็นนกตัวแรกๆที่เจอเมื่อไปเยือนฮอกไกโดเลยก็ว่าได้ครับ แล้วก็ไม่ได้เจอแค่ครั้งเดียว เดินทางไปไหนก็พบเจ้านกสีดำชนิดนี้เต็มไปหมด แม้กระทั่งในเมืองที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ก็เห็นเจ้าตัวนี้เกาะหลังคา เกาะเสาไฟฟ้าเต็มพรืดไปหมด ไม่ต่างไปจากพวกนกเอี้ยงและนกกระจอกในบ้านเรา เป็นเพราะเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่ปรับตัวเก่ง กินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย บางครั้งมันถูกมองว่าเป็นนกที่ก่อความรำคาญ อีกาเป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย เจ้าญี่ปุ่นตัวนี้ สอบถามจากผู้รู้ได้ความว่าเป็น Large-billed Crow คิดว่าน่าจะเป็นคนละชนิดย่อยกับที่พบในประเทศไทยเรา อีกาที่พบในประเทศไทยขณะนี้ อดีตเคยพบ 2 ชนิดย่อย คือ 1.ชนิดย่อยหลัก C .m. mocrorhynchus ที่มีสีดำเข้มมาก พบทางตอนใต้ของประเทศ ตั้งแต่คอคอดกระลงไป และ 2. ชนิดย่อย C.m. levaillantii ที่พบทางตอนเหนือขึ้นมา และ กระจายพันธุ์ ไปทั่วตอนใต้ของเอเซีย ต่อมา มีการแยกชนิด ย่อย C.m.levaillatii ออกมาเป็นชนิดใหม่ เรียกว่า Jungle Crow ( C. levaillantii ) สรุปง่าย ๆว่า อีกา (Large-billed Crow) ในไทย แยกออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ อีกา (เดิม) ใช้ชื่อไทยใหม่ว่า "อีกาปากหนา" คงชื่อสามัญเช่นเดิม และอีกาที่พบตั้งแต่คอคอดกระขึ้นมาใช้ชื่อว่า อีกา "Eastern Jungle Crow" ผมพบเจ้าอีกาญี่ปุ่นตัวนี้ เกาะอยู่บนป้ายไม้บนสถานีกระเช้าลอยฟ้า ณ ยอดภูเขาไฟอุซุ มันเกาะป้ายไปก็โก่งคอดำๆของมันร้องไปเรื่อยๆ ว่า "กา-กา-กา" และกว่าจะมีเวลา(แว่บ)ไปเก็บภาพนักร้องป้ายไม้ตัวนี้ก็ต้องรอจนกว่าการบรรยายเรื่องกำเนิดภูเขาใหม่โชวะ (โชวะ-ชินซัง) และชมความงามของทะเลสาบโทย่า สิ้นสุดลงนั่นแหละครับ หลบมาพักใจกับธรรมชาติ บนยอดภูเขาไฟอุซุ นกอุ้มบาตร / White Wagtail ขณะอยู่บนยอดภูเขาไฟอุซุ ผมเห็นเจ้านกอุ้มบาตรเดินกระดกหางขึ้นกระดกหางลงไปตามพื้นสนามหญ้าสีเขียว หากพบในเมืองไทย เจ้านกชนิดนี้ถือเป็นนกอพยพตามช่วงฤดูกาล ผมเองไม่ได้ศึกษาว่า มันเป็นนกประจำถิ่นของญี่ปุ่นด้วยหรือเปล่า แต่นับเป็นหนึ่งในนกที่ถูกจำแนกแยกเป็นชนิดย่อยหลายสิบชนิดทีเดียว ในญี่ปุ่นเองก็เข้าใจว่า พบได้หลายชนิดย่อยเช่นเดียวกับไทยเราครับ เขตกระจายพันธุ์ของมันก็กว้างมากทีเดียว พบได้ตั้งแต่ยุโรป เอเชีย ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ข้อมูลจากวิกิมีเดียบอกว่า White Wagtail ชนิดย่อยที่พบแถบตะวันออกของรัสเซีย และญี่ปุ่น (เกาะฮ็อกไกโดกับเกาะฮอนชู) คือ Motacilla alba lugens นกกระจอกบ้าน / Eurasian tree sparrow เป็นชนิดที่ผมพบบ่อยรองจากอีกา (Large-billed Crow) ในทริปไปฮอกไกโด เมื่อมิถุนายน 2557 มักพบตามย่านชุมชน มันเป็นคนละชนิดย่อยกับที่พบในประเทศไทยเราครับ เจ้าตัวในภาพมีชื่อชนิดย่อยว่า Passer montanus saturatus มีถิ่นอาศัยแถบสักกาลิน(Sakhalin) ,หมู่เกาะคูริล (Kuril Islands),ญี่ปุ่น ,ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ส่วนเจ้าชนิดย่อยที่พบในประเทศไทย ชื่อว่า Passer montanus malaccensis นกนางนวล / Gull ตื่นตั้งแต่ตี 5 ลุกจากเตียงนอนอันอ่อนนุ่ม ณ ที่พักริมทะเลสาบโทย่า ออกไปเดินกินลมชมวิว ฟ้าสว่างแล้วแม้จะขมุกขมัวอยู่บ้าง ความจริงความมืดเริ่มหายไปราวสักตี 4 ตื่นขึ้นมาก็งงครับ นึกว่าตื่นสายไปเสียแล้ว คว้ามือถือมาส่องดูนาฬิกา บอกเวลาประมาณตี 4 กว่าๆ จึงทราบโดยอัตโนมัติว่า แถบถิ่นนี้ในช่วงฤดูร้อน ฟ้าสว่างเร็วกว่าเมืองไทยถึงเกือบ 2 ชั่วโมง เลยอาบน้ำแต่งตัว แล้วชงชาญี่ปุ่นร้อนๆจิบ ออกไปตะเวณถ่ายภาพทะเลสาบดีกว่า ลงมาจากโรงแรมที่พัก ก็เห็นนกนางนวลไซส์ใหญ่ที่เรียกกันว่า Gull 2-3 ตัว บินผ่านไปผ่านมา บางตัวก็เกาะตามระเบียงโรงแรมสูงๆก็มี มันเป็นนกนางนวลชนิดไหนหว่า ผมไม่ชำนาญในการไอเด็นนกนางนวลเสียด้วยซิ อาจเป็นได้ทั้ง Slaty-backed Gull ,Glaucous-winged Gull,Vega gull นกนางนวลที่พบได้ทั่วไปของฮอกไกโด ใช่หรือเปล่าไม่ทราบ ต้องส่งภาพนกไปให้ผู้เชี่ยวชาญแยกแยะอีกแล้วครับ Gull ตัวนี้ ผมพบที่ป้อมปราการโกเรียวคาคุ ในเมืองฮาโกดาเตะ เกาะหัวเสาไฟฟ้าอยู่ ไม่รู้ว่าชนิดไหนเหมือนกันครับ นกกิ้งโครงแก้มแดง / Chestnut-cheeked Starling เดินลัดเลาะไปตามทะเลสาบโทยา บรรยากาศมาคุมากๆ ฝนเม็ดเล็กๆโปรยลงตลอดพอให้เปียกหน่อยๆ ในที่สุดก็ได้เห็นนกตัวหนึ่งกำลังเกาะลวดสายไฟ เหนือหย่อมดงไม้ ทำเอาตื่นเต้นน้อยๆ เป็นนกที่ไม่เคยเจอในเมืองไทยมาก่อน แต่ดันกลับมาเจอที่ตอนเหนือของญี่ปุ่นเสียนี่ นั่นคือ นกกิ้งโครงแก้มแดง นกกิ้งโครงแก้มแดง ถือเป็นหนึ่งในนกอพยพของบ้านเรา สถานะจัดว่าหายากมากชนิดหนึ่ง แต่ก็สามารถเจอได้แทบทุกปี ปีละแค่ตัวสองตัวเอง อาจเป็นอีกชนิดหนึ่งที่อพยพจากตอนเหนือของเอชียลงมาหาความอบอุ่นทางตอนใต้ และไม่แน่ใจว่าในญี่ปุ่นพบมากน้อยขนาดไหน แต่ขอสารภาพว่า หากพบในเมืองไทย คงดีใจสุดชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เหยี่ยวหูดำ / Black-eared Kite (Milvus lineatus) ตอนไปปั่นจักรยานชมวิวทะเลสาบโอนุมา ผมหมายมั่นปั้นมืออย่างมากว่า ยังไงต้องมีพวกเป็ดหายากระดับเทพเรียกพี่ บินผ่านมาเข้าทางกล้องบ้างไม่มากก็น้อย โธ่..ก็แถวๆตอนเหนือของเอเชีย รวมไปถึงจีนและญี่ปุ่นเป็นแหล่งอาศัยของเป็ดหลายชนิด บางชนิดอพยพมาถึงหรือแวะผ่านเมืองไทยเรา ก็น้อยกว่าน้อยจนนับหัวกันได้เลยในแต่ละปี นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมตัดสินใจแบกเลนส์ 100-400 มม. อันหนักอึ้งหลายกิโลกรัมติดกระเป๋าไปด้วย อีตอนนั่งรถทัวร์ผ่านไปผ่านมาแถวทะเลสาบ ก็เห็นเป็ดหลายชนิดลอยตัวอยู่ไกลๆ สังเกตุเห็นไม่ชัด ที่แน่ๆละ ชนิดหนึ่งเป็น เป็ดผีใหญ่ (Great Crested Grebe) ซึ่งผมไม่เคยพบในเมืองไทยมาก่อน จะบอกให้เจ้าของทัวร์แวะจอดรถให้สักนิดหนึ่งก็เกรงใจเขามากๆ เพราะความโอ้เอ้หลายครั้งของผม ทำให้การเดินทางคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อยจากที่กำหนดไว้ ...ซึมิมาเซน จริงๆครับ และแล้วผมก็เจอเป็ดตัวหนึ่งโผขึ้นมาจากริมทะเลสาบ ขณะกำลังปั่นจักรยานไปตามไบค์เลนส์ อ๊ะ... เจ้า เป็ดแมลลาร์ด หรือ เป็ดหัวเขียว (Mallard) นั่นเอง มันตื่นตกใจอะไรหนอ อุ๊บ ... นั่นที่ร่อนอยู่เหนือแผ่นฟ้า เหยี่ยวเจ้าเวหานี่นา มันคงโฉบเข้ามาใกล้จัด เจ้าเป็ดเห็นท่าไม่ดีเลยบินหนีไปอย่างรวดเร็ว ผมรีบจอดสองล้อ เจ้า Raptor ร่อนใกล้ขนาดนั้น ลองถ่ายเหยี่ยวด้วยเลนส์ไวด์ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลยดีกว่า รูปลักษณ์และสีขนใต้ปีกด้านล่างดูคุ้นๆ เหมือนเคยพบที่ไหนมาก่อน ใช่เลยเจ้าตัวนี้ เหยี่ยวหูดำ (Black-eared Kite) เหยี่ยวหูดำ / Black-eared Kite (Milvus lineatus) มีสถานะเป็นนกอพยพในเมืองไทย ช่วงหน้าหนาวจะพบเห็นมันแถวท้องไร่ทุ่งนาบ่อยมาก โดยเฉพาะทุ่งภาคกลางแถบเพชรบุรี เจ้าตัวนี้มีญาติเป็นนกประจำถิ่นไทยเรา ชื่อว่า เหยี่ยวดำ (Black Kite) Milvus migrans govinda อ้าวเฮ๊ย....เพื่อนๆร่วมทริปหายไปไหนกันแล้ว ปั่นจักรยานตามดีกว่าเดี๋ยวจะพลัดหลงกัน ใกล้เที่ยงแล้วด้วย เดี๋ยวจะพลาดนัดกินข้าวเที่ยง มื้อนี้ระดับอาหารเหลาเสียด้วย ...ปั่นไปได้สักพัก ยังไม่เห็นพรรคพวกอยู่ข้างหน้า ขอแวะข้างทางบันทึกภาพทะเลสาบสีครามดีกว่า ใต้ร่มต้นไม้เขียว อากาศเย็นสบายเหลือเกิน เสียงคลื่นกระทบฝั่งกำลังสวย อ้าวนั่น เหยี่ยวนี่นา กำลังบินจากใจกลางทะเลสาบมาทางผมพอดี เข้าทางๆๆๆ ควักเอาเลนส์เท่เล่มาเปลี่ยนอย่างเฉียบพลัน ไม่เกิน 10 วินาทีก็เปลี่ยนเสร็จ เงยหน้าขึ้น เห็นเหยี่ยวตัวขนาดย่อมๆกระพือปีกบินทำมุม 60 องศาพอดี เสร็จเรา....นิ้วกดชัตเตอร์ลั่นไก ไม่แน่ใจว่าใช่ เหยี่ยวทะเลทรายตะวันออก Eastern Buzzard (Buteo japonicus) หรือไม่อย่างไร เป็นอันว่าผมพลัดหลงกับเพื่อนร่วมทริปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มองไปตามถนนไม่เห็นจักรยานเพื่อนร่วมทางสักคัน เอาน่ะ..ถ้าไม่เจอตัวผม ทางคณะคงไปไหนกันไม่ได้อยู่แล้ว (5555) ปั่นสองล้อไปอย่างเร่งรีบดีกว่า อ่า...นั่นไง เบื้องหน้ามีไกด์สาวประจำคณะคอยดักอยู่ปากทางเข้าภัตตาคาร ต้องขอขอบคุณมากๆครับ อาริกาโต โกะซาอิมาซ พอไปถึงร้านอาหารเป้าหมาย เพื่อนฝูงหลายคนที่ยืนคอยหน้าร้านด้วยความเป็นห่วง ปรบมือกันเกรียวกราว เหมือนตอนเจอคนหายยังไงไม่รู้ (ฮา) เนอะ "Charlee, The Last One" เป็ดหัวเขียว / Mallard พูดถึงเจ้าเป็ด Mallard ที่ว่ากันว่าเป็นต้นสายพันธุ์ของเป็ดที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ผมมีโอกาสเจอเจ้าเป็ดชนิดนี้อีกครั้งที่สวนน้ำในเมืองซัปโปโร คราวนี้เจอทั้งตัวผู้ตัวและตัวเมียเลยทีเดียว แล้วก็ไม่ยักจะกลัวคนเสียด้วย ยังว่ายน้ำเข้าให้ผู้มาเยือนจากไทยแลนด์ถ่ายภาพใกล้ๆ มีคนพูดกันว่า พวกนกที่อพยพมาเมืองไทยนั้น ตอนอยู่บ้านเกิดเมืองนอนก็เป็นปกติดี ไม่กลัวคนมากนัก แต่พอบินมาเข้าเขตประเทศไทยเท่านั้นแหละ สัญญาณ Red Alert มันเตือนขึ้นทันที คงกลัวคนไทยเราจับไปเลี้ยงจับไปรับประทานนั่นแหละครับ เสียดายมีเวลาเดินเล่นในสวนสาธารณะแห่งนี้ไม่นาน ไม่งั้นคงมีเป็ดอีกหลายชนิดลอยน้ำมาเข้าสายตาแน่ๆ เป็ดเทาพันธุ์จีน Eastern/Chinese Spot-billed Duck อยู่เมืองไทย เคยแต่พบเป็ดเทาพันธุ์อินเดีย (Indian Spot-billed Duck) ไปฮอกไกโดเที่ยวนี้ ถึงกับเจอญาติของเป็ดเทาพันธุ์อินเดียที่หายากกว่ามากๆ นั่นคือ เป็ดเทาพันธุ์จีน (Eastern/Chinese Spot-billed Duck) เห็นบริเวณคูน้ำที่ล้อมรอบป้อมปราการโกเรียวคาคุ กรุณาอย่าถามผมนะครับว่า รู้จุดสังเกตุหรือแยกแยะเป็ดทั้ง 2 ชนิดออกจากกันไหม ? ตอบได้สั้นๆ เพียงเท่านี้ครับว่า ตอนนี้ผมไม่รู้ แต่เท่าที่ทราบนั้น เป็ดเทาพันธุ์จีนนั้นเคยมีรายงานการพบมาก่อนแล้วในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย แต่ก่อนหน้านี้ถูกจัดเป็นเพียงชนิดย่อยของเป็ดเทา หรือ Spot-billed Duck เมื่อถูกแยกออกมาเป็นสองชนิด ชนิดหลักที่พบได้ในเมืองไทยอยู่ก่อนแล้วจึงถูกตั้งชื่อใหม่เป็นเป็ดเทาพันธุ์อินเดีย (Indian Spot-billed Duck) ชนิดนกที่พบในศาลเจ้าฮอกไกโด Brown-eared Bulbul ตั้งชื่อให้เป็นภาษาไทยตามอักษรอังกฤษว่า นกปรอดหูสีน้ำตาล แต่ถ้าให้ลองตั้งเล่นๆดู ขอใช้คำว่า "ปรอดแก้มหนา" ก็ดูซิครับ ธรรมชาติทาสีน้ำตาลเข้มตรงแก้มให้จนหนาเปรอะ ไม่รู้ว่าเพื่อปกปิดรอยหย่นหรือเปล่า นกชนิดนี้ไม่พบในประเทศไทยเรา เป็นนกปรอดขนาดกลาง มีถิ่นกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน,คาบสมุทรเกาหลี,ญี่ปุ่น,ทางตอนใต้ของไต้หวัน และหมู่เกาะทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ผมพบเจ้านกชนิดนี้ในศาลเจ้าฮอกไกโด ได้ยินเสียงร้องมาจากดงสนริมทางเดิน จึงแหวกพุ่มไม้เข้าไปดู ได้ยินแต่เสียงไม่เห็นตัว ต้องใช้สายตาโฟกัสอยู่ชั่วอึกใจ จึงเห็นเจ้าของเสียงเกาะคอนพุ่มไม้ใบบัง กดชัตเตอร์ไปได้ 3-4 ภาพ ไกด์สาวคนเดิมก็เดินมาตาม เพราะเพื่อนๆ เค้าขึ้นรถกันหมดแล้วนะ "Charlee, The Last One" อย่างที่เรียนให้ทราบตั้งแต่แรกแล้วครับ ทริปสัมผัส...ฮอกไกโด ช่วงเวลาแห่งไออุ่น ไม่ใช่ทริปดูนกแต่อย่างใด แต่เป็นการเดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ทางตอนใต้ของฮอกไกโดที่หลายคนอาจมองข้ามไป นกที่ท่านเห็นในบล็อกนี้ ไม่ใช่นกทั้งหมดของฮอกไกโดแต่อย่างใด เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น อาจจะเรียกว่าเก็บตกจากข้างทางก็ได้นะครับ ซึ่งก็สนุกและตื่นเต้นเมื่อต้องแข่งกับเงื่อนเวลาของการเดินทางที่วางเอาไว้ หากชวนผมไปเที่ยวฮอกไกโดอีกครั้ง สาบานได้เลยว่า ท่านจะได้พบกับ "Charlee, The Last One" อีกคราอย่างแน่นอน (ฮา) Thank you very much everyone for an unforgettable experience
OFFICIAL - Somewhere Over the Rainbow 2011 - Israel "IZ" Kamakawiwo'ole
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |