*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เครือข่ายคัดค้านกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง นำโดยกลุ่มโอเคเนเจอร์ กลุ่มระวังไพร และมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร จัดกิจกรรมเดินเองได้ ไม่เอากระเช้า นำพาทีมสื่อมวลชนหลายสำนักหลากแขนง ขึ้นไปสำรวจเส้นทางและบริเวณที่จะใช้สร้างกระเช้าไฟฟ้าที่ภูกระดึง จ.เลย มูลค่า 600 ล้านบาท เป็นโครงการที่มีองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.) เป็นเจ้าภาพ และพยายามผลักดันเพื่อให้รัฐบาลชุดปัจจุบันอนุมัติเงินงบประมาณก่อสร้างโครงการ สำหรับกับคนที่มีภารกิจด้านการนำเสนอข้อมูลข่าวสารออกสู่สาธารณชนแล้ว ไม่มีอะไรที่จะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รอบด้าน และเข้าใจในปัญหาต่างๆได้อย่างลุ่มลึก มากไปกว่าการลงพื้นที่ที่เป็นปมประเด็นเพื่อทำข่าวภาคสนาม เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวอื่นๆ ที่ต้องการขึ้นไปสัมผัสความงดงามของธรรมชาติบนภูกระดึง สื่อมวลชนได้มีโอกาสปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรก คือ การลงทะเบียนชั่งน้ำหนักกระเป๋าและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ลูกหาบแบกขึ้นภูกระดึงในอัตรากิโลละ 30 บาท ไปจนถึงขึ้นตอนสุดท้ายเมื่อลงจากภู คือ รับประกาศบัตรผู้พิชิตภูกระดึง แน่นอนว่า ทริปนี้ สื่อมวลชน รวมไปถึงเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร สมาชิกชมรมโอเคเนเจอ์ สมาชิกกลุ่มระวังไพร นอกจากจากสำรวจเส้นทางเดินขึ้นภูกระดึงแล้ว สมาชิกทริปนี้ยังมีโอกาสพูดคุยสนทนากับเจ้าของร้านค้าในแต่ละซำ ลูกหาบ นักท่องเที่ยว และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศ และแน่นอนที่สุด ทุกคนต้องการไปเห็นจุดที่จะสร้างสถานีปลายทาง ตามโครงการใช้สร้างกระเช้าไฟฟ้าที่ภูกระดึง จ.เลย มูลค่า 600 ล้านบาท ที่ว่ากันว่า เป็นโครงการ"มโน...โปรเจ็ค" เพราะไม่ได้ศึกษาผลกระทบต่อภูกระดึงอย่างรอบด้าน แถมยังขาดการศึกษาข้อเท็จจริงในภาคสนาม ! (คุณนพรัตน์ นาคสถิตย์ รองประธานมูลนิธิสืบ เคยให้ข้อมูลถึงความไม่ชอบมาพากลของรายงานวิจัยโครงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง โดยได้มีการยกตัวอย่าง ข้อมูลหลายส่วนของรายงานที่ไม่ได้ผ่านการสำรวจข้อมูลที่แท้จริง แต่เป็นการไปนำเอาข้อมูลเก่าเมื่อยี่สิบปีที่แล้วมาอ้าง บวกกับการยกเมฆข้อมูลและตัวเลขบางส่วนขึ้นมา จึงได้มอบชื่อรายงานวิจัยฉบับนี่ว่า เป็นรายงาน "มโน โปรเจ็ค" ) โดยข้อเท็จจริงนั้น กระแสสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงมีความพยายามมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ปี 2525 เริ่มจากแนวคิดของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่ได้มีหนังสือเสนอกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ให้พิจารณานำระบบขนส่งขึ้น-ลง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยใช้ยานพาหนะซึ่งเดินทางโดยสายเคเบิ้ลมาใช้ขนส่งนักท่องเที่ยว แต่ก็เป็นผลสำเร็จ เพราะถูกคัดค้านอย่างหนัก กระแสล่าสุดนั้น รัฐบาลในชุดที่มี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ อพท. ไปศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง อ้างว่าเพื่อกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวในจัวหวัดเลย ต่อมา เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ปีเดียวกัน อพท.ได้ว่าจ้างเป็นเงิน 20 ล้านบาท ให้กลุ่มที่ปรึกษา นำโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,บริษัท แกรนด์เทค และบริษัทไทยซิสเทมเอนไว แอนด์ เอนจิเนียริ่ง เป็นผู้ดำเนินการ จากข้อมูลของโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงนั้น ได้เลือกเส้นทางที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในการก่อสร้างที่สุดมีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร โดยสถานีต้นทาง อยู่ในเขตหมู่บ้านทานตะวัน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน ประมาณ 3.50 กม. ส่วนสถานีปลายทาง อยู่ห่างจากบริเวณหลังแป ไปทางทิศตะวันตกในระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ตามโครงการของผู้วิจัยนั้น ในบริเวณสถานีปลายทางกระเช้าไฟฟ้านั้น ยังมีสิ่งก่อสร้างเครือข่ายอีกหลายประเภท เช่น อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาคาร ห้องน้ำ และศูนย์ศึกษาธรรมชาติ แน่นอนว่าจะตามมาด้วยปริมาณขยะและน้ำเสียที่จะมากขึ้นบนพื้นที่อุทยาน เพิ่มปัญหาด้านมลพิษจากปัจจุบันที่ยังแก้กันไม่ตก เมื่อพวกเราเดินทางไปถึงจุดสำหรับสร้างเป็นสถานีปลายทาง ผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าได้นำเสาธงชาติมาปักไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ (ที่รู้ว่าเป็นจุดสร้างสถานีปลายทางก็จากการสอบถามจากชาวบ้านนั่นแหละ) หากเดินจากจุดที่จะก่อสร้างสถานีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นบนภูกระดึง ไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ ชาลี วาระดี ตัวแทนกลุ่มระวังไพร ให้สัมภาษณ์สื่อ บริเวณจุดสร้างสถานีปลายทางบนภูกระดึง พร้่อมตั้งคำถามว่า..นักท่องเที่ยวที่ขึ้นภูกระดึงด้วยกระเช้าเพราะไม่สามารถเดินขึ้นมาได้ แล้วจะเดินไปยังจุดท่องเที่ยวต่างๆ ได้ไหม ? สุดท้าย กระเช้าก็คือ "พาหนะ" ที่จะนำ "หายนะ" ขึ้นมาสู่ภูกระดึง! # 6 เหตุผล ทำไมไม่เอากระเช้าขึ้นภูกระดึง 1. บนหลังแปภูกระดึง ไม่เหมือนบนยอดเขาหวงซาน ไม่เหมือนธารน้ำแข็งไห่โหลวโกว ที่จีน ไม่เหมือนโอวคูคานิที่ญี่ปุ่น ไม่เหมือนเกาะลังกาวีที่มาเลเซีย หรือแม้กระทั่งไม่เหมือนที่เขาคอหงส์ที่สงขลา ที่ที่กล่าวมานั้น นักท่องเที่ยวมีพื้นที่ให้เดินอย่างจำกัดมาก มีเส้นทางแน่นอน ชัดเจน บางที่มีรั้วกั้นไม่สามารถออกนอกทางเดินได้ แต่ที่ภูกระดึงบนหลังแปนั้นพื้นที่กว้างใหญ่มาก นับสิบๆตารางกิโลเมตร แม้จะมีทางเดินที่ทำเป็นทางไว้ แต่คนก็ออกนอกพื้นที่ ออกนอกเส้นทางได้ตลอดเวลา คนยิ่งมากก็ยิ่งไร้การควบคุม ธรรมชาติย่อมเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน 2. คนมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้ ความยากที่ต้องเดินเท้าขึ้นเขา 5.5 กม. เป็นเครื่องคัดกรองคนให้พอเหมาะพอควรกับธรรมชาติที่จะรองรับได้ แต่เมื่อคนมากเกินไป ตามอัตราความถี่ของกระเช้า ที่จะสามารถบรรทุกคนขึ้นมาได้ จะทำให้มีคนอยู่กันจนเกลื่อนภูกระดึง และธรรมชาติย่อมถูกกิจกรรมของมนุษย์ที่มากมาย ทำลายลงอย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งเวลาที่ภูกระดึงปิดปีละ 4 เดือน ก็ไม่อาจฟื้นสภาพได้ทัน 3. อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อยู่ท่ามกลางการรายล้อมของชุมชน มีการรบกวนจากมนุษย์ สัตว์ป่าจึงขึ้นมาอาศัยบนหลังแปมาก เราจึงมักพบเห็นช้างป่า หมาไน หมาจิ้งจอก เก้ง กวาง บนภูกระดึงบ่อยครั้ง เมื่อลงไปก็ไม่ปลอดภัย ขึ้นมาอยู่บนหลังแปนักท่องเที่ยวก็มาก จะเกิดการเผชิญหน้าระหว่างสัตว์ป่ากับนักท่องเที่ยว (ปัจจุบันยังมีช้างทำร้ายนักท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเส้นทางไปผานกแอ่นในตอนเช้ามืดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดูพระอาทิตย์ขึ้น) 4. ทำลายอาชีพของลูกหาบที่เป็นคนเล็กคนน้อย ชาวบ้านศรีฐาน และบริเวณใกล้เคียง เมื่อถึงหน้าเปิดภู จะมีอาชีพเสริม แต่เป็นรายได้หลัก คือการมารับจ้างหาบสัมภาระนักท่องเที่ยวขึ้นภูกระดึง กก.ละ 30 บาท วันหนึ่งๆ ลูกหาบสามารถหาบได้ 20-60 กก./เที่ยว ลูกหาบใช้เวลา ราว 3-4 ชม.จากที่ทำการด้านล่าง ขึ้นไปจนถึงหลังแปและต่อไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯ บนภูถือเป็นรายได้ที่ดีสำหรับคนที่ไม่มีทางเลือกในสังคมมากนัก ทั้งเป็นรายได้เสริมจากการรอเก็บเกี่ยวในนาที่ภาคอีสานทำนาได้แค่ครั้งเดียว แค่พอได้ข้าวกิน รายได้จากการเป็นลูกหาบในช่วงเปิดภูจึงเป็นรายได้ที่เลี้ยงครอบครัว ส่งลูกเรียน กระเช้าจะมาแย่งงาน แย่งอาชีพ แย่งรายได้จากคนเหล่านี้ไปจนหมดสิ้น 5. ตัดหนทางทำมาหากินเล็กๆน้อยๆของร้านค้าระหว่างทางร้านค้าที่ขายอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยวระหว่างทางที่ซำต่างๆ นั้น เป็นชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงกับภูกระดึง ที่ปีหนึ่งจะมีกำไรเล็กๆน้อยๆจากการขายของให้นักท่องเที่ยว การโอภาปราศรัย การทักทาย สร้างสัมพันธ์ การเข้าอกเข้าใจกันระหว่างนักท่องเที่ยวและร้านค้าริมทางเดิน เมื่อกระเช้ามาถึงก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินขึ้น รายได้ที่พอมีบ้างอันน้อยนิดก็จะหายไป การมาของกระเช้า นอกจากจะทำลายธรรมชาติแล้ว ยังทำลายแหล่งรายได้ของคนจนด้วย 6. กรมอุทยานฯพยายาม สร้างความร่วมมือ ให้ประชาชนที่อยู่รอบๆป่า มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า ซึ่งบางพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวบ้านก็ขายสินค้าของที่ระลึกกับนักท่องเที่ยวได้ เมื่อเขามีรายได้จากธรรมชาติใกล้บ้าน เขาก็จะอยากช่วยกันดูแลรักษาเอง แต่สำหรับภูกระดึง เหมือนภาครัฐหลอกให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาป่า แล้วเอาป่าที่เขาดูแลไปให้นายทุน(หรือกลุ่มทุนที่ใหญ่กว่า) หาผลประโยชน์ นอกเหนือจากเรื่องผลกระทบด้านต่างๆจากการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าที่ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนกันไปหมดไส้หมดพุงแล้ว คุณนพรัตน์ นาคสถิตย์ รองประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และคุณรุ่งสุริยา บัวสาลี นักวิจัยพันธุ์ไม้ และระบบนิเวศน์ของป่าในเบื้องลึก ได้ให้ข้อมูลระบบนิเวศของภูกระดึงที่มีความหลากหลายตามระดับความสูง-ต่ำของผืนป่า มีทั้งป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ขณะที่คุณนพรัตน์ ตั้งข้อสังเกตุว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นความเสียหายขึ้นกับผาหล่มสัก เนื่องจากพบดินแยกบริเวณผาหล่มสัก จากข้อมูลทางธรณีวิทยาในปี 2549 คุณเต็งพ้ง เพียรพัฒน์ ตัวแทนชมรม OKnature ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึงที่อ้างกันว่าเป็นเรื่องของประชาชนในพื้นที่ เมื่อได้ศึกษาดูจากการสร้างกระเช้าในต่างประเทศ ไม่มีสถานที่ใดเมื่อสร้างแล้วประชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์แท้จริง แต่จะกลายเป็นผลประโยชน์เชิงธุรกิจในรูปแบบการทำสัมปทาน เป็นเศรษฐกิจเฉพาะเจ้าของสัมปทานเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ส่วนร้านค้า ลูกหาบ จะถูกเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างในระบบธุรกิจสัมปทาน จึงเกิดคำถามขึ้นว่ากระเช้าไฟฟ้านี้จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ประชาชนในพื้นที่ได้จริงหรือไม่ ?? ตามที่ปรากฎเป็นข่าวนั้น โครงการกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึงฉบับไฟนัล อยู่ในการพิจารณาของอพท.สำนักงานใหญ่ คาดว่าเตรียมเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอนุมัติให้เดินหน้าก่อสร้างได้ในต้นปี 2558 ซึ่งในข้อเท็จจริง โครงการจะไม่สามารถนำเสนอเข้าสู่ครม.ได้ หากไม่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสียก่อน เสน่ห์ของภูกระดึงนั้น นอกเหนือจากวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัว แหล่งศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติชั้นดีแล้ว ยังมีเสน่ห์ในเรื่องการเดินเท้าขึ้นภู ชื่นชมธรรมชาติป่าเขา สนทนาสรวลเสในหมู่มิตรสหาย เพิ่มสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว พูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกับชาวบ้านที่เป็นทั้งลูกหาบและพ่อค้าแม่ขายตามร้านรวงต่างๆ นั่นเป็นความผูกพัน มิตรภาพ และความงดงามอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิต คนจำนวนมากจากหลากหลายรุ่น มองภูกระดึงเสมือนหนึ่งเป็นคุณค่าทางธรรมชาติ
# ทำไมเขาถึงอยากสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง 1. จะได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุหรือคนพิการได้ขึ้นไปเที่ยวภูกระดึง 2. กระเช้าจะได้ลดปริมาณคนที่ค้างบนภูกระดึง ในปัจจุบัน คนจะมากบนหลังแปตั้งแต่ช่วง 5 ธันวาคม- เทศกาลปีใหม่ แต่ก็ไม่มากจนแออัด โดยเฉลี่ยทั้งฤดูกาลที่เปิดการท่องเที่ยว จะมีคนค้างคืนบนภูกระดึง ประมาณ 500 - 1000 คนเท่านั้น คนจะหนาตาที่บริเวณลานกางเต็นท์เมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยว เท่านั้น ในแต่ละวันนักท่องเที่ยวจะกระจายกันออกไปเดินเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจึงเพียงพอที่ธรรมชาติจะรองรับได้ 3. ในกรณีฉุกเฉิน กระเช้ามาสามารถขนคนเจ็บลงได้อย่างรวดเร็ว 4. ลูกหาบที่แบกหาม จะมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง มีปัญหาด้านสุขภาพ 5. ลูกหาบจะลดจำนวนลง จะมีคนใหม่ๆ มาทดแทนน้อย 6. ในช่วงเทศกาล สัมภาระมีมาก จนลูกหาบมาบริการไม่ไหว 7. ชาวบ้านสามารถขายของที่ระลึกหรือสร้างที่พักนักท่องเที่ยวได้ 8. กระเช้าจะทำให้เศรษฐกิจของบ้านศรีฐานดีขึ้น --------------------------------- Guy Jones - 'Into The Wild'
. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |