*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
หนึ่งในวัตถุประสงค์สำคัญของการก่อตั้งเขตป่าสงวนป่าอนุรักษ์ ..ก็คือ การรักษาป่าต้นน้ำลำธาร เพื่อให้เป็นแหล่งอ่างเก็บน้่ำถาวร ยังประโยชน์มาสู่สรรพสัตว์บนโลกใบนี้ ไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร เพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน ลำธาร เป็นแหล่งรวบรวมน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งไหลมาจากที่ต่างๆ รวบรวมเป็นสายน้่ำแห่งชีวิต พื้นที่ต้นน้ำ ป่าไม้ ดิน และน้ำ ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต้องมีความสมดุลและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกรบกวนหรือทำลายไป ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายต่อส่วนต่างๆอย่างเป็นลูกโซ่ พื้นที่ป่าฮาลาและป่าบาลาในท้องที่ตำบลจะแนะ ตำบลแว้ง ตำบลแม่ดง ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง ตำบลมาโมง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื้อที่ประมาณ 270,725 ไร่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนกันเป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย มีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองที่สำคัญหลายชนิดอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์ของสัตว์ป่าและให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย รวมทั้งเป็นการช่วยป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและป่าไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่ถาวรตลอดไป สมควรกำหนดบริเวณที่ดินป่าแห่งนี้ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อ พ.ศ. 2539 สายน้ำนำมาซึ่งความชุ่มชื้นและชีวิต สัตว์น้อยใหญ่ในป่าดงพงไพรล้วนพึ่งพาอาศัยน้ำในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง ฝนขาดช่วง น้ำเหือดแห้ง ป่าและสัตว์ป่าขาดแคลนน้่ำเป็นเวลานาน ลำธารที่เคยขยายกิ่งก้านสาแหรกในฤดูฝน มาเหลือเพียงสายน้ำสายเล็กๆในฤดูร้อน เป็นเหมือนโอเอซิสกลางป่าของสรรพสัตว์ รวมทั้งไปสิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่า ลมปีกแห่งพงพี สำหรับกิจกรรมการดูกนั้น นอกจากอาศัยสองเท้าเดินไปตามถนนหรือเทรลศึกษาธรรมชาติเพื่อเชยชมปักษีปักษาแล้ว การใช้บังไพรเป็นอุปกรณ์พรางตัว ก็ถูกนำมาใช้สำหรับการดูนกมาอย่างยาวนาน ส่วนใหญ่จะตั้งบังไพรกันในบริเวณที่เชื่อกันว่านกมักปรากฎตัวเป็นประจำ แต่การนั่งดูนกในบังไพร ก็มีกฎกติกามารยาทที่ทุกคนพึงปฏิบัติตาม เช่น ระยะห่างของบังไพรกับจุดที่คาดว่าจะเห็นนก การตกแต่งบังไพรเพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติที่สุด ความนิ่งเงียบทั้งเสียงและการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อรบกวนนกให้น้อยที่สุด ....ในลำธารสายน้อยที่ไหลรินของผืนป่าฮาลาบาลาวันนั้น ท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว น้ำใสไหลเย็นที่ไหลเอื่อยเฉื่อยจากภายในป่าลึก ผ่านเทรลศึกษาธรรมชาติกลางป่า ใต้ความรกครึ้มของพญาไม้ใหญ่ เสียงน้ำไหลไพเราะดุจระฆังแก้ว เสียงสกุณาหลากสายพันธุ์ร้องก้องไพร แว่วมาแต่ราวป่า ดูเหมือนใกล้ ดูเหมือนไกล....เสมือนบรรเลงเพลงซิมโฟนีแห่งสวรรค์ ....เพรียกหาจากป่าสู่คนเมือง .... ปลุกเร้าจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ภายในมาแต่ครั้งบรรพกาล.... นกปรอดหลังฟู (Hairy-backed Bulbul) นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล (Moustached Babbler) นกกินแมลงตาขาว (Grey-headed Babbler) นกกินแมลงหัวแดงเล็ก (Scaly-crowned Babbler) นกจู๋เต้นตีนใหญ่ (Large wren-ฺBabbler) นกกินแมลงป่าหางสั้น (Short-tailed Babbler) นกปรอดสีคล้้ำใต้คอเหลือง (Finsch’s Bulbul) นกกระเต็นน้อยสามนิ้ว (Oriental Dwarf Kingfisher) นกคอสามสี (Rail-Babbler) จะเห็นเส้นสีขาวใต้บริเวณลำคอ ตอนนกกู่ร้อง นกพรานผึ้ง (Malaysian honeyguide) ชีวิตมหัศจรรย์...พรานล่าผึ้ง นกพรานผึ้ง (Malaysian honeyguide) เป็นหนึ่งในนกที่พบได้ยากมากชนิดหนึ่งในเมืองไทย แม้จะรูปลักษณ์จะออกธรรมดา คล้ายนกปรอด ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น แต่ความลึกลับของนกชนิดนี้และพฤติกรรมการหาอาหารที่ออกจะแปลกไปกว่านกชนิดอื่น รวมกับชื่อที่สร้างความฉงนสงสัย ทำให้นกพรานผึ้งเป็นหนึ่งในนกระดับเทพที่บรรดานักดูนกอยากพบอยากเจอเป็นหนักหนา ไม่มีอะไรจะโชคดีไปกว่านี้อีกแล้วหากคุณพบนกชนิดนี้ระหว่างออกทริปดูนก เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะเจอะเจอกับนกพรานผึ้งอีกเมื่อไหร่ เป็นนกประจำถิ่น มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายนกปรอดมาก แต่จะงอยปากหนาและอวบกว่า นกตัวผู้ที่หัวไหล่มีแถบเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่ไม่มีแถบเหลือง มีเสียงร้อง"เมี้ยว"คล้ายแมวเหมียว นักดูนกทุกคนได้ยินแล้วรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงสวรรค์(ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงหรือพบนกหายากอะไรประมาณนั้น) เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว แต่บินได้เก่งและเร็ว ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร ทีนี้ก็มาถึงคำถามสำคัญครับ ทำไมถึงเรียกว่า "นกพรานผึ้ง" มันที่มาที่ไปค่อนข้างยาวพอสมควร คือ เป็นนกที่ล่าผึ้งเป็นอาหาร มันกินทุกอย่างของผึ้ง รวมไปถึงตัวอ่อนของผึ้ง และขี้ผึ้งด้วย ตัวต่อก็เป็นอาหารของมันเช่นกัน เหมาะสมกับชื่อภาคภาษาไทยจริงๆ เคยดูสารคดี BBC ตอนหนึ่งพูดถึงพฤติกรรมของนกพรานผึ้งชนิดหนึ่งว่า เมื่อพบรังผึ้งเป้าหมาย นกพรานผึ้งจะบินไปตามหาหมี เพื่อให้ไปที่โพรงหรือรังผึ้ง แล้วส่งเสียงร้องชักชวนหมีตลอดคล้ายๆกับชี้เป้านั่นแหละ เมื่อหมีไปเจอรังผึ้งและกินเสร็จสรรพเรียบร้อย ทีนีก็ถึงตานกเจ้าปัญญาเข้าไปหม่ำอาหารที่หมีทิ้งไว้ตามพื้่นดินพื้นป่า เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลายต่อเนื่อง ประกอบกับประชากรนกที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้ว ทำให้สถานภาพของนกพรานผึ้ง จัดอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ( IUCN Red List of Threatened Species) นกระวังไพรหลังแดง (Chestnut-backed Scimitar-Babbler) ระวังไพร..ระวังภัย ไปเที่ยวป่าใต้ปลายด้ามขวานรอบนี้ พกโชคไปเยอะจริงๆ มีโอกาสเจอนกหายากหลายชนิดในป่าดิบของจังหวัดนราธิสวาส เช่น เจ้าตัวนี้ ชื่อนกระวังไพรหลังแดง /Chestnut-backed Scimitar-Babbler เป็นนกระวังไพรชนิดเดียวจากที่พบทั้งสิ้น 6 ชนิดในเมืองไทย ที่พบในเขตป่าดิบทางใต้สุดของประเทศ นกระวังไพรมีปากแหลมโค้ง เป็นสัญลักษณ์เด่น เห็นปุ๊บรู้ปั๊บ สามารถจำแนกออกได้ทันที นอกจากพบที่ป่าดิบปลายด้ามขวานแล้ว นกระวังไพรหลังแดงยังมีเขตกระจายพันธุ์อยู่ในบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในบรรดานกระวังไพรด้วยกันนั้น นกระวังไพรหลังแดง มีรูปลักษณ์ดูคล้ายๆกับนกระวังไพรปากเหลือง /White-browed Scimitar Babbler แต่ปากสีขาวแกมเหลือง กระหม่อมดำ หลังมีสีน้ำตาลแดง ส่วนนกระวังไพรปากเหลืองนั้น ปากมีสีเหลืองสดชัดเจน และบริเวณลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแกมเขียวถึงน้ำตาลแกมแดง จัดอยู่ในวงศ์นกกินแมลงและนกกะราง (Timaliidae) ลำตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และท้อง สีขาว มีหางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลง ตามพื้นดินและพุ่มไม้ ทำไมถึงมีชื่อไทยว่า "นกระวังไพร" ไม่ทราบจริงๆ ไม่มีข้อมูลด้านนี้เลยครับ แต่เมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมของนกในกลุ่มนี้ที่มีการเคลื่อนไหวว่องไว รวดเร็ว ชอบมุดหรือหลบๆซ่อนตามพุ่มไม้ใบบัง ไม่ชอบโชว์ตัวในที่โล่งแจ้ง ระวังภัยจากศัตรูตามธรรมของมัน ก็อาจจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวนี้ได้ นกขุนแผนตะโพกแดง (Scarlet-rumped Trogon) ระเบิดเพลิงกลางพงไพร ขณะนั่งอยู่ในบังไพรชมพวกนกกินแมลงและนกปรอดมาเล่นน้ำในลำธารขนาดเล็กกลางป่าดิบอยู่อย่างเพลิดเพลิน ทันใดนั้นก็มีนกตัวแดงๆเหมือนระเบิดเพลิง บินมาเกาะเถาวัลย์ตรงเบื้องหน้าพอดิบพอดี สารภาพเลยว่า ตอนนกสีสวยสดชนิดนี้มาเกาะไม้เลื้่อยอยู่ใกล้ ๆ แทบไม่ได้ยินเสียงลมปีกที่กระพือฝ่าอากาศเอาเสียเลย บินได้เงียบกริบดีจริงๆ แต่ที่เต้นตูมตามขึ้นมาอย่างกระทันหันนั้น คือหัวใจของผมเองที่โชคดี(อีกครั้ง)มีโอกาสเห็นหนึ่งในนกขวัญใจตลอดกาล อย่างนกขุนแผนตะโพกแดง / Scarlet-rumped Trogon ในระยะประชั้นชิดจนแทบจะลืมหายใจเอาเลยทีเดียว นกขุนแผนตะโพกแดง เป็นนกในวงศ์นกขุนแผน (Family Trogonidae) ที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (25 -35 เซนติเมตร) หัวโตคอสั้น หางยาวตรงและกว้าง ปลายตัด ปากกว้างแบนแต่แข็งแรง ตีนเล็กไม่แข็งแรง นกตัวผู้และตัวเมียมีสีสันต่างกัน มักเกาะนิ่งเป็นเวลานานๆ ในระดับกลางเรือนยอดไม้ หลายๆครั้ง เมื่อเดินดูตามเทรลในป่า ความที่มันชอบเกาะคอนนิ่งๆคอยดักกินแมลง ทำให้นักดูนกมักโดนเจ้าขุนแผนเห็นตัวก่อนอยู่เสมอ ไม่ทันได้บันทึกภาพ มันก็บินไปเสียแล้ว แต่นกก็ไม่ได้หนีไปไกลจนหายตัวไปไหนหรอกครับ มันบินไปเปลี่ยนที่เกาะคอนใหม่ไม่ห่างจากจุดเดิมมากนัก คนไทยเรียกนกสีสวยจี๊ดจ๊าดบาดใจที่พบในป่าเมืองไทยทั้งสิ้น 6 ชนิดว่า "นกขุนแผน" ไม่แน่ใจว่าชื่อเรียกนี้เกิดจากคำเรียกนกรูปงามให้สอดคล้องกับหนุ่มรูปงามในตำนานอย่าง"ขุนแผนแสนสะท้าน"หรือไม่อย่างไร แต่ชื่อ "Trogon" นั้นเป็นภาษากรีก แปลว่า แทะหรือกัดออกเป็นชิ้นๆ น่าจะตั้งชื่อเลียนตามพฤติกรรมของนกที่ใช้ปากขบตอไม้เป็นโพรงกว้างเพื่อสร้างรัง เป็นนกประจำถิ่นไทยที่อาศัยอยู่ในเขตป่าผลัดใบและป่าดิบ ความสูงไม่เกิน 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงมาจนถึงป่าทางใต้ รวมไปถึง พม่า มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร อยู่ในสภาวะถูกคุกคามจากการทําลายป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับนกอีกหลายชนิด สถานะการอนุรักษ์จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ (NT - Near Threatened) เปิดวิกิพีเดียหาข้อมูลนกในวงศ์นกขุนแผน ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจมากๆว่า มีการพบซากฟอสซิลนกในวงศ์นี้ ย้อนหลังไปถึง 49 ล้านปี ในยุคไมโอซีนตอนกลาง (Middle Miocene)โน่นแน่ะ นกเอี้ยงชวา (Javan Myna) สงครามชีวิต...เอี้ยงจ๋า ไปฮาลาบาลาครานี้ มีโอกาสพบนกใหม่เกฺ็บไว้ในลิสต์หลายชนิด หนึ่งในจำนวนนั้นคือ นกเอี้ยงชวา (Javan Myna) อันว่าเจ้านกเอี้ยงชนิดนี้ ผมเคยเห็นมาแล้วที่สิงคโปร์ แต่ไม่จัดให้เป็นนกใหม่ เพราะลิสต์นกใหม่ของผมนั้นนับเฉพาะนกที่พบในประเทศไทยเท่านั้น แต่ก็ถือว่าโชคดีมากๆ เพราะผมและคณะไปเจอนกเอี้ยงชวาฝูงใหญ่เข้าที่หมู่บ้านแถวๆเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา จ.นราธิวาส เดิมทีนั้น นกเอี้ยงชวา เป็นนกประจำถิ่นที่พบบนเกาะชวา และเกาะบาหลี ต่อมาถูกนำเข้ามาเลี้ยงบนเกาะสิงคโปร์ จนประชากรนกบางส่วนได้หลุดจากกรงสู่ธรรมชาติ และเพิ่มประชากรขึ้นอย่างรวดเร็ว จนได้กระจายพันธุ์เข้าสู่แผ่นดินใหญ่ของมาเลเซีย ทว่าตอนนี้นกเอี้ยงชวามีสถานะกลายเป็นนกประจำถิ่นของไทยไปเรียบร้อยแล้ว ในลำดับที่ 1002 หลังจากมีรายงานการพบครั้่งแรกเมื่อต้นปี 2555 บริเวณใกล้ที่ทำการสถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลา-บาลา จ.นราธิวาส ประชากรนกชนิดนี้จำนวนหนึ่งมีการขยายถิ่นฐานจากมาเลเซียข้ามพราแดนเข้ามายังฝั่งไทย และมีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโดยปกตินกเอี้ยงมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่งอยู่แล้ว ดูจากรูปโฉมภายนอก นกเอี้ยงชวาเหมือนเป็นลูกกผสมของนกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna) กับนกเอี้ยงควาย (Jungle Myna) ส่วนตัวผมคิดว่า หน้าตาออกจะหนักไปทางเหมือนเจ้าเอี้ยงควายมากกว่า แต่เจ้าเอี้ยงชวานั้นมีขนาดใหญ่กว่าเอี้ยงควายเล็กน้อย และเพราะขนาดรูปร่างที่ใหญ่กว่ากันนี่แหละ การเพิ่มสำมะโนครัวประชากรของเจ้าเอี้ยงชวาที่มีพฤติกรรมขับไล่นกที่มีพื้นที่อาศัยและแหล่งอาหารทับซ้อนกันอยู่แล้ว จึงส่งผลกระทบโดยตรงถึงเจ้าเอี้ยงควาย เจ้่าของพื้นที่เดิม ตอนที่เจ้าเอี้ยงชวาฝูงใหญ่จำนวนหลายสิบตัวที่หมู่บ้านใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลานั้น ก็ไม่พบเจ้าเอี้ยงควายแม้แต่ตัวเดียว ทั้งที่บริเวณนั้นเคยมีรายงานการพบนกเอี้ยงควายมาก่อน ทำให้อดเป็นห่วงถึงอนาคตของเจ้าเอี้ยงควายไม่ได้ จะรบแพ้ ถึงขั้นเสียบ้านเสียเมือง โดนยึดแย่งพื้่นที่ทำกินไปจนสิ้่นเนื้อประดาตัว (โชคร้ายของสัตว์เพราะขาดที่ทำกินแต่ไม่มีใครมาแจกสปก.ให้) ด้วยเอี้ยงชวาผู้มาใหม่นั้นช่ำชองในการรุกรบ-รุกรานมากกว่า แถมยังอาศัยอยู่ได้ทั้งในย่านชุมชนและท้องทุ่งนา ดังภาพที่นำมาลงเป็นภาพนกเอี้่ยงชวาเกาะอยู่บนหลังควายแทนที่จะเป็นภาพเอี้ยงควายที่เคยเห็นชินตาแถวย่านนั้น ตัวอย่างของหนังเรื่องมีให้เห็นกันมาแล้วในสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่การปรากฎตัวของนกเอี้ยงชวา ส่งผลให้จำนวนประชากรของนกเอี้ยงพื้นถิ่นเดิมลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจ ... โชคดีเอี้ยงชวาไม่ใช่คน มิเช่นนั้นมีสิทธิ์โดนเรียกไปปรับทัศนคติ...ก็เป็นได้! จากวันนั้น...ออกกลางป่าบาลา ไปดูนกเอี้ยงชนิดใหม่ของประเทศ รสชาติอาหารถึงแม้ไม่คุ้นลิ้น หน้าตาขนมก็แปลกไม่จากที่เคยเห็น เหนือสิ่งอื่นใด ความเป็นกันเอง ไมตรี...จากคนพื้นฐิ่น ทำให้พวกเราอิ่มใจ..มาจนถึงวันนี้ .............................. - Here Comes The Sun
-
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |