*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |
พระราชวังซีเฮล โซตูน (Chehel Sotun Palace ) หรือในอีกนามหนึ่ง พระราชวังเสา 40 ต้น (Forty Columns) เป็นพระราชวังของกษัตริย์ในราชวงศ์ซาฟาวิด/ซาฟาวิยะห์ (Safavid dynasty) ในนครอิสฟาฮาน ประเทศอิหร่าน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจัตุรัสอิหม่าม (Imam Square) ห่างจากด้านหลังของพระราชวังอะลีคาปู ราว 200 เมตร เท่านั้น ดั่งสายน้ำไม่ไหลกลับ...เหมือนลมทะเลทรายที่พัดมาแล้วผ่านไป... ปัจจุบัน พระราชวังเปลี่ยนสภาพไปเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพ มีภายในมีภาพเขียนเฟรสโกอันเก่าแก่ แต่ยังเปี่ยมสีสันสวยสดงดงาม แม้ผ่านกาลเวลามานานเกือบ 400 ปีแล้วก็ตาม ...ทรงคุณค่า...และควรค่า..แก่การไปเยือนยิ่งนัก เจ้าหน้าที่สาวประจำวังเก่า แย้มยิ้มต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ประวัติความเป็นมานั้น พระราชวังซีเฮล โซตูน สร้างขึ้นสมัยชาห์ อับบาสที่ 1 แล้วเสร็จในยุคชาห์ อับบาสที่ 2 (ค.ศ.1632-1666) เพื่อใช้สำหรับเป็นสถานที่จัดแสดงมหรสพ งานสังสรรค์ต่างๆ และงานเลี้ยงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง โดยเฉพาะในตัวพระราชวังนั้น ชาห์ อับบาสที่ 2 และรัชทายาท ใช้เลี้ยงรับรองบุคคลสำคัญ และบรรดาทูตานุทูตจากเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโถงด้านหน้า หรือในห้องโถงภายในอันโออ่าโอฬารตระการตา ซื้อบัตรเข้าชมวังเรียบร้อย แรกผ่านข้ามแดนเข้าเขตวัง ก็ปะหน้าเจ้าหน้าที่สาวตาคมแย้มยิ้มต้อนรับผู้มาเยือน อดไม่ได้ที่จะขออนุญาตถ่ายภาพ ..พวกเราไม่ใช่นักท่องเที่ยวต่างแดนกลุ่มเดียวที่มาเที่ยวที่นี่ มีนักท่องเที่ยวจากยุโรป จากจีน แม้กระทั่งชาวอิหร่านเอง เห็นครูหญิงอิหร่านพาคณะนักเรียนมาทัศนะศึกษานอกสถานที่ด้วย ต่างเข้าไปชมความงดงามของพระราชวังกัน
สาเหตุที่เรียกกันว่า "Forty Columns" นั้น มีความหมายอยู่....เนื่องจากตามความเป็นจริงแล้ว สถาปนิกใช้เสาทรงคอลัมน์จำนวน 20 ต้น วางเรียงกันเป็นแนว บริเวณโถงด้านหน้า เป็นเสาไม้สูงแทนเสาหิน แต่ความสูงตัวอาคาร ทำให้เกิดเงาสะท้อน ทอดลงผืนน้ำในสระน้ำพุด้านหน้าพระราชวังอีก 20 ต้น รวมเป็น 40 ต้น อันว่า เลข 40 นั้น ตามคติความเชื่อของคนเปอร์เซีย เป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพและยกย่อง พระราชวัง Chehel Sotun อีกหนึ่งเม็ดเพชรงามของนครอารยธรรมอิสฟาฮาน เป็นสถานที่ที่มีสีสันแห่งหนึ่งในนครอิสฟาฮาน ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดชม ตัวพระราชวังมีพื้นที่ 67,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่กลางสวนสวยเขียวขจี โดยรอบตัวพระราชวังนั้น รุกขชาติน้อยใหญ่ปลูกเรียงรายตามแบบฉบับสวนเปอร์เซียดั้งเดิม ต้นไม้บางต้นของวังแห่งนี้ ว่ากันว่าปลูกมาตั้งครั้งชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 ต้นราชวงศ์ซาฟาวิด (ค.ศ. 1501-1524) "Chehel Sotoun Palace" เป็นหนึ่งใน 9 สวนของอิหร่าน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น "แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม" เมื่อปี ค.ศ. 2011 จากแหล่งมรดกโลกจำนวน 17 แห่งในอิหร่าน ภายใต้ชื่อ "The Persian Garden" หากมองจากซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้า ภาพแรกที่ปรากฎแก่สายตา คือ สระน้ำพุที่มีความยาว 110 เมตร กว้าง 16 เมตร ที่ปลายสระน้ำนั้น ก็คือ พระราชวัง Chehel Sotun สถาปนิกผู้ออกแบบพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ Sheikh Bahai (ค.ศ. 1547-1621) ต่อมา ได้ถูกต่อเติมปรับปรุง มีการนำสถาปัตยกรรมศิลปะแบบใหม่เข้ามาผสมผสาน เพราะหลังจากสมัยของชาห์ อับบาส ที่ 1 เกิดการศึกขึ้นหลายครั้ง ส่งผลให้วังถูกทำลายไปบางส่วน Sheikh Bahai เป็นปราชญ์ในยุคนั้น มีความสามารถมากมายหลายด้าน เป็นทั้งนักวิชาการ , สถาปนิก , นักคณิตศาสตร์, นักดาราศาสตร์ และกวี ในยุคต้นราชวงศ์ซาฟาวิด มีชื่อเสียงอันโด่งดัง ในฐานะผู้อุทิศตัวดีไซน์สถาปัตยกรรมนครอิสฟาฮาน ในยุคซาฟาวิด นอกจากนั้นSheikh Bahai ทั้งยังเป็นสถาปนิกออกแบบสร้างจัตุรัสอิหม่ามสแควร์ และมัสยิดอิหม่าม ฯลฯ เป็นผู้ออกแบบคลอง Zarrin Kamar ในนครอิสฟาฮาน หนึ่งในคลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิหร่าน ลักษณะเด่นของพระราชวัง คือ เป็นอาคารขนาดเล็กแต่สูงถึง 18 เมตรตัวอาคารเป็นทรง 4 เหลี่ยม มีเสาไม้เรียงรายเป็นจำนวนมากทั้งสี่ด้าน งานศิลป์ประดับกระจกตรงซุ้มหน้าประตูเข้า ก็วิจิตรอลังการ ในห้องโถงสูงด้านใน มีภาพเขียนสีแบบเฟรสโก (Fresco) วาดลงบนกระเบื้องเซรามิค สวยงามและละลานตายิ่งนัก ฉายเสน่ห์จากโทนสีตามธรรมชาติ ของเฉดสีจากวิธีการวาดภาพสีอย่างเฉิดฉายจริงๆ อ้อ..ลืมแจ้งให้ทราบ ภายในพระราชวัง ห้ามใช้แฟลชถ่ายภาพครับ งานสีเฟรสโก หรือ จิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียก ในสมัยโบราณนั้น ไม่ได้วาดบนผืนผ้าใบ แต่วาดบนผนังหรือเพดานของสถาปัตยกรรม สันนิษฐานกันว่าภาพเทคนิคสีเฟรสโกแห่งแรกของโลกนั้น พบที่เกาะครีต ประเทศกรีซ ชื่อว่า "The Toreador Fresco" เป็นรูปกีฬาต่อสู้วัวกระทิง วาดขึ้นระหว่างปี 1000- 1500 ก่อนคริสตศักราช
@ ภาพเขียนสีเฟรสโกขนาดใหญ่ที่ประดับอยู่บนผนังห้องโถงในพระราชวังนั้น เป็นภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์ซาฟาวิด เป็นภาพที่มีชื่อเสียงโด่งดังรู้จักกันไปทั่วโลก เช่น ภาพเขียนชื่อ "การศึกที่ชาลโดรัน" ( Battle of Chaldoran) ที่ชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อสุลต่านซาลิม ที่ 1 แห่งอาณาจักรอ๊อตโตมาน (ค.ศ. 1465- 1520) เมื่อปี ค.ศ.1518 ป้ายข้อความในพระราชวัง ระบุถึงสาเหตุความพ่ายแพ้ครั้งนี้ เพราะชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 มีคำสั่งไม่ให้ทหารใช้ปืน ในกองทัพเปอร์เซียจึงมีแต่ทหารใช้ดาบและธนู ...ไหนเลยจะไปสู้กับปืนและปืนใหญ่ของกองทัพอ๊อตโต ด้านกำลังพลของเปอร์เซียก็น้อยกว่าอยู่แล้ว จึงพบกับควมปราชัย ทว่าไฮไลท์ของภาพนี้นั้น จิตรกรได้วาดภาพ ชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 นั่งบนหลังม้าศึกสีขาว กวัดแกว่งดาบเข้าประจัญบาน สำหรับภาพเขียนนี้ วาดโดย Sadegh Naqqas Bashi เมื่อปี ค.ศ. 1823 โดยภาพเขียนภาพที่อยู่ด้านตรงข้าม ซึ่งแสดงถึงความพ่ายแพ้ของกองทัพอินเดียต่อกองทัพเปอร์เซีย ภายใต้การนำของ ชาห์นาเดอร์แห่งเปอร์เซีย ( ค.ศ. 1688- 1747) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ (Afsharid dynasty) ซึ่งได้รับการซ่อมแซมโดยจิตรกรคนเดียวกันนี่เอง ผลจากสงครามครั้งนั้น ทำให้ อาณาจักรอ๊อตโตมัน ขยายเข้าไปครอบครองฝั่งตะวันออกของดินแดนอนาโตเลีย (ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป) และส่วนหนึ่งของดินแดนเมโสโปเตเมีย แทนราชวงศ์ซาฟาวิดของเปอร์เซีย ขณะที่ ชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 บาดเจ็บจากการสู้รบ ส่วนพระชายา ถูกทหารอ๊อตโตมัน จับตัวไป
@ ภาพเขียนสีเฟรสโก เป็นภาพ ชาห์ ทาห์มาสพ์ ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย (ค.ศ. 1514 - 1576) จัดงานเลี้ยงต้อนรับ จักรพรรดิฮุมายัน (Humayun) แห่งจักรวรรดิโมกุล ,อินเดีย ในดินแดนที่เรียกว่า Qeydarnabi (ดินแดนส่วนหนึ่งของจังหวัดซันจัน ซึ่งอยู่ในเขตอิหร่าน-อาเซอร์ไบจัน พรมแดนทางตอนเหนืออิหร่านติดกับอิรัก ) เมื่อปี ค.ศ. 1550 หลังจากก่อนหน้านั้น เจ้าชายโฮมายุน(ตำแหน่งขณะนั้น) ได้หลบหนีเข้ามาขอพึ่งพิงอยู่ในอาณาจักรเปอร์เซีย ภาพเขียนสีภาพนี้ เป็นหนึ่งในภาพดั้งเดิมของพระราชวังที่ยังคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ ถือว่ามีคุณค่ามากทั้งประวัติศาสตร์และในแง่วัฒนธรรม ทำให้สามารถศึกษาได้ถึงความเป็นอยู่ของบุคคลในสมัยนั้น เช่น เครื่องแต่งกาย,หมวก,รูปแบบทรงผมและหนวดเครา เครื่องประดับ การเต้น พิธีจัดเลี้ยง และการเล่นเครื่องดนตรีมโหรีต่างๆ ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า "ฮุมายัน" เป็นโอรสของ Zahiroldeen Baber จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์โมกุล หลบหนีมาจากกองทัพของพี่ชาย นามว่า เมียร์ซา แอสการิ หลังจากโดนขับไล่ออกมาในปี ค.ศ. 1548 และเมื่อมาถึงดินแดนเปอร์เซีย ชาห์ ทาห์มาสพ์ ที่ 1 ได้มอบเรือนประทับในฤดูร้อนให้อาศัย หลังจากนั้น เจ้าชายฮุมายัน ได้เดินทางไปตาสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงอาเซอร์ไปจัน ต่อมา ได้กลับคืนสู่อินเดีย และเป็นจักรพรรดิในที่สุด เมื่อ ปี ค.ศ. 1550 จากความช่วยเหลือทางการทหารของชาห์ ทาห์มาสพ์ ที่ 1
@ ภาพเขียนสีเฟรสโก แสดงการเลี้ยงต้อนรับที่ ชาห์ อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย จัดให้แก่วาลิ โมฮัมหมัด ข่าน ผู้นำเตอร์กิสถาน แห่งราชวงศ์แอสตาร์คาห์นิด (Ashtarkhanid dynasty ) ซึ่งต้องข่าวโดนลอบสังหารจากฝ่ายตรงข้าม จนหลบเข้ามาพักพิงอยู่ในดินแดนราชวงศ์ซาฟาวิด ในปี ค.ศ. 1621 เพื่อขอให้กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ช่วยเหลือให้กลับไปปกครองเมืองบูคารา ( Bukhara- เมืองใหญ่บนเส้นทางสายแพรไหมโบราณ ปัจจุบันเป็นดินแดนของอุซเบกิสถาน ) อีกครั้ง หลังจากให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ชาห์ อับบาสที่ 1 ได้ให้ความช่วยเหลือตามคำร้องขอ มอบกองทหารให้ไปชิงแผ่นดิน แต่ในท้ายที่สุด ระหว่างการปราบจลาจล วาลิ โมฮัมหมัด ข่าน ได้เสียชีวิตลง ภาพนี้ เป็นภาพแรกที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของห้องโถง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในบริบทใหม่ระหว่างอิหร่านและเตอร์กิสถาน ในยุุคของชาห์ อับบาส ที่ 1
@ ภาพเขียนสีเฟรสโก ภาพที่ 2 ทางฝั่งตะวันออกของห้องโถง แสดงภาพชาห์ อับบาส ที่ 2 จัดงานเลี้ยงต้อนรับ นาร์ด โมฮัมหมัด ข่าน ผู้นำเตอร์กิสถาน ในนครอิสฟาฮาน เมื่อปี ค.ศ. 1658 นาร์ด โมฮัมหมัด ข่าน เป็นผู้นำเตอร์กิสถานอีกคน ที่เข้ามาขอพึ่งพิงพระราชอำนาจของชาห์แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด และขอกำลังทหารไปช่วยกอบกู้ราชบัลลังก์ เข้าใจว่าน่าจะตกอยู่ในสถานภาพไม่ต่างไปจาก วาลิ โมฮัมหมัด ข่าน
@ ภาพเขียนสีเฟรสโก แสดงการศึกที่คาร์นัล (Battle of Karnal) เมื่อปี 1756 ระหว่าง ชาห์ นาเดอร์ อาฟชาร์ แห่งเปอร์เซีย กับ โมฮัมหมัด ชาห์ กูร์คานี่ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล โดยสงครามครั้งนี้ เกิดขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า คาร์นัล ไม่ห่างจากเดลี เมืองหลวงอินเดียในขณะนั้น โดยชัยชนะตกเป็นของกองทัพอันเกรียงไกรของชาห์ นาเดอร์ หลังจากสิ้นราชวงศ์ซาฟาวิด ภาพเขียนสี Battle of Karnal ซึ่งถูกจัดวางอยู่บนผนังกลางของห้องโถงในพระราชวัง ได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟูอีกครั้งโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียง Aqa Sadegh ซึ่งในป้ายข้อความในพระราชวัง ระบุว่า ช่างเขียนผู้นี้ได้เปลี่ยนแปลงภาพไปจากเดิมบ้างเล็กน้อย ในภาพที่ปรากฎนั้น จะเห็น ชาห์นาเดอร์ ควบม้าเปอร์เซียสีน้ำตาล มือกวัดแกว่ง อาวุธเข้าโรมรันส่วนกษัตริย์แห่งอินเดีย ทรงช้างศึกเข้าสัประยุทธ์ เข้าใจว่าน่าจะเป็น ช้างเผือก เพราะช้างศึกอื่นๆของทัพอินเดียนั้น มีสีเทาตามธรรมชาติของช้าง ทั้งนี้ ชาห์นาเดอร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ (Afsharid dynasty) เป็นนักรบผู้เชี่ยวชาญเชิงศึก ทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนถึงกับตั้งสมญาให้พระองค์ว่า เป็น "จักรพรรดินโปเลียนแห่งเปอร์เซีย" หรือ "อเล็กซานเดอร์ที่สอง" ชาห์นาเดอร์ เป็นชาวเติร์กเมน เผ่าอาฟชาร์ (Afshar tribe) จากทางตอนเหนือของเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ค้ำจุนอำนาจทางการทหารของจักรวรรดิซาฟาวิด มาตั้งแต่รัชสมัยของชาห์อิสมาอิลที่ 1 ชาห์นาเดอร์ เป็นผู้ปราบศัตรูของอาณาจักร และรวบรวมจักรวรรดิเปอร์เซียเข้าด้วยกันจนเป็นปึกแผ่น และกลายเป็นชาห์แห่งเปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1736 หลังจากโค่นบัลลังก์ของชาห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาฟาวิดที่ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียมากว่า 200 ปี แต่จักรวรรดิของชาห์นาเดอร์ ก็สลายตัวลงอย่างรวดเร็วหลังจากที่ถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1747
@ ภาพเขียนสีเฟรสโก แสดงการศึกที่ทาเฮอราบัด (The battle of TaherAbad ) ในปี ค.ศ. 1511 ระหว่าง ชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด ของเปอร์เซีย กับ Sheibak Khan the Uzbek ข่านแห่งทาเฮอราบัด ใน Merv ,อุซเบกิสถาน สงครามจบลงด้วยชัยชนะของชาห์ อิสมาเอล ที่ 1 ขณะที่ข่านแห่งอุซเบกนั้น เสียชิวิตขณะหลบหนีหลังพ่ายศึก ผมเก็บป้ายข้อความอธิบายภาพเขียนไว้ทุกภาพ ภาพนี้ก็เช่นกัน ป้ายบรรยายว่า จากคำบอกเล่าปากเปล่า ภาพนี้เป็นฉากการรบระหว่างชาห์ อับบาส ที่ 1 แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด กับผู้ปกครองดินแดนอุซเบก แต่ทว่าใบหน้าของชาห์ อับบาส ที่ทำการยุทธ์อยู่ในภาพนี้ กลับมีความคล้ายคลึงกับใบหน้าของชาห์ อิสมาเอล ใน การศึกที่ชาลโดรัน (Battle Of Chaldoran) เข้าใจว่าระหว่างเขียนภาพการศึกที่ชาลโดรันนั้น ใบหน้าของชาห์ อิมาเอล ในภาพเขียนดั้งเดิม ได้ถูกนำไปใช้เป็นแบบในการเขียนภาพอีกภาพหนึ่ง จึงน่าจะมีการเขียนสลับภาพกัน นอกจากนั้น ภาพใบหน้าของ Sheibak Khan ยังละม้ายคล้ายคลึงกับ Muhammad Shaybani Khan ข่านคนสำคัญของฝั่งอุซเบก ที่ปรากฎอยู่ในอีกภาพหนึ่งด้วย ในป้ายข้อความในพระราชวัง ยังบอกว่า นักเดินทางยุโรปผู้หนึ่ง ซึ่งเดินทางมาท่องเที่ยวยังนครอิสฟสฮาน เมื่อปี ค.ศ.1874 กลับอธิบายว่า ภาพนี้เป็นฉากการรบระหว่างชาห์ อิสมาเอล กับพวกตาตาร์ (Tartar) ภาพเขียนภาพนี้ ยังมีปริศนาที่ยังต้องหาคำตอบอยู่ ทว่าแผ่นภาพเขียนสีจำนวนมากที่วาดลงบนเซรามิกนี้ ได้ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากพระราชวัง ปัจจุบันไปอยู่ในความครอบครองของพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ในโลกตะวันตกโน่น
ว่ากันตามจริง...ผมประทับใจตั้งแต่ปากประตูเข้าห้องโถงจัดแสดงภาพแล้วครับ งามจับจิตจริงๆ สำหรับงานศิลป์ที่ตกแต่งด้วยกระจกตรงซุ้มประตูทางเข้า ยังไม่นับรวมถึงลวดลายธรรมชาติอันอ่อนช้อยตรงประตู ผนัง และหน้าต่าง ของพระราชวัง ยิ่งพอมาเห็นภาพเขียนสีเฟรสโซเก่าแก่ตามผนังของห้องโถง และภาพบนเพดานของพระราชวัง ต้องถึงกับตะลึงไปพักนึง ช่างสวยและคลาสสิคเหลือเกิน ในแต่ละภาพเขียนสีบอกเล่าการสงครามของกษัตริย์เปอร์เซีย มีป้ายบรรยายฉากของแต่ละเหตุการณ์ไว้ด้วย ใครที่ชอบประวัติศาสตร์เปอร์เซีย และภาพเขียนสีเฟรสโก รับรองต้องตื่นตาตื่นใจแน่นอน #TGTehran #Thaiairways #Tehranfirstflight 5 บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวจากโลกออนไลน์ ก่อนบินไปอิหร่าน ในเที่ยวบินแรกของการบินไทย 1 ต.ค. 2559 คลิกอ่านรายละเอียด..การบินไทยดีเดย์เส้นทางใหม่ 1 ตุลาคม 59! --------------
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |