*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
...กาแฟไม่ได้เป็นแค่เครื่องดื่มฉาบฉวยประเภทจิบแก้ง่วงหรือกินฆ่าเวลา Battle of Vienna 1683 ....ค.ศ. 1683 กองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน ปิดล้อมกรุงเวียนนาของออสเตรีย ในการศึก "Battle of Vienna" ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า เป็นสงครามปลดปล่อยเวียนนาจากการเข้ายึดครองของกองทัพเติร์กเป็นครั้งที่ 2 ซึงทัพม้าเติร์กปิดล้อมอยู่นาน 2 เดือน แต่ไม่สามารถตีเมืองหลวงออสเตรียแตก ต้องยกทัพกลับไปภูมิลำเนาเดิม สิ่งที่ทหารเติร์กทิ้งไว้เป็นมรดกระหว่างการถอนทัพก็คือ "กระสอบบรรจุเมล็ดกาแฟ" แต่ทหารจากกองทัพผสม "Polish-Habsburg" กลับไม่รู้จัก(ตอนนั้นยังไม่กระจายไปทั่วยุโรป) คิดว่าเป็นพืชอาหารอูฐ จึงเผาทำลายเสียแทบหมดสิ้น ทว่า...ทหารชาวโปแลนด์ชื่อ "Jerzy Franciszek Kulczycki" ผู้ซึ่งเคยอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบุลในปัจจุบัน) มาก่อน เห็นเข้าก็ตาลุกวาวขึ้นมาทันที ด้วยรู้ดีว่า เมล็ดพืชสีน้ำตาลเข้มอมดำมันวาว นั้นคือ เมล็ดกาแฟที่่หายากมากในยุโรป จึงนำเมล็ดกาแฟที่หลงเหลือจากการเผา มาชงขายตามสไตล์ของชาวเติร์ก (Turkish Coffee) เป็นวิธีคั่วเมล็ดกาแฟจนแห้งไหม้ก่อนนำมาบดผสมกับน้ำใส่หม้อต้มกาแฟแบบ Ibrik แล้วตั้งไฟจนกาแฟเดือด 2-3 รอบ ...ปรากฎว่า ได้รับความนิยมจากชาวเมืองเวียนนาอย่างมาก ถึงกับต้องเปิดร้านกาแฟชื่อ "Hof zur Blauen Flasche" หรือ House under the Blue Bottle (ร้านกาแฟและโรงคั่วกาแฟดังๆทั่วโลกยืมชื่อไปตั้งตามกันตรึม) ขึ้นที่กรุงเวียนนาในปีเดียวกันนั้นเอง ถือร้านกาแฟแห่งแรกในออสเตรียกันเลยทีเดียว
ภาพวาด Jerzy Franciszek Kulczycki สวมชุดเครื่องแต่งกายตุรกี อันว่า ชาวโปแลนด์ผู้นี้ซึ่งตามประวัติแล้วบอกว่าพูดได้หลากภาษา มีสรรพคุณหลายด้าน เป็นทั้งนายวาณิช ล่าม สายลับ นักการฑูต และนักการทหาร และเนื่องจากเคยเป็นเชลยอยู่ที่อาณาจักรออตโตมันเติร์กนาน 2 ปี (กาแฟจากโลกอาหรับแพร่เข้าสู่คอนสแตนติโนเปิล เมื่อปี ค.ศ.1453 หลังสุลต่านแห่งออตโตมันเติร์กนำทัพบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงอาณาจักรไบแซนไทน์ เป็นการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์แบบของจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่มีอายุยาวนานถึง 1,123 ปี ) ....เข้าใจว่า นาย Kulczycki เคยเห็นวิธีคั่วและชงกาแฟมาจากชาวอาหรับอยู่บ้าง จึงนำความรู้มาพัฒนาและริเริ่มวิธีกรองกาแฟคั่วบดขึ้นในออสเตรีย
Wiener Melange ต้นตำรับกาแฟเวียนนา Kulczycki ยังคิดค้นสูตรกาแฟแบบเติมความหวาน ใส่น้ำตาลและนมร้อนลงในกาแฟ จนเป็นต้นกำเนิดสูตรกาแฟ เวียนนา เมล้องช์ "Wiener Melange" (ป.ล.ผมพยายามจะเขียนเสียงออกมาให้ใกล้เคียงที่สุด) กาแฟพื้นบ้านสุดคลาสสิคของนครแห่งเสียงดนตรี บ้านของนักดนตรีชั้นเยี่ยมของโลกอย่าง โมสาร์ต, บีโธเฟน และโยฮัน สเตราส์ ...ผ่านวันเวลา ผ่านฝน-ฟ้า-หิมะ ผ่านจมูก-ปาก-ลิ้นคอ ผ่านผู้คนรสนิยมมากหน้าหลายตา แก้วแล้วแก้วเล่า จนกลายมาเป็น วัฒนธรรมร้านกาแฟเวียนนา (Viennese Coffee House Culture ) และในที่สุด ได้ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ของยูเนสโก้ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011
VIENNA / NOW - Coffee and Vienna
ร้าน Café Central ในกรุงเวียนนา ว่ากันว่า...ถ้าอิตาลี มี คาปูชิโน (cappuccino) ...ออสเตรียก็มี เมล้องช์ (Melange) นี่แหละ วิธีการชงก็คล้ายกันมาก ถ้าเป็น"คาปูชิโน" ก็ใส่กาแฟเอสเพรสโซ+นมสดร้อน+ฟองนม แต่ "เมล้องช์ " ใช้เอสเพรสโซ+วิปครีมหรือฟองนม +น้ำตาล สำหรับการเสิร์ฟ"เมล้องช์ "นั้น จะยกมาเป็นชุดแบบสวยงามตามธรรมเนียม คือ กาแฟ พร้อมช้อนเงิน น้ำหนึ่งแก้ว และช็อคโกแลตชิ้นเล็กๆ ...นี่คือ วิถีกาแฟแบบดั้งเดิมในเวียนนา กลายเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันเข้มขลังของออสเตรีย โด่งดังไม้แพ้อิตาลีและฝรั่งเศส คนที่นี่จะเสิร์ฟกาแฟเฉพาะทางกันหลายแบบ ตามแต่คอกาแฟจะสั่งกัน ชื่อเมนูก็แตกต่างไปจากความคุ้นเคยของคนไทยเรา
ภาพวาดร้านกาแฟในเวียนนา ในศตวรรษที่ 17 ฝีแปรงจิตรกรนิรนาม ประมาณปีค.ศ. 1900 ยุครุ่งเรืองสุด ๆ ของร้านกาแฟในเวียนนา ก็เมื่อเวลาหมุนมาถึงศตวรรษที่ 19 เมื่อบรรดานักเขียนนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากหน้าหลายตา กลายเป็นปัญญาชนกลุ่มแรกๆ ที่หลงกลิ่นเครื่องดื่มมนต์ดำจากแดนสรวง จนเข้าไปสิงสถิตอยู่ในร้านกาแฟ เพื่อร่ายลำนำบทประพันธ์ กลายเป็นสถานที่ชื่นชอบและแหล่งชุมนุมของนักเขียนไป จากนั้นก็ตามด้วยด้วยบุุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการเมือง รวมไปถึง ลีออน ทรอตสกี้ เจ้าทฤษฎีหนึ่งของลัทธิมาร์กซิสต์ ผู้ก่อตั้งและผู้นำคนแรกของกองทัพแดง ก็เป็นลูกค้าประจำของร้านกาแฟที่เวียนนา ... วาทะหนึ่งของทรอตสกี้ที่ตกทอดมาถึงคนรุ่นหลัง นิยมนำไปพิมพ์เสื้อและถ้วยกาแฟ นั่นก็คือ "I like my beer cold, my coffee hot, and my revolutions PERMANENT"!
COFFEE HOUSE CULTURE IN VIENNA ไหลหลั่งราวแม่น้ำดานูบ งดงามดุจดั่งเทพนิยาย ...ร้านกาแฟในสไตล์ "เวียนนา โมเดล" โผล่ผุดขึ้นมากมาย ทั้งในปราก ,บูดาเปสต์, กรากุฟ ,เลมเบิร์ก และอีกหลายเมืองใหญ่ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ... ผู้คนหลงเสน่ห์ความหอมกรุ่นของกลิ่น ความเข้มขลังของรสชาติ บรรยากาศการสนทนาของเครื่องดื่มถ้วยโปรดชนิดใหม่...กับการเดินทางของเมล็ดกาแฟ จากต้นกำเนิดในแผ่นดินแห้งกร้านนามเอธิโอเปีย ผ่านโลกอาหรับ เข้าสู่ตุรกี จนในที่สุดข้ามฝั่งขยายเข้าไปทั่วยุโรป ในช่วงทศวรรษ 1950 ร้านกาแฟในเวียนนาที่มีเอกลักษณ์ด้านการนั่งจิบกาแฟสบายๆ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือสนทนาพลางชมความหลากหลายของผู้คนบนท้องถนนไปพลาง ก็มาถึงยุคโรยรา ร้านรวงดังๆจำนวนมากเริ่มปิดตัวลง ...เนื่องจากการปรากฎตัวของตู้ไฟฟ้าที่มีภาพเคลื่อนไหวและพูดได้ ที่เรียกกันว่าโทรทัศน์ และการมาถึงของร้านกาแฟยุคโมเดิร์นที่เรียกกันว่า "espresso bar" อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะสิ้นเสียงเพลงวอลซ์อันสุนทรียะ ไปเสียทั้งหมด coffee house ระดับคลาสสิคหลายร้านยังคงเปิดให้บริการอยู่มาจนถึงปัจจุบัน.... มีเสน่ห์และความงดงามทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอันหลากหลาย เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้คนทั่วโลกให้เดินทางไปที่เวียนนา บางคนถึงกับตามกลิ่นกาแฟมาถึงที่นี่กันเลยทีเดียว ไปชิมและหิวกาแฟถุงติดไม้ติดมือกลับมากินต่อที่บ้าน
ร้าน Café Landtmann ในเวียนนา ถ้าเป็นคอกาแฟ มีโอกาสไปต่างบ้านต่างเมือง เดินเข้าร้านกาแฟโดยเฉพาะในเมืองกาแฟ จะสั่งกาแฟมาชิมสักถ้วยหนึ่ง ต้องศึกษาทำการบ้านกันพอสมควร คนที่นั่นเรียกกาแฟว่าอย่างไร สั่งกาแฟกันอย่างไร ดื่มกาแฟกันอย่างไร มันเป็นวิถีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้... ไม่รู้คนอื่นคิดยังไงกันเรื่องนี้ แต่ผมมองว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ....ต่อกลุ่มชนที่ริเริ่มและสืบทอดต่อเนื่องกันมา เรื่องราวของทหารชาวโปแลนด์(ซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสต์)ที่เปิดร้านกาแฟแห่งแรกในเวียนนาเมื่อหลายร้อยปีก่อนนั้น ถูกขีดเขียนไว้ในหนังสือ "History of the second Turkish Siege" โดยนักบวชในคริสต์ศาสนาชื่อ Gottfried Uhlich ในปี ค.ศ. 1783 ทว่าอีก 200 ปีต่อมา ราวปีค.ศ. 1980 เกิดมีข้อมูลย้อนแย้งเปิดปมประเด็นร้านกาแฟแห่งแรกในเวียนนาขึ้นมา เมื่อ Karl Teply นักวิชาการชาวออสเตรียน ออกมาบอกว่า เรื่องร้านกาแฟแห่งแรกของเวียนนานั้น เขายกให้เป็นเครดิตกับพ่อค้าชาวอาเมเนียน 2 คน ชื่อ Johannes Diodato (บางข้อมูลบอกเป็นสายลับของผู้ปกครองเวียนนา) และ Isaak de Luca ที่เปิดร้านกาแฟแห่งแรกจริงๆ ในย่าน Rotenturmstrasse 14 เมื่อปี ค.ศ. 1685 (ปัจจุบันมีสวนสาธารณะในเวียนนา สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนาย Johannes Diodato ด้วย )
รูปปั้น Kulczycki ที่เวียนนา เหตุผลของ Karl Teply นั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านาย Diodato รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเมล็ดกาแฟและวิธีปรุง และธุรกิจร้านกาแฟของทั้งสองคนมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้กาแฟแทรกซึมไปทั่วเวียนนาและออสเตรีย ...อีก 15 ปีต่อมา ร้านกาแฟอีก 4 แห่งซึ่งมีชาวกรีกเป็นเจ้าของ ก็ได้เปิดให้บริการที่เวียนนา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าร้านกาแฟของ Kulczycki จะเป็นร้านแรกของเวียนนาในหน้าประวัติศาสตร์จริงไหม ทว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ.1885 มาแล้ว ชาวกรุงเวียนนาได้สร้างรูปปั้นทหารโปแลนด์ผู้นี้ขึ้นมาในท่วงท่าเสิร์ฟกาแแฟ ตั้งอยู่ที่หัวมุมร้าน House Favoritenstraße ตรงถนน Kolschitzky street (ชื่อถนนน่าจะตั้งตามชื่อตัวเอกของเรื่อง...) จนถึงทุกวันนี้ ในเดือนตุลาคมของทุกๆปี เจ้าของร้านกาแฟในเวียนนา จะจัดงานเฉลิมฉลองพิเศษให้กับนาย Kulczycki มีการตกแต่งหน้าต่างร้านด้วยภาพวาดของทหารชาวโปแลนด์ผู้นี้ ....
Wiener Melange
หมายเหตุ : อ่านเพิ่มเติมสูตรกาแฟอันหลากหลายของเวียนนา
More Coffee Please,หลังจากคุยโม้ไว้นาน ก็ได้ฤกษ์เปิดเพจเสียที...ออกตัวสักนิด...ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการพิเศษด้านกาแฟแต่ประการใด แค่เป็นนักชิมมาอย่างยาวนานเท่านั้น จึงตั้งใจเปิดไว้ตั้งวงคุยกันทุกสารพันสารพัดเรื่องกาแฟ เครื่องดื่มที่เรียกกันว่า A Drink from Paradise... Available on Earth... ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดชิม นักจิบลิ้นจระเข้ คอกาแฟชนิดที่ความขมทำอะไรไม่ได้ หรือประเภทที่ต้องปีนป่ายบันไดขึ้นไปจิบ คุยกันได้หมดเปลือก.. บางทีถ้ามีกาแฟอร่อยๆ ก็จะนำมาแบ่งปัน หรือแนะนำอุปกรณ์เสริม accessories ต่างๆ ตามสไตล์ Friends Don't Let Friends Drink Coffee Alone ... https://www.facebook.com/CoffeeByBluehill/ สำหรับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ชาวโอเคจะสนทนาสภากาแฟกันที่เพจหรือบล็อกนี้ก็ได้ครับ ยินดีเสมอๆ "_" 2-3 ปีก่อน บล็อกเกอร์เต็งพ้ง หนุ่มหล่อใจใหญ่กว่ามหาสมุทร @ อุ่นละมุน...รสชาติ Wiener Kaffee จากเวียนนา
# Viennese Waltz (Mozart) # I'll See You In My Dreams | Jonny Hepbir Quintet | UK & International Gypsy Jazz Band Hire |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |