*/
หัวโบราณ | ||
![]() |
||
เพลงเพราะๆ จาก Jack Johnson |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
วิธี และ สไตล์การท่องเที่ยวของแต่ละคน ย่อมมีผลต่อระดับการเรียนรู้โลกกว้างและใจตน โดยปกติคนเรามักเลือกการท่องเที่ยวให้สอดรับกับบุคลิกตนเอง พาหนะแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ บิ๊กไบค์ ลงเรือ ขี่ม้า ล่องแพ นั่งเครื่อง รถไฟ จักรยาน เดิน ฯลฯ พาหนะเหล่านี้ ล้วนช่วยให้คนเรา “เห็นโลก” แตกต่างกัน วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแต่ละคน ย่อมนำคนเดินทางไปพบกับปลายทางคนละแบบ การท่องเที่ยว...เป็นสาเหตุหนึ่งให้เกิดภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การเข้าพักในโรงแรม ตลอดจนกิจกรรมการท่องเที่ยว และแม้แต่ปริมาณขยะที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ถ้านักท่องเที่ยวหันมารณรงค์ช่วยกันสร้างกระแสการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น การคำนึงถึงการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว โดยเลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ การ “ปั่นจักรยาน” เพื่อการท่องเที่ยว น่าจะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่พอจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้บ้าง ไม่มากก็น้อย กระแสของการปั่นจักรยาน ช่วงนี้มาแรงเหลือหลาย ข้อดีนั้นก็มีมากมาย จักรยานเป็นยานพาหนะที่ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ใดๆ จึงเป็นยานพาหนะที่ไม่ต้องกลัวว่าจะไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านเสียงและมลภาวะ การขี่จักรยาน ซึ่งไม่เพียงแค่สนุกและได้ออกกำลัง แต่ยังพัวพันไปถึงวิธีการดำรงชีวิต แทรกซึมเข้าไปยังวิธีคิดในทุกเรื่องโดยไม่รู้ตัว การได้มีโอกาสรวมกลุ่มออกกำลังกายโดยการ ”ปั่นจักรยาน” พร้อมๆ กับการเดินทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชมวิถีไทยๆ ชมทัศนียภาพสองข้างทางที่สวยงามแปลกตา ด้วยการใช้สองขาปั่น ไปเรื่อยๆ คงเป็นทริปที่วิเศษไม่น้อย สำหรับผม
ปั่นท่องเที่ยว และ CSR “ตามหา...พลับพลึงธาร” เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานจังหวัดชุมพร จึงได้ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา อำเภอพะโต๊ะ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดระนอง สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดระนอง สายการบินนกแอร์ (สถานีชุมพรและระนอง) และธนาคารกรุงเทพจำกัด ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ปั่นท่องเที่ยวและ CSR “ตามหา...พลับพลึงธาร” เพื่อเป็นการสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักรู้ถึงวิธีการท่องเที่ยวที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบของการปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวและทำกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมได้เริ่มขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ จังหวัด ชุมพร โดยมีนักปั่น และผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 300 คน
พิธีเปิด ปั่นท่องเที่ยว CSR "ตามหา...พลับพลึงธาร" หน้าที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ กิจกรรม ปั่นท่องเที่ยว CSR "ตามหา...พลับพลึงธาร" เริ่มต้น ณ ที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ไปสิ้นสุด ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร อำเภอพะโต๊ะ ห่างจากศาลากลางจังหวัดชุมพรประมาณ 110 กิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ น้ำตก (น้ำตกเหวโหลม น้ำตกเหวตาจันทร์ และน้ำตกเหวรู) และ ลำน้ำพะโต๊ะ ที่เหมาะสำหรับการล่องแพ และทางอำเภอได้จัดให้มีเทศกาลล่องแพพะโต๊ะ ชมธรรมชาติ 2 ฝั่งลำน้ำ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สมกับคำขวัญที่ว่า "พะโต๊ะ ดินแดนแห่งภูเขาเขียว เที่ยวล่องแพ แลหมอกปก น้ำตกงาม ลือนามผลไม้" ปั่นออกจากอำเภอพะโต๊ะ มุ่งสู่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง
ขบวนจักรยานปั่นท่องเที่ยว CSR "ตามหา...พลับพลึงธาร" ผ่านเส้นทาง ที่สวยงามในเขตอำเภอพะโต๊ะ กลุ่มจักรยานท่องเที่ยวปั่นออกมาจากอำเภอพะโต๊ะ ได้ประมาณ เกือบ 20 กิโลเมตร ก็ถึงจุดพักแรกที่บ้านดิน บ้านพักในแบบโฮมสเตย์ ที่มีความโดดเด่นแปลกตา ชุมชนตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร มีพื้นที่เป็นหุบเขา อุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สะอาดและมีน้ำตกธรรมชาติกระจายอยู่หลายพื้นที่ คนในชุมชนประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นวิถีเกษตรที่คนในชุมชนเห็นถึงความยั่งยืนที่แท้จริง
หลายบ้านในตำบลปากทรง ปลูกหมาก
ชาวชุมชนตำบลปากทรงจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเป็นระบบกลุ่มโดยการรวมตัวของครัวเรือนที่สนใจวิถีพอเพียง ซึ่งในชุมชนมีกิจกรรมสาธารณะและการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งเป้าหมายนอกจากรายได้ที่จะเสริมแก่ชุมชนและสมาชิก การท่องเที่ยวคือเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งตามวิถีชุมชนที่พอเพียงอีกด้วย บ้านดิน เป็นอีกหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มโฮมสเตย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากทรง บ้านดินสวยงามแปลกตาโดดเด่น ที่นี้เป็นโฮมสเตย์เล็กๆในแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร นักท่องเที่ยว ที่เข้าพักโฮมสเตย์ในชุมชนจะได้ประสบการณ์เรียนรู้ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ที่นี่มี กิจกรรมไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกมากมาย เช่น การเดินป่า, ล่องแพ, กินผักป่า, อาหารพื้นถิ่นปลอดสารพิษ ,อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ สมุนไพร ,พลังงานทางเลือก ,วิถีพอเพียง นักท่องเที่ยวท่านใด ต้องการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้และพักผ่อน ท่ามกลางชุมชนแห่งความพอเพียง โทร. 08-7287-2745, 09-1854-0074 บ้านดิน กลุ่มโฮมสเตย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร บรรยากาศภายในบ้านดิน โฮมสเตย์สไตล์รีสอร์ท ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
เช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 หลังจากที่นักปั่นกว่า 300 ชีวิตได้ร่วมกิจกรรมยามค่ำคืนและพักค้างแรมกลางป่าในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าคลองนา กิจกรรมช่วงเช้าคือการเดินป่า เข้าไปยังลำธารคลองนาคา เพื่อร่วมปลูก พลับพลึงธาร คืนสู่ธรรมชาติ เส้นทางเดินป่าเข้าสู่ คลองนาคาเพื่อปลูกพลับพลึงธาร
พลับพลึงธาร หรือ หอมน้ำ (Onion plant,Thai onion plant,Water onion) เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่่ง อยู่ในวงศ์พลับพลึง(ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum thaianum) จัดเป็นพืชอวบน้ำ ดอกมีสีขาว มี 6 กลีบ ในก้านชูดอกจะมีหลายก้านดอก จะทะยอยบานติดต่อกันไป ดอกหนึ่งๆ จะมีก้านเกสร 6 อัน มีเกสรสีเหลืองที่ปลายก้านเกสร ตรงกลางดอกจะมีก้านเกสรตัวเมียโผล่มาจากแกนกลางของดอก หลังจากผสมเกสร กะเปาะเมล็ดจะเจริญเติบโตที่โคนก้านดอก กะเปาะหนึ่งจะมีจำนวนเมล็ดที่ไม่เท่ากัน มีลักษณะบูดเบี้ยวเป็นทรงที่ไม่แน่นอน พอเมล็ดแก่จะหลุดออกจากกะเปาะ พัฒนาสายรกออกด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด ตรงปลายสายรกจะพัฒนาเป็นต้นใหม่และรากยึดติดกับพื้นคลอง ในระหว่างที่รากยังไม่สามารถเกาะยึดพื้นคลองได้ เมล็ดจะเป็นแหล่งอาหารให้กับต้นอ่อนได้นาน 3-4 เดือน หัวมีลักษณะคล้ายหัวหอม จึงมีชื่อเรียกว่า "หอมน้ำ" หัวจะโผล่ขึ้นเหนือผิวดินประมาณ 1 ใน 3 เพื่อป้องกันการเน่า ใบจะเป็นสีเขียวเรียวยาวเหมือนริบบิ้น ความยาวขึ้นอยู่กับระดับน้ำ บางพื้นที่ที่น้ำลึกใบอาจจะยาวได้ถึง 4 เมตร
พลับพลึงธาร ถือได้ว่าเป็นพืชน้ำที่สวยงามและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยพบได้เฉพาะที่จังหวัดระนองตอนล่างและพังงาตอนบน ในจังหวัดระนองพบที่คลองนาคา ตำลนาคา อำเภอสุขสำราญ และที่คลองบางปรุ ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ ส่วนที่จังหวัดพังงา พบที่คลองตาผุด บ้านห้วยทรัพย์ คลองสวนลุงเลื่อน ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี คลองนายทุย คลองบ้านทับช้าง คลองบ้านโชคอำนวย ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี และตามคลองย่อยต่างๆ ในเขตรอยต่ออำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า เป็นพืชเฉพาะถิ่น ไม่พบที่ใหนในโลก ปัจจุบันพบเหลือแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น และพบขึ้นอยู่อย่างกระจัดกระจาย จึงได้ขึ้นเป็นบัญชีพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก (IUCN Redlist) เมื่อปี ค.ศ. 2011 สาเหตุของการลดลงเนื่องจาก การเก็บหัวจำหน่ายเป็นพืชน้ำประดับ และจากสาเหตุการขุดลอกคลองเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
การปลูกพลับพลึงธารเป็นสิ่งสิ่งที่ยากมาก เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างบอบบาง แต่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็สามารถคิดค้นวิธีการปลูกพลับพลึงธารให้รอดได้สำเร็จ คือการนำหัวพลับพลึงธาร ซึ่งมีรูปทรงคล้ายหัวหอมนน้ำขนาดใหญ่ ไปเพาะเลี้ยงในตระกร้าหรือชะลอมสานใบเล็กๆ เมื่อโตได้ที่ ก็นำไปขุดหลุมตื้นๆ วางไว้ในลำธารน้ำใสกลางป่า
เยาวชนร่วมปลูก "พลับพลึงธาร" ณ คลองนาคา
พลับพลึงธาร บานเร้นลับ ที่ผืนป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง พลับพลึงธาร คือที่สุดของความเร้นลับในผืนป่าคลองนาคา เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ทั้งคลองนาคาจะเต็มไปด้วยดอกไม้หายากชนิดนี้ ผืนป่าคลองนาคา กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เป็นผืนป่าดงดิบผืนใหญ่ที่ต่อเนื่องกับป่าเขาสกและป่าคลองแสงในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และป่าศรีพังงา อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกลายเป็นผืนป่าที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรภาคใต้ ความลี้ลับของป่าผืนนี้มีอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือความงามของ "ดอกพลับพลึงธาร" ไม้น้ำหายาก ซึ่งพบมากที่ในเมืองไทย ณ คลองนาคา เดือนพฤศจิกายนของทุกปี พลับพลึงธารจะบานมากที่สุดในช่วงเวลาเช้าก่อน 09.00 น. คลองนาคา
สามบล๊อกเกอร์จากโอเคเนชั่นร่วมกิจกรรม "ตามหา...พลับพลึงธาร" ณ คลองนาคา บล๊อกเกอร์คมฉาย ตะวันฉาย,บล๊อกเกอร์ อิงตะวัน และ บล๊อกเกอร์ ชายสามหยด
ภาพจาก เพื่อนอันดามัน(http://andamanfriend.org/th/?p=285)
ดอกพลับพลึงธาร ในคลองนาคา กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
เส้นทางตามหาพลับพลึงธาร (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ
ข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) : วิกิพีเดีย Hui United - จักรยาน (Bicycle) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |