*/
คาวบอย | ||
![]() |
||
44 |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2019 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนและขยายผลการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน “บทเรียนสู่การปฏิบัติเพื่อการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน” (Key Message from DS-SLM Implementation for Sustainable Land Management) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ Decision Support for Mainstreaming and Scaling up of Sustainable หรือ DS-SLM โดยกล่าวว่า โครงการ DS-SLM เป็นการทำงานภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการบูรณาการการทำงานระหว่างบุคลากรภาครัฐ ท้องถิ่น คณาจารย์มหาวิทยาลัยจากองค์กรอิสระเพื่อสังคม โดยเฉพาะชุมชน เกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรดินในพื้นที่เกษตรกรรม และเขตป่าไม้จนได้มาของความสำเร็จที่น่าชื่นชม
ทั้งนี้ การประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดินและมาตรการการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการทำงานด้านการสงวน อนุรักษ์ และปกปักรักษา ในมิติของการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน เกษตรกรมีความมั่นคง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยท้องถิ่นและชุมชนเป็นฝ่ายกำหนดมาตรการ และแนวปฏิบัติเฉพาะที่สำหรับชุมชนนั้น ๆ ส่วนการรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการที่ดินจากเกษตรกรและกรมพัฒนาที่ดิน จำนวนมากถึง 40 เทคโนโลยี ซึ่งมีการจัดการข้อมูลจนสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกร สามารถปฏิบัติได้จริงทั้งในประเทศและต่อยอดระดับนานาประเทศผ่านฐานข้อมูลเว็บไซต์ของ WOCAT (โว-แคท) และ UNCCD Knowledge Hub ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีสำหรับการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม โดยนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน
"ที่ดินที่ได้รับการจัดสรรให้เกษตรกรตามนโยบาย คทช. และ ส.ป.ก. นั้น ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้งานมานาน ทำให้ไม่ได้รับการดูแล ส่งผลให้สภาพดินไม่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ประกอบกับขาดระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น อาทิ แหล่งน้ำ ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดินจึงได้เข้ามาพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมแก่การทำการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรที่ได้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่นั้น ๆ สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน มิใช่การจัดสรรที่ดินทำกินเพียงอย่างเดียว" รมช.ธรรมนัส กล่าว สำหรับการขับเคลื่อนและขยายผลกิจกรรมด้านการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (sustainable land management: SLM) ต้องคำนึงถึงความท้าทายเพื่อแก้ไขปัญหาใน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านหน่วยงานและนโยบาย ด้านเศรษฐกิจและการเงิน และด้านความรู้และเทคโนโลยี ดังนั้น องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF)
ได้จัดทำโครงการความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการขับเคลื่อนและขยายผลการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (Decision Support for Mainstreaming and Scaling up of Sustainable Land Management, DS-SLM) ร่วมกับประเทศต่างๆ 15 ประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้หลักการดำเนินงานแบบบูรณาการทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติ โดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงจากระดับพื้นที่สู่ระดับภูมิภาค และระดับโลกช่วยสนับสนุนให้เกิดการขยายผลและขับเคลื่อนการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนในเชิงนโยบาย รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการ DS-SLM ดำเนินการในลักษณะร่วมกันดำเนินการระดับโลก โดยมี FAO เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับประเทศอีกจำนวน 15 ประเทศ ได้แก่ อาเจนติน่า บังคลาเทศ บอสเนีย จีน โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เลโทโซ โมร็อกโค ไนจีเรีย ปานามา ฟิลิปปินส์ ตูนีเซีย ตุรกี อุซเบกิสถาน และไทย
สำหรับประเทศไทย โดยกรมพัฒนาที่ดินในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับ FAO มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการตามกรอบการดำเนินงานโครงการซึ่งเกี่ยวกับการจัดทำแผนที่ระบบการใช้ที่ดิน การประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดิน การประเมินมาตรการการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน รวมทั้งกิจกรรมการสร้างความตระหนัก ฐานข้อมูลองค์ความรู้ และการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนและขยายผลมาตรการการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน การจัดสัมมนาวิชาการในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ DS-SLM ต่อผู้กำหนดนโยบาย และผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประเด็นความเสื่อมโทรมของที่ดิน และมาตรการในการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนและขยายผลมาตรการการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนอีกด้วย
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |