นั่นคือความรู้สึกก่อนที่ผมจะพาช่วงชีวิตหลุดผ่านเข้าสู่วงวิถีของนักดนตรีอย่างเต็มตัว ผมถูกอานุภาพแห่งสำนวนภาษางานเขียน ของครูนิมิต ภูมิถาวร สะกดให้ตรึงนิ่ง หนังสือส่งเสริมการอ่านนอกเวลาเรียนเรื่อง หนุ่มชาวนา คือหนังสือเล่มแรกที่ผมตะลุยอ่านรวดเดียวจบ และยังคงอ่านซ้ำอ่านซากอย่างไม่รู้เบื่ออีก ไม่ต่ำกว่า 20 รอบ ในเวลาต่อ ๆ มา มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เหตุผลที่ให้ต้องอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า การโหยหาภาพแห่งอดีตที่เคยเป็นอยู่... ภาพแห่งอดีตของเด็กหนุ่มวัย 14 ปี ที่ถูกรื้อทิ้งทำลายจนไม่เหลือหรอ เพียงแค่ช่วงข้ามเดือน ปี 2524 ท้องทุ่งนาสูงต่ำในเขตตำบลบ้านผม ถูกไล่รื้อถากไถเส้นแบ่งคันนาให้กลับ ท้องทุ่งนาที่เคยรกครึ้มไปด้วยต้นไม้ กลับกลายเป็นผืนทุ่งโล่งเหมือนท้องทะเลทราย.... ภาพท้องทุ่งนาในอดีตไม่มีหลงเหลือ ให้ผมได้เดินเหยียบย่าง ต้นพุดทราที่เคยไต่ปีนขึ้นเขย่าลูกแดงเหลืองให้ร่วงกรูกราวไม่มี มะขามเทศฝักปริเนื้อสีขาวอมชมพูโปนออกนอกเปลือก ไม่มีให้ปีนป่ายเก็บและสอย หลังจากนั้นไม่นาน ฝูงควายที่ผมเคยไล่เลี้ยง ก็ถูกต้อนขึ้นรถหกล้อหายลับไป.... เสียงนกที่เคยเจื้อยแจ้ว ถูกทดแทนด้วยเสียงรถไถนาที่ดังระงม สะเทือนทุ่ง เหตุผลข้อนี้ จึงทำให้ผมวิ่งย้อนสู่อดีต ไปกับตัวหนังสืเล่มดังกล่าวหลายสิบรอบ ตะวันจมหายไปทางปลายทุ่งโน่นแล้ว นกยางสีขาวบินโผลงนอนในพุ่มโสนกลาง สำนวนภาษาบรรยายฉากของท้องทุ่งยามเย็นฉากนี้ในหนังสือเล่ม หนุ่มชาวนา นี้ ยิ่งทำให้ผมรู้สึกคิดถึงอดีตเมื่อวันวานมิเว้นวาย... ผมจ่อมจมอยู่กับหนังสือเล่มนี้อยู่เนิ่นนาน กว่าจะได้ค้นพบว่ายังมีหนังสือวรรณกรรมแนวชนบทอีกมากมาย หลากล้น อยู่ในห้องสมุดโรงเรียน... หนังสือจากห้องสมุดถูกผมหยิบยืม ไล่อ่านในพ.ศ.นั้น ทุกเล่มล้วนเกี่ยวเนื่องกับท้องไร่ ท้องนาแทบทั้งสิ้น
ปี 2526 เรื่องสั้นเรื่องแรกของผมที่ชื่อ เด็กท้องนา ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ของคุณลุงอาจินต์ ปัญจพรรค์ ขณะผมกำลังเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 คุณครูภาษาไทยตื่นเต้นดีใจไปกับผม พร้อมเตรียมไว้เพื่อวันรุ่ง เขาจะกล่าวชื่นชมผมที่หน้าเสาธง แต่พอรุ่งเช้าของอีกวัน เรื่องสั้นเรื่องแรกของผมในหน้าหนังสือก็ถูกมือดีฉีกหายไปจากห้องสมุด... จากเด็กตัวอย่างที่ดีอาจกลายเป็นเด็กตัวอย่างไม่ดีได้ หากคุณครูและทุกคนในโรงเรียนเข้าใจตรงกันว่า คนที่ขโมยฉีกเรื่องสั้นอาจเป็นเจ้าของเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ คุณครูจึงงดที่จะแนะนำนักเขียนนักเรียนมอ. 4 ที่หน้าเสาธง... กำลังใจและไฟพลังอันล้นเหลือจากเรื่องสั้นตีพิมพ์เรื่องแรกได้พุ่งดันเรื่องสั้นฉากท้อง ก็จะอะไรเสียอีก ก็ในเมื่อขณะที่ท้องไร่ท้องนาลั่นระงมไปด้วยเสียงเครื่องรถไถนา และคลุ้งกลิ่นน้ำมัน เรื่องสั้นของผม กลับยังย่ำย้ำซ้ำ ๆ อยู่กับฉากท้องทุ่งที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นโคลนสาบควาย แบบชนิดไม่ทีท่าว่าจะยอมเปลี่ยนแปลงเอาง่าย ๆ ฟืนไฟความใฝ่ฝันของความอยากเป็นนักเขียนของผมมอดดับสนิทเมื่อตอนขึ้นอยู่ชั้นมัธยมปี่ที่ 6 เมื่อเรื่องสั้นที่เขียนกับเรื่องที่มีแววว่าจะได้ตีพิมพ์ไม่มีความสมดุลระหว่างกัน พูดง่าย ๆ หลังจากเรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้ตีพิมพ์ ผมเขียนและส่งเรื่องสั้นไปหนังสือ ฟ้าเมืองไทย อีกไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง แต่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์อีกเลย... ผมเริ่มสนุกกับการเป่าแคนในวงดนตรีลูกทุ่ง จนลืมว่าเคยอยากเป็นนักเขียน... จวบจนกระทั่งคืนวันหนึ่ง คืนที่ผมดุ่มเดินตัดทุ่ง มุ่งสู่จอหนังกลางแปลงที่ฉายฉลองงานบวชพระในหมู่บ้าน... หนังไทยเรื่องนั้น (จำชื่อไม่ได้) กระชากวิญญาณของความเป็นนักเขียนของผมให้พวยพุ่งแตกพล่าน อยุ่ในทุกอณูของร่างกายขึ้นมาในทันที ฉากของพระเอก ทูน หิรัญทรัพย์ ที่กำลังนั่งอยู่หน้าแป้นพิมพ์ดีดฉบับกระเป๋าหิ้ว พร้อมถ้อยคำอ่านไล่ทวน อักษรบรรยายฉากแรกเริ่มเรื่องนวนิยายเของเขา ที่ระเบียงคฤหาสน์ร้างหลังหนึ่ง คือภาพในจอหนังกลางแปลงที่ทำให้ผมเกิดอยากเป็นนักเขียนขึ้นมาอีกครั้งอย่างไม่ปี่มีขลุ่ย อีกปีต่อมาผมตัดสินใจไปสมัครเรียนที่โรงเรียนพาณิชย์แห่งหนึงในตัวเมือง ด้วยเหตุผลเดียวจริง ๆ คืออยากจะพิมพ์ดีดเป็น จะได้เอาใช้ไว้เขียนเรื่องสั้น และนิยาย แต่ก็นั่นแหละ พิมพ์ดีดได้ ไม่ใช่จะทำให้เป็นนักเขียนได้ซะเมื่อไร เป็นเพราะผมขาดคุณสมบัติขั้นต้นของการเป็นนักเขียน ผมขาดความอดทนและความขยันที่จะเขียน สุดท้ายความมุ่งมั่นเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนจึงถูกพับและพังลงอย่างไม่เป็นท่า จึงกล่าวได้ว่า ปี 2535 2536 คือ 2 ปีที่ผมเขียนงานเรื่องสั้น และบทกวี ได้ตีพิมพ์มากที่สุด (กว่าร้อยชิ้นงาน) ด้วยหลากหลายนามปากกา แต่พอผมย้อนกลับสุพรรณบ้านเกิดอีกครั้ง ผมกลับเขียนงานและได้รับการตีพิมพ์ ไม่น่าจะเกินนิ้วมือนับสองมือ... เวลาการเขียนหนังสือของผมถูกอ้างเอาเองว่าได้ถูกดึงจมหายไปในงานดนตรีหมดแล้ว... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ภาพวงดนตรีโฟล์คเหน่อ ๒๕๕๐ | ||
![]() |
||
ภาพวงดนตรีโฟล์คเหน่อ ๒๕๕๐ |
||
View All ![]() |
ตัวอย่างเพลงรอสาย ของโฟล์คเหน่อ | ||
![]() |
||
ตัวอย่างเพลงรอสาย และวิธีดาวน์โหลดเพลงรอสาย ของโฟล์คเหน่อ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |