บนโลกที่กำลังเผชิญกับวิกฤตโลกร้อน ป่าไม้คือปัจจัยของการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผืนป่าสามารถดูดซับมลพิษได้ราวกับฟองน้ำ สามารถจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วยการสังเคราะห์แสง เก็บไว้ในลำต้นและในผืนดิน การต่อกรกับปัญหาโลกร้อนนั้นมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพลังงานสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย นี่เป็นหนทางเดียวที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ตกลงกันไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) แต่ส่วนที่เหลือของทางออกนั้นอยู่ที่ผืนป่าและต้นไม้ ป่า Carpathian ในประเทศโรมาเนีย บันทึกภาพเมื่อ 20 สิงหาคม 2559 เรากำลังเดินหน้าสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย แต่แน่นอนว่าต้องใช้เวลา หากเรายุติการทำลายป่า ร่วมไปกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ด้วยเราจะต่อกรกับมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ภายในปี 2563 (REDD+) การที่จะช่วยธรรมชาติลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและเก็บไว้ในผืนดินและผืนป่านั้น เราจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟู ผืนป่าหลายล้านไร่ที่สูญไป และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในผืนดินเพาะปลูกด้วยกระบวนการเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่จัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ หากเราทำได้อย่างถูกต้อง สัดส่วนของผืนดินและผืนป่าจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ และส่งต่อสภาพภูมิอากาศที่เราอาศัยได้อย่างปลอดภัยสู่คนรุ่นหลังต่อไป ป่า Intact ในประเทศรัสเซีย บันทึกภาพเมื่อ 13 กันยายน 2559 ลองมาดูเรื่องตัวเลขกันบ้าง 350 ส่วนต่อล้านส่วน (parts per million) คือความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัย แต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้พาเราสู่ยุคที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่เกิน 400 ส่วนต่อล้านส่วน หากเรายังคงดำเนินการเช่นนี้ต่อไป เราอาจได้เห็นระดับคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 450 ส่วนต่อล้านส่วน ภายในปี 2593 พร้อมกับผลกระทบที่เป็นหายนะ ดังนั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเร่งด่วนเท่านั้น แต่เรายังต้องลบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพอากาศของโลกนั้นอยู่ในระดับที่เราอาศัยอยู่ได้ เราจำเป็นต้องลงมือทำโดยไม่ไขว่คว้าทางออกที่ผิด ๆ อย่างการกักเก็บคาร์บอน หรือเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน(carbon capture and storage – CCS) ภาพฉายคำว่า “We Will Move Ahead” ที่การประชุม COP22 เมืองมาราเกซ ประเทศโมร็อคโค เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2559 การประชุม COP22 เมืองมาราเกซ ประเทศโมร็อคโค แทบไม่มีการเจรจาตกลงอย่างเป็นทางการถึงทางออกด้านป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อย่างไรก็ตามข้อตระหนักถึงบทบาทของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและผืนป่านั้นกำลังเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า การลงมืออย่างเหมาะสม ประกอบกับความมุ่งมั่นอันยิ่งใหญ่ มีความจำเป็นอย่างมากในประเด็นนี้ ผู้นำทางการเมืองและทางอุตสาหกรรม รวมถึงองค์กรภาคสังคมต่าง ๆ มีบทเรียนจากโครงการมากมายที่เกิดขึ้น หนึ่งในโครงการนั้นคือ อุตสาหกรรมถั่วเหลืองของประเทศบราซิล ซึ่งกรีนพีซพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการทำลายผืนป่าอะเมซอน และโครงการนี้เองที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นหนทางหนึ่งที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถลงมือได้ เพื่อมุ่งสู่การยุติการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทานของตน พื้นที่ป่าและดินนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อให้เราสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดย 4 ข้อต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญที่ควรเป็นข้อคำนึงในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1. จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ โปร่งใส และเป็นอิสระในการรับผิดชอบต่อการปล่อยกีาซคาร์บอนไดออกไซด์และลดการปล่อย รวมถึงยุติการทำลายป่า ฟื้นฟูป่า และร่วมลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อื่น ๆ 2. ประเทศที่กำลังพัฒนาควรได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทุนสภาพอากาศสีเขียว (Green Climate Fund - GCF) และจากกองทุนทวิภาคีอื่น ไม่ใช่จากสาขาของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ปล่อยมลพิษ 3. ประเทศในแผนสนับสนุนในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น หรือ NDCs (Nationally Determined Contributions) ควรยกระดับเป้าหมายข้อกำหนดการใช้ผืนป่าและผืนดิน ซึ่งที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอในส่วนของประเทศที่กำลังพัฒนาและแทบจะไม่ปรากฎเลยในประเทศที่พัฒนาแล้ว 4. อาณาเขตของชนพื้นเมืองและสิทธิชุมชนควรได้รับการตระหนักและคุ้มครอง เนื่องจากคนกลุ่มนี้คือผู้ที่พิทักษ์ผืนป่าจากการบุกรุกและถูกทำลาย ชมวิดีโอ ต้นไม้จำนวน 750,000 ล้านต้น สามารถทำอะไรได้บ้างกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บทความนี้แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านได้ที่นี่ Four ways our forests must be part of the climate conversation ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/58457 ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |