บทความ โดย ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้การถอนตัวของสหรัฐอเมริกาจากความตกลงปารีสจะมีผลสะเทือนไปทั่วโลก แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นของประชาคมโลกลดทอนไป ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างยืนยันต่อคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้อย่างแข็งขันในการปฏิบัติการเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสและมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม) ผลสะเทือนสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นเป็นข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและจีนที่เน้นถึงความมุ่งมั่นมากขึ้นภายใต้ความตกลงปารีส เรียกว่าเป็นการตลบหลังสหรัฐอเมริกาหลังจากการประกาศ ของประธานาธิบดีทรัมป์ก็ว่าได้ บิล แฮร์(Bill Hare) นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีประสบการณ์อย่างลึกซึ้ง กว้างขวางและยาวนานได้วิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่อเรื่องนี้ไว้ดังนี้ สหรัฐอเมริกาไม่เคยเรียนรู้ความผิดพลาดของตนเองในอดีตการประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีสของประธานาธิบดีทรัมป์ในวันที่ 2 มิถุนายน มีความละม้ายคล้ายคลึงกับที่อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศไม่ลงสัตยาบัน ในพิธีสารเกียวโตในปี พ.ศ.2548จากการกดดันของกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรม เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเอ็กซอน(Exxon) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ถึงแม้ว่าพิธีสารเกียวโตจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่ได้บรรลุเป้าหมายเต็มศักยภาพอันเป็นผลมาจากการที่สหรัฐอเมริกาไม่เข้าร่วม แต่บรรดาประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมอย่างแข็งขันเพื่อทำให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของ พิธีสารเกียวโตนั้นไม่เพียงแต่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ยังอยู่ในสถานะที่ดีกว่ามากในการใช้ประโยชน์จากกลไกของพิธีสารในการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกรอบนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นตัวบทกฎหมายของสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะที่ครอบคลุมและรอบด้านมากที่สุดในโลก สหภาพยุโรปมีเครื่องมือและกลไกทุกอย่างที่จำเป็นในการลดโลกร้อนอย่างมุ่งมั่นมากขึ้น ส่วนจีน เกาหลีใต้ เม็กซิโก ชิลีและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ รวมถึงไทย มีระบบการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(emissions-trading systems) เป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจกที่คุ้มค่าในอนาคต สหรัฐอเมริกาอาจถูกทิ้งไว้เบื้องหลังBill Hare มองว่า ทั้งจีนกับอินเดียกำลังคว้าอนาคตไว้ และความเป็นผู้นำ(ในปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ)กับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถทำควบคู่กันไป ในปี พ.ศ. 2540 ช่วงที่มีการยกร่างพิธีสารเกียวโต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกามีร้อยละ 19 ของการปล่อยทั่วโลก และมีสัดส่วนในเศรษฐกิจโลกร้อยละ 20 (วัดจาก GDP ที่เป็น Market Exchange Rate) ในขณะที่จีนมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 12 และมีสัดส่วนในเศรษฐกิจโลกร้อยละ 7 เมื่อมีการยกร่างความตกลงปารีส ในปี พ.ศ.2558 จีนกลายเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งของโลก(ร้อยละ 23) และมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด(ร้อยละ 17) ส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกาลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 13 และบทบาทในระบบเศรษฐกิจโลกก็ลดลงเป็นร้อยละ 16 ในช่วงเวลาเดียวกัน อินเดียซึ่งผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแห่งศตวรรษที่ 21 มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเกือบเป็น 2 เท่า (จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 7 ของเศรษฐกิจโลก) จีนและอินเดียดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวและมีการจ้างงานหลายหลายแสนตำแหน่งจากการลงทุนพลังงานหมุนเวียนขนานใหญ่ อินเดียยังวางแผนทุ่มทุนเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าในทศวรรษข้างหน้านี้ Bill Hare วิเคราะห์ว่า แม้การประกาศของทรัมป์อาจไปหนุนช่วยกลุ่มที่ปฏิเสธเรื่องโลกร้อนซึ่งส่งผลให้ปฏิบัติการกู้วิกฤตโลกร้อนล่าช้า หรือแม้กระทั่งการสนับสนุน ”ถ่านหินสะอาด” แต่ความเสี่ยงดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ในวงจำกัด รัสเซียซึ่งยังไม่ได้ให้สัตยาบันในความตกลงปารีส(Paris Agreement)ได้ส่งสัญญานว่าจะยังคงเดินหน้าสนับสนุนการดำเนินการที่อยู่ภายใต้ความตกลงปารีสต่อไป คำสัญญาที่ว่างเปล่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกาลดลงนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา คำสั่งที่ลงนามโดยประธานาธิบดีของทรัมป์ซึ่งมุ่งไปที่การยกเลิกมาตรการภายในประเทศ จะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับเดิมในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า จากการที่ราคาพลังงานหมุนเวียนและตัวเก็บประจุไฟฟ้าลดลง การที่ก๊าซธรรมชาติเข้ามาแทนที่ถ่านหิน รวมถึงการดำเนินงานของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น แคลิฟอร์เนียที่เดินหน้าแผนพลังงานพลังงานสะอาดที่ผลักดันในยุคโอบามา การควบคุมการปล่อยมีเทนและการตั้งค่ามาตรฐานของยานยนต์ ดังนั้น มีความเป็นไปได้น้อยมากที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มสูงขึ้นอีกก่อนปี พ.ศ.2573 เป็นอย่างน้อย การใช้ถ่านหินและการทำเหมืองถ่านหินจะยังคงลดลงต่อไปอีกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในตลาดพลังงาน รวมถึงราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงและการแข่งขันอย่างเหลือล้นในด้านราคาพลังงานหมุนเวียนและระบบเก็บประจุไฟฟ้า ในขณะที่การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา(และทั่วโลก) แซงหน้าการจ้างงานในกิจการเหมืองถ่านหิน รายงานทบทวนฉบับล่าสุดขององค์การพลังงานหมุนเวียนสากลหรือ International Renewable Energy Agency(IRENA) ระบุถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวกเร็วของการจ้างงานในภาคพลังงานหมุนเวียนของสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้มีราว 800,000 คน เฉพาะการจ้างงานในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวในช่วงสามปีที่ผ่านมามีมากกว่า 2 เท่าของตำแหน่งงานในกิจการเหมืองถ่านหินในสหรัฐอเมริกา(ซึ่งกำลังลดลง) เห็นได้ชัดเจนว่าประธานาธิบดีทรัมป์ไม่อาจทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับแรงงานในอุตสาหกรรมถ่านหิน เป้าหมายลดโลกร้อนทำได้ยากขึ้นการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ถอนตัวจากความตกลงปารีสผนวกกับการยกเลิกแผนปฏิบัติการ ในระดับประเทศ ทำให้ปฏิบัติการเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส(เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม) และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม)นั้นมีความยากลำบาก และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น หากแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มเติมขึ้นจากปริมาณ การปล่อยที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในยุคโอบามา นั้นจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกร้อนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.1 ถึง 0.2 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 ซึ่งจำเป็นจะต้องทดแทนด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้นและอย่างรวดเร็ว โดยประเทศอื่นๆ ในระยะยาว เป้าหมายของการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกนั้นไม่อาจบรรลุได้ ยกเว้นแต่ว่าสหรัฐอเมริกากลับเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของความพยายามของประเทศทั่วโลกภายใน 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า เพื่อว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งหมดทั่วโลกสามารถทำให้ลดลงเป็นศูนย์ในช่วงกลางศตวรรษ การต่อกรกับวาระซ่อนเร้นของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล คือการพัฒนาในเรื่องตลาดพลังงานหมุนเวียนและระบบเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งจะกระทบกับอุปสงค์ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนพัฒนาการอย่างรวดเร็วของภาคการผลิตรถไฟฟ้านั้นกระทบต่ออุปสงค์ของน้ำมัน ผลของการลดราคาอย่างรวดเร็วของพลังงานหมุนเวียนและระบบเก็บประจุไฟฟ้านั่นส่งผลกว้างไกล และบางคนถึงกับกล่าวว่าไม่อาจหยุดได้ การประเมินของภาคอุตสาหกรรมเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ากับเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ ในขณะนี้ถูกกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน การยกเลิก โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และที่อื่นๆ คือตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงของตลาดพลังงานที่กำลังเกิดขึ้น ในเวทีการเจรจาโลกร้อนที่เมืองมาราเกซ มากกว่า 45 ประเทศ รวมตัวกันในนามกลุ่มประเทศที่เผชิญความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ(Climate Vulnerable Forum) ให้คำมั่นต่อเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อยและเริ่มต้นทำงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว แล้วเราควรจะตั้งความหวังอย่างไรยังมีกลุ่มประเทศ พรรคการเมือง และตัวแทนผลประโยชน์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่พยายาม จะใช้ประโยชน์จากการถอนตัวของสหรัฐอเมริกาเพื่อผลักดันวาระ “โลกร้อนไม่จริง” หรืออย่างน้อยที่สุดการหาช่องทางในการปกป้องตลาดของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล คาดกันว่า การถอนตัวของสหรัฐอเมริกาอาจนำไปสู่การที่มีบางประเทศทำงานล่าช้า ต่อข้อเสนอในปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศระดับประเทศ (NDCs or Nationally Determined Contributions) การถอนตัวของสหรัฐอเมริกายังมีผลต่อการผลักดันแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก หากมีการสร้างหรือดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะปิดโอกาสในการควบคุมการเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก การเพิ่มขึ้นของถ่านหินอย่างรวดเร็วที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ตุรกี บางส่วนของตะวันออกกลางและแอฟริกา นั้นต้องการภาวะผู้นำนโยบายที่เข้มแข็ง และแผนปฏิบัติการระดับประเทศมีความมุ่งมั่น เพื่อรับรองว่าจะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะยุติลง ยิ่งสหรัฐอเมริกาไม่ลงมือทำอะไรเลย ความยากลำบากก็จะตกแก่โลกมากขึ้น สหรัฐอเมริกาจะกลับมาร่วมในความตกลงปารีสหรือไม่อย่างไร จะต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2563 และประธานาธิบดีคนใหม่ เราคาดหวังได้หรือ? ความตื่นตัวของสาธารณชนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างงานและเศรษฐกิจ ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้น และขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนในการยุติยุคถ่านหิน ต่างหากเล่าที่เป็นความหวัง ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59602 ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |