บทความ โดย ธารา บัวคำศรี
วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ก่อรูปขึ้นในสหรัฐอเมริกาจากปี พ.ศ. 2505 แต่กว่าจะเป็นกระแสธารของความสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมจากวิกฤตที่เป็นอยู่ของสังคมอเมริกันในขณะนั้นและกลายเป็นจุดกำเนิดของขบวนการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ ก็อีกเกือบทศวรรษถัดมาคือในปี 2512 เมื่อสมาชิกวุฒิสภาเกย์ลอร์ด เนลสัน ผลักดันให้มีการชุมนุมประชาชนระดับรากหญ้า ชาวอเมริกันกว่า 20 ล้านคนออกมาบนท้องถนนและในพื้นที่สาธารณะเพื่อร่วมรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 22 เมษายน 2513 มีการตั้งองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(United State Environmental Protection Agency หรือ USEPA) นำไปสู่การตรากฎหมายอากาศสะอาด นำ้สะอาด และกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Clean Air Act, Clean Water Act และ Endanger Species Act) นับจากนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วทุกมุมโลกร่วมกันลงมือปฏิบัติการในวันคุ้มครองโลก ในปี พ.ศ.2561 นี้ เครือข่ายวันคุ้มครองโลก(Earth Day Network) ได้ กำหนดเป้าหมายการรณรงค์ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มาแรงที่สุดของยุคว่าด้วยเรื่อง “ยุติมลพิษพลาสติก (End Plastic Pollution)” การรณรงค์จะทุ่มเทแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับพลาสติกของเรา โดยจะสืบเนื่องไปจนถึงวาระครบรอบ 20 ปี ของวันคุ้มครองโลกใน ปี พ.ศ.2563 การผลิตพลาสติกพลาสติกถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ.2450 แต่เรื่องราวแห่งความรักระหว่างมนุษย์และพลาสติกเกิดขึ้นจริงๆ ในราวปี พ.ศ.2493 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การผลิตพลาสติกเพิ่มปริมาณเป็นยี่สิบเท่าเมื่อเทียบกับสองทศวรรษก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมนุษย์ เป็นเวลายาวนานที่เรารับรู้แต่ประโยชน์ของมัน แต่เราแทบไม่รู้อะไรเลยถึงผลกระทบที่เป็นหายนะต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ระบบนิเวศธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ พลาสติกกลายเป็นปัญหาจากการที่มันไม่สามารถย่อยสลายได้ การที่สารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกมาจากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และความท้าทายอันใหญ่หลวงของการจัดการพลาสติกที่เหมาะสม จนถึงปัจจุบัน พลาสติกถูกผลิตออกมาราว 9.1 พันล้านตันทั่วโลก ในจำนวนนี้กลายเป็นขยะพลาสติก 6.9 พันล้านตัน มีเพียงร้อยละ 9 ถูกนำไปรีไซเคิล อีกร้อยละ 12 ถูกนำไปเผา ที่เหลือราวร้อยละ 79 ของขยะพลาสติก (5.5 พันล้านตัน) สะสมในหลุมฝังกลบและในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ คาดการณ์ว่าหากแนวโน้มการผลิตพลาสติกและการจัดการขยะพลาสติกยังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป ภายในปี พ.ศ.2593 จะมีพลาสติกราว 1.32 หมื่นล้านตันถูกทิ้งในหลุมฝังกลบและในสิ่งแวดล้อม ในขณะที่นิวยอร์กไทมส์รายงานว่าสาเหตุหลักของการผลิตพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้นมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งร้อยละ 54 ของบรรจุภัณฑ์เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พลาสติกและผลกระทบสุขภาพผลกระทบในทางลบชัดเจนมากขึ้นหลังจากหลายทศวรรษของการผลิตสินค้าพลาสติกที่ทำจากน้ำมันนับล้านล้านรายการ เป็นที่รับรู้ว่ามลพิษพลาสติกเป็นอันตรายด้านสาธารณสุขและร่างกายของมนุษย์ สารเคมีที่หลุดออกมาจากพลาสติกบางชนิดที่ใช้บรรจุอาหารมีภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ งานวิจัยพบประจักษ์พยานและความเกี่ยวข้องที่ชัดเจนระหว่างระดับของสารเคมีเหล่านี้และการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมและระบบสืบพันธุ์ การทำงานของระบบประสาทและระบบสมองบกพร่อง โรคหลอดเลือดและหัวใจ พลาสติกหลายชนิดมี Phthalates ซึ่งเป็นสารเคมีก่อมะเร็งยอดฮิตตัวหนึ่งที่มีโอกาสหลุดจากเนื้อพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของคนเรา และ Bisphenol A ซึ่งเป็นสารเคมีนิยมใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้ขวดพลาสติก เช่น ขวดนม มีความใส สารพิษจะกรองออกและแทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในได้เมื่อใช้งาน นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สาร Bisphenol A จำนวนเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเริ่มเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคเบาหวานและโรคอ้วน ไฮเปอร์ (hyperactivity) และอื่นๆ พลาสติกและวิกฤตโลกร้อนผลกระทบสิ่งแวดล้อมของพลาสติกยังไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมด พลาสติกคือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกมาจากร้อยละ 8 ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก การขุดเจาะน้ำมันและกระบวนการผลิตพลาสติกนั้นปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายรวมถึงคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ โอโซน เบนซีน และมีเทนที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกายังระบุว่าในกระบวนการผลิตพลาสติก PET(พลาสติกที่นิยมใช้ทำขวดน้ำ) ทุกๆ 1 ออนซ์ จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 5 ออนซ์ หากว่าเหตุผลอื่นๆ ไม่อาจโน้มน้าวใจให้ผู้คนลดการใช้พลาสติกลงเพื่อคุ้มครองตัวเราและโลก เราจำต้องตระหนักถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างพลาสติกกับวิกฤตโลกร้อน การที่เราใช้พลาสติกมากขึ้นยิ่งเร่งเร้าวิกฤตโลกร้อนนั้นควรเป็นเงื่อนไขสำคัญให้แต่ละคนลงมือปฏิบัติในการยุติมลพิษพลาสติก มลพิษพลาสติกในมหาสมุทรในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล พลาสติกที่ถูกทิ้งจะรวมตัวกันโดยกระแสน้ำวนมหาสมุทรเป็นแพขยะ กล่าวได้ว่า กระแสน้ำวนมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ(North Pacific Gyre)ถือเป็นบริเวณที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลกและเรียกว่าแพขยะใหญ่แห่งมหาสมุทรแปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) งานวิจัยล่าสุดระบุ แพขยะดังกล่าวกินพื้นที่รวมกันมากกว่าประเทศฝรั่งเศสถึง 3 เท่า โดยที่พื้นผิวของมันจะมีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดต่างๆ มากกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเช่นแพลงตอนถึง 18 เท่า หรืออีกนัยหนึ่ง 1 กิโลกรัมของแพลงตอนจะมีขยะพลาสติกอยู่ 6 กิโลกรัม การสำรวจในปี พ.ศ. 2558 มีชาติสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ที่เป็นแหล่งปล่อยขยะพลาสติกลงในมหาสมุทรมากที่สุดในโลก คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และ มาเลเซีย ขยะพลาสติกเป็นภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นที่รู้กันว่าพลาสติกสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลและนกได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากพวกมันเข้าใจผิดว่าพลาสติกเป็นอาหาร เรามักพบว่าศพของสัตว์ที่ตายมักจะมีเศษชิ้นส่วนพลาสติกอยู่เต็มท้อง เมื่อเร็วๆ นี้ ในประเทศไทยพบสัตว์ทะเลหายากตายจากกินขยะพลาสติกและเศษเครื่องมือทำประมงเฉลี่ย 300 กว่าตัวต่อปี โดยแบ่งเป็นการกินร้อยละ 60 จะเป็นพวกโลมาและวาฬ ส่วนพวกเต่าพบปัญหาขยะในทะเลติดพันขาและตามลำตัวสูงถึงร้อยละ 70 พลาสติกจิ๋ว(Microplastics)เมื่ออยู่ในน้ำ สัมผัสแสงแดดหรือสสารอื่นๆ พลาสติกจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กมากๆ บางครั้งเล็กจนไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า เศษชิ้นส่วนพลาสติกนี้อยู่ในทุกหนทุกแห่ง เมื่อเราดื่มน้ำ กินปลาและอาหารทะเล หรือเติมเกลือลงไปในมื้ออาหาร ก็มีโอกาสสูงที่จะรับเอาชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กเข้าไป ไมโครบีดส์(microbeads) เป็นพลาสติกจิ๋วในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด และอื่นๆอีกมากมาย ส่วนใหญ่จะทำจากพอลิเอทิลีน แต่สามารถทำจากพลาสติกปิโตรเคมีอื่นๆได้ เช่น พอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีน ไมโครบีดส์มีขนาดเล็กพอที่จะลงไปในท่อระบายน้ำของอ่างล้างหน้าของเราและง่ายต่อการผ่านระบบกรองน้ำ การที่มีขนาดเล็กจึงอาจดูเหมือนไม่เป็นอันตราย แต่ไมโครบีดส์จำนวน 100,000 เม็ด จะถูกล้างลงอ่างด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์เพียงครั้งเดียว และเมื่อหลุดสู่ท้องทะเลก็จะปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร งานวิจัยเรื่อง ผลกระทบจากชิ้นส่วนไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็งบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระบุตรวจพบสัตว์ทะเลตระกูลหอยใน “พื้นที่เศรษฐกิจชลบุรี” พบสารเคมีปนเปื้อนจากพลาสติกขนาดจิ๋วเกินค่ามาตรฐานโดยพื้นที่บริเวณอ่างศิลาพบการปนเปื้อนมากที่สุด เราทำอะไรได้บ้างเมื่อเราเปิดหัวใจให้กว้าง เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากปัจเจกบุคคล กลุ่มอาสาสมัคร เครือข่ายพลเมือง องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่ทำงานเพื่อช่วยกันแก้ไขและหาทางออกที่ยั่งยืน ปฏิบัติการต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำเพิ่มเติมเพื่อช่วยยุติมลพิษพลาสติก ธารา บัวคำศรี เป็นผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันเฉียงใต้ ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61416 ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | เมษายน 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |