จังหวัดกาฬสินธุ์ (Kalasin) อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ (Amphoe Muang Kalasin)
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
ประวัติความเป็นมาของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ : อำเภอเมืองกาฬสินธุ์แต่เดิมตามหลักฐานเอกสารที่ปรากฎมีชื่อเรียกว่า " อำเภออุทัยธานี " สมัยหนึ่งและ " อำเภอหลุบ " สมัยหนึ่ง ตั้งเมื่อ พ.ศ.2437 ต่อมา พ.ศ.2490 จึงได้เรียกชื่อว่า อำเภอเมืองกาฬสินธุ์จนถึงปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญควรทราบ ดังนี้
จนถึง พ.ศ.2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองให้เจ้าเมืองปกครองเมืองต่างๆ ที่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ มาเป็นรูปแบบการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดบรรดาเมืองต่างๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ และ ให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น "อำเภออุทัยกาฬสินธุ์" ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด จนกระทั่งถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2456 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2474 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยตำต่ำข้าวยากมากแพงเกิดภาวะขาดแคลน ราษฎรเดือดร้อน ทางราชการ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตำต่ำโดยประหยัดรายจ่ายของประเทศลง และ ยุบมณฑลร้อยเอ็ดลง เป็นจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบลงเป็นอำเภอชื่อว่า " อำเภอหลุบ " และ ให้อำเภอหลุบขึ้นต่อจังหวัดมหาสารคาม จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2490 ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้ายกฐานะอำเภอหลุบ ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งการปกครองออกเป็นหลายอำเภอ โดยอำเภอที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ให้ชื่อว่า อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แต่บัดนั้นเป็นต้นมาตราบเท่าทุกวันนี้ เรียงลำดับประวัติอำเภอเมืองกาฬสินธุ์โดยสรุปได้ดังนี้ พ.ศ.2334 ชื่อบ้านแก่งสำโรง มีเจ้าโสมพะมิตรเป็นผู้นำหมู่บ้าน อายุบ้านแก่งสำโรง 2 ปี พ.ศ.2336 โปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงเป็นเมืองกาฬสินธุ์มีพระยาชัยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) พ.ศ.2437 ยุบเมืองกาฬสินธุ์เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์สมัยพระยาชัยสุนทร(เก) เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ.2456 ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์โดยมีพระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัด มณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์และขุนชัยศรีทรงยศ (ศรี ฆารสินธุ์) เป็นนายอำเภอเมือง กาฬสินธุ์ พ.ศ.2474 ยุบจังหวัดกาฬสินธุ์และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์เป็นอำเภอหลุบ ขึ้นจังหวัดมหาสารคาม สมัย ร.อ.อ. หลวงบริหารสารนิคม (ทรัพย์ โซติทัต) เป็นนายอำเภอ พ.ศ.2490 ยกฐานะอำเภอหลุบเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์โดยมีขุนบริบาลบรรพต เขต เป็นข้าราชการประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และขุนอาจเอาธุระ (เหลื่อม วงศ์กมลาไสย) เป็นนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่ตั้งและอาณาเขต : อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสหัสขันธ์ และ อำเภอสมเด็จ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอนามน และ อำเภอดอนจาน ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอกมลาไสย และ อำเภอฆ้องชัย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอยางตลาด พื้นที่ : 649.9 ตารางกิโลเมตร ประชากร : 146,355 คน (พ.ศ.2557) ความหนาแน่น : 225.19 คน / ตารางกิโลเมตร การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แบ่งพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ออกเป็น 17 ตำบล 180 หมู่บ้าน ที่ตั้ง : ที่ว่าการอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทรศัพท์ : 043-811560 โทรสาร : 043-811560
ลักษณะอากาศ : ภูมิอากาศโดยทั่วไปร้อนชื้น อื่นๆ : สภาพเศรษฐกิจ 1.อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา 2.อาชีพเสริม ได้แก่ สวนผัก ผลไม้ เลี้ยงปลา 3.จำนวนธนาคาร มี 11 แห่ง ได้แก่ 1. ธนาคารกรุงไทย โทร. 043-812231 2. ธนาคารออมสิน โทร. 043-821216 3. ธนาคารออมสิน สาขาถีนานนท์ โทร. 043-821154 4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 043-828914 5. ธนาคารกสิกรไทย โทร. 043-811210 6. ธนาคารกรุงเทพ โทร. 043-812000 7. ธนาคารทหารไทย โทร. 043-812133 8. ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 043-812875 9. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โทร. 043-811556 10. ธนาคาร ธ.ก.ส. โทร. 043-813545 11. ธนาคารนครหลวงไทย โทร. 043-813545 การเกษตรกรรม 1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง 2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำลำปาว ลำพาน 3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ 1. บริษัท เอเซียโมติไฟสตาร์ซ จำกัด ที่ตั้ง ต.โพนทอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 2. บริษัท จิรัฐพัฒนาการเกษตร จำกัด ที่ตั้ง ต.ภูดิน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 3. บริษัท สยามโปรดักส์ (1994) จำกัด ที่ตั้ง ต.หนองกุง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
สถานที่ที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ วัดกลาง (Klang Temple)
วัดกลาง มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยพระเทพวิสุทธาจารย์ (สุข สุขโณ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ที่ได้มีการพัฒนาวัดทั้งในด้านวัตถุ การศึกษา และการปฏิบัติธรรม มีการปลูกสร้างเสนาสนะอย่างถาวรได้มาตรฐาน และ ถูกต้อง ตามศิลปกรรมไทย เป็นพุทธสถาน แหล่งปฏิบัติศาสนากิจ ที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการยกย่องชมเชยจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเกียรตินิยมดีเด่น ในปี พ.ศ.2509 และ พ.ศ.2515 ในปี พ.ศ.2532 ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนาให้เป็นสำนักเรียนดีเด่นในด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งได้เปิดสอน 3 แผนก คือ - แผนกบาลี เปิดสอนในระดับเปรียญธรรม 1 ประโยค ถึง เปรียญธรรม 5 ประโยค - แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่นักธรรมตรี ถึงนักธรรมเอก - แผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2535 ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดกลาง ซึ่งเปิดสอนมา ตั้งแต่ พ.ศ.2519 จนถึงปัจจุบัน
พระอุโบสถวัดกลาง พระอารามหลวง มีพระอุโบสถที่งดงามประดับ ด้วยลวดลายปูนปั้นที่หน้าบัน บานประตู หน้าต่างแกะสลักด้วยไม้เป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านบนภายในพระอุโบสถเป็นภาพจิตร กรรมเกี่ยวกับมหาชาติหรือเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ทั้ง 3 ด้าน ส่วนผนังด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปพระประธานเป็นภาพมารผจญ ที่กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีประติมากรรมนูนต่ำ ทั้งภายใน และ ภายนอก ภายในเป็นนิทานพื้นบ้านอีสาน ส่วนภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับผญา คติพื้นบ้านต่างๆ มีคำอธิบายประกอบภาพ ซึ่งการปั้นภาพประติมากรรมนูนต่ำ และ คำบรรยายประกอบภาพเหล่านี้เกิดจากความคิด และแรงบันดาลใจ ของเจ้าอาวาส นอกจากนี้วัดกลาง ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณสำคัญ คือ พระพุทธรูปองค์ดำ พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (ชาวเมืองกาฬสินธุ์ เรียกชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า หลวงพ่อชุ่มเย็น)(หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หรือดำแดง) หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว มีพระพุทธรูปลักษณะงดงาม สร้างในสมัยพระเจ้าคูนาขาม เมืองภูแล่นช้าง ต่อมาพระยาชัยสุนทร(กิ่ง)ได้นำมาเป็นพระพุทธรูปศรีเมืองเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หากปีใดฝนแล้ง ชาวกาฬสินธุ์จะอัญเชิญออกมาแห่เพื่อขอฝนเสมอ ที่พระแท่นมีรอยจารึกเป็นอักษรโบราณ ลักษณะพิเศษอีกอย่างก็คือ แม้จะขัดผิวให้เห็น เนื้อสัมฤทธิ์ แต่ทิ้งไว้ไม่นานผิวของพระพุทธรูปก็จะกลับดำดุจลงรักดังเดิม นอกจากนี้ยังมีพระสังข์กัจจายญน์ รอยพระพุทธบาทจำลองสลักจากหินทราย ที่นำมาจากวัดแก่งสำโรงริมฝั่งลำน้ำปาว โดยพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ) Si Bunruang Temple (Nuea Temple)
เรียกชื่อหนึ่งว่าวัดเหนือ อำเภอเมือง อยู่ถัดจากวัดกลางเป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ สิ่งสำคัญในวัดนี้ก็คือเสมาจำหลักจากฟ้าแดดสงยางเป็นโบราณวัตถุที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต ในสมัยทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 จำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้โดยการปักไว้รอบพระอุโบสถ จำหลักลวดลาย และ รูปทรงต่างๆ ชิ้นที่งดงามที่สุดคือใบเสมาที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาทเรือนแก้วซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นล่างสุด มีรูปกษัตริย์พระมเหสี และ พระโอรส สวยงามมาก เป็นศิลปแบบพื้นเมืองอีสาน(ศิลปะแบบทวารวดี) วัดศรีบุญเรือง นอกจากจะเป็นวัดสำคัญเก่าแก่ และมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญหลายชิ้นภายในวัดแล้ว ยังเป็นวัดที่มีความสงบร่มรื่น มีสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์มาแล้ว เป็นอย่างดี เช่น พระวิหาร พระอุโบสถ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในบริเวณวัด เหมาะสำหรับผู้ต้องการศึกษาทางด้านศิลปกรรมที่หาชมได้ยาก เบอร์โทรวัด 043-813071
พระพุทธสถานภูปอ (วัดภูปอ) Phu Po Buddhist (Phu Po Temple)
ภูปอ เป็นเขาหินทราย ตั้งอยู่ที่ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง ห่างจากอำเภอเมือง 28 กิโลเมตร (ไปทางอำเภอสมเด็จหรืออำเภอสหัสขันธ์) ตามทางหลวงหมายเลข 2319 ยอดเขามีความสูง 336 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ สูง 94 เมตร จากพื้นที่ดินล่าง ทอดตัวตามแนวทางตะวันออก-ตะวันตก ด้านทิศเหนือเป็นเขตอำเภอสหัสขันธุ์ ด้านทิศใต้เป็นเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แหล่งหินศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ณ ที่นี้เป็นภาพสลักรูปพระนอน (พระพุทธรูปปางไสยาสน์) อายุประมาณ 1,500 ปี บนแผ่นหินใต้เพิงผา 2 แห่งอยู่ทางด้านตะวันตกในเขตวัดพระอินทร์ประทานพร บ้านโพนคำ ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ภาพสลัก 2 รูป อยู่บนผาหินต่างระดับกัน ภาพแรกสลักอยู่ผนังหินใต้เพิงผาเชิงเขา สูงจากพื้นดินราบ (ที่วัด) ประมาณ 5 เมตร ภาพที่สองอยู่บนผนังหินใต้เพิงผา เกือบถึงยอดเขาสูง จากพื้นดินด้านล่างประมาณ 80 เมตร มีบันใดทางขึ้น มีที่พักเป็นระยะ ๆ รายละเอียดพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 1 (องค์ล่าง)
สร้างขึ้นประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12-14 ลักษณะศิลปกรรม สร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี สกุลช่างอีสาน ความยาวของภาพสลัก 3.30 เมตร กว้าง 1.27 เมตร ภาพสลัก ณ ที่นี้ไม่ได้สลักแต่รูปองค์พระลอย ๆ แต่สลักแผ่นพื้นหิน ให้เป็นรูปผ้าปูลาดรองพระองค์ และผ้า (หมอน)รองหนุนพระเศียร และรองพระบาททั้งคู่ รอบ ๆ พระวรกาย และพระเศียรสลักเป็นรูปประภาวลีที่เส้นกรอบนอกของประภาวลีรอบพระเศียรสลักรูปดวงดอกไม้เป็นระยะ ทำให้ดูคล้าย เป็นรัศมีเพิ่มขึ้น องค์พระนอนตะแคงข้างขวาตามแบบสีหไสยา พระเศียรประทับบนพระหัตถ์และพระกรข้างขวา หันสู่ทิศเหนือพระพักตร์หันสู่ทิศตะวันตก พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 2 (องค์บน)
สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ลักษณะศิลปกรรมสร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี ผสมผสานกับพุทธศิลปะแบบสุโขทัย ความยาวของภาพสลักนับจากประภาวลีเหนือเศียรพระจนถึงขอบเตียงปลายพระบาท 5.20 เมตร ส่วนกว้างที่สุด 1.50 เมตร องค์พระสลักนูน จากผนังขึ้นมา 55 เซนติเมตร องค์พระนอนตะแคงขวาตามแบบสีหไสยา พระเศียรหันสู่ทิศเหนือค่อนมาทางตะวันตกเล็กน้อย โดยสลักหินที่รองรับใต้องค์พระ ให้เป็นแท่นขอบเหลี่ยมต่อด้วยขาคู่หนึ่งซึ่งสลักให้ดูเป็นรูปขาเตียง ภาพสลักนี้มีเส้นโค้งเว้า เน้นสัดส่วนและมีลักษณะอ่อนช้อยกว่าภาพสลักโดยทั่วไป
อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (Phraya Chaiyasunthon Monument)
เดิมทีชาวเมืองกาฬสินธุ์มีแนวคิดที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทรมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2510 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยนายสมศํกดิ์ ร่มไทรทองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ นายประกิต พิณเจริญ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยอาจารย์ขาว ละออ เป็นผู้ออกแบบรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง สูง 175 เซ็นติเมตร ส่วนบริเวณรอบองค์อนุสาวรีย์ มีการจัดทำภาพปะติมากรรมโดยอาจารย์ วิโรจน์ ศรีสุโร งบประมาณ 460,000 บาท งบประมาณจากภาคส่วนราชการและประชาชนร่วมบริจาค เริ่มประกอบพิธีเททองหล่อรูปเหมือน ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2524 โดยนายขุนทอง ภูผิวเดือน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ต่อมามีการกำหนดให้ วันที่ 13 กันยายน มีพิธีการบวงสรวงทุกปี การก่อสร้างอนุสาวรีย์ใช้เวลา 1 ปี แล้วเสร็จในปี 2525
พิพิธภัณฑ์ของดีจังหวัดกาฬสินธุ์ (Kalasin's great museums) ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ (หลังเดิม) ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (นายชัยรัตน์ มาปราณีต) ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมของดีเมืองกาฬสินธุ์ จัดเป็นห้องบรรยายสรุป ห้องเจ้าเมือง ห้องศาสนา ห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ห้องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชาวผู้ไทย ห้องวิจิตรแพรวา ห้องศึกษาค้นคว้าเรื่องหัตถกรรม ห้องสาธิตจำหน่ายผ้าไหมแพรวา และของที่ระลึกพื้นเมือง โดยเปิดให้นักท่องเที่ยว และ ผู้สนใจเข้าชมทุก วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30–16.30 น. โทร. 043-811695
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (Arts Center of Culture and Tourism) รอข้อมูล
สวนสาธารณะกุดน้ำกิน (Parks Kut Nam Kin)
กุดน้ำกิน เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในตัวมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากสถานีขนส่งไปทางทิศตะวันตกไม่ถึง 200 เมตร เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้พัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และนันทนาการต่างๆ โดยบริเวณโดยรอบของกุดน้ำกินจะมีทางสำหรับวิ่งหรือเดินออกกำลังกาย ผืนดินที่ยื่นเข้าไปจนเกือบคล้ายเกาะ จะสร้างอาคารสำหรับเป็นฟิตเนส บริเวณลานตรงกลางใช้สำหรับซ้อมลีลาศ, เต้นแอโรบิค, รำกระบอง ฯลฯ ส่วนศาลาด้านหลังไว้สำหรับประกอบพิธีต่างๆ
แก่งดอนกลาง (Kang Don Klang)
เป็นแหล่งน้ำสำคัญของเมืองกาฬสินธุ์ใช้สำหรับอุปโภคและการประมง ในปี 2524 ชาวเมืองกาฬสินธุ์ได้ร่วมจัดกิจกรรมการแข่งขันเรือยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์กำจัดผักตบชวาพร้อมคืนธรรมชาติให้แหล่งน้ำ พร้อมเชิญชวนเรือยาวจากอำเภอใกล้เคียงร่วมแข่งขัน
งานประเพณีบุญคูณลานสู่ขวัญข้าว (Boon Koon Lan Festival to Khwanykhgry)
เว็ปที่เกี่ยวข้อง
แผนที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ไกด์พงษ์ แก้ไข 1/11/2559 http://www.oknation.net/blog/guidepong
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กุ้ยหลิน | ||
![]() |
||
กุ้ยหลิน สถานที่ได้รับฉายาว่า "สายน้ำขุนเขาแห่งกุ้ยหลิน"หรือในภาษาจีน กล่าวว่า 桂林山水甲天下 อันเนื่องจากเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยขุนเขาและสายน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |