![]() ... เป็นที่ทราบกันดีว่า นักกีฬาดังๆ เช่น เฟลพส์ (แชมป์ว่ายน้ำโอลิมปิค 8 เหรียญทองปักกิ่ง) ฯลฯ ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทั้งก่อนฝึก และก่อนแข่ง... กาเฟอีนเป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นที่ทางสำนักต่อต้านการโด๊พโลก (World anti-doping agency) ยังไม่ได้ห้ามใช้ในการแข่งขัน ... ปี 1978 มีการค้นพบว่า กาเฟอีนซึ่งมีในกาแฟ ชา โกโก้ โอวัลติน ไมโล ชอคโกแล็ต และเครื่องดื่มบำรุงกำลังหลายยี่ห้อช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งขันกีฬาหลายประเภท กลไกที่เป็นไปได้คือ กาเฟอีนเพิ่มการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ทำให้ระดับแป้งไกลโคเจนในกล้ามเนื้อลดลงช้ากว่าเดิม ผลคือ เหนื่อยช้าลง ออกแรงได้มากขึ้นหรือนานขึ้น ...
ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ทาร์โนโปลสกีและคณะพบว่า กาเฟอีนทำให้กระบวนการปล่อยแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น กระบวนการนี้ช่วยให้ใยกล้ามเนื้อหดตัวดีขึ้น นอกจากนั้นกาเฟอีนยังทำให้ความรู้สึกเหนื่อยล้า (exhaustion) ลดลง ... การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า กาเฟอีนทำให้สมรรถภาพเพิ่มขึ้นได้ 20-25% แต่ผลในทางปฏิบัติจริงๆ จะทำให้สมรรถภาพเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3-5% เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จำเป็นต้องใช้กาเฟอีนขนาด 5-6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) จึงจะได้ผลดี ...
สมมติว่า นายกอหรือนางขอหนัก 60 กิโลกรัม ใช้กาเฟอีน 5 มก./กก. = 300 มิลลิกรัม = กาแฟ (กาแฟ 1 ถ้วยมีกาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม) ท่านอาจารย์ลุยส์ เอ็ม. เบิร์คส์ และคณะ แห่งสถาบันวิจัยกีฬา แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย พบว่า ขนาดที่ใช้ได้ผลเต็มที่คือ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) ... สมมติว่า นายกอหรือนางขอหนัก 60 กิโลกรัม ใช้กาเฟอีน 1 มก./กก. = 60 มิลลิกรัม = ชา 1 ถ้วย (ชา 1 ถ้วยมีกาเฟอีนประมาณ 65 มิลลิกรัม) คนไทยเราชอบพูดสำนวน "ทางสายกลาง (= in moderation) น่าจะดี" ปรากฏการณ์ทำนองนี้ก็พบในการโด๊พด้วยกาเฟอีนเช่นกัน ...
กาเฟอีนก็มี "diminishing returns" คำ 'diminish = ทำให้น้อยลง; returns = ผลตอบแทน; สำนวนนี้นิยมใช้ในทางเศรษฐศาสตร์ สำนวนนี้ใช้อธิบายว่า ความพึงพอใจจะเพิ่มขึ้นในช่วงแรก หลังจากพึงพอใจเต็มที่แล้ว ความพึงพอใจจะลดลง นั่นคือ อะไรที่มากไปน้อยไปมักจะไม่ดี ... อาจารย์เทอร์รี กราแฮม และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยกูเอลฟ์ แคนาดาพบว่า ถ้านักกีฬาโด๊พกาเฟอีนถึงระดับ 9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ประสิทธิภาพจะลดลง สมมติว่า นายกอหรือนางขอหนัก 60 กิโลกรัม ใช้กาเฟอีน 9 มก./กก. = 540 มิลลิกรัม = กาแฟ 5.4 ถ้วย (กาแฟ 1 ถ้วยมีกาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม) แบบนี้จะเล่นกีฬาได้แย่ลง ...
ดอกเตอร์ทาร์โนโปลสกีกล่าวว่า กาเฟอีน เช่น กาแฟ ฯลฯ ไม่ได้ทำให้นักกีฬาเกิดภาวะขาดน้ำเพิ่มขึ้น... นักกีฬาจะขาดน้ำหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดื่มน้ำให้พอ ไม่ใช่กาแฟ (ฤทธิ์ขับปัสสาวะของกาแฟมีน้อยมาก) ข้อควรระวังคือ คนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ หรือได้รับกาเฟอีนเป็นประจำ... การดื่มกาแฟอาจทำให้ชีพจรหรือความดันเลือดสูงขึ้นได้ ... วิธีลดผลข้างเคียงจากกาแฟคือ ให้ดื่มติดต่อกันนาน 3-4 วันขึ้นไป (ท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูง หรือมีโรคประจำตัว เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน ฯลฯ ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้) ดอกเตอร์ทาร์โนโปลสกีไม่ได้เป็นนักวิจัยอย่างเดียว ท่านเป็นนักกีฬาไตรอาธอน (triathlete = นักกีฬาที่แข่งกีฬา 3 รายการในคราวเดียวได้แก่ วิ่ง ว่ายน้ำ จักรยาน) นักสกี และนักวิ่งเทรล (trail runner = นักวิ่งวิบากระยะไกล) กล่าวว่า "ผมก็ดื่มกาแฟก่อนแข่งเหมือนกัน" ...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ ... ที่มา
|
<< | มีนาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |