มีหลักฐานในศิลาจารึกที่มีอายุกว่า 3 พันปี ของชนเผ่ามายา (Maya) ในสมัยรุ่งเรืองอำนาจแถบทวีปอเมริกากลางว่า ได้มีการใช้ใบยาในพิธีทางศาสนาและใช้เป็นยารักษาโรคด้วย ชนเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือนั้น มีการเอาไม้รวกซึ่งข้างในกลวงอัดใบยาเข้าไปแล้วสูบ พวกเขาเรียกไม้รวกนี้ว่า โทบาคุม (Tobacum) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า โทแบโค (Tobacco) ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานใบยานั่นเอง โดยใช้ใบยาใส่กล้องสูบในพิธีแลกสัตยาบันสันติภาพ เรียกว่า กล้องสันติภาพคัลลูเมต ( และในปี ค.ศ. 1499 ได้มีการบันทึกโดยอเมริโก เวสปุสซี่(Amerigo Vespucci) ว่ามีการใช้ยาสูบชนิดเคี้ยวบนเกาะของเวเนสุเอลา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1530 มีผู้นำพันธุ์ยาสูบมาปลูกเป็นครั้งแรกที่ยุโรปบนเกาะฮิสแปนิโอลา (Hispaniola) เมื่อนักผจญภัยชาวสเปนไปพบชาวเม็กซิกันใช้เปลือกข้าวโพดหรือใบตาลอ่อนห่อใบยาสูบ จึงนำมาพัฒนากลายเป็นซิกาแรตที่ใช้กระดาษมวน และถูกนำมาเผยแพร่ในยุโรปในปี ค.ศ. 1560 โดยทูตฝรั่งเศสประจำประเทศสเปนชื่อ จอง นิโคต์ (Jean Nicot) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า นิโคติน และเซอร์วอลเตอร์ ลาเรจ์ นำมาจากทวีปอเมริกามาเผยแพร่ในอังกฤษ มีการเผยแพร่ความรู้ผิด ๆ เกี่ยวกับการสูบบุหรี่หรือใบยาสูบว่ามีคุณประโยชน์ ปี ค.ศ. 1587 องค์พระสันตปาปาของศาสนาคริสต์ทรงประกาศห้ามนักบวชสูบใบยาเป็นอันขาด และห้ามใช้ใบยาในพิธีศาสนาด้วย ข้อนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในอาณานิคมใหม่ในประเทศเปรู จนถึงกับเกิดการจลาจลขึ้น มีบางประเทศในยุโรปห้ามเสพใบยานี้อย่างเด็ดขาด เรียกว่ามีกระแสต่อต้านการเสพใบยาตามมาอย่างรุนแรง ปี ค.ศ. 1604 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงตั้งภาษีใบยาไว้อย่างสูง เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า ใบยาเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งทางกายและทางใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมด้วย พระองค์ทรงใช้เงินภาษีที่เก็บได้เป็นทุนส่งเสริมให้มีการค้นหาแผ่นดินใหม่ ๆ เพื่อล่าเป็นเมืองขึ้น ในประเทศจีนก็มีการห้ามบ้าง คือ เมื่อ ปี ค.ศ. 1630 จีนห้ามสูบใบยาอย่างเด็ดขาด เหตุผลเพราะว่ายาสูบทำให้คนจีนมัวเมากันมาก แต่การห้ามสูบใบยาก็เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม ในเวลาต่อมา มีชาวอเมริกันผู้หนึ่งชื่อจอห์น โรลฟ์ (John Rolfe) ได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวอินเดียนแดงเผ่าโพคาฮันตัส (Pocahantas) สามารถชักจูงใจให้ชนพื้นเมืองเชื้อสายของภรรยาตนเองให้หันมาปลูกยารสอ่อน ๆ จนเป็นผลสำเร็จ จึงได้มีการปลูกใบยารสอ่อนกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งท่านเซอร์วอลเตอร์ ราเลจ์ (Sir Walter Raleigh) ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางใบยาคนสำคัญ ได้ผสมพันธ์ใบยาหลายพันธุ์เข้าด้วยกันจนได้พันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ยาพันธุ์ใหม่ ๆ นี้ ควันหอม รสกลมกล่อมนุ่มนวล สูบอร่อย ด้วยเหตุนี้ วอลเตอร์ ราเลจ์ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นท่านเซอร์ ดังนั้น ใบยารสอ่อนจึงเป็นที่นิยมสูบของคนทั่วไป ปี ค.ศ. 1660 บุหรี่ก็ถูกนำไปเผยแพร่ต่อไปในประเทศอิตาลี เยอรมัน นอร์เวย์ สวีเดน รัสเซีย เปอร์เชีย อินโดจีน ญี่ปุ่น จีน และชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา หลังจากนั้น บุหรี่หรือซิกาแรตก็เริ่มแพร่หลายในระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้การสูบบุหรี่เป็นที่นิยมทั่วโลก ปี ค.ศ. 1832 ชาวอียิปต์เป็นผู้ค้นพบวิธีการสูบใบยาที่สะดวกขึ้น คือใช้กระดาษห่อใบยา เหมือนคนไทยใช้ใบจาก หรือใบตองแห้งมวนยาสูบนั่นเอง พอเกิดสงครามในประเทศอียิปต์ ทหารอังกฤษและทหารฝรั่งเศสที่ทำการรบอยู่ที่นั่น ก็นำเอาความคิดนี้กลับไปใช้ในบ้านพ่อเมืองแม่ของตน และต่อมาจึงได้แพร่หลายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังไม่มีการมวนใบยาด้วยกระดาษอย่างดีให้เป็นอุตสาหกรรม ใน ปี.ค.ศ. 1881 มีอัจฉริยะชาวอเมริกันคนหนึ่งนามว่า เจมส์ บอนแสค (James Bonsack) เขาสามารถประดิษฐ์เครื่องมวนใบยาด้วยกระดาษจนได้มาตรฐานอย่างอัตโนมัติได้ เขานำเครื่องจักรนี้ไปขายให้บริษัทผลิตใบยาท้องถิ่นแห่งหนึ่ง และบริษัทนั้นก็ได้ผลิตใบยาที่ห่อด้วยกระดาษออกมาอย่างรวดเร็วและมากมาย โดยเรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่าซิกาแรต คือ ซิการ์มวนน้อย ๆ แปลเป็นไทยว่า บุหรี่ แต่บริษัทนี้ไม่ชาญฉลาดนัก ไม่ทราบว่าจะเอาบุหรี่ที่ผลิตออกมานี้ไปขายให้ใคร ที่ไหน อย่างไร เรียกได้ว่าไม่มีความรอบรู้ในด้านการตลาดเลย บริษัทผลิตใบยาจึงนำเครื่องจักรไปขายต่อให้นายเจมส์ ดุ๊ก (James Duke) แห่งเมืองเดอร์แรม ( นายดุ๊ก เป็นพ่อค้าที่หัวใสมาก เขาได้ตั้งบริษัทผลิตใบยาใหญ่โตขึ้นที่รัฐนิวยอร์ก ใช้วิธีการโฆษณาเจาะตลาดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ในเวลาไม่นานซิกาแรตก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย นายดุ๊กก็ร่ำรวยอย่างมหาศาล บริษัทของเขากลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและของโลกทีเดียว ถึงกับมีการตั้งชื่อมหาวิทยาลัยดุ๊ก ในเมืองเดอร์แรม เมืองเกิดของเขาเอง และเวลานี้มหาวิทยาลัยดุ๊กก็มีชื่อเสียงเป็น 1 ใน 10 ของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย เวลานั้นประจวบกับมีการห้ามผลิตเหล้าในช่วงปี ค.ศ. 1919-1933 จึงทำให้ผู้คนหันมาสูบบุหรี่กันมาก อีกทั้งบริษัทผลิตบุหรี่ก็มีกลยุทธ์มากมาย ทำให้ผู้คนติดบุหรี่กันไปทั่วโลก รัฐบาลไม่ว่าประเทศไหน ล้วนสนับสนุนให้มีการผลิตบุหรี่ทั้งนั้น เพราะจะได้เก็บภาษีจากการขายบุหรี่เอามาเข้างบประมาณแผ่นดิน ต่อมาได้มีการผลิตบุหรี่ก้นกรองขึ้น เพื่อยั่วยุให้สุภาพสตรีหันมาสูบบ้าง จะได้ดูว่าเป็นของโก้เก๋ บุหรี่ก้นกรองนี้จะทำให้ไม่มีคราบนิโคตินเป็นมลทินแก่เล็บงาม ๆ ของสุภาพสตรี และยังมีการโฆษณาชักจูงให้พวกเยาวชนหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอีก เรียกว่าบริษัทผลิตบุหรี่ทุ่มโฆษณาอย่างเต็มที่เพื่อยึดครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว พอถึง ปี ค.ศ. 1970 จึงมีชาวอเมริกันถึงครึ่งประเทศติดบุหรี่อย่างถอนตัวไปไม่ขึ้น กระแสต่อต้านการสูบบุหรี่จึงหวนกลับมาอีก แต่ก็สู้ศึกกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีทุนมหาศาลได้ยาก ถึงกระนั้นก็ตาม ก็เริ่มมีผู้เห็นโทษของการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น ถึง ปี ค.ศ.1990 มีคนอเมริกันติดบุหรี่แค่ 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ที่น่าวิตกเป็นอย่างมากก็คือ มีเยาวชนเป็นเหยื่อรายใหม่ของบุหรี่ทวีจำนวนมากขึ้นถึงวันละ 3 พันคน ในส่วนประเทศไทยแม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคนไทยเริ่มบริโภคยาสูบมาแต่เมื่อใด แต่จากหลักฐานที่พบและรวบรวมได้ เช่น กล้องยาสูบในสมัยสุโขทัยก็อาจทำให้เชื่อได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบมาประมาณ 700 ปี แต่ถ้าหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรก็คงเชื่อได้ว่าวัฒนธรรมการบริโภคยาสูบ ในประเทศไทยมีมากกว่า 300 ปีแล้ว คือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2211 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยชาวเปอร์เซียเป็นผู้นำเข้ามา จึงมีการสูบในลักษณะใบยาหั่นมวนด้วยใบตองหรือใบบัว หากสูบจากกล้อง หรือทำเป็นมวนใหญ่แบบซิการ์ หรือเคี้ยวเส้นยาสูบ หรือบางทีก็ป่นเป็นผงสูดเข้าจมูกแบบยานัตถุ์ ลักษณะของยาสูบมี 3 ลักษณะ คือ การนำเอายาเส้นมามวนด้วยกระดาษ หรือเรียกกันว่า บุหรี่ แต่ถ้านำเอายาเส้นมาใส่ลงไปในปลายกล้องยาแล้วสูบผ่านกล้องจะเรียกว่า ไปป์ (Pipe) และถ้านำเอายาสูบมาพันกันไปมาจนเป็นมวนโตแล้วสูบเรียกว่า ซิการ์ (Cigar) นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้บันทึกว่ามองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตชาวฝรั่งเศสได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใบยาที่ใช้นั้นได้มาจากเกาะมะนิลาบ้าง เมืองจีนบ้าง และปลูกในพื้นเมืองบ้าง ลักษณะของยาสูบหรือบุหรี่ในสมัยนั้นจะมีก้นแหลม มวนด้วยใบตองหรือใบจากตากแห้ง ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าสิงหนาทดุรงค์ฤทธิ์ก็ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้นมา เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผู้ดัดแปลงบุหรี่ก้นป้าน โดยตัดยาเส้นให้พอดีกับวัสดุที่ใช้มวนคือใบตองแห้ง ใบตองอ่อนและใบบัว และได้รับความนิยมอย่างมาก คนไทยแต่เดิมจะเรียกยาสูบ เป็นคำกลางๆ ว่า ยา และใช้คำว่ายาไปประกอบกับคำอื่นๆ ที่บอกลักษณะของยาสูบแต่ละประเภท เช่น ยาเส้น ยาฉุน ยาจืด ยามวน เป็นต้น คำว่า ยา ในความหมายที่เป็นยาสูบในระยะแรกเข้าใจว่าคงไม่มีความหมายในเชิงลบ เพราะคนไทยสมัยก่อนใช้ยาสูบในการบำบัดรักษาโรค เช่น ใช้ใบรักษาฝี ห้ามเลือด ใช้สูบเพื่อรักษาโรคหืด หรือบดใบยาสูบทำยาฆ่าแมลง ทั้งนี้ เพราะสารนิโคตินในใบยาสูบมีคุณสมบัติในการฆ่าสิ่งมีชีวิต สามารถใช้ผสมยารักษาสัตว์ และที่สำคัญคือ มีผลกระตุ้นระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดการผ่อนคลายรู้สึกสบายใจในขณะสูบ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |